ASTVผู้จัดการรายวัน - สำรวจดัชนีปริมาณการค้าปลีกค้าส่งปี 53 พบคนไทยไม่แคร์ของใหม่ แห่ชอปปิ้งสินค้ามือสองกระจายเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 44.5% ขณะที่สินค้าขึ้นห้างโตเฉียด 10% ส่วนยอดขายปลีก-ส่งเครื่องใช้ไฟฟ้า ของใช้ในบ้านโตดี 11.5%
รายงานจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แจ้งว่า ธปท.ได้รายงานสถานการณ์การค้าขายและการใช้จ่ายของประชาชนตลอดปี 2553 ที่ผ่านมา พบว่า ดัชนีปริมาณการค้าส่งสินค้าในปีที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้ามากถึง 10.1% ขณะที่ดัชนีปริมาณการค้าปลีกขยายตัวเพิ่มขึ้น 9.7% แสดงให้เห็นการใช้จ่ายของประชาชนในประเทศที่เพิ่มขึ้น และส่วนหนึ่งเป็นผลจากการส่งออกที่ขยายตัวได้ในระดับที่ดีในปี 2553
ในส่วนของปริมาณการค้าปลีกนั้นถึงแม้จะมีการมใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น แต่ก็ได้แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป โดยมีความนิยมสินค้ามือสอง หรือสินค้าใช้แล้วมากขึ้น โดยปริมาณการขายปลีกของที่ใช้แล้วในร้านค้าต่างๆ ปีที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อนถึง 44.5 % ขณะที่การค้าปลีกสินค้าเร่อื่นๆ ที่ไม่มีร้านค้าขายประจำขยายตัวเพิ่มขึ้น 13.6% นอกจากนั้น ความต้องการสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้หมดการขายปลีกเครื่องใช้ สิ่งของ และอุปกรณ์ในครัวเรือนขยายตัวเพิ่มขึ้น 11.5% เหตุเพราะมีเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามา เช่น โทรทัศน์จอแอลอีดี และสมาร์ทโฟน
ขณะที่เมื่อติดตามปริมาณการขายปลีกสินค้าทั่วไปในห้างสรรพสินค้า ซุปเปอร์มาร์เก็ต และร้านสะดวกซื้อมีปริมาณสินค้าที่ขายได้เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 9.5% ส่วนการขายปลีกตามแผงลอยและตลาดสดขายของได้เพิ่มขึ้น 5.9% สำหรับการขายปลีกสิ่งทอ เสื้อผ้า รองเท้า และเครื่องหนังขยายตัวได้ต่อเนื่องเช่นกัน โดยขยายตัวเพิ่มขึ้น 6.7% ส่วนสินค้าเพื่อความสวยความงามคนไทยยังให้ความสำคัญกับความสวยงามต่อเนื่อง โดยสินค้าทางเภสัชกรรม เวชภัณฑ์ เครื่องสำอางเครื่องประทินร่างกายและประเทืองโมขยายตัวเพิ่มขึ้น 5.4% อย่างไรก็ตาม สินค้าประเภทเครื่องดื่มและยาสูบ ในปีที่ผ่านมามีปริมาณขายลดลงค่อนข้างมาก โดยปริมาณการขายลดลง 25.9% รวมถึงสินค้าต่างๆ ที่จำหน่วยโดยวิธีสั่งทางไปรษณีย์ ยอดจำหน่วยลดลง 33%
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า สินค้าอีกประเภทหนึ่งที่มีปริมาณการขายปลีกเพิ่มขึ้น คือ สินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งในปี 2553 ที่ผ่านมาขยายตัวได้ดี รวมถึงการขยายการลงทุนของธุรกิจ เห็นได้จากสินค้าในหมวดเครื่องโลหะ สีทาและกระจก ปริมาณการจำหน่ายเพิ่มขึ้น 12.9% สอดคล้องกับปริมารการค้าส่งวัสดุก่อสร้าง เครื่องโลหะอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการวางท่อง และการทำความร้อนที่เพิ่มขึ้น 12.9% เช่นกัน ขณะที่การขายส่งโลหะและแร่โลหะเพิ่มขึ้น 19.3% และการขายส่งเครื่องจักร อุปกรณ์ และเครื่องมือจำหน่วยได้เพิ่มขึ้น 14.3%
สำหรับภาคการเกษตร การขายส่งวัตถุดิบทางการเกษตร และสัตว์มีชีวิตในปี 2553 ที่ผ่านมา ขยายตัวเพิ่มขึ้น 6.9% อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาในด้านราคา พบว่าปีที่ผ่านมาสินค้าภาคการเกษตรราคาสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยดัชนีราคาพืชผลทางการเกษตรที่สำคัญ เพิ่มขึ้น 28.4% ซึ่งราคาเพิ่มขึ้นทุกรายการ ยกเว้นข้าวที่ราคาลดลงจากปีก่อนหน้า โดยข้าวหอมมะลิราคาลดลง 11.3% ข้าวเปลือกเจ้าชั้น 1 ราคาลดลง 8.4% ขณะที่ดัชนีราคาปศุสัตว์ เพิ่มขึ้นจากปี 2552 ทั้งสิ้น 8% ดัชนีราคาสินค้ากลุ่มประมง ปรับตัวสูงขึ้น 5.3%.
รายงานจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แจ้งว่า ธปท.ได้รายงานสถานการณ์การค้าขายและการใช้จ่ายของประชาชนตลอดปี 2553 ที่ผ่านมา พบว่า ดัชนีปริมาณการค้าส่งสินค้าในปีที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้ามากถึง 10.1% ขณะที่ดัชนีปริมาณการค้าปลีกขยายตัวเพิ่มขึ้น 9.7% แสดงให้เห็นการใช้จ่ายของประชาชนในประเทศที่เพิ่มขึ้น และส่วนหนึ่งเป็นผลจากการส่งออกที่ขยายตัวได้ในระดับที่ดีในปี 2553
ในส่วนของปริมาณการค้าปลีกนั้นถึงแม้จะมีการมใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น แต่ก็ได้แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป โดยมีความนิยมสินค้ามือสอง หรือสินค้าใช้แล้วมากขึ้น โดยปริมาณการขายปลีกของที่ใช้แล้วในร้านค้าต่างๆ ปีที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อนถึง 44.5 % ขณะที่การค้าปลีกสินค้าเร่อื่นๆ ที่ไม่มีร้านค้าขายประจำขยายตัวเพิ่มขึ้น 13.6% นอกจากนั้น ความต้องการสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้หมดการขายปลีกเครื่องใช้ สิ่งของ และอุปกรณ์ในครัวเรือนขยายตัวเพิ่มขึ้น 11.5% เหตุเพราะมีเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามา เช่น โทรทัศน์จอแอลอีดี และสมาร์ทโฟน
ขณะที่เมื่อติดตามปริมาณการขายปลีกสินค้าทั่วไปในห้างสรรพสินค้า ซุปเปอร์มาร์เก็ต และร้านสะดวกซื้อมีปริมาณสินค้าที่ขายได้เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 9.5% ส่วนการขายปลีกตามแผงลอยและตลาดสดขายของได้เพิ่มขึ้น 5.9% สำหรับการขายปลีกสิ่งทอ เสื้อผ้า รองเท้า และเครื่องหนังขยายตัวได้ต่อเนื่องเช่นกัน โดยขยายตัวเพิ่มขึ้น 6.7% ส่วนสินค้าเพื่อความสวยความงามคนไทยยังให้ความสำคัญกับความสวยงามต่อเนื่อง โดยสินค้าทางเภสัชกรรม เวชภัณฑ์ เครื่องสำอางเครื่องประทินร่างกายและประเทืองโมขยายตัวเพิ่มขึ้น 5.4% อย่างไรก็ตาม สินค้าประเภทเครื่องดื่มและยาสูบ ในปีที่ผ่านมามีปริมาณขายลดลงค่อนข้างมาก โดยปริมาณการขายลดลง 25.9% รวมถึงสินค้าต่างๆ ที่จำหน่วยโดยวิธีสั่งทางไปรษณีย์ ยอดจำหน่วยลดลง 33%
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า สินค้าอีกประเภทหนึ่งที่มีปริมาณการขายปลีกเพิ่มขึ้น คือ สินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งในปี 2553 ที่ผ่านมาขยายตัวได้ดี รวมถึงการขยายการลงทุนของธุรกิจ เห็นได้จากสินค้าในหมวดเครื่องโลหะ สีทาและกระจก ปริมาณการจำหน่ายเพิ่มขึ้น 12.9% สอดคล้องกับปริมารการค้าส่งวัสดุก่อสร้าง เครื่องโลหะอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการวางท่อง และการทำความร้อนที่เพิ่มขึ้น 12.9% เช่นกัน ขณะที่การขายส่งโลหะและแร่โลหะเพิ่มขึ้น 19.3% และการขายส่งเครื่องจักร อุปกรณ์ และเครื่องมือจำหน่วยได้เพิ่มขึ้น 14.3%
สำหรับภาคการเกษตร การขายส่งวัตถุดิบทางการเกษตร และสัตว์มีชีวิตในปี 2553 ที่ผ่านมา ขยายตัวเพิ่มขึ้น 6.9% อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาในด้านราคา พบว่าปีที่ผ่านมาสินค้าภาคการเกษตรราคาสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยดัชนีราคาพืชผลทางการเกษตรที่สำคัญ เพิ่มขึ้น 28.4% ซึ่งราคาเพิ่มขึ้นทุกรายการ ยกเว้นข้าวที่ราคาลดลงจากปีก่อนหน้า โดยข้าวหอมมะลิราคาลดลง 11.3% ข้าวเปลือกเจ้าชั้น 1 ราคาลดลง 8.4% ขณะที่ดัชนีราคาปศุสัตว์ เพิ่มขึ้นจากปี 2552 ทั้งสิ้น 8% ดัชนีราคาสินค้ากลุ่มประมง ปรับตัวสูงขึ้น 5.3%.