ASTVผู้จัดการรรายวัน - สภาม.รามตั้ง “ผศ.วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์” คณบดีรัฐศาสตร์ รักษาการอธิการฯ ภายหลังสกอ.มีคำสั่งไล่ 3 ผู้บริหารเดิมออก ด้าน เลขา สกอ.ยืนยันไม่ทบทวนคำสั่ง ด้าน“ชินวรณ์”มอบ ก.พ.อ.หาข้อยุติกรณีไล่ 3 ผู้บริหารม.รามฯ 11 ก.พ.นี้ ลั่นเตรียมปฏิรูปอุดมศึกษาอย่างจริงจัง 5 ประเด็น เน้นปัญหาการสรรหาอธิการบดี ปรับ พ.ร.บ.สภามหาวิทยาลัย
ดร.สุเมธ แย้มนุ่น เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) เปิดเผยว่า ช่วงเย็นเมื่อวานนี้ (9 ก.พ.) ได้พบหารือกับนายประจวบ ไชยสาส์น นายกสภามหาวิทยาลัยรามคำแหง เพื่อชี้แจงและทำความเข้าใจในขั้นตอนต่อไปที่ทางสภามหาวิทยาลัยฯ ต้องรีบดำเนินการ ภายหลังสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) มีคำสั่งลงวันที่ 8 ก.พ. 2554 ไล่ออกจากราชการ ได้แก่ นายคิม ไชยแสนสุข อธิการบดี มร. , นายรังสรรค์ แสงสุข อดีตอธิการบดี ม.ร.และ นายเฉลิมพล ศรีหงส์ อดีตรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย มร. ภายหลังสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชี้มูลความผิดวินัยร้ายแรงขยายอายุราชการ
ส่วนกรณีที่มีนักศึกษารามคำแหงเรียกร้องให้ สกอ.ทบทวนคำสั่งไล่ออกนั้น นายสุเมธ กล่าวว่า ไม่สามารถดำเนินการได้ แต่ผู้ที่ถูกชี้มูลความผิดสามารถอุทธรณ์และฟ้องศาลปกครองได้ตามกระบวนการ ทั้งนี้เชื่อว่าสถานการณ์จะกลับสู่สภาวะปกติโดยเร็วภายใต้การบริหารจัดการของสภามหาวิทยาลัย
ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้ มีมติแต่งตั้ง “ผศ.วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์” คณบดีคณะรัฐศาสตร์ รักษาการอธิการบดี มหาวิทยาลัยราม แทน รศ.คิม ไชยเพื่อเร่งพิจารณาแต่งตั้งรักษาการอธิการบดี โดยรักษาการอธิการบดีจะต้องเสนอแต่งตั้งรองอธิการบดีเพื่อบริหารงานมหาวิทยาลัย รวมทั้งเตรียมการสรรหาอธิการบดีต่อไป
ด้าน รศ.คิม อดีตอธิการบดีรามคำแหง กล่าวว่า ตนยังคงไม่ได้รับหนังสือคำสั่งไล่ออกอย่างเป็นทางการ แต่ได้เตรียมทนายความไว้แล้ว และกล่าวขอบคุณกลุ่มนักศึกษาข้าราชการที่ออกมาเคลื่อนไหวให้กำลังใจตน โดยขอให้นึกถึงมหาวิทยาลัยและส่วนรวมเป็นที่ตั้ง นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวว่า ตนได้รับรายงานจาก นายไชยยศ จิรเมธากร รมช.ศธ. ว่า นายสุเมธ แย้มนุ่น เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา(กกอ.) ได้ทำตามกฎหมายของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ที่ได้ชี้มูลความผิดของอดีตผู้บริหารมหาวิทยาลัยรามคำแหง(ม.ร.) ทั้ง 3 คน ซึ่งอดีตผู้บริหารทั้ง 3 คนนี้สามารถยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ก.พ.อ.) หรือศาลปกครองเพื่อให้ความเป็นธรรมก็ได้ เพราะเรื่องนี้เป็นคำตัดสินขององค์กรอิสระ ควรให้องค์กรอิสระเป็นผู้พิจารณา ทั้งนี้ตนได้เป็นประธานประชุม ก.พ.อ. ซึ่งได้มีการนำเรื่องนี้เข้าหารือในที่ประชุมแล้ว โดยมอบหมายให้ที่ประชุมพิจารณาให้ได้ข้อยุติและให้รายงานตนในวันที่ 11 ก.พ.นี้
“เรื่องนี้เป็นกรณีตัวอย่างที่ทำให้ตนตัดสินใจเข้ามาดูแลเรื่องการปฏิรูปอุดมศึกษาอย่างจริงจัง โดยเฉพาะปัญหาการสรรหาอธิการบดี ที่เกิดความขัดแย้งมาหลายสถาบันจำเป็นต้องให้มีการปฏิรูปอุดมศึกษาอย่างเร่งด่วนใน 5 ประเด็น คือ 1. ปรับปรุง พ.ร.บ.สภามหาวิทยาลัยต่าง ๆ หรืออาจมีการทำกฎหมายกลางเกี่ยวกับสภามหาวิทยาลัยขึ้น 2. ปฏิรูปการใช้เงินนอกระบบและในงบประมาณของมหาวิทยาลัย 3. ปฏิรูประบบการรับนักศึกษา 4. ปฏิรูปคุณภาพของมหาวิทยาลัยโดยเฉพาะการจัดตั้งมหาวิทยาลัยนอกที่ตั้ง และ 5. ขับเคลื่อนให้มหาวิทยาลัยรับใช้สังคมมากขึ้น” รมว.ศธ. กล่าว
อย่างไรก็ตาม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นอกจากปัญหาภายในมหาวิทยาลัยรามคำแหงแล้ว ยังมีปัญหาใรลักษณะเดียวกันในหลายมากวิทยาลัยทยอยส่งข้อมูลมายังหนังสือพิมพ์ ASTVผู้จัดการรายวัน ไม่ว่าจะเป็นมหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) เป็นต้น
ดร.สุเมธ แย้มนุ่น เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) เปิดเผยว่า ช่วงเย็นเมื่อวานนี้ (9 ก.พ.) ได้พบหารือกับนายประจวบ ไชยสาส์น นายกสภามหาวิทยาลัยรามคำแหง เพื่อชี้แจงและทำความเข้าใจในขั้นตอนต่อไปที่ทางสภามหาวิทยาลัยฯ ต้องรีบดำเนินการ ภายหลังสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) มีคำสั่งลงวันที่ 8 ก.พ. 2554 ไล่ออกจากราชการ ได้แก่ นายคิม ไชยแสนสุข อธิการบดี มร. , นายรังสรรค์ แสงสุข อดีตอธิการบดี ม.ร.และ นายเฉลิมพล ศรีหงส์ อดีตรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย มร. ภายหลังสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชี้มูลความผิดวินัยร้ายแรงขยายอายุราชการ
ส่วนกรณีที่มีนักศึกษารามคำแหงเรียกร้องให้ สกอ.ทบทวนคำสั่งไล่ออกนั้น นายสุเมธ กล่าวว่า ไม่สามารถดำเนินการได้ แต่ผู้ที่ถูกชี้มูลความผิดสามารถอุทธรณ์และฟ้องศาลปกครองได้ตามกระบวนการ ทั้งนี้เชื่อว่าสถานการณ์จะกลับสู่สภาวะปกติโดยเร็วภายใต้การบริหารจัดการของสภามหาวิทยาลัย
ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้ มีมติแต่งตั้ง “ผศ.วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์” คณบดีคณะรัฐศาสตร์ รักษาการอธิการบดี มหาวิทยาลัยราม แทน รศ.คิม ไชยเพื่อเร่งพิจารณาแต่งตั้งรักษาการอธิการบดี โดยรักษาการอธิการบดีจะต้องเสนอแต่งตั้งรองอธิการบดีเพื่อบริหารงานมหาวิทยาลัย รวมทั้งเตรียมการสรรหาอธิการบดีต่อไป
ด้าน รศ.คิม อดีตอธิการบดีรามคำแหง กล่าวว่า ตนยังคงไม่ได้รับหนังสือคำสั่งไล่ออกอย่างเป็นทางการ แต่ได้เตรียมทนายความไว้แล้ว และกล่าวขอบคุณกลุ่มนักศึกษาข้าราชการที่ออกมาเคลื่อนไหวให้กำลังใจตน โดยขอให้นึกถึงมหาวิทยาลัยและส่วนรวมเป็นที่ตั้ง นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวว่า ตนได้รับรายงานจาก นายไชยยศ จิรเมธากร รมช.ศธ. ว่า นายสุเมธ แย้มนุ่น เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา(กกอ.) ได้ทำตามกฎหมายของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ที่ได้ชี้มูลความผิดของอดีตผู้บริหารมหาวิทยาลัยรามคำแหง(ม.ร.) ทั้ง 3 คน ซึ่งอดีตผู้บริหารทั้ง 3 คนนี้สามารถยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ก.พ.อ.) หรือศาลปกครองเพื่อให้ความเป็นธรรมก็ได้ เพราะเรื่องนี้เป็นคำตัดสินขององค์กรอิสระ ควรให้องค์กรอิสระเป็นผู้พิจารณา ทั้งนี้ตนได้เป็นประธานประชุม ก.พ.อ. ซึ่งได้มีการนำเรื่องนี้เข้าหารือในที่ประชุมแล้ว โดยมอบหมายให้ที่ประชุมพิจารณาให้ได้ข้อยุติและให้รายงานตนในวันที่ 11 ก.พ.นี้
“เรื่องนี้เป็นกรณีตัวอย่างที่ทำให้ตนตัดสินใจเข้ามาดูแลเรื่องการปฏิรูปอุดมศึกษาอย่างจริงจัง โดยเฉพาะปัญหาการสรรหาอธิการบดี ที่เกิดความขัดแย้งมาหลายสถาบันจำเป็นต้องให้มีการปฏิรูปอุดมศึกษาอย่างเร่งด่วนใน 5 ประเด็น คือ 1. ปรับปรุง พ.ร.บ.สภามหาวิทยาลัยต่าง ๆ หรืออาจมีการทำกฎหมายกลางเกี่ยวกับสภามหาวิทยาลัยขึ้น 2. ปฏิรูปการใช้เงินนอกระบบและในงบประมาณของมหาวิทยาลัย 3. ปฏิรูประบบการรับนักศึกษา 4. ปฏิรูปคุณภาพของมหาวิทยาลัยโดยเฉพาะการจัดตั้งมหาวิทยาลัยนอกที่ตั้ง และ 5. ขับเคลื่อนให้มหาวิทยาลัยรับใช้สังคมมากขึ้น” รมว.ศธ. กล่าว
อย่างไรก็ตาม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นอกจากปัญหาภายในมหาวิทยาลัยรามคำแหงแล้ว ยังมีปัญหาใรลักษณะเดียวกันในหลายมากวิทยาลัยทยอยส่งข้อมูลมายังหนังสือพิมพ์ ASTVผู้จัดการรายวัน ไม่ว่าจะเป็นมหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) เป็นต้น