เอเอฟพี – นักวิจัยค้นพบข้อเท็จจริงสุดเซอร์ไพรส์ ชี้ยิ่งมีตัวเลือกมากเท่าไหร่ ยิ่งเสี่ยงพวงมาลัยหาคู่ยากขึ้น และมีแนวโน้มกลับบ้านมือเปล่า
ในการศึกษาชิ้นใหม่ นักวิจัยอังกฤษศึกษาพลวัตของตัวเลือกในการหาคู่แบบด่วนจี๋ ซึ่งเป็นวิธียอดนิยมสำหรับคนโสดขณะนี้
คนที่เข้าร่วมสปีดเดทจะได้คุยกับว่าที่คู่นัดแบบตัวต่อตัวและเวียนไปจนครบ และต้องชั่งใจถึงความเหมาะสมในการคบหากันหลังจากคุยกันแค่ไม่กี่นาที
นักวิจัยพบว่า การประเมินแคนดิเดทกลุ่มใหญ่ไม่ใช่ปัญหาโดยตัวของมันเอง แต่จะเป็นผลดีด้วยซ้ำถ้าแคนดิเดทเหล่านั้นมีนิสัยใจคอหรือรูปร่างหน้าตาในระดับใกล้เคียงกัน
แต่ถ้าแคนดิเดทมีคุณลักษณะที่แตกต่างกันอย่างมาก เรามักสับสนกับปัจจัยขัดแย้งที่มีอยู่มากมายเหล่านั้น และทำให้ไม่สามารถปักใจเลือกใครได้
อลิสัน เลนตัน จากมหาวิทยาลัยเอดินบะระในสก็อตแลนด์ อธิบายว่าความมีเหตุผลของคนเป็นสิ่งที่ดี แต่สิ่งที่น่าประหลาดใจก็คือ บางคนในการวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่า ตัวเลือกที่มากขึ้นนำไปสู่ความสับสนในการเลือก และคนเรามักจบลงที่เลือกไม่ได้เมื่อเผชิญความแตกต่างหลากหลายจำนวนมาก
งานศึกษาชิ้นนี้ที่ตีพิมพ์อยู่ในวารสารไบโอโลจี้ เล็ตเตอร์ส ของอังกฤษ สังเกตการณ์การเดทด่วนของผู้หญิง 1,868 คน และผู้ชาย 1,870 คนในงานสปีดเดท 84 งาน
คนโสดที่อยากมีคู่จะให้รายละเอียดเกี่ยวกับหน้าที่การงาน ระดับการศึกษา อายุ ส่วนสูง น้ำหนัก และศาสนาของตน เพื่อให้นักวิจัยจำแนกความแตกต่าง
นักวิจัยพบว่าอายุเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างผู้หญิงคือ 34.3 ปี ผู้ชาย 35.6 ปี, ผู้หญิง 20% และผู้ชาย 27% ทำงานในสายวิชาชีพหรือตำแหน่งบริหาร ส่วนที่เหลือบอกว่าตัวเองเป็นพนักงานมีทักษะที่ไม่ใช้แรงงานหรืออาชีพอื่นๆ
ผู้เข้าร่วมสปีดเดทจะได้คุยกับแคนดิเดทแต่ละคน 3 นาที โดยรวมแล้วจะมีเพศตรงข้ามให้ทำความรู้จัก 15-31 คน
หลังเลิกงาน ผู้จัดงานจะจับคู่คนที่มีความสนใจเหมือนกัน เพื่อเปิดโอกาสสำหรับการสานต่อความสัมพันธ์
นักวิจัยพบว่า ปกติแล้วงานสปีดเดทขนาดใหญ่จะมี ‘ข้อเสนอ’ 123 ข้อ ซึ่งหมายถึงกรณีที่แคนดิเดทมีความสนใจคล้ายกัน แต่จำนวนข้อเสนอจะลดลงกว่า 1 ใน 4 อยู่ที่ 88 ข้อเมื่อแคนดิเดทมีลักษณะที่หลากหลาย
ส่วนงานสปีดเดทขนาดเล็กจะนำไปสู่ข้อเสนอ 85 ข้อ และลดลงเกือบ 1 ใน 3 เหลือ 57 ข้อเมื่อแคนดิเดทมีลักษณะที่หลากหลาย
ผู้ชายกระตือรือร้นในการสร้างข้อเสนอมากกว่าผู้หญิง และมีแนวโน้มมากกว่าเช่นกันที่จะงุนงงกับตัวเลือก
“การจัดการกับความหลากหลายต้องใช้สมาธิและความจำ” เลนตันแจกแจงและว่า การเพิ่มเวลาพูดคุยให้นานขึ้นไม่ช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้น
“เป็นเรื่องปกติมากๆ ที่เรามักตัดสินใจคนอื่นโดยใช้เวลาเพียงเสี้ยววินาที และเมื่อตัดสินไปแล้วก็ยากที่จะเปลี่ยนใจ”
ในการศึกษาชิ้นใหม่ นักวิจัยอังกฤษศึกษาพลวัตของตัวเลือกในการหาคู่แบบด่วนจี๋ ซึ่งเป็นวิธียอดนิยมสำหรับคนโสดขณะนี้
คนที่เข้าร่วมสปีดเดทจะได้คุยกับว่าที่คู่นัดแบบตัวต่อตัวและเวียนไปจนครบ และต้องชั่งใจถึงความเหมาะสมในการคบหากันหลังจากคุยกันแค่ไม่กี่นาที
นักวิจัยพบว่า การประเมินแคนดิเดทกลุ่มใหญ่ไม่ใช่ปัญหาโดยตัวของมันเอง แต่จะเป็นผลดีด้วยซ้ำถ้าแคนดิเดทเหล่านั้นมีนิสัยใจคอหรือรูปร่างหน้าตาในระดับใกล้เคียงกัน
แต่ถ้าแคนดิเดทมีคุณลักษณะที่แตกต่างกันอย่างมาก เรามักสับสนกับปัจจัยขัดแย้งที่มีอยู่มากมายเหล่านั้น และทำให้ไม่สามารถปักใจเลือกใครได้
อลิสัน เลนตัน จากมหาวิทยาลัยเอดินบะระในสก็อตแลนด์ อธิบายว่าความมีเหตุผลของคนเป็นสิ่งที่ดี แต่สิ่งที่น่าประหลาดใจก็คือ บางคนในการวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่า ตัวเลือกที่มากขึ้นนำไปสู่ความสับสนในการเลือก และคนเรามักจบลงที่เลือกไม่ได้เมื่อเผชิญความแตกต่างหลากหลายจำนวนมาก
งานศึกษาชิ้นนี้ที่ตีพิมพ์อยู่ในวารสารไบโอโลจี้ เล็ตเตอร์ส ของอังกฤษ สังเกตการณ์การเดทด่วนของผู้หญิง 1,868 คน และผู้ชาย 1,870 คนในงานสปีดเดท 84 งาน
คนโสดที่อยากมีคู่จะให้รายละเอียดเกี่ยวกับหน้าที่การงาน ระดับการศึกษา อายุ ส่วนสูง น้ำหนัก และศาสนาของตน เพื่อให้นักวิจัยจำแนกความแตกต่าง
นักวิจัยพบว่าอายุเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างผู้หญิงคือ 34.3 ปี ผู้ชาย 35.6 ปี, ผู้หญิง 20% และผู้ชาย 27% ทำงานในสายวิชาชีพหรือตำแหน่งบริหาร ส่วนที่เหลือบอกว่าตัวเองเป็นพนักงานมีทักษะที่ไม่ใช้แรงงานหรืออาชีพอื่นๆ
ผู้เข้าร่วมสปีดเดทจะได้คุยกับแคนดิเดทแต่ละคน 3 นาที โดยรวมแล้วจะมีเพศตรงข้ามให้ทำความรู้จัก 15-31 คน
หลังเลิกงาน ผู้จัดงานจะจับคู่คนที่มีความสนใจเหมือนกัน เพื่อเปิดโอกาสสำหรับการสานต่อความสัมพันธ์
นักวิจัยพบว่า ปกติแล้วงานสปีดเดทขนาดใหญ่จะมี ‘ข้อเสนอ’ 123 ข้อ ซึ่งหมายถึงกรณีที่แคนดิเดทมีความสนใจคล้ายกัน แต่จำนวนข้อเสนอจะลดลงกว่า 1 ใน 4 อยู่ที่ 88 ข้อเมื่อแคนดิเดทมีลักษณะที่หลากหลาย
ส่วนงานสปีดเดทขนาดเล็กจะนำไปสู่ข้อเสนอ 85 ข้อ และลดลงเกือบ 1 ใน 3 เหลือ 57 ข้อเมื่อแคนดิเดทมีลักษณะที่หลากหลาย
ผู้ชายกระตือรือร้นในการสร้างข้อเสนอมากกว่าผู้หญิง และมีแนวโน้มมากกว่าเช่นกันที่จะงุนงงกับตัวเลือก
“การจัดการกับความหลากหลายต้องใช้สมาธิและความจำ” เลนตันแจกแจงและว่า การเพิ่มเวลาพูดคุยให้นานขึ้นไม่ช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้น
“เป็นเรื่องปกติมากๆ ที่เรามักตัดสินใจคนอื่นโดยใช้เวลาเพียงเสี้ยววินาที และเมื่อตัดสินไปแล้วก็ยากที่จะเปลี่ยนใจ”