ASTVผู้จัดการรายวัน-ก.แรงงาน เผย เตรียมแผนอพยพแรงงานในลิเบีย 3 ทาง บก-น้ำ-อากาศ หากฉุกเฉินพร้อมอพยพใน 2 ชม.เร่งประสานกรมจัดหางาน และสถานทูต ดูแลแรงงานไทย ชี้ มีแรงงานไทยกว่า 2,000 คน ที่จุดปะทะ ด้านสัญญาจ้าง-เงินชดเชย นัดถกบริษัทจัดหางาน 22 ก.พ.นี้
วานนี้ (21 ก.พ.) ที่กระทรวงแรงงาน นายสุธรรม นทีทอง โฆษกกระทรวงแรงงาน แถลงถึงมาตรการการให้ความช่วยเหลือแรงงานไทยในลิเบียที่มีเหตุการณ์ความไม่สงบจากการประท้วงขับไล่ผู้นำ ว่า ได้ประสานไปยังกรมการจัดหางานและสถานทูตไทยในลิเบียให้มีการเคลื่อนย้ายแรงงานไทยไปอยู่ในจุดที่ปลอดภัยและพกพาสปอร์ตและของมีค่าติดตัว ทั้งนี้ เบื้องต้นได้ให้แรงงานไทยไปรวมตัวที่สนามบิน และสถานทูตไทยประจำลิเบีย ในส่วนของแนวทางของแผนอพยพที่เตรียมการไว้ มี 3 ทาง คือ 1.อพยพทางบก โดยการออกทางชายแดนที่ติดกับประเทศตูนิเซีย 2.ทางน้ำ ได้ติดต่อเรือขนส่งผู้โดยสาร ไปยังประเทศมอนตา และประเทศในทวีปแอฟริกา 3.ทางอากาศ โดยการเช่าเหมาลำ โดยประสานกับทางการของประเทศอิตาลี และอียิปต์ไว้แล้ว
นายสุธรรม กล่าวอีกว่า ถ้ามีเหตุการณ์คับขันจะสามารถเข้าช่วยเหลือได้ภายใน 1-2 ชั่วโมง ขณะนี้ นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.แรงงาน ได้มอบหมายให้ตนเป็นผู้ประสานงานตรวจสอบสถานการณ์ตลอดเวลา รวมทั้งให้กรมการจัดหางาน ประสานไปยังกรมการกงสุลทุกประเทศที่มีแรงงานไทย เพื่อจัดส่งเจ้าหน้าที่ไปยังเมืองที่เกิดเหตุไม่สงบและพร้อมจะอพยพแรงงานไทย นอกจากนี้ ให้จัดหางานจังหวัดแจ้งไปยังครอบครัวของแรงงานไทยเพื่อให้คลายความกังวล
“วันที่ 22 ก.พ. เวลา 10.00 น.กรมการจัดหางาน ได้นัดประชุมบริษัทจัดหางานที่จัดส่งแรงงานไทยไปทำงานที่ลิเบียทุกบริษัทมาให้ข้อมูลเพื่อให้การช่วยเหลือ ซึ่งจะดูไปยังสัญญาการจ้างงานเพราะแรงงานไทยอาจจะต้องเดินทางกลับก่อนกำหนด การจ่ายค่าชดเชยในกรณีที่มีแรงงานไทยเสียชีวิต และมีการจัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือแรงงานไทยที่ไปทำงานต่างประเทศเป็นการเฉพาะ และถ้าจำเป็นตัวผมเองและข้าราชการผู้ใหญ่ก็อาจจะเดินทางไปรับแรงงานไทยยังที่เกิดเหตุทันที” นายสุธรรม กล่าว
นายสุธรรม กล่าวด้วยว่า ปัจจุบันมีแรงงานไทยทำงานในลิเบียทั้งสิ้น 23,000 คน ในประเภทกิจการก่อสร้าง ซึ่งแรงงานส่วนใหญ่สัญญาการจ้างงานยังไม่สิ้นสุด เฉพาะที่เมืองเบงกาซี ซึ่งเป็นจุดที่เกิดความไม่สงบและใกล้กับสนามบิน การอพยพจึงต้องใช้ทางอากาศเท่านั้น มีแรงงานไทยจำนวน 2,000 คน ซึ่งเป็นเมืองที่ต้องเฝ้าระวังมากที่สุด ส่วนเมืองหลวงตริโปลี มีแรงงานไทยจำนวนหลักหมื่น ซึ่งเป็นพื้นที่ติดทะเล หากมีการอพยพต้องใช้เส้นทางทางเรือเท่านั้น ส่วนที่เมืองคูฟ่า มีแรงงานไทยไม่มาก สำหรับแรงงานไทยในประเทศบาเรนห์ ทราบว่ามีจำนวนประมาณ 5,000 คน ส่วนอิหร่านและเยเมน มีจำนวนประเทศละ 350 คน
วานนี้ (21 ก.พ.) ที่กระทรวงแรงงาน นายสุธรรม นทีทอง โฆษกกระทรวงแรงงาน แถลงถึงมาตรการการให้ความช่วยเหลือแรงงานไทยในลิเบียที่มีเหตุการณ์ความไม่สงบจากการประท้วงขับไล่ผู้นำ ว่า ได้ประสานไปยังกรมการจัดหางานและสถานทูตไทยในลิเบียให้มีการเคลื่อนย้ายแรงงานไทยไปอยู่ในจุดที่ปลอดภัยและพกพาสปอร์ตและของมีค่าติดตัว ทั้งนี้ เบื้องต้นได้ให้แรงงานไทยไปรวมตัวที่สนามบิน และสถานทูตไทยประจำลิเบีย ในส่วนของแนวทางของแผนอพยพที่เตรียมการไว้ มี 3 ทาง คือ 1.อพยพทางบก โดยการออกทางชายแดนที่ติดกับประเทศตูนิเซีย 2.ทางน้ำ ได้ติดต่อเรือขนส่งผู้โดยสาร ไปยังประเทศมอนตา และประเทศในทวีปแอฟริกา 3.ทางอากาศ โดยการเช่าเหมาลำ โดยประสานกับทางการของประเทศอิตาลี และอียิปต์ไว้แล้ว
นายสุธรรม กล่าวอีกว่า ถ้ามีเหตุการณ์คับขันจะสามารถเข้าช่วยเหลือได้ภายใน 1-2 ชั่วโมง ขณะนี้ นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.แรงงาน ได้มอบหมายให้ตนเป็นผู้ประสานงานตรวจสอบสถานการณ์ตลอดเวลา รวมทั้งให้กรมการจัดหางาน ประสานไปยังกรมการกงสุลทุกประเทศที่มีแรงงานไทย เพื่อจัดส่งเจ้าหน้าที่ไปยังเมืองที่เกิดเหตุไม่สงบและพร้อมจะอพยพแรงงานไทย นอกจากนี้ ให้จัดหางานจังหวัดแจ้งไปยังครอบครัวของแรงงานไทยเพื่อให้คลายความกังวล
“วันที่ 22 ก.พ. เวลา 10.00 น.กรมการจัดหางาน ได้นัดประชุมบริษัทจัดหางานที่จัดส่งแรงงานไทยไปทำงานที่ลิเบียทุกบริษัทมาให้ข้อมูลเพื่อให้การช่วยเหลือ ซึ่งจะดูไปยังสัญญาการจ้างงานเพราะแรงงานไทยอาจจะต้องเดินทางกลับก่อนกำหนด การจ่ายค่าชดเชยในกรณีที่มีแรงงานไทยเสียชีวิต และมีการจัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือแรงงานไทยที่ไปทำงานต่างประเทศเป็นการเฉพาะ และถ้าจำเป็นตัวผมเองและข้าราชการผู้ใหญ่ก็อาจจะเดินทางไปรับแรงงานไทยยังที่เกิดเหตุทันที” นายสุธรรม กล่าว
นายสุธรรม กล่าวด้วยว่า ปัจจุบันมีแรงงานไทยทำงานในลิเบียทั้งสิ้น 23,000 คน ในประเภทกิจการก่อสร้าง ซึ่งแรงงานส่วนใหญ่สัญญาการจ้างงานยังไม่สิ้นสุด เฉพาะที่เมืองเบงกาซี ซึ่งเป็นจุดที่เกิดความไม่สงบและใกล้กับสนามบิน การอพยพจึงต้องใช้ทางอากาศเท่านั้น มีแรงงานไทยจำนวน 2,000 คน ซึ่งเป็นเมืองที่ต้องเฝ้าระวังมากที่สุด ส่วนเมืองหลวงตริโปลี มีแรงงานไทยจำนวนหลักหมื่น ซึ่งเป็นพื้นที่ติดทะเล หากมีการอพยพต้องใช้เส้นทางทางเรือเท่านั้น ส่วนที่เมืองคูฟ่า มีแรงงานไทยไม่มาก สำหรับแรงงานไทยในประเทศบาเรนห์ ทราบว่ามีจำนวนประมาณ 5,000 คน ส่วนอิหร่านและเยเมน มีจำนวนประเทศละ 350 คน