การลุกขึ้นสู้ของชุมชนเพื่อเรียกร้องให้ยกเลิกโครงการขนาดใหญ่อีกกรณีหนึ่งที่ส่งผลสะเทือนทางสังคม และรับรู้กันอย่างกว้างขวางในหลายระดับของสังคมไทยและสังคมโลกก็คือ การลุกขึ้นมาต่อสู้กับโครงการโรงแยกก๊าซและท่อส่งก๊าซไทย-มาเลย์ ของพี่น้องในพื้นที่อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลาและใกล้เคียง ซึ่งเกิดขึ้นในสมัยตอนปลายของอดีตนายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย เชื่อมต่อกับยุคสมัยแรกของอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่เข้ามาสานต่อโครงการฯ
หรือถ้าพูดให้เข้ากับยุคสมัยนี้ก็จะสอดคล้องกับคำว่า “สวมตอ” กับการดำเนินโครงการที่ริเริ่มไว้ของรัฐบาลที่กุมบังเหียนโดยพรรคประชาธิปัตย์ คือในช่วงเวลาตั้งแต่ปี 2542 และจบลงในปี 2545 ตลอดช่วงเวลา 3-4 ปีของการลุกขึ้นสู้ของพี่น้องชุมชนในพื้นที่อำเภอจะนะ ได้ให้บทเรียนที่สำคัญแก่สังคมไทยในเกือบทุกแง่มุม ให้บทเรียนในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับบทบาทและหน้าที่ขององค์กร ของสถาบันทางสังคมที่มีอยู่ในสังคมไทยเกือบทุกระดับ
แม้ว่าวันนี้โรงแยกก๊าซและท่อส่งก๊าซฯ ได้ดำเนินการก่อสร้างสำเร็จเสร็จลง สามารถนำเอาก๊าซจากพื้นที่เจดีเอ ขึ้นมาแยกและส่งไปให้ประเทศมาเลย์ได้ตามสัญญา (ให้มาเลย์ใช้ก่อน 5 ปีและสามารถต่อไปได้อีก 5ปี) แต่บาดแผลทางสังคมอันเกี่ยวเนื่องกับการต่อสู้ในสนามของความขัดแย้งที่ผ่านมา ยังดำรงอยู่ ไม่ว่ายังมีความขัดแย้งที่คุกรุ่นอยู่ตลอดเวลาจากผลพวงที่ต่อเนื่องกันมาอย่างเช่นกรณีความในชั้นศาลจำนวน 4-5 คดีความที่ยังไม่จบ
ไม่ว่าคดีความที่ศาลปกครองสงขลาชี้ว่าการสลายการชุมนุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่กระทำต่อกลุ่มผู้คัดค้านจนเกิดเหตุปะทะกันที่หน้าโรงแรมเจบี หาดใหญ่ในวันที่ 20 ธันวาคม 2545 นั้น ฝ่ายตำรวจมีความผิดและเป็นการละเมิดต่อสิทธิของประชาชนที่ได้รับรองให้สิทธิ์ไว้ในรัฐธรรมนูญ ต้องชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับผู้ชุมนุม คดีความที่เจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมผู้ชุมนุมในเหตุการณ์ศาลชั้นต้นและอุทธรณ์ได้พิพากษายกฟ้องผู้ชุมนุมตามคำพิพากษาคดีดำที่ 1818/2546 คดีแดงหมายเลขที่ 1804/2547 ตอนนี้อยู่ในขั้นตอนของศาลฎีกา
ขณะเดียวกันกลุ่มผู้ชุมนุมได้ฟ้องกลับตำรวจที่เข้าสลายการชุมนุม ศาลได้ประทับรับฟ้องนายตำรวจตั้งแต่ ผบ.ตร.และนายตำรวจที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ทั้งหมดจำนวน 6 คนคือ พล.ต.อ.สันต์ ศรุตานนท์ อดีต ผบ.ตร. เป็นจำเลยที่ 1 โดยถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ออกคำสั่งให้สลายการชุมนุม ขณะที่ พล.ต.ต.สัญฐาน ชยนนท์ เป็นจำเลยที่ 2 โดยถูกกล่าวหาว่ารายงานเท็จต่อจำเลยที่ 1 ว่าผู้ชุมนุมฝ่าแผงเหล็กและทำร้ายเจ้าหน้าที่ตำรวจ ส่วน พ.ต.อ.สุรชัย สืบสุข พ.ต.ท.เล็ก มียัง พ.ต.ต.บัณฑูรย์ บุญเครือ และ พ.ต.ต.อธิชัย สมบูรณ์ ตกเป็นจำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 5 ที่ 6 ตามลำดับ
ตอนนี้คดีอยู่ในขั้นตอนของการสืบพยานฝ่ายโจทก์ที่นายตำรวจชุดดังกล่าวตกเป็นจำเลยต้องเดินเข้าสู่ขบวนการพิจารณาของศาลสงขลา นับเป็นกรณีแรกของการลุกขึ้นสู้ของชุมชนจนเป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่มีนายตำรวจระดับ ผบ.ตร. และนายตำรวจผู้ใหญ่ต้องตกเป็นจำเลยในกรณีของการลุกขึ้นสู้ของชุมชน และได้ชี้ให้เห็นถึงกลไกที่เป็นจุดอ่อนของกระบวนการยุติธรรมขั้นต้นของสังคมไทยได้อย่างชัดเจน
กล่าวคือ แม้ว่านายตำรวจดังกล่าวตกเป็นผู้จำเลย แต่กลไกในการบริหารของขบวนการยุติธรรมขั้นต้นที่มีระบบในการตรวจสอบ เพื่อหวังก่อให้เกิดความระมัดระวังในการใช้อำนาจของฝ่ายตำรวจ กลไกดังกล่าวชี้ให้เห็นว่ากระบวนการยุติธรรมขั้นต้นหามีผลในทางปฏิบัติใดๆ ไม่ กล่าวคือแม้นายตำรวจดังกล่าวจะตกเป็นจำเลยในคดีความที่มีความรุนแรง กระทบต่อการใช้สิทธิของชุมชนที่ได้รับการรองรับสิทธิไว้ตามรัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศกลับไม่มีการตั้งกรรมการขึ้นมาสอบสวนทางวินัย ไม่มีการพักราชการ แต่เขาเหล่านั้นกลับได้รับการเลื่อนขั้น เพิ่มยศ เพิ่มตำแหน่งให้เติบโตเสมือนไม่มีความผิดใดๆ
นี่คือจุดสำคัญหนึ่งที่เป็นจุดอ่อนของกระบวนการยุติธรรม ที่ไม่สามารถทำให้สังคมไทยเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมขั้นต้น ที่มีตำรวจเป็นต้นธารของกระบวนการ ตลอดถึงความยืดเยื้อล่าช้าในขั้นตอนทางกฎหมาย ความล่าช้ายืดเยื้อเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ขบวนการลงโทษคนกระทำความผิดชะล่าใจ เพราะกว่าความจริง ความเป็นธรรม ความยุติธรรมจะได้รับการพิสูจน์ให้ปรากฏ ผู้ทำผิดก็ลาโลกนี้ไปเรียบร้อยแล้ว หรือไม่คนที่ไม่มีความผิดที่เกิดความผิดพลาดในกระบวนการยุติธรรม ก็ทำให้พวกเขาต้องรับกรรมที่ตัวเองไม่ได้ก่อที่หลายๆ คนไม่มีชีวิตอยู่ได้เห็นความบริสุทธิ์ของตัวเองด้วยซ้ำ ความล่าช้าของขบวนการยุติธรรมจึงเป็นความไม่เป็นธรรมทั้งตัวมันเอง และเป็นสาเหตุของการสร้างความไม่เป็นธรรมและสร้างเหตุของความอยุติธรรมต่อเนื่องเพิ่มขึ้นอีกเรื่อยๆ
กรณีความขัดแย้งของโครงการโรงแยกก๊าซและท่อส่งก๊าซไทย-มาเลย์ยังลุกลามค้างคาเป็นบาดแผลในใจของผู้คนในชุมชนพื้นที่อำเภอจะนะที่สัมพันธ์เกี่ยวข้องกับมิติของศาสนาอิสลาม คือกรณีที่โครงการฯ ได้เข้าไปยึดครองที่ดินสาธารณะของชุมชนมุสลิม ที่เรียกกันว่า “ที่ดินวากัฟ” ที่ได้ลากเอาองค์กรสูงสุดของศาสนาอิสลามอย่างสำนักจุฬาราชมนตรีเข้ามาพัวพันในการตีความ ในการให้ความหมายของคำว่า “ที่ดินวากัฟ” แตกต่างจากความคิดความเชื่อที่มีอยู่ดั้งเดิมของพี่น้องมุสลิมในพื้นที่เกิดเหตุ และยังไม่สามารถคลายปมของความขัดแย้งในประเด็นนี้ลงได้จนถึงปัจจุบัน
แทบจะไม่แตกต่างกันกับความขัดแย้งที่เผชิญหน้ากันอยู่ในกรณีเรื่องเขาพระวิหารในปัจจุบัน กล่าวคือ ถ้านำหลักฐานและเหตุผลที่ปราศจากผลประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมของนักการเมือง ของเหล่าพ่อค้าข้าราชการที่เห็นแก่ผลประโยชน์ส่วนตัวแล้วไซร้ ความขัดแย้งก็จะจบลงได้พร้อมคำอธิบายประกอบหลักฐานที่มีอยู่ และผู้คนในสังคมก็จะรับกันได้เพราะหลักฐานและเหตุผลที่ไม่ใช่ผลประโยชน์ส่วนตัว ส่วนกลุ่มหรือของพรรคของพวก คือปัจจัยสำคัญที่จะคลี่คลายความขัดแย้งที่ดำรงอยู่ ทั้งในระดับชุมชนจนถึงระดับชาติ.
หรือถ้าพูดให้เข้ากับยุคสมัยนี้ก็จะสอดคล้องกับคำว่า “สวมตอ” กับการดำเนินโครงการที่ริเริ่มไว้ของรัฐบาลที่กุมบังเหียนโดยพรรคประชาธิปัตย์ คือในช่วงเวลาตั้งแต่ปี 2542 และจบลงในปี 2545 ตลอดช่วงเวลา 3-4 ปีของการลุกขึ้นสู้ของพี่น้องชุมชนในพื้นที่อำเภอจะนะ ได้ให้บทเรียนที่สำคัญแก่สังคมไทยในเกือบทุกแง่มุม ให้บทเรียนในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับบทบาทและหน้าที่ขององค์กร ของสถาบันทางสังคมที่มีอยู่ในสังคมไทยเกือบทุกระดับ
แม้ว่าวันนี้โรงแยกก๊าซและท่อส่งก๊าซฯ ได้ดำเนินการก่อสร้างสำเร็จเสร็จลง สามารถนำเอาก๊าซจากพื้นที่เจดีเอ ขึ้นมาแยกและส่งไปให้ประเทศมาเลย์ได้ตามสัญญา (ให้มาเลย์ใช้ก่อน 5 ปีและสามารถต่อไปได้อีก 5ปี) แต่บาดแผลทางสังคมอันเกี่ยวเนื่องกับการต่อสู้ในสนามของความขัดแย้งที่ผ่านมา ยังดำรงอยู่ ไม่ว่ายังมีความขัดแย้งที่คุกรุ่นอยู่ตลอดเวลาจากผลพวงที่ต่อเนื่องกันมาอย่างเช่นกรณีความในชั้นศาลจำนวน 4-5 คดีความที่ยังไม่จบ
ไม่ว่าคดีความที่ศาลปกครองสงขลาชี้ว่าการสลายการชุมนุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่กระทำต่อกลุ่มผู้คัดค้านจนเกิดเหตุปะทะกันที่หน้าโรงแรมเจบี หาดใหญ่ในวันที่ 20 ธันวาคม 2545 นั้น ฝ่ายตำรวจมีความผิดและเป็นการละเมิดต่อสิทธิของประชาชนที่ได้รับรองให้สิทธิ์ไว้ในรัฐธรรมนูญ ต้องชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับผู้ชุมนุม คดีความที่เจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมผู้ชุมนุมในเหตุการณ์ศาลชั้นต้นและอุทธรณ์ได้พิพากษายกฟ้องผู้ชุมนุมตามคำพิพากษาคดีดำที่ 1818/2546 คดีแดงหมายเลขที่ 1804/2547 ตอนนี้อยู่ในขั้นตอนของศาลฎีกา
ขณะเดียวกันกลุ่มผู้ชุมนุมได้ฟ้องกลับตำรวจที่เข้าสลายการชุมนุม ศาลได้ประทับรับฟ้องนายตำรวจตั้งแต่ ผบ.ตร.และนายตำรวจที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ทั้งหมดจำนวน 6 คนคือ พล.ต.อ.สันต์ ศรุตานนท์ อดีต ผบ.ตร. เป็นจำเลยที่ 1 โดยถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ออกคำสั่งให้สลายการชุมนุม ขณะที่ พล.ต.ต.สัญฐาน ชยนนท์ เป็นจำเลยที่ 2 โดยถูกกล่าวหาว่ารายงานเท็จต่อจำเลยที่ 1 ว่าผู้ชุมนุมฝ่าแผงเหล็กและทำร้ายเจ้าหน้าที่ตำรวจ ส่วน พ.ต.อ.สุรชัย สืบสุข พ.ต.ท.เล็ก มียัง พ.ต.ต.บัณฑูรย์ บุญเครือ และ พ.ต.ต.อธิชัย สมบูรณ์ ตกเป็นจำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 5 ที่ 6 ตามลำดับ
ตอนนี้คดีอยู่ในขั้นตอนของการสืบพยานฝ่ายโจทก์ที่นายตำรวจชุดดังกล่าวตกเป็นจำเลยต้องเดินเข้าสู่ขบวนการพิจารณาของศาลสงขลา นับเป็นกรณีแรกของการลุกขึ้นสู้ของชุมชนจนเป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่มีนายตำรวจระดับ ผบ.ตร. และนายตำรวจผู้ใหญ่ต้องตกเป็นจำเลยในกรณีของการลุกขึ้นสู้ของชุมชน และได้ชี้ให้เห็นถึงกลไกที่เป็นจุดอ่อนของกระบวนการยุติธรรมขั้นต้นของสังคมไทยได้อย่างชัดเจน
กล่าวคือ แม้ว่านายตำรวจดังกล่าวตกเป็นผู้จำเลย แต่กลไกในการบริหารของขบวนการยุติธรรมขั้นต้นที่มีระบบในการตรวจสอบ เพื่อหวังก่อให้เกิดความระมัดระวังในการใช้อำนาจของฝ่ายตำรวจ กลไกดังกล่าวชี้ให้เห็นว่ากระบวนการยุติธรรมขั้นต้นหามีผลในทางปฏิบัติใดๆ ไม่ กล่าวคือแม้นายตำรวจดังกล่าวจะตกเป็นจำเลยในคดีความที่มีความรุนแรง กระทบต่อการใช้สิทธิของชุมชนที่ได้รับการรองรับสิทธิไว้ตามรัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศกลับไม่มีการตั้งกรรมการขึ้นมาสอบสวนทางวินัย ไม่มีการพักราชการ แต่เขาเหล่านั้นกลับได้รับการเลื่อนขั้น เพิ่มยศ เพิ่มตำแหน่งให้เติบโตเสมือนไม่มีความผิดใดๆ
นี่คือจุดสำคัญหนึ่งที่เป็นจุดอ่อนของกระบวนการยุติธรรม ที่ไม่สามารถทำให้สังคมไทยเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมขั้นต้น ที่มีตำรวจเป็นต้นธารของกระบวนการ ตลอดถึงความยืดเยื้อล่าช้าในขั้นตอนทางกฎหมาย ความล่าช้ายืดเยื้อเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ขบวนการลงโทษคนกระทำความผิดชะล่าใจ เพราะกว่าความจริง ความเป็นธรรม ความยุติธรรมจะได้รับการพิสูจน์ให้ปรากฏ ผู้ทำผิดก็ลาโลกนี้ไปเรียบร้อยแล้ว หรือไม่คนที่ไม่มีความผิดที่เกิดความผิดพลาดในกระบวนการยุติธรรม ก็ทำให้พวกเขาต้องรับกรรมที่ตัวเองไม่ได้ก่อที่หลายๆ คนไม่มีชีวิตอยู่ได้เห็นความบริสุทธิ์ของตัวเองด้วยซ้ำ ความล่าช้าของขบวนการยุติธรรมจึงเป็นความไม่เป็นธรรมทั้งตัวมันเอง และเป็นสาเหตุของการสร้างความไม่เป็นธรรมและสร้างเหตุของความอยุติธรรมต่อเนื่องเพิ่มขึ้นอีกเรื่อยๆ
กรณีความขัดแย้งของโครงการโรงแยกก๊าซและท่อส่งก๊าซไทย-มาเลย์ยังลุกลามค้างคาเป็นบาดแผลในใจของผู้คนในชุมชนพื้นที่อำเภอจะนะที่สัมพันธ์เกี่ยวข้องกับมิติของศาสนาอิสลาม คือกรณีที่โครงการฯ ได้เข้าไปยึดครองที่ดินสาธารณะของชุมชนมุสลิม ที่เรียกกันว่า “ที่ดินวากัฟ” ที่ได้ลากเอาองค์กรสูงสุดของศาสนาอิสลามอย่างสำนักจุฬาราชมนตรีเข้ามาพัวพันในการตีความ ในการให้ความหมายของคำว่า “ที่ดินวากัฟ” แตกต่างจากความคิดความเชื่อที่มีอยู่ดั้งเดิมของพี่น้องมุสลิมในพื้นที่เกิดเหตุ และยังไม่สามารถคลายปมของความขัดแย้งในประเด็นนี้ลงได้จนถึงปัจจุบัน
แทบจะไม่แตกต่างกันกับความขัดแย้งที่เผชิญหน้ากันอยู่ในกรณีเรื่องเขาพระวิหารในปัจจุบัน กล่าวคือ ถ้านำหลักฐานและเหตุผลที่ปราศจากผลประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมของนักการเมือง ของเหล่าพ่อค้าข้าราชการที่เห็นแก่ผลประโยชน์ส่วนตัวแล้วไซร้ ความขัดแย้งก็จะจบลงได้พร้อมคำอธิบายประกอบหลักฐานที่มีอยู่ และผู้คนในสังคมก็จะรับกันได้เพราะหลักฐานและเหตุผลที่ไม่ใช่ผลประโยชน์ส่วนตัว ส่วนกลุ่มหรือของพรรคของพวก คือปัจจัยสำคัญที่จะคลี่คลายความขัดแย้งที่ดำรงอยู่ ทั้งในระดับชุมชนจนถึงระดับชาติ.