ASTVผู้จัดการรายวัน - เร่งบรรเทาความเดือดร้อนผู้ส่งออกไปญี่ปุ่นหลังสินค้าตกค้างท่าเรือเพียบ “พรทิวา” สั่งเปิดสายด่วน 1169 เป็นศูนย์กลางดูแลผลกระทบ ชงแบงก์ชาติขยายระยะเวลาตัดแพกกิ้งเครดิต จาก 4 เดือนเป็น 6 เดือน ด้านโตโยต้าระดมสมองทางช่วยเหลือผู้เดือดร้อนจากเหตุสึนามิ
นายฉัตรชัย ชูแก้ว ที่ปรึกษารมว.พาณิชย์ และโฆษกกระทรวงพาณิชย์ (ฝ่ายการเมือง) เปิดเผยว่า นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้สั่งการให้กรมส่งเสริมการส่งออกจัดตั้งสายด่วน Hot Line เพื่อช่วยแก้ปัญหาสำหรับผู้ส่งออกที่มีปัญหาในด้านต่างๆ เช่น สินค้าตกค้างที่ท่าเรือ,สินค้าส่งออกไม่ได้ เป็นต้น โดยให้ผู้ส่งออกโทรขอความช่วยเหลือได้ที่เบอร์ Hot Line 1169ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ขณะเดียวกัน ได้สั่งการให้ทูตพาณิชย์ที่ประจำอยู่ที่ญี่ปุ่น ให้เร่งตรวจสอบกรณีสินค้าตกค้างที่ท่าเรือญี่ปุ่น และไม่สามารถติดต่อกับใครได้ โดยขอให้ช่วยประสานงานแจ้งปัญหาไปยังสายเรือต่างๆ เพื่อช่วยตรวจสอบและเก็บรักษาสินค้าให้กับผู้ส่งออกอย่างปลอดภัย รวมทั้งขอให้ปรับแผนการส่งออกในระยะกลางและยาว เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการส่งออกในปี 2554
และได้กำชับให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงพาณิชย์ให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการไม่ว่าจะเป็นกลุ่ม SME หรือกลุ่มผู้ส่งออกอื่นๆ ที่ส่งออกไปตลาดญี่ปุ่นอย่างเต็มที่
นอกจากนี้ ได้เตรียมขอความช่วยเหลือไปยังกระทรวงการคลัง เพื่อประสานงานกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อให้ผ่อนผันกับผู้ส่งออกที่เมื่อถึงกำหนดส่งสินค้า แต่ส่งออกไม่ได้ โดยให้ธนาคารต่างๆ อนุญาตให้เลื่อนกำหนดระยะเวลาตัด Packing Credit จาก 4 เดือนเป็น 6 เดือน เพราะโดยปกติแล้ว เมื่อถึงกำหนดของการส่งมอบสินค้าตามระยะเวลา Packing Credit ต้องไม่เกิน 4-6 เดือน แล้วแต่ธนาคาร แต่กรณีที่เกิดปัญหาจากภัยธรรมชาติจึงคิดว่าธนาคารควรยืดเวลาการส่งออกอีก 2 เดือนจากกำหนดเดิม โดยไม่ถือเป็นการ Over due เพราะส่งมอบไม่ทันกำหนดเวลา โดยผู้ส่งออกไม่ต้องหาเงินบาทมาชำระก่อน จนกว่าจะถึงเวลาอีกครั้งภายใน 2 เดือนถัดไป
“ถ้าทำได้จะทำให้ผู้ส่งออกลดผลกระทบได้มาก โดยสามารถรอส่งสินค้าหลังจากเหตุการณ์ทางลูกค้าปลายทางกลับเข้าสู่สภาวะปกติ เพราะถ้าธนาคารไม่เปลี่ยนกฎระเบียบการเลื่อนส่งมอบออกไป ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่อายุ Packing Credit ครบ 4 เดือน ธนาคารจะหยุดรอเงินสินเชื่อทั้งหมดทันที โดยหวังว่าจะได้รับความช่วยเหลือจากแบงก์ชาติให้ผ่อนคลายกฎระเบียบนี้ชั่วคราว เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ส่งออก”นายฉัตรชัยกล่าว
ส่วนการให้ความช่วยเหลือในเรื่องสิทธิมนุษยชน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการรับบริจาคช่วยเหลือคนไทยในญี่ปุ่นหรือชาวญี่ปุ่นที่ประสบภัย โดยการส่งความช่วยเหลือในรูปแบบต่างๆ เช่น เงิน ข้าว และอื่นๆ ตามความต้องการ ตลอดจนความเดือดร้อนอื่นๆ กระทรวงพาณิชย์จะพิจารณาช่วยเหลือตามความเหมาะสมอย่างเร่งด่วนต่อไป
ปัจจุบัน การส่งออกสินค้าไทยไปญี่ปุ่น มีมูลค่าสูงถึง 20,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเทียบเป็น 10-11% ของยอดส่งออกไทยทั้งหมด โดยญี่ปุ่นถือเป็นตลาดสำคัญมากของไทย อุตสาหกรรมสำคัญๆ ที่ส่งออกไปญี่ปุ่น 10 อันดับแรก ได้แก่ ยางพารา,รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ, เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์,แผงวงจรไฟฟ้า, เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ,ไก่แปรรูป,เครื่องซักผ้าและเครื่องซักแห้ง, เครื่องสำอาง สบู่และผลิตภัณฑ์รักษาผิว,อาหารทะเลกระป๋องและอาหารแปรรูป, ผลิตภัณฑ์พลาสติก
นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันที่ 14 มี.ค.นี้จะเสนอครม.ให้อนุมัติ ส่งความช่วยเหลือไปยังประเทศญี่ปุ่นเป็นข้าวสารจำนวน 50,000 ตัน โดยแบ่งเป็นข้าวหอมประทุม 30,000 ตัน และข้าวเหนียว 20,000 ตัน ซึ่งสามารถนำไปปรุงผสมได้ตรงกับรสนิยมการบริโภคข้าวของชาวญี่ปุ่น ตรงกับความต้องการและความจำเป็นเร่งด่วนที่ไทยควรจะให้ความช่วยเหลือมิตรประเทศที่ดีของไทยมาโดยตลอด
***“โตโยต้า” ระดมสมองช่วยเหตุสึนามิ
แหล่งข่าวผู้บริหารระดับสูงจาก บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด (TMT) เปิดเผยกับ “ASTVผู้จัดการรายวัน” ว่า บริษัทกำลังประสานงานกับ บริษัทแม่ โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศ ญี่ปุ่น (TMC) รวมถึง บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ เอเชีย แปซิฟิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด (TMAP-EM) เตรียมทำโครงการช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากเหตุแผ่นดินไหว และสึนามิ ที่ประเทศญี่ปุ่น
บริษัทรู้สึกเสียใจกับความสูญเสียดังกล่าว และเตรียมให้ความช่วยเหลือเต็มที่ ซึ่งภายในสัปดาห์นี้จะมีการประชุมกับทุกฝ่ายเพื่อทำเป็นโครงการหรือกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ ผ่านทางรัฐบาลไทย รวมถึงหอการค้า ญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ (JCC)ที่ท่าน เคียวอิจิ ทานาดะ (กรรมการผู้จัดการใหญ่ TMT) เป็นรองประธานอยู่ ขณะเดียวกันบริษัท TMAP-EM สำนักงานใหญ่กรุงเทพฯ ก็เตรียมสนับสนุนด้านวิศวกรรม หรือเทคโนโลยีอย่างเต็มที่ ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับการร้องขอมาจากประเทศญี่ปุ่นด้วย
“เราต้องแสดงความมีน้ำใจออกไป โดยขั้นแรกจะเป็นการผนึกกำลัง ผ่านหอการค้า ญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นแพกเกจใหญ่ที่ทำได้ครอบคลุมและรวดเร็ว อย่างไรก็ตามในส่วนของโตโยต้า ก็อยากทำเป็นโครงการรวมใจคนไทย ส่งไปให้ผู้ประสบภัยประเทศญี่ปุ่น ส่วนรูปแบบความช่วยเหลือน่าจะได้ข้อสรุป และเตรียมประกาศอย่างเป็นทางการเร็วๆ นี้”
ในส่วนของโรงงานผลิตรถยนต์ของโตโยต้า ที่ประเทศญี่ปุ่นไม่ได้รับผลกระทบจากเหตุแผ่นดินไหวและสึนามิ ขณะเดียวกันโตโยต้า ประเทศไทย ไม่ได้ทำการผลิตรถยนต์ส่งกลับไปขายที่ประเทศญี่ปุ่น จึงแทบไม่มีผลกับการดำเนินธุรกิจและตลาดรถยนต์ในไทย แต่ประเด็นการชะลอตัวทางเศรฐกิจของญี่ปุ่น ก็ต้องจับตามองและอาจมีผลกับไทยเช่นกัน ซึ่งน่าจะเป็นช่วงระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้น.
นายฉัตรชัย ชูแก้ว ที่ปรึกษารมว.พาณิชย์ และโฆษกกระทรวงพาณิชย์ (ฝ่ายการเมือง) เปิดเผยว่า นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้สั่งการให้กรมส่งเสริมการส่งออกจัดตั้งสายด่วน Hot Line เพื่อช่วยแก้ปัญหาสำหรับผู้ส่งออกที่มีปัญหาในด้านต่างๆ เช่น สินค้าตกค้างที่ท่าเรือ,สินค้าส่งออกไม่ได้ เป็นต้น โดยให้ผู้ส่งออกโทรขอความช่วยเหลือได้ที่เบอร์ Hot Line 1169ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ขณะเดียวกัน ได้สั่งการให้ทูตพาณิชย์ที่ประจำอยู่ที่ญี่ปุ่น ให้เร่งตรวจสอบกรณีสินค้าตกค้างที่ท่าเรือญี่ปุ่น และไม่สามารถติดต่อกับใครได้ โดยขอให้ช่วยประสานงานแจ้งปัญหาไปยังสายเรือต่างๆ เพื่อช่วยตรวจสอบและเก็บรักษาสินค้าให้กับผู้ส่งออกอย่างปลอดภัย รวมทั้งขอให้ปรับแผนการส่งออกในระยะกลางและยาว เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการส่งออกในปี 2554
และได้กำชับให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงพาณิชย์ให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการไม่ว่าจะเป็นกลุ่ม SME หรือกลุ่มผู้ส่งออกอื่นๆ ที่ส่งออกไปตลาดญี่ปุ่นอย่างเต็มที่
นอกจากนี้ ได้เตรียมขอความช่วยเหลือไปยังกระทรวงการคลัง เพื่อประสานงานกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อให้ผ่อนผันกับผู้ส่งออกที่เมื่อถึงกำหนดส่งสินค้า แต่ส่งออกไม่ได้ โดยให้ธนาคารต่างๆ อนุญาตให้เลื่อนกำหนดระยะเวลาตัด Packing Credit จาก 4 เดือนเป็น 6 เดือน เพราะโดยปกติแล้ว เมื่อถึงกำหนดของการส่งมอบสินค้าตามระยะเวลา Packing Credit ต้องไม่เกิน 4-6 เดือน แล้วแต่ธนาคาร แต่กรณีที่เกิดปัญหาจากภัยธรรมชาติจึงคิดว่าธนาคารควรยืดเวลาการส่งออกอีก 2 เดือนจากกำหนดเดิม โดยไม่ถือเป็นการ Over due เพราะส่งมอบไม่ทันกำหนดเวลา โดยผู้ส่งออกไม่ต้องหาเงินบาทมาชำระก่อน จนกว่าจะถึงเวลาอีกครั้งภายใน 2 เดือนถัดไป
“ถ้าทำได้จะทำให้ผู้ส่งออกลดผลกระทบได้มาก โดยสามารถรอส่งสินค้าหลังจากเหตุการณ์ทางลูกค้าปลายทางกลับเข้าสู่สภาวะปกติ เพราะถ้าธนาคารไม่เปลี่ยนกฎระเบียบการเลื่อนส่งมอบออกไป ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่อายุ Packing Credit ครบ 4 เดือน ธนาคารจะหยุดรอเงินสินเชื่อทั้งหมดทันที โดยหวังว่าจะได้รับความช่วยเหลือจากแบงก์ชาติให้ผ่อนคลายกฎระเบียบนี้ชั่วคราว เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ส่งออก”นายฉัตรชัยกล่าว
ส่วนการให้ความช่วยเหลือในเรื่องสิทธิมนุษยชน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการรับบริจาคช่วยเหลือคนไทยในญี่ปุ่นหรือชาวญี่ปุ่นที่ประสบภัย โดยการส่งความช่วยเหลือในรูปแบบต่างๆ เช่น เงิน ข้าว และอื่นๆ ตามความต้องการ ตลอดจนความเดือดร้อนอื่นๆ กระทรวงพาณิชย์จะพิจารณาช่วยเหลือตามความเหมาะสมอย่างเร่งด่วนต่อไป
ปัจจุบัน การส่งออกสินค้าไทยไปญี่ปุ่น มีมูลค่าสูงถึง 20,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเทียบเป็น 10-11% ของยอดส่งออกไทยทั้งหมด โดยญี่ปุ่นถือเป็นตลาดสำคัญมากของไทย อุตสาหกรรมสำคัญๆ ที่ส่งออกไปญี่ปุ่น 10 อันดับแรก ได้แก่ ยางพารา,รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ, เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์,แผงวงจรไฟฟ้า, เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ,ไก่แปรรูป,เครื่องซักผ้าและเครื่องซักแห้ง, เครื่องสำอาง สบู่และผลิตภัณฑ์รักษาผิว,อาหารทะเลกระป๋องและอาหารแปรรูป, ผลิตภัณฑ์พลาสติก
นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันที่ 14 มี.ค.นี้จะเสนอครม.ให้อนุมัติ ส่งความช่วยเหลือไปยังประเทศญี่ปุ่นเป็นข้าวสารจำนวน 50,000 ตัน โดยแบ่งเป็นข้าวหอมประทุม 30,000 ตัน และข้าวเหนียว 20,000 ตัน ซึ่งสามารถนำไปปรุงผสมได้ตรงกับรสนิยมการบริโภคข้าวของชาวญี่ปุ่น ตรงกับความต้องการและความจำเป็นเร่งด่วนที่ไทยควรจะให้ความช่วยเหลือมิตรประเทศที่ดีของไทยมาโดยตลอด
***“โตโยต้า” ระดมสมองช่วยเหตุสึนามิ
แหล่งข่าวผู้บริหารระดับสูงจาก บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด (TMT) เปิดเผยกับ “ASTVผู้จัดการรายวัน” ว่า บริษัทกำลังประสานงานกับ บริษัทแม่ โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศ ญี่ปุ่น (TMC) รวมถึง บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ เอเชีย แปซิฟิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด (TMAP-EM) เตรียมทำโครงการช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากเหตุแผ่นดินไหว และสึนามิ ที่ประเทศญี่ปุ่น
บริษัทรู้สึกเสียใจกับความสูญเสียดังกล่าว และเตรียมให้ความช่วยเหลือเต็มที่ ซึ่งภายในสัปดาห์นี้จะมีการประชุมกับทุกฝ่ายเพื่อทำเป็นโครงการหรือกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ ผ่านทางรัฐบาลไทย รวมถึงหอการค้า ญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ (JCC)ที่ท่าน เคียวอิจิ ทานาดะ (กรรมการผู้จัดการใหญ่ TMT) เป็นรองประธานอยู่ ขณะเดียวกันบริษัท TMAP-EM สำนักงานใหญ่กรุงเทพฯ ก็เตรียมสนับสนุนด้านวิศวกรรม หรือเทคโนโลยีอย่างเต็มที่ ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับการร้องขอมาจากประเทศญี่ปุ่นด้วย
“เราต้องแสดงความมีน้ำใจออกไป โดยขั้นแรกจะเป็นการผนึกกำลัง ผ่านหอการค้า ญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นแพกเกจใหญ่ที่ทำได้ครอบคลุมและรวดเร็ว อย่างไรก็ตามในส่วนของโตโยต้า ก็อยากทำเป็นโครงการรวมใจคนไทย ส่งไปให้ผู้ประสบภัยประเทศญี่ปุ่น ส่วนรูปแบบความช่วยเหลือน่าจะได้ข้อสรุป และเตรียมประกาศอย่างเป็นทางการเร็วๆ นี้”
ในส่วนของโรงงานผลิตรถยนต์ของโตโยต้า ที่ประเทศญี่ปุ่นไม่ได้รับผลกระทบจากเหตุแผ่นดินไหวและสึนามิ ขณะเดียวกันโตโยต้า ประเทศไทย ไม่ได้ทำการผลิตรถยนต์ส่งกลับไปขายที่ประเทศญี่ปุ่น จึงแทบไม่มีผลกับการดำเนินธุรกิจและตลาดรถยนต์ในไทย แต่ประเด็นการชะลอตัวทางเศรฐกิจของญี่ปุ่น ก็ต้องจับตามองและอาจมีผลกับไทยเช่นกัน ซึ่งน่าจะเป็นช่วงระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้น.