ลำปาง - เครือข่ายผู้ป่วยแม่เมาะ เปิดเวทีสะท้อนความจริงเจตนารมณ์กองทุนพัฒนาชุมชนรอบโรงไฟฟ้า หลังเข้าไม่ถึงงบช่วยเหลือ ทั้งๆที่เป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง แฉเงินกองทุนฯกว่าพันล้านโดนถลุงอย่างหนัก
วานนี้(3 มี.ค.) สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน ร่วมกับเครือข่ายสิทธิผู้ป่วย ได้จัดสัมมนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับเจตนารมณ์ของการตั้งกองทุนพัฒนาชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า ณ ศาลาประชาคมอำเภอแม่เมาะ อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง มีชาวบ้านในพื้นที่ 5 ตำบลของอำเภอแม่เมาะ เข้าร่วมประมาณ 500 คน
ทั้งนี้ มีนายสุวัฒน์ พรมสุวรรณ ปลัดจังหวัดลำปาง เป็นประธานเปิดการสัมมนา พร้อมด้วยนายวีระกิจ อิทรวิจิตร นายอำเภอแม่เมาะ นายวีระ ชมพันธุ์ นายวิโรจน์ ช่างสาร คณะกรรมการสิ่งแวดล้อม สภาทนายความ นางมะลิวรรณ นาควิโรจน์ เลขาธิการเครือข่ายสิทธิผู้ป่วยแม่เมาะ เข้าร่วมให้ข้อคิดเห็น และนายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน เป็นผู้ดำเนินการสัมมนา
เวทีสัมมนา ได้เน้นไปในเรื่องเจตนารมณ์ของการก่อตั้งกองทุนพัฒนาชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าแม่เมาะ ซึ่งเจตนารมณ์เริ่มแรกนั้นแบ่งออกเป็นพื้นที่ชั้นใน ได้แก่ ตำบลในรัศมี 5 กิโลเมตร จากขอบเขตของโรงไฟฟ้าหรือนิคมอุตสาหกรรมที่โรงไฟฟ้าตั้งอยู่ และพื้นที่ชั้นนอก ซึ่งเป็นพื้นที่ที่อยู่นอกเหนือพื้นที่ชั้นใน
ในระยะเริ่มแรกจะขึ้นอยู่กับการพิจารณาร่วมกันระหว่างผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ ผู้แทนโรงไฟฟ้า และผู้แทนกระทรวงพลังงาน และเมื่อได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการฯ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว คณะกรรมการฯ จะสามารถพิจารณาปรับปรุงได้ตามความเหมาะสม พร้อมทั้งได้มีการกำหนดพื้นรอบโรงไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าพลังน้ำนั้นจะต้องคำนึงถึงผู้ได้รับผลกระทบจากโรงไฟฟ้าพลังน้ำทั้งเหนือเขื่อนและท้ายเขื่อนด้วย
แต่ทว่าตลอดระยะเวลาเกือบ 4 ปีที่ผ่านมามีการนำเงินกองทุนฯ รวมกว่า1 พันล้านบาท ไปใช้โดยขาดกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสีย มีการนำเงินไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ ไม่สามารถตอบสนองความต้องการที่แท้จริงหรือความจำเป็นเร่งด่วนตามที่สังคมร้องขอ ซึ่งทำให้ต้องกลับมามองว่าการดำเนินงานของกองทุนฯ เป็นการดำเนินการตามเจตนารมณ์ที่แท้จริงหรือไม่
ประกอบกับที่ผ่านมากลุ่มผู้ป่วยฯ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงกลับเข้าไม่ถึงกองทุนฯ ดังกล่าว ดังนั้น จึงได้จัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียขึ้นในวันนี้ เพื่อแสวงหาเพื่อสะท้อนความเห็นจากกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาข้อยุติร่วมกันว่ากองทุนดังกล่าว จะยังคงต้องดำเนินงานตามเจตนารมณ์ของการจัดตั้งหรือไม่อย่างไร และมีแนวทางที่ควรจะเป็นเพียงใด หรือว่าจะปล่อยให้การดำเนินงานเป็นไป
วานนี้(3 มี.ค.) สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน ร่วมกับเครือข่ายสิทธิผู้ป่วย ได้จัดสัมมนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับเจตนารมณ์ของการตั้งกองทุนพัฒนาชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า ณ ศาลาประชาคมอำเภอแม่เมาะ อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง มีชาวบ้านในพื้นที่ 5 ตำบลของอำเภอแม่เมาะ เข้าร่วมประมาณ 500 คน
ทั้งนี้ มีนายสุวัฒน์ พรมสุวรรณ ปลัดจังหวัดลำปาง เป็นประธานเปิดการสัมมนา พร้อมด้วยนายวีระกิจ อิทรวิจิตร นายอำเภอแม่เมาะ นายวีระ ชมพันธุ์ นายวิโรจน์ ช่างสาร คณะกรรมการสิ่งแวดล้อม สภาทนายความ นางมะลิวรรณ นาควิโรจน์ เลขาธิการเครือข่ายสิทธิผู้ป่วยแม่เมาะ เข้าร่วมให้ข้อคิดเห็น และนายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน เป็นผู้ดำเนินการสัมมนา
เวทีสัมมนา ได้เน้นไปในเรื่องเจตนารมณ์ของการก่อตั้งกองทุนพัฒนาชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าแม่เมาะ ซึ่งเจตนารมณ์เริ่มแรกนั้นแบ่งออกเป็นพื้นที่ชั้นใน ได้แก่ ตำบลในรัศมี 5 กิโลเมตร จากขอบเขตของโรงไฟฟ้าหรือนิคมอุตสาหกรรมที่โรงไฟฟ้าตั้งอยู่ และพื้นที่ชั้นนอก ซึ่งเป็นพื้นที่ที่อยู่นอกเหนือพื้นที่ชั้นใน
ในระยะเริ่มแรกจะขึ้นอยู่กับการพิจารณาร่วมกันระหว่างผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ ผู้แทนโรงไฟฟ้า และผู้แทนกระทรวงพลังงาน และเมื่อได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการฯ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว คณะกรรมการฯ จะสามารถพิจารณาปรับปรุงได้ตามความเหมาะสม พร้อมทั้งได้มีการกำหนดพื้นรอบโรงไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าพลังน้ำนั้นจะต้องคำนึงถึงผู้ได้รับผลกระทบจากโรงไฟฟ้าพลังน้ำทั้งเหนือเขื่อนและท้ายเขื่อนด้วย
แต่ทว่าตลอดระยะเวลาเกือบ 4 ปีที่ผ่านมามีการนำเงินกองทุนฯ รวมกว่า1 พันล้านบาท ไปใช้โดยขาดกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสีย มีการนำเงินไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ ไม่สามารถตอบสนองความต้องการที่แท้จริงหรือความจำเป็นเร่งด่วนตามที่สังคมร้องขอ ซึ่งทำให้ต้องกลับมามองว่าการดำเนินงานของกองทุนฯ เป็นการดำเนินการตามเจตนารมณ์ที่แท้จริงหรือไม่
ประกอบกับที่ผ่านมากลุ่มผู้ป่วยฯ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงกลับเข้าไม่ถึงกองทุนฯ ดังกล่าว ดังนั้น จึงได้จัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียขึ้นในวันนี้ เพื่อแสวงหาเพื่อสะท้อนความเห็นจากกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาข้อยุติร่วมกันว่ากองทุนดังกล่าว จะยังคงต้องดำเนินงานตามเจตนารมณ์ของการจัดตั้งหรือไม่อย่างไร และมีแนวทางที่ควรจะเป็นเพียงใด หรือว่าจะปล่อยให้การดำเนินงานเป็นไป