อันว่า “เกาหลีเหนือ” กับ “กัมพูชา” แม้จะมีความแตกต่างกันในระบอบการปกครองคือประเทศหนึ่งเป็นสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ และอีกประเทศหนึ่งเป็นประชาธิปไตย แต่ก็ถือเป็นความแตกต่างในรูปแบบเท่านั้น หากแต่เนื้อหาสาระส่วนใหญ่ หาได้แตกต่างกันไม่ เพราะแท้จริงแล้วทั้งกัมพูชา และเกาหลีเหนือนั้น อำนาจการปกครองประเทศในปัจจุบัน ตลอดช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ก็ตกอยู่ในมือคนตระกูลๆ เดียว หรือจะกล่าวว่าอยู่ในมือคนไม่กี่คนก็ดูจะไม่ผิดนัก
ฝ่ายเกาหลีเหนือ มีประธานาธิบดีคิม จองอิล “ผู้นำอันเป็นที่รัก” วัย 68 ปี เป็นผู้ปกครองประเทศแบบเบ็ดเสร็จตลอดช่วง 20 กว่าปี และกำลังเตรียมนับถอยหลังบนเก้าอี้ผู้นำเพราะถูกโรคร้ายทั้งหัวใจ และเบาหวานรุมเร้าอย่างหนัก ถึงขั้นเข้าออกโรงพยาบาลเป็นว่าเล่นตลอดช่วง 2-3ปี ให้หลัง
ความอ่อนแอด้านสุขภาพ และเสถียรภาพทางการเมืองที่เริ่มสั่นคลอน บีบให้ผู้นำเกาหลีเหนือ ต้องตัดสินใจเปิดการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคแรงงานเกาหลีเหนือเมื่อเร็วๆ นี้ เป็นครั้งแรกในรอบ 30 ปี เป็นการประชุมเพื่อปูทางผลักดันทายาทในสายเลือด นามว่า คิมจองอุน ลูกชายคนที่ 3 วัยเพียง 27 ปี ให้ขึ้นมารับตำแหน่ง “นายพลคนใหม่” ของกองทัพ
แต่ด้วยความอ่อนเยาว์ของทายาทผู้นำเกาหลีเหนือ ที่นอกจากจะเพิ่งสำเร็จการศึกษาวิชาการทหารมาจากรั้วมหาวิทยาลัยหมาดๆ และอายุก็น้อยเกินกว่าจะให้เป็นที่ยอมรับของผู้นำฝ่ายทหารส่วนใหญ่ได้ เมื่อจะต้องถูกสนับสนุนให้ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งใหญ่ “ประธานสภากลาโหม” อันเป็นตำแหน่งที่ทรงอำนาจสูงสุด ก็จำต้องแสดงฤทธานุภาพว่าที่ผู้นำใหม่บางประการให้เป็นที่ประจักษ์ต่อสายตาของคนทั้งในและนอกประเทศ
นั่นจึงเป็นที่มาของรายงาน ในหนังสือพิมพ์โสมขาวหลายฉบับที่อ้างว่า คิม จองอิล และลูกชายผู้สืบทอดตำแหน่ง ได้เดินทางเยือนฐานยิงปืนใหญ่ที่ใช้โจมตีเกาะยอนเปียงชายแดนของเกาหลีใต้ เพียงไม่กี่ชั่วโมงก่อนการยิงถล่ม จนทำให้มีพลเรือนเกาหลีใต้เสียชีวิตอย่างน้อย 4 คน บาดเจ็บจำนวนมาก
เช่นเดียวกันกับเหตุการณ์ก่อนเรือรบโชนันของโสมขาวจะถูกจมลงสู่ทะเลพร้อมชีวิตลูกเรือ 46 นาย เมื่อมีนาคมปีที่แล้ว กองทัพเกาหลีใต้ก็เคยได้รับข้อมูลลับว่า คิม จองอิล และลูกชายไปพบ กับคิม ยงโชล ผู้อำนวยการสำนักลาดตระเวนของกองทัพโสมแดงมาก่อน ส่วนจะการไปพบเพื่อสั่งการโจมตีฝ่ายตรงข้ามหรือไม่ ก็ไม่ยากเกินคาดเดา
นักวิเคราะห์ทั่วโลกฟันธงทันทีว่า พฤติกรรมความเป็นเด็กเกเรของ “เกาหลีเหนือ” ครั้งนี้ ได้ประโยชน์ส่วนตนหลายสถาน ทั้งเป็นการสร้างขัดแย้งกับเพื่อนรวมชาติเพื่อกลบเกลื่อนปัญหาภายในประเทศที่แก้ไม่ตก โดยเฉพาะปัญหาทางเศรษฐกิจที่กำลังสั่นคลอนความจงรักภักดีของชาวเกาหลีเหนือที่เคยมีต่อบัลลังก์อำนาจของนายคิม และยังเป็นการเรียกศรัทธาให้กับลูกชายตนด้วย
พฤติกรรม “เด็กเกเร” อย่างเกาหลีเหนือเมื่อวานก่อน ดูจะไม่ได้แตกต่างแต่ประการใดเลยกับพฤติกรรม “เด็กเกเร” อย่างกัมพูชาภายใต้การนำของ สมเด็จฮุนเซนที่ปกครองประเทศมากว่า 20 ปี แม้ว่าฮุนเซนวันนี้สุขภาพอาจจะยังแข็งแกร่งกว่า คิม จองอิลมาก แต่กระแสความปั่นป่วนในกัมพูชา ไม่ว่าจะเป็นข่าวลือเรื่อง “คณะก่อการรัฐประหารในกัมพูชา” “ตูนีเซีย และอียิปต์ โมเดล” “ปัญหาเศรษฐกิจที่กระทบคนในประเทศ” และ “ความต้องการผลักดัน ‘ฮุน มาเนต’ นายพลวัยกระเตาะลูกชายหัวแก้วหัวแหวนของฮุนเซน ขึ้นมาให้เป็นที่ยอมรับในกองทัพเขมร” ทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้ กำลังกลายเป็นปัญหารุมเร้า “ระบอบฮุนเซน” อย่างหนักจนต้องเร่งหาทางเบี่ยงเบนความสนใจชาวกัมพูชาโดยเร็ว โดยใช้ชนวนความขัดแย้งชายแดนพระวิหาร และชีวิตพี่น้องทหาร ชาวบ้านริมชายแดนไทยเป็นเครื่องเซ่นสังเวย จนนำมาสู่เสียงระเบิดที่ดังสนั่นภูมะเขือ เมื่อบ่ายวันที่ 4 กุมภาพันธ์
เมื่อมองพฤติกรรมของเด็กเกเรสองรายข้างต้นที่มีพฤติกรรมชั่วร้ายไม่ต่างกัน ที่นี่เราลองมองย้อนกลับมาดูผู้ที่ตกอยู่ในสถานะเดียวกัน คือ ตกอยู่ในเกมของเด็กเกเร ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายไทย หรือเกาหลีใต้ ว่ามีวิธีปฏิบัติหรือแนวทางรับมือที่แตกต่างหรือสอดคล้องกันหรือไม่ เพียงไร
23 พฤศจิกายน ปีที่แล้ว ในช่วงเวลาบ่ายสองโมงครึ่ง ทันทีที่เกาหลีเหนือยิงกระสุนปืนใหญ่ 50 ลูก ตกลงในน่านน้ำของเกาหลีใต้ นอกชายฝั่งเกาะยอนเปียง และกระสุนบางส่วนตกลงบนเกาะ ทำให้มีทหารเกาหลีใต้เสียชีวิต 2 นาย พลเรือนตาย 2 ราย บาดเจ็บ 18 นาย มีบ้านเรือนหลายสิบหลังเกิดไฟลุกไหม้เสียหาย และต้องสั่งอพยพผู้คนไปอยู่ในที่ปลอดภัยเป็นจำนวนหลายพันชีวิต
คิม แตยัง รัฐมนตรีกลาโหมเกาหลีใต้ได้สั่งให้ทหารเกาหลีใต้ยิงตอบโต้กลับไปทันที 80 นัด พร้อมสั่งกองทัพยกระดับ เตรียมพร้อมขั้นสูงสุดนอกภาวะสงครามเพื่อรับมือเกาหลีเหนือ ด้านกองทัพอากาศประสานพื้นราบ ส่งเครื่องบินรบประจำ ยังเกาะยอนเปียงจุดปะทะในทันทีเช่นกัน
รัฐบาลโซลประกาศทันทีว่า พร้อมจะ ตอบโต้อย่างหนักหน่วงหากอีกฝ่ายไม่ยุติการยั่วยุ และว่าการโจมตีถูกเป้าหมายของพลเรือนอย่างไม่รับผิดชอบนี้เป็น “สิ่งที่อภัยให้ไม่ได้” ทางการเกาหลีเหนือต้องรับผิดชอบต่อสิ่งที่เกิดขึ้น และจะไม่ยอมให้มีการเจรจาสองฝ่าย หากยังไม่ได้ยินคำขอโทษอย่างเป็นทางการจากฝ่ายเกาหลีเหนือ
ในจังหวะเดียวกัน เกาหลีใต้ได้กดดันคู่กรณีผ่านมาตรการอื่น เช่น ให้กระทรวงรวมชาติโสมขาวประกาศระงับการส่งความช่วยเหลือด้านอาหารให้แก่เกาหลีเหนือทันที หลังจากเคยรับปากจะจัดส่งความช่วยเหลือด้านอาหารมูลค่า 10,000 ล้านวอน ซึ่งมีทั้งข้าว บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ปูนซีเมนต์ และอุปกรณ์ฉุกเฉินต่างๆ ให้แก่เกาหลีเหนือ หลังประเทศเพื่อนบ้านประสบภัยน้ำท่วมร้ายแรงก่อนหน้านี้
นอกจากฝ่ายความมั่นคง ฝ่ายบริหารแล้ว ฝ่ายนิติบัญญัติ โดยรัฐสภาเกาหลีใต้ลงมติอย่างท่วมท้น ด้วยคะแนนเสียงท่วมท้น 261 ต่อ 1 และงดออกเสียง 9 เสียง สนับสนุนการประณามเกาหลีเหนือ กรณียิงปืนใหญ่โจมตีเกาะยอนเปียง ฐานละเมิดกฎบัตรสหประชาชาติและข้อตกลงพักรบชั่วคราว ระหว่างสองชาติ พร้อมเรียกร้องให้เกาหลีเหนือออกมาขอโทษต่อการกระทำดังกล่าว และเร่งผลักดันให้รัฐบาลเกาหลีใต้ใช้มาตรการเด็ดขาดและฉับไว หากมีการยั่วยุจากเกาหลีเหนืออีก
ที่น่าสนใจยิ่งกว่านั้นก็คือ หลังการโจมตีเกาะยองเปียนเพียง 2 วัน นายคิม แตยัง รัฐมนตรีกลาโหมเกาหลีใต้ ได้ประกาศลาออกเพื่อแสดงความรับผิดชอบกรณีถูกชาวเกาหลีใต้วิจารณ์อย่างหนักว่า “อ่อนประสิทธิภาพ” ในการตอบโต้โสมแดง โดยผู้นำเกาหลีใต้ ประธานาธิบดีลีเมียงบัค ได้อนุมัติการลาออกของคิม พร้อมระบุว่า การรับใบลาออกดังกล่าว จะเป็นจุดเริ่มต้นของการปรับปรุงสภาพบรรยากาศในกองทัพ และกฎระเบียบต่างๆ ให้ดีขึ้นหลังเกาหลีใต้ตกเป็นลูกไล่ หรือเป็นฝ่ายรับเกาหลีเหนือมาตลอดทั้งเหตุจมเรือรบ และเหตุถล่มเกาะที่มีพลเรือนอาศัยอยู่
สปิริตของนายคิม แตยัง รัฐมนตรีเกาหลีใต้ ถือเป็นมาตรฐานของนักการเมืองในชาติที่เจริญแล้ว ที่หาไม่ได้ในบ้านเราเมืองเรายุคที่ “นักกินเมือง” ครองเมือง
การบริหารงานที่ผิดพลาดบ้านเรา ไม่เคยมีใครต้องออกมารับผิดชอบ ไล่ตั้งแต่เหตุการณ์ 7 คนไทย ถูกกัมพูชาจับกุมที่บ้านหนองจาน จังหวัดสระแก้ว, การที่ไทยต้องสูญเสียอธิปไตยทางการศาลบนดินแดนไทย, รวมถึงการสูญเสียชีวิต และทรัพย์สินของพี่น้องทหารและชาวบ้านที่กันทรลักษณ์ ศรีสะเกษ จากการโจมตีถึง 4 รอบ จากการที่ทหารเขมรเข้ามาตั้งฐานทหารบนดินแดนไทย และยิงใส่พลเรือนไทย ที่อ.กันทรลักษณ์ จ.ศรีสะเกษ โดยที่ไทยยึดถือการเจรจาแต่ฝ่ายเดียว และถูกกัมพูชายิงไล่หลังมาทุกครั้ง
ล่าสุด รัฐมนตรีต่างประเทศ กษิต ภิรมย์ ออกมาสารภาพเองกลางวง สัมมนาของ คณะกรรมาธิการวุฒิสภาด้านการต่างประเทศ ยอมรับว่า ไม่สามารถกุมสภาพในกระทรวงการต่างประเทศ จนนำไปสู่การเพลี่ยงพล้ำให้กับกัมพูชาบ่อยครั้ง ดังคำพูดที่ว่า
“ยอมรับงานในกระทรวงการต่างประเทศเป็นแดนสนธยา เรื่องการจ้างนักวิชาการให้ข้อมูลขัดแย้งกับแนวทางของรัฐบาลเอง เป็นเรื่องที่แม้แต่รัฐมนตรีก็ยังไม่ทราบเรื่อง และสำหรับข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศนั้น เวลามอบนโยบายพวกเขาก็ยอมรับ แต่เมื่อไปอยู่ข้างนอกเขาพูดอีกอย่าง...ตนเป็นรัฐมนตรีต่างประเทศมาแบบไม่คาดฝันทั้งที่ ตนยืนอยู่บนเวทีพันธมิตรฯเหมือนเดิมก็สบายดีแล้ว”
หรือแม้แต่ตัว พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีกลาโหม ก็ออกมายอมรับกลางวงประชุมคณะรัฐมนตรี ถึงกรณีการต่อสายเจรจากับพล.อ.เตียบัญ รองนายกฯ และรัฐมนตรีกลาโหมกัมพูชา แต่ล้มเหลว จนมีเสียงระเบิดนัดแรก ดังที่ระบุว่า
“สาเหตุปะทะกันเพราะกัมพูชาพยายามสร้างถนนรุกล้ำในพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร ซึ่งไทยได้ทักท้วงไป แต่ก็ยังมีการก่อสร้างมาตลอด เราเตือนไปว่าให้ยึดข้อตกลงเอ็มโอยู 2543 แต่เขาไม่หยุด… และยังไม่ทันที่ผมจะวางสายโทรศัพท์ ก็มีรายงานว่าทหารกัมพูชายิงถล่มทหารไทยชุดที่เข้าไปปรับปรุงถนนของเราแล้ว”
ฝ่ายเกาหลีเหนือ มีประธานาธิบดีคิม จองอิล “ผู้นำอันเป็นที่รัก” วัย 68 ปี เป็นผู้ปกครองประเทศแบบเบ็ดเสร็จตลอดช่วง 20 กว่าปี และกำลังเตรียมนับถอยหลังบนเก้าอี้ผู้นำเพราะถูกโรคร้ายทั้งหัวใจ และเบาหวานรุมเร้าอย่างหนัก ถึงขั้นเข้าออกโรงพยาบาลเป็นว่าเล่นตลอดช่วง 2-3ปี ให้หลัง
ความอ่อนแอด้านสุขภาพ และเสถียรภาพทางการเมืองที่เริ่มสั่นคลอน บีบให้ผู้นำเกาหลีเหนือ ต้องตัดสินใจเปิดการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคแรงงานเกาหลีเหนือเมื่อเร็วๆ นี้ เป็นครั้งแรกในรอบ 30 ปี เป็นการประชุมเพื่อปูทางผลักดันทายาทในสายเลือด นามว่า คิมจองอุน ลูกชายคนที่ 3 วัยเพียง 27 ปี ให้ขึ้นมารับตำแหน่ง “นายพลคนใหม่” ของกองทัพ
แต่ด้วยความอ่อนเยาว์ของทายาทผู้นำเกาหลีเหนือ ที่นอกจากจะเพิ่งสำเร็จการศึกษาวิชาการทหารมาจากรั้วมหาวิทยาลัยหมาดๆ และอายุก็น้อยเกินกว่าจะให้เป็นที่ยอมรับของผู้นำฝ่ายทหารส่วนใหญ่ได้ เมื่อจะต้องถูกสนับสนุนให้ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งใหญ่ “ประธานสภากลาโหม” อันเป็นตำแหน่งที่ทรงอำนาจสูงสุด ก็จำต้องแสดงฤทธานุภาพว่าที่ผู้นำใหม่บางประการให้เป็นที่ประจักษ์ต่อสายตาของคนทั้งในและนอกประเทศ
นั่นจึงเป็นที่มาของรายงาน ในหนังสือพิมพ์โสมขาวหลายฉบับที่อ้างว่า คิม จองอิล และลูกชายผู้สืบทอดตำแหน่ง ได้เดินทางเยือนฐานยิงปืนใหญ่ที่ใช้โจมตีเกาะยอนเปียงชายแดนของเกาหลีใต้ เพียงไม่กี่ชั่วโมงก่อนการยิงถล่ม จนทำให้มีพลเรือนเกาหลีใต้เสียชีวิตอย่างน้อย 4 คน บาดเจ็บจำนวนมาก
เช่นเดียวกันกับเหตุการณ์ก่อนเรือรบโชนันของโสมขาวจะถูกจมลงสู่ทะเลพร้อมชีวิตลูกเรือ 46 นาย เมื่อมีนาคมปีที่แล้ว กองทัพเกาหลีใต้ก็เคยได้รับข้อมูลลับว่า คิม จองอิล และลูกชายไปพบ กับคิม ยงโชล ผู้อำนวยการสำนักลาดตระเวนของกองทัพโสมแดงมาก่อน ส่วนจะการไปพบเพื่อสั่งการโจมตีฝ่ายตรงข้ามหรือไม่ ก็ไม่ยากเกินคาดเดา
นักวิเคราะห์ทั่วโลกฟันธงทันทีว่า พฤติกรรมความเป็นเด็กเกเรของ “เกาหลีเหนือ” ครั้งนี้ ได้ประโยชน์ส่วนตนหลายสถาน ทั้งเป็นการสร้างขัดแย้งกับเพื่อนรวมชาติเพื่อกลบเกลื่อนปัญหาภายในประเทศที่แก้ไม่ตก โดยเฉพาะปัญหาทางเศรษฐกิจที่กำลังสั่นคลอนความจงรักภักดีของชาวเกาหลีเหนือที่เคยมีต่อบัลลังก์อำนาจของนายคิม และยังเป็นการเรียกศรัทธาให้กับลูกชายตนด้วย
พฤติกรรม “เด็กเกเร” อย่างเกาหลีเหนือเมื่อวานก่อน ดูจะไม่ได้แตกต่างแต่ประการใดเลยกับพฤติกรรม “เด็กเกเร” อย่างกัมพูชาภายใต้การนำของ สมเด็จฮุนเซนที่ปกครองประเทศมากว่า 20 ปี แม้ว่าฮุนเซนวันนี้สุขภาพอาจจะยังแข็งแกร่งกว่า คิม จองอิลมาก แต่กระแสความปั่นป่วนในกัมพูชา ไม่ว่าจะเป็นข่าวลือเรื่อง “คณะก่อการรัฐประหารในกัมพูชา” “ตูนีเซีย และอียิปต์ โมเดล” “ปัญหาเศรษฐกิจที่กระทบคนในประเทศ” และ “ความต้องการผลักดัน ‘ฮุน มาเนต’ นายพลวัยกระเตาะลูกชายหัวแก้วหัวแหวนของฮุนเซน ขึ้นมาให้เป็นที่ยอมรับในกองทัพเขมร” ทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้ กำลังกลายเป็นปัญหารุมเร้า “ระบอบฮุนเซน” อย่างหนักจนต้องเร่งหาทางเบี่ยงเบนความสนใจชาวกัมพูชาโดยเร็ว โดยใช้ชนวนความขัดแย้งชายแดนพระวิหาร และชีวิตพี่น้องทหาร ชาวบ้านริมชายแดนไทยเป็นเครื่องเซ่นสังเวย จนนำมาสู่เสียงระเบิดที่ดังสนั่นภูมะเขือ เมื่อบ่ายวันที่ 4 กุมภาพันธ์
เมื่อมองพฤติกรรมของเด็กเกเรสองรายข้างต้นที่มีพฤติกรรมชั่วร้ายไม่ต่างกัน ที่นี่เราลองมองย้อนกลับมาดูผู้ที่ตกอยู่ในสถานะเดียวกัน คือ ตกอยู่ในเกมของเด็กเกเร ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายไทย หรือเกาหลีใต้ ว่ามีวิธีปฏิบัติหรือแนวทางรับมือที่แตกต่างหรือสอดคล้องกันหรือไม่ เพียงไร
23 พฤศจิกายน ปีที่แล้ว ในช่วงเวลาบ่ายสองโมงครึ่ง ทันทีที่เกาหลีเหนือยิงกระสุนปืนใหญ่ 50 ลูก ตกลงในน่านน้ำของเกาหลีใต้ นอกชายฝั่งเกาะยอนเปียง และกระสุนบางส่วนตกลงบนเกาะ ทำให้มีทหารเกาหลีใต้เสียชีวิต 2 นาย พลเรือนตาย 2 ราย บาดเจ็บ 18 นาย มีบ้านเรือนหลายสิบหลังเกิดไฟลุกไหม้เสียหาย และต้องสั่งอพยพผู้คนไปอยู่ในที่ปลอดภัยเป็นจำนวนหลายพันชีวิต
คิม แตยัง รัฐมนตรีกลาโหมเกาหลีใต้ได้สั่งให้ทหารเกาหลีใต้ยิงตอบโต้กลับไปทันที 80 นัด พร้อมสั่งกองทัพยกระดับ เตรียมพร้อมขั้นสูงสุดนอกภาวะสงครามเพื่อรับมือเกาหลีเหนือ ด้านกองทัพอากาศประสานพื้นราบ ส่งเครื่องบินรบประจำ ยังเกาะยอนเปียงจุดปะทะในทันทีเช่นกัน
รัฐบาลโซลประกาศทันทีว่า พร้อมจะ ตอบโต้อย่างหนักหน่วงหากอีกฝ่ายไม่ยุติการยั่วยุ และว่าการโจมตีถูกเป้าหมายของพลเรือนอย่างไม่รับผิดชอบนี้เป็น “สิ่งที่อภัยให้ไม่ได้” ทางการเกาหลีเหนือต้องรับผิดชอบต่อสิ่งที่เกิดขึ้น และจะไม่ยอมให้มีการเจรจาสองฝ่าย หากยังไม่ได้ยินคำขอโทษอย่างเป็นทางการจากฝ่ายเกาหลีเหนือ
ในจังหวะเดียวกัน เกาหลีใต้ได้กดดันคู่กรณีผ่านมาตรการอื่น เช่น ให้กระทรวงรวมชาติโสมขาวประกาศระงับการส่งความช่วยเหลือด้านอาหารให้แก่เกาหลีเหนือทันที หลังจากเคยรับปากจะจัดส่งความช่วยเหลือด้านอาหารมูลค่า 10,000 ล้านวอน ซึ่งมีทั้งข้าว บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ปูนซีเมนต์ และอุปกรณ์ฉุกเฉินต่างๆ ให้แก่เกาหลีเหนือ หลังประเทศเพื่อนบ้านประสบภัยน้ำท่วมร้ายแรงก่อนหน้านี้
นอกจากฝ่ายความมั่นคง ฝ่ายบริหารแล้ว ฝ่ายนิติบัญญัติ โดยรัฐสภาเกาหลีใต้ลงมติอย่างท่วมท้น ด้วยคะแนนเสียงท่วมท้น 261 ต่อ 1 และงดออกเสียง 9 เสียง สนับสนุนการประณามเกาหลีเหนือ กรณียิงปืนใหญ่โจมตีเกาะยอนเปียง ฐานละเมิดกฎบัตรสหประชาชาติและข้อตกลงพักรบชั่วคราว ระหว่างสองชาติ พร้อมเรียกร้องให้เกาหลีเหนือออกมาขอโทษต่อการกระทำดังกล่าว และเร่งผลักดันให้รัฐบาลเกาหลีใต้ใช้มาตรการเด็ดขาดและฉับไว หากมีการยั่วยุจากเกาหลีเหนืออีก
ที่น่าสนใจยิ่งกว่านั้นก็คือ หลังการโจมตีเกาะยองเปียนเพียง 2 วัน นายคิม แตยัง รัฐมนตรีกลาโหมเกาหลีใต้ ได้ประกาศลาออกเพื่อแสดงความรับผิดชอบกรณีถูกชาวเกาหลีใต้วิจารณ์อย่างหนักว่า “อ่อนประสิทธิภาพ” ในการตอบโต้โสมแดง โดยผู้นำเกาหลีใต้ ประธานาธิบดีลีเมียงบัค ได้อนุมัติการลาออกของคิม พร้อมระบุว่า การรับใบลาออกดังกล่าว จะเป็นจุดเริ่มต้นของการปรับปรุงสภาพบรรยากาศในกองทัพ และกฎระเบียบต่างๆ ให้ดีขึ้นหลังเกาหลีใต้ตกเป็นลูกไล่ หรือเป็นฝ่ายรับเกาหลีเหนือมาตลอดทั้งเหตุจมเรือรบ และเหตุถล่มเกาะที่มีพลเรือนอาศัยอยู่
สปิริตของนายคิม แตยัง รัฐมนตรีเกาหลีใต้ ถือเป็นมาตรฐานของนักการเมืองในชาติที่เจริญแล้ว ที่หาไม่ได้ในบ้านเราเมืองเรายุคที่ “นักกินเมือง” ครองเมือง
การบริหารงานที่ผิดพลาดบ้านเรา ไม่เคยมีใครต้องออกมารับผิดชอบ ไล่ตั้งแต่เหตุการณ์ 7 คนไทย ถูกกัมพูชาจับกุมที่บ้านหนองจาน จังหวัดสระแก้ว, การที่ไทยต้องสูญเสียอธิปไตยทางการศาลบนดินแดนไทย, รวมถึงการสูญเสียชีวิต และทรัพย์สินของพี่น้องทหารและชาวบ้านที่กันทรลักษณ์ ศรีสะเกษ จากการโจมตีถึง 4 รอบ จากการที่ทหารเขมรเข้ามาตั้งฐานทหารบนดินแดนไทย และยิงใส่พลเรือนไทย ที่อ.กันทรลักษณ์ จ.ศรีสะเกษ โดยที่ไทยยึดถือการเจรจาแต่ฝ่ายเดียว และถูกกัมพูชายิงไล่หลังมาทุกครั้ง
ล่าสุด รัฐมนตรีต่างประเทศ กษิต ภิรมย์ ออกมาสารภาพเองกลางวง สัมมนาของ คณะกรรมาธิการวุฒิสภาด้านการต่างประเทศ ยอมรับว่า ไม่สามารถกุมสภาพในกระทรวงการต่างประเทศ จนนำไปสู่การเพลี่ยงพล้ำให้กับกัมพูชาบ่อยครั้ง ดังคำพูดที่ว่า
“ยอมรับงานในกระทรวงการต่างประเทศเป็นแดนสนธยา เรื่องการจ้างนักวิชาการให้ข้อมูลขัดแย้งกับแนวทางของรัฐบาลเอง เป็นเรื่องที่แม้แต่รัฐมนตรีก็ยังไม่ทราบเรื่อง และสำหรับข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศนั้น เวลามอบนโยบายพวกเขาก็ยอมรับ แต่เมื่อไปอยู่ข้างนอกเขาพูดอีกอย่าง...ตนเป็นรัฐมนตรีต่างประเทศมาแบบไม่คาดฝันทั้งที่ ตนยืนอยู่บนเวทีพันธมิตรฯเหมือนเดิมก็สบายดีแล้ว”
หรือแม้แต่ตัว พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีกลาโหม ก็ออกมายอมรับกลางวงประชุมคณะรัฐมนตรี ถึงกรณีการต่อสายเจรจากับพล.อ.เตียบัญ รองนายกฯ และรัฐมนตรีกลาโหมกัมพูชา แต่ล้มเหลว จนมีเสียงระเบิดนัดแรก ดังที่ระบุว่า
“สาเหตุปะทะกันเพราะกัมพูชาพยายามสร้างถนนรุกล้ำในพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร ซึ่งไทยได้ทักท้วงไป แต่ก็ยังมีการก่อสร้างมาตลอด เราเตือนไปว่าให้ยึดข้อตกลงเอ็มโอยู 2543 แต่เขาไม่หยุด… และยังไม่ทันที่ผมจะวางสายโทรศัพท์ ก็มีรายงานว่าทหารกัมพูชายิงถล่มทหารไทยชุดที่เข้าไปปรับปรุงถนนของเราแล้ว”