สองวันก่อน เพื่อนได้ชักนำให้ไปทานข้าวเย็นกับนักโบราณคดีและนักประวัติศาสตร์นามอุโฆษซึ่งเป็นชาวต่างชาติ ท่านผู้นี้เขียนหนังสือเกี่ยวกับนครวัดไว้หลายเล่มในวรรณกรรมโลก
ระหว่างอาหาร ผมได้นำเสนอทฤษฎีคนสยามสร้างนครวัด พระเจ้าอู่ทองมาจากนครวัด และเขมรไม่ใช่ขอมต่อท่าน พร้อมชี้แจงแสดงเหตุผลตามที่ผมได้นำเสนอมาในบทความก่อนหน้านี้
ท่านเคี้ยวแก้มตุ่ยไปพลางพร้อมรับไปว่ามันสมเหตุผลทีเดียว และอยากให้ผมนำเสนอทฤษฎีต่อที่ประชุมวิชาการด้านโบราณคดี
ระหว่างนั้นมีอาหารจานเด็ดที่เจ้าของร้านทำมาให้เป็นบรรณาการกับแขกพิเศษของร้าน บรรยายนำว่าวัตถุดิบนำมาจากจงกั๋วประเทศอันไกลโพ้น ท่านลองชิมครึ่งคำ ทำหน้าเบ้ พร้อมอุทานว่า “ไม่อร่อย” และไม่กินอีกเลย ขนาดฝรั่งที่ว่าเถรตรงแล้วนั้น ส่วนใหญ่ถ้าไม่อร่อยเขาจะอ้อมแอ้มว่า “อึมม์ มันแตกต่างนะ” (hmm..it’s different) หมายความว่า มันแตกต่างไปจากรสชาติเดิมๆ ที่เขาเคยชิน
การที่คนตรงอย่างท่านยอมรับทฤษฎีผมในเบื้องต้นยังความลิงโลดใจให้ผมมาก เพราะท่านคงไม่พูดเพื่อเอาใจคนไร้ชื่ออย่างผมหรอก
ผมท้วงท่านว่า ถ้าให้คนไร้ชื่ออย่างผมไปพูดลำพังคงยาก จึงอยากให้ท่านร่วมเป็นผู้แต่ง โดยผมได้ยกร่างบทความเป็นภาษาอังกฤษส่งไปให้ท่านแล้ว ๗ หน้ากระดาษ
บัดนี้ผมได้ตัดสินใจแล้วว่า แม้ท่านไม่ยอมร่วมแต่งด้วย ผมก็จะไม่ย่อท้อ จะขอสู้ต่อไปตามวิสัยหัวกระเทียมโทนเล็กลีบ
หวนกลับมาเรื่องหลักฐาน.. ในบทความนี้ผมขอเสนอเพิ่มอีกสอง หนึ่งคือ การที่เขมรทิ้งนครวัดไปหลังจากโดนกองทัพสยามบุกไปล้างแค้นหนที่สอง โดยอพยพทิ้งให้เป็นเมืองร้างไปเลย ซึ่งไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นไปได้ เพราะการทิ้งเมืองที่ทั้งใหญ่และ “ยิ่งใหญ่” เพียงเพราะศึกสงครามนั้นมันยากมาก..เนื่องเพราะมันจะต้องเกิดการเสียดาย อาลัยอาวรณ์เป็นที่สุด
ก็เมื่อก่อนโดนพวกแขกจามบุกยึดยาวนาน ทำทารุณกรรมสาหัสกว่านั้นมากนัก ก็ยังไม่เห็นทิ้งเมือง ก็ซุ่มรอจังหวะเพื่อกู้บ้านกู้เมืองตามวิสัยโลกทั่วไปในยุคนั้น แม้สยามทิ้งอยุธยาก็ไม่ได้ทิ้งเพราะหนีพม่า และก็ไม่ได้ทิ้งให้ร้างแต่ยังมีคนอยู่ตลอดมา
การทิ้งเมืองอันยิ่งใหญ่ไปได้ง่ายๆ เช่นนั้น แสดงชัดว่าเขมรไม่ได้สร้างนครวัดมากับมือด้วยความยากลำบาก แต่ได้มันมาฟรีๆ จากการลุกฮือของพวกทาสในสมัยพระเจ้าแตงหวาน ดังนั้นก็เลยไม่คิดเสียดายอะไร...ก็กะอีแค่เมืองที่เต็มไปด้วยหิน..ก็ของอะไรที่ได้มาง่ายๆ มันมักด้อยค่าเสมอ
แถมยังอาจคิดกลัวผีเสียอีกด้วย เพราะเมืองนี้เต็มไปด้วยภูตผีเทพเจ้าหลากหลายที่สามารถหักคอได้ทุกเมื่อ...ตามที่เล่ากันมาเป็นตำนาน
ส่วนสยามนั้นแม้สร้างเมืองนี้มาด้วยมือ แต่บัดนั้นก็ไปตั้งรกรากใหม่ที่อยุธยาแล้ว ก็คงไม่คิดหวนคืนกลับมาใหม่ อีกทั้งศาสนาก็เปลี่ยนเป็นพุทธเต็มตัวแล้วด้วย ก็เลยไม่ค่อยให้ความสำคัญกับปราสาทเหล่านี้ซึ่งส่วนใหญ่เป็นปราสาททางคติพราหมณ์ (ยกเว้นบายน)
หลักฐานชิ้นที่สอง คือ ชื่อของปราสาททั้งหลายที่นครวัดและนครธม ส่วนใหญ่ (๘๐%) เป็นชื่อที่มีสำเนียงสยาม ซึ่งส่อให้เห็นว่ากษัตริย์ผู้สร้างปราสาทเหล่านี้เป็นคนเชื้อสายสยาม ขอยกตัวอย่างเป็นข้อๆ ดังนี้ :-
๑) นครวัด : วัด เป็นคำสยามโบราณ ไม่ใช่คำเขมรแน่ๆ
๒) นครธม : ผมได้เฉลยไว้แล้วว่า ธม คือ ธัม ธมฺ หรือ ธรรม ไม่ใช่คำเขมรที่แปลว่า “ใหญ่” อย่างที่เชื่อกันมานาน (ตามฝรั่ง) แต่ทำไมใช้ ธมฺ (บาลี) ไม่ใช่ ธรรม (สันสกฤต) นี่แสดงว่าได้รับอิทธิพลจากสยามซึ่งนิยมบาลีมากกว่าสันสกฤต
๓) ปราสาทนาคพัน : นาค หดมาจาก นาคา (สันสกฤต) ซึ่งหลักการหดพยางค์แบบนี้มันหลักสยามแท้ๆ ส่วน พัน ส่อกิริยาการพันขดของนาค ก็ภาษาสยามทั้งสองพยางค์
๔) ปราสาทปักษีจำกรง : ปักษี (นก) (ถูกจอง) จำ (อยู่ใน) กรง ..สำเนียงสยามแท้ๆ เลย
๕) ปราสาทพระขรรค์ ...พระวิหาร.. พระรูป : “พระ” เป็นคำสำคัญที่สุดในภาษาสยาม ผันมาจาก “วร” (วะระ) ในสันสกฤต การผัน ว ให้เป็น พ พร้อมหดสั้นนี้ คือนิสัยแท้ๆของสยาม เช่น วิมาน=พิมาน วิษณุ=พิษณุ วิจิตรา=พิจิตร วิไชยา=พิชัย ภาษาเขมรไม่น่ามีพฤติกรรมนี้
๖) ปราสาทพิมานอากาศ : พิมาน ก็บาลี (สันกฤต = วิมาน) อากาศ ก็หดมาจากสันสกฤต ทั้งสองคำเป็นสำเนียงสยามชัดๆ
๗) ปราสาทตาพรหม ตาแก้ว : ฝรั่งส่วนใหญ่แปล ตา ตามภาษาสยามว่า “พ่อของแม่” แต่ผมเถียงว่าคือ “อวัยวะใต้คิ้ว” (แต่ทั้งสองคำก็สยามทั้งคู่) ตาพรหม น่าหมายถึง ดวงตาแห่งพระพรหม ส่วนตาแก้วนั้นมีตำนานหนึ่งว่าเคยเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต ถ้าจริง คำว่าตาแก้วก็คือ ดวงตาแห่งพระแก้ว (มรกต) นั่นแล
๘) ปราสาทเชื้อสายเทวดา : (ไม่ต้องอธิบาย)
๙) ปราสาทบายน : อาจเป็นคำสยาม บา คือ ครู (บา) ยน (ยล) คือมอง รวมกันคือ ปราสาทครูมอง ครูหมายถึงครูใหญ่ คือพระพุทธเจ้านั่นเอง ทรงมองด้วยพระพักตร์หินมหึมาถึง 216 พักตร์...ทรงเป็นพระขอมที่ไม่เคยแปรพักตร์มานาน 800 ปีแล้ว
วันนี้เอาแค่นี้ก่อนครับ
ระหว่างอาหาร ผมได้นำเสนอทฤษฎีคนสยามสร้างนครวัด พระเจ้าอู่ทองมาจากนครวัด และเขมรไม่ใช่ขอมต่อท่าน พร้อมชี้แจงแสดงเหตุผลตามที่ผมได้นำเสนอมาในบทความก่อนหน้านี้
ท่านเคี้ยวแก้มตุ่ยไปพลางพร้อมรับไปว่ามันสมเหตุผลทีเดียว และอยากให้ผมนำเสนอทฤษฎีต่อที่ประชุมวิชาการด้านโบราณคดี
ระหว่างนั้นมีอาหารจานเด็ดที่เจ้าของร้านทำมาให้เป็นบรรณาการกับแขกพิเศษของร้าน บรรยายนำว่าวัตถุดิบนำมาจากจงกั๋วประเทศอันไกลโพ้น ท่านลองชิมครึ่งคำ ทำหน้าเบ้ พร้อมอุทานว่า “ไม่อร่อย” และไม่กินอีกเลย ขนาดฝรั่งที่ว่าเถรตรงแล้วนั้น ส่วนใหญ่ถ้าไม่อร่อยเขาจะอ้อมแอ้มว่า “อึมม์ มันแตกต่างนะ” (hmm..it’s different) หมายความว่า มันแตกต่างไปจากรสชาติเดิมๆ ที่เขาเคยชิน
การที่คนตรงอย่างท่านยอมรับทฤษฎีผมในเบื้องต้นยังความลิงโลดใจให้ผมมาก เพราะท่านคงไม่พูดเพื่อเอาใจคนไร้ชื่ออย่างผมหรอก
ผมท้วงท่านว่า ถ้าให้คนไร้ชื่ออย่างผมไปพูดลำพังคงยาก จึงอยากให้ท่านร่วมเป็นผู้แต่ง โดยผมได้ยกร่างบทความเป็นภาษาอังกฤษส่งไปให้ท่านแล้ว ๗ หน้ากระดาษ
บัดนี้ผมได้ตัดสินใจแล้วว่า แม้ท่านไม่ยอมร่วมแต่งด้วย ผมก็จะไม่ย่อท้อ จะขอสู้ต่อไปตามวิสัยหัวกระเทียมโทนเล็กลีบ
หวนกลับมาเรื่องหลักฐาน.. ในบทความนี้ผมขอเสนอเพิ่มอีกสอง หนึ่งคือ การที่เขมรทิ้งนครวัดไปหลังจากโดนกองทัพสยามบุกไปล้างแค้นหนที่สอง โดยอพยพทิ้งให้เป็นเมืองร้างไปเลย ซึ่งไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นไปได้ เพราะการทิ้งเมืองที่ทั้งใหญ่และ “ยิ่งใหญ่” เพียงเพราะศึกสงครามนั้นมันยากมาก..เนื่องเพราะมันจะต้องเกิดการเสียดาย อาลัยอาวรณ์เป็นที่สุด
ก็เมื่อก่อนโดนพวกแขกจามบุกยึดยาวนาน ทำทารุณกรรมสาหัสกว่านั้นมากนัก ก็ยังไม่เห็นทิ้งเมือง ก็ซุ่มรอจังหวะเพื่อกู้บ้านกู้เมืองตามวิสัยโลกทั่วไปในยุคนั้น แม้สยามทิ้งอยุธยาก็ไม่ได้ทิ้งเพราะหนีพม่า และก็ไม่ได้ทิ้งให้ร้างแต่ยังมีคนอยู่ตลอดมา
การทิ้งเมืองอันยิ่งใหญ่ไปได้ง่ายๆ เช่นนั้น แสดงชัดว่าเขมรไม่ได้สร้างนครวัดมากับมือด้วยความยากลำบาก แต่ได้มันมาฟรีๆ จากการลุกฮือของพวกทาสในสมัยพระเจ้าแตงหวาน ดังนั้นก็เลยไม่คิดเสียดายอะไร...ก็กะอีแค่เมืองที่เต็มไปด้วยหิน..ก็ของอะไรที่ได้มาง่ายๆ มันมักด้อยค่าเสมอ
แถมยังอาจคิดกลัวผีเสียอีกด้วย เพราะเมืองนี้เต็มไปด้วยภูตผีเทพเจ้าหลากหลายที่สามารถหักคอได้ทุกเมื่อ...ตามที่เล่ากันมาเป็นตำนาน
ส่วนสยามนั้นแม้สร้างเมืองนี้มาด้วยมือ แต่บัดนั้นก็ไปตั้งรกรากใหม่ที่อยุธยาแล้ว ก็คงไม่คิดหวนคืนกลับมาใหม่ อีกทั้งศาสนาก็เปลี่ยนเป็นพุทธเต็มตัวแล้วด้วย ก็เลยไม่ค่อยให้ความสำคัญกับปราสาทเหล่านี้ซึ่งส่วนใหญ่เป็นปราสาททางคติพราหมณ์ (ยกเว้นบายน)
หลักฐานชิ้นที่สอง คือ ชื่อของปราสาททั้งหลายที่นครวัดและนครธม ส่วนใหญ่ (๘๐%) เป็นชื่อที่มีสำเนียงสยาม ซึ่งส่อให้เห็นว่ากษัตริย์ผู้สร้างปราสาทเหล่านี้เป็นคนเชื้อสายสยาม ขอยกตัวอย่างเป็นข้อๆ ดังนี้ :-
๑) นครวัด : วัด เป็นคำสยามโบราณ ไม่ใช่คำเขมรแน่ๆ
๒) นครธม : ผมได้เฉลยไว้แล้วว่า ธม คือ ธัม ธมฺ หรือ ธรรม ไม่ใช่คำเขมรที่แปลว่า “ใหญ่” อย่างที่เชื่อกันมานาน (ตามฝรั่ง) แต่ทำไมใช้ ธมฺ (บาลี) ไม่ใช่ ธรรม (สันสกฤต) นี่แสดงว่าได้รับอิทธิพลจากสยามซึ่งนิยมบาลีมากกว่าสันสกฤต
๓) ปราสาทนาคพัน : นาค หดมาจาก นาคา (สันสกฤต) ซึ่งหลักการหดพยางค์แบบนี้มันหลักสยามแท้ๆ ส่วน พัน ส่อกิริยาการพันขดของนาค ก็ภาษาสยามทั้งสองพยางค์
๔) ปราสาทปักษีจำกรง : ปักษี (นก) (ถูกจอง) จำ (อยู่ใน) กรง ..สำเนียงสยามแท้ๆ เลย
๕) ปราสาทพระขรรค์ ...พระวิหาร.. พระรูป : “พระ” เป็นคำสำคัญที่สุดในภาษาสยาม ผันมาจาก “วร” (วะระ) ในสันสกฤต การผัน ว ให้เป็น พ พร้อมหดสั้นนี้ คือนิสัยแท้ๆของสยาม เช่น วิมาน=พิมาน วิษณุ=พิษณุ วิจิตรา=พิจิตร วิไชยา=พิชัย ภาษาเขมรไม่น่ามีพฤติกรรมนี้
๖) ปราสาทพิมานอากาศ : พิมาน ก็บาลี (สันกฤต = วิมาน) อากาศ ก็หดมาจากสันสกฤต ทั้งสองคำเป็นสำเนียงสยามชัดๆ
๗) ปราสาทตาพรหม ตาแก้ว : ฝรั่งส่วนใหญ่แปล ตา ตามภาษาสยามว่า “พ่อของแม่” แต่ผมเถียงว่าคือ “อวัยวะใต้คิ้ว” (แต่ทั้งสองคำก็สยามทั้งคู่) ตาพรหม น่าหมายถึง ดวงตาแห่งพระพรหม ส่วนตาแก้วนั้นมีตำนานหนึ่งว่าเคยเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต ถ้าจริง คำว่าตาแก้วก็คือ ดวงตาแห่งพระแก้ว (มรกต) นั่นแล
๘) ปราสาทเชื้อสายเทวดา : (ไม่ต้องอธิบาย)
๙) ปราสาทบายน : อาจเป็นคำสยาม บา คือ ครู (บา) ยน (ยล) คือมอง รวมกันคือ ปราสาทครูมอง ครูหมายถึงครูใหญ่ คือพระพุทธเจ้านั่นเอง ทรงมองด้วยพระพักตร์หินมหึมาถึง 216 พักตร์...ทรงเป็นพระขอมที่ไม่เคยแปรพักตร์มานาน 800 ปีแล้ว
วันนี้เอาแค่นี้ก่อนครับ