ยุทธศาสตร์พระราชทาน เรื่องเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานให้ผู้ปฏิบัติงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้เมื่อ พ.ศ. 2547 นั้น
เนื่องจากทรงวางหลักการของพระราชดำรัสไว้อย่างกว้างๆ ทำให้ผู้ปฏิบัติงานแต่ละฝ่ายสงสัยว่า พระราชดำรัสนี้มีความหมายว่าอย่างไร แม้แต่ ฯพณฯ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ก็ยังเป็นห่วงว่าถ้าไม่เข้าใจความหมายนี้ให้ถูกต้องสมบูรณ์ ครบถ้วน ผลสัมฤทธิ์ก็จะบกพร่องไป ถ้ามองกันในมุมกลับกัน การไม่ให้ความหมายที่ชัดเจน จะเป็นการบอกให้ทราบว่าใครเข้าใจเรื่องนี้ดีกว่ากัน
ใครๆ ก็ทราบกันดีว่า ความไม่สงบ คือ ปัญหาของจังหวัดชายแดนภาคใต้ พระราชประสงค์ของพระราชดำรัส ต้องการให้ปฏิบัติงานในจังหวัดดังกล่าวใช้พระราชดำรัสนี้แก้ปัญหา เมื่อต่างฝ่ายต่างมองปัญหาไม่ตรงกัน การแก้ปัญหาจึงต้องใช้มาตรการทางด้านวิชาการเป็นตัวช่วย ไม่ใช่คิดเอาเอง (guesswork) หรือทำอย่างที่เคยทำกันมา (Rule of Thumb)
ประเทศสิงคโปร์เคยขอให้ C. Northcote Parkinson และ Rustomji ปรมาจารย์ในเรื่องการจัดการระดับโลก จัดพิมพ์ตำราการบริหารจัดการอย่างน้อย 7 เล่มสำหรับใช้ในประเทศ มีอยู่เล่มหนึ่งใช้ชื่อว่า “ความเข้าใจในเรื่องการบริหารจัดการ” (Understanding the Management) หนังสือเล่มนี้มี 198 หน้า ความตอนหนึ่งอธิบายว่า “ภายในเวลาไม่เกิน 10 นาที ถ้าผู้บริหารเข้าใจ เขาจะบอกได้ว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นเกิดจากสาเหตุใด” ปัญหาของจังหวัดชายแดนภาคใต้เกิดขึ้นร่วมจะ 8 ปีแล้ว รัฐบาลยังไม่รู้สาเหตุ
ความเข้าใจที่ถูกต้อง เกิดจากการมองเห็น “ความแท้จริง” (intrinsie) ที่มีอยู่ใน “ธรรมชาติ” (nature) ของเรื่องนั้นๆ เหมือนกับแพทย์ที่จะไม่รักษาโรคจากอาการที่มองเห็น แต่จะรักษาจากสาเหตุ หรือสมมติฐานของโรค
ปรมาจารย์ดังกล่าว ได้ให้ข้อสังเกตด้วยว่า โครงสร้างองค์กรสำคัญที่สุด ต้องออกแบบ (design) ให้เหมาะสม โครงสร้างองค์การที่ผิดรูปแบบ (wrong structure) รับประกัน (guarantee) ได้ว่า การทำงานจะเลว (bad) จะมีแต่เรื่องความขัดแย้งและการทำลาย (frustration)
G.A. Jacobsen และ M.H. Lipman ปรมาจารย์ทางรัฐศาสตร์ สหรัฐอเมริกา ได้อธิบายไว้ในหนังสือ “รัฐศาสตร์” (Political Science) ซึ่งบริษัท Barnes and Noble, New York สหรัฐอเมริกาจัดพิมพ์จำหน่ายและได้รับการยืนยันว่า นักศึกษารัฐศาสตร์มากกว่า 150 ล้านคนทั่วโลกใช้หนังสือนี้ ได้อธิบายว่า “ต่อความเป็นนักทฤษฎีทางการเมือง (political theorist) การเปลี่ยนแปลงทุกเรื่องเกี่ยวกับโครงสร้างการปกครองกฎหมายหรือนโยบายเป็นเรื่องสำคัญ”
การนำเอาข้อสังเกตของปรมาจารย์ทั้งสองสาขามาแสดงให้เห็น ก็เพื่อเป็นการยืนยันให้เห็นตรงกันว่า โครงสร้างองค์การสำคัญที่สุด ถ้าเป็นในระดับประเทศ ต้องออกแบบให้สอดคล้องกับรูปแบบการปกครองของประเทศ (form of the government) ในส่วนที่เกี่ยวกับรูปแบบการปกครองมีผู้ให้ความเห็นดังนี้
1. Herodotus นักประวัติศาสตร์ของกรีกระหว่าง พ.ศ. 58-118 ได้อธิบายว่า “จารีตประเพณี (custom) คือ พระมหากษัตริย์พระองค์แรกของมนุษย์”
2. R.M. Mac lver นักรัฐศาสตร์ที่มีชื่อเสียงของสหรัฐอเมริกา อธิบายว่า “รูปแบบการปกครอง (form of the government) เป็นผลผลิตของความเชื่อ (myth) และสถานการณ์ (situation)
3. ดร.ชำนาญ ยุวบูรณ์ อดีตอธิบดีกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย อธิบายว่า “รูปแบบการปกครอง จะเหมาะสมกับชาติใดหรือไม่นั้น จะต้องมีส่วนสัมพันธ์กับประวัติศาสตร์ในการปกครองและขนบธรรมเนียมของชนชาตินั้นด้วย”
การเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 24752 คณะราษฎรได้ออกแบบ (design) รัฐธรรมนูญ โดยใช้รูปแบบตามความเห็นดังกล่าวเป็นหลัก ได้กำหนดให้โครงสร้างของรัฐเป็นระบบ “รัฐเดี่ยว” (unitary system) และกำหนดโครงสร้างรัฐบาลให้เป็นระบบ “รัฐสภา” (parliamentary system)
เพื่อให้การบริหารประเทศสอดคล้องกับรูปแบบการปกครอง และโครงสร้างตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด ได้มีการประกาศใช้กฎหมาย 2 ฉบับ คือ
1. พระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2476 กฎหมายนี้กำหนดให้แบ่งการบริหารราชอาณาจักรออกเป็น 3 ส่วน คือ ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และราชการส่วนท้องถิ่น
2. พระราชบัญญัติเทศบาล พุทธศักราช 2476
กฎหมายทั้งสองฉบับนี้สะท้อนให้เห็น “ความแท้จริง” (intrinsic) ที่มีอยู่ในธรรมชาติ (nature) ของรูปแบบการปกครองประเทศไทย
ถ้านำเอาหลักการตามหนังสือรัฐศาสตร์ที่กล่าวถึงมาเปรียบเทียบกับรูปแบบการปกครองประเทศไทยและโครงสร้างในระบบรัฐเดี่ยว ในส่วนที่เกี่ยวกับการกระจายให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะพบว่า รัฐบาลไม่เข้าใจทฤษฎีทางรัฐศาสตร์เกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้
Jacobsen และ Lipman อธิบายว่า โดยทั่วไปรัฐเดี่ยวเป็นรัฐขนาดเล็กๆ รัฐบาลสามารถดูแลประชาชนได้ทั่วถึง แต่เมื่อประเทศเติบโตขึ้น รัฐบาลจะต้องนำเอาหลักการเรื่อง “องค์การที่เป็นเอกภาพของรัฐ” (The unitary organization of the state) มาใช้ในการบริหารประเทศ พระราชบัญญัติ 2 ฉบับที่กล่าวถึงข้างต้น คือ หลักการขององค์การที่ว่านี้
การที่รัฐบาลมีนโยบายลดบทบาทภาครัฐ ด้วยการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นโดยไม่ยึดหลักการใดๆ ทั้งสิ้น เหตุผลกับหลักการขัดแย้งกันเอง ต้องถือว่าเป็นการกระทำที่ผิดพลาด เป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการปกครอง กฎหมายและนโยบายตามที่นักทฤษฎีทางรัฐศาสตร์พูดถึง เป็นการกระทำที่ผิดหลักการเรื่อง “องค์การที่เป็นเอกภาพของรัฐ” ทั้งหมดนี้คือสาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้เกิดความไม่สงบขึ้นในจังหวัดชายแดนภาคใต้
Douglas Mc.Gregor นักบริหารจัดการระดับโลกอีกท่านหนึ่ง ก็อธิบายว่า “การกระทำในเรื่องการบริหารจัดการต้องอาศัยทฤษฎี” (Managerial act rests on theory) รัฐบาลไม่เข้าใจหลักการบริหารจัดการในเรื่อง “อำนาจคู่” (dual authority) อำนาจนี้เกิดขึ้นที่ไหน ที่นั้นจะมีแต่ความวิบัติ (wreak havoc) เหมือนกับเรื่อง “ดับเบิลสแตนดาร์ด” ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเคยมีพระราชดำรัส เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2544 ว่าจะทำให้ประเทศเกิดความหายนะ องค์การบริหารส่วนจังหวัดและองค์การบริหารส่วนตำบล ทำให้เกิด “อำนาจคู่” และทำให้เกิด “ดับเบิลสแตนดาร์ด” ผู้ก่อความไม่สงบฉวยโอกาสใช้ช่องว่างของอำนาจคู่ที่เป็นสองมาตรฐาน เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง และหวังผลสำเร็จในระยะยาว
การประกาศใช้กฎหมายใหม่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ ถ้าวิเคราะห์ตามหลักรัฐศาสตร์และหลักการบริหารจัดการต้องถือว่า ฝ่ายตรงกันข้ามได้เปรียบ
เมื่อรัฐบาลไม่เข้าใจว่า “รูปแบบการปกครอง (form of government) ของประเทศไทย” หมายความว่าอย่างไร ก็ยากที่จะนำพาประเทศไปสู่เป้าหมาย อย่าลืมคำกล่าวของ R.M. Mac lver ที่อธิบายว่า “การกระทำใดๆ ที่ฝ่าฝืนกฎของธรรมชาติ (Law of Nature) การกระทำนั้นจะไร้คุณค่า (null and void)” พูดกันตรงๆ ก็คือ “ความหายนะ”
ปัญหาของจังหวัดชายแดนภาคใต้ เกิดจากการกระทำของรัฐบาลเองที่ไม่เข้าใจเรื่องการบริหารประเทศ ให้สอดคล้องกับธรรมชาติของรูปแบบการปกครองประเทศไทย และกลายเป็นวิกฤตปัญหาของประเทศในที่สุด
ไม่ว่าจะเป็นผู้ปฏิบัติงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือผู้ใดต้องเข้าใจเรื่องเหล่านี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกองทัพ จะต้องเข้าใจเรื่องนี้ให้มากกว่านี้ คงจะมีสักวันหนึ่งที่จะมีคนอย่างพลเอกเดอโกล์ล เกิดขึ้นในประเทศไทย เมื่อวันนั้นมาถึง กองทัพก็จะได้มีโอกาสใช้ยุทธศาสตร์พระราชทานนี้ได้อย่างถูกต้องไม่ผิดพลาด
เนื่องจากทรงวางหลักการของพระราชดำรัสไว้อย่างกว้างๆ ทำให้ผู้ปฏิบัติงานแต่ละฝ่ายสงสัยว่า พระราชดำรัสนี้มีความหมายว่าอย่างไร แม้แต่ ฯพณฯ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ก็ยังเป็นห่วงว่าถ้าไม่เข้าใจความหมายนี้ให้ถูกต้องสมบูรณ์ ครบถ้วน ผลสัมฤทธิ์ก็จะบกพร่องไป ถ้ามองกันในมุมกลับกัน การไม่ให้ความหมายที่ชัดเจน จะเป็นการบอกให้ทราบว่าใครเข้าใจเรื่องนี้ดีกว่ากัน
ใครๆ ก็ทราบกันดีว่า ความไม่สงบ คือ ปัญหาของจังหวัดชายแดนภาคใต้ พระราชประสงค์ของพระราชดำรัส ต้องการให้ปฏิบัติงานในจังหวัดดังกล่าวใช้พระราชดำรัสนี้แก้ปัญหา เมื่อต่างฝ่ายต่างมองปัญหาไม่ตรงกัน การแก้ปัญหาจึงต้องใช้มาตรการทางด้านวิชาการเป็นตัวช่วย ไม่ใช่คิดเอาเอง (guesswork) หรือทำอย่างที่เคยทำกันมา (Rule of Thumb)
ประเทศสิงคโปร์เคยขอให้ C. Northcote Parkinson และ Rustomji ปรมาจารย์ในเรื่องการจัดการระดับโลก จัดพิมพ์ตำราการบริหารจัดการอย่างน้อย 7 เล่มสำหรับใช้ในประเทศ มีอยู่เล่มหนึ่งใช้ชื่อว่า “ความเข้าใจในเรื่องการบริหารจัดการ” (Understanding the Management) หนังสือเล่มนี้มี 198 หน้า ความตอนหนึ่งอธิบายว่า “ภายในเวลาไม่เกิน 10 นาที ถ้าผู้บริหารเข้าใจ เขาจะบอกได้ว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นเกิดจากสาเหตุใด” ปัญหาของจังหวัดชายแดนภาคใต้เกิดขึ้นร่วมจะ 8 ปีแล้ว รัฐบาลยังไม่รู้สาเหตุ
ความเข้าใจที่ถูกต้อง เกิดจากการมองเห็น “ความแท้จริง” (intrinsie) ที่มีอยู่ใน “ธรรมชาติ” (nature) ของเรื่องนั้นๆ เหมือนกับแพทย์ที่จะไม่รักษาโรคจากอาการที่มองเห็น แต่จะรักษาจากสาเหตุ หรือสมมติฐานของโรค
ปรมาจารย์ดังกล่าว ได้ให้ข้อสังเกตด้วยว่า โครงสร้างองค์กรสำคัญที่สุด ต้องออกแบบ (design) ให้เหมาะสม โครงสร้างองค์การที่ผิดรูปแบบ (wrong structure) รับประกัน (guarantee) ได้ว่า การทำงานจะเลว (bad) จะมีแต่เรื่องความขัดแย้งและการทำลาย (frustration)
G.A. Jacobsen และ M.H. Lipman ปรมาจารย์ทางรัฐศาสตร์ สหรัฐอเมริกา ได้อธิบายไว้ในหนังสือ “รัฐศาสตร์” (Political Science) ซึ่งบริษัท Barnes and Noble, New York สหรัฐอเมริกาจัดพิมพ์จำหน่ายและได้รับการยืนยันว่า นักศึกษารัฐศาสตร์มากกว่า 150 ล้านคนทั่วโลกใช้หนังสือนี้ ได้อธิบายว่า “ต่อความเป็นนักทฤษฎีทางการเมือง (political theorist) การเปลี่ยนแปลงทุกเรื่องเกี่ยวกับโครงสร้างการปกครองกฎหมายหรือนโยบายเป็นเรื่องสำคัญ”
การนำเอาข้อสังเกตของปรมาจารย์ทั้งสองสาขามาแสดงให้เห็น ก็เพื่อเป็นการยืนยันให้เห็นตรงกันว่า โครงสร้างองค์การสำคัญที่สุด ถ้าเป็นในระดับประเทศ ต้องออกแบบให้สอดคล้องกับรูปแบบการปกครองของประเทศ (form of the government) ในส่วนที่เกี่ยวกับรูปแบบการปกครองมีผู้ให้ความเห็นดังนี้
1. Herodotus นักประวัติศาสตร์ของกรีกระหว่าง พ.ศ. 58-118 ได้อธิบายว่า “จารีตประเพณี (custom) คือ พระมหากษัตริย์พระองค์แรกของมนุษย์”
2. R.M. Mac lver นักรัฐศาสตร์ที่มีชื่อเสียงของสหรัฐอเมริกา อธิบายว่า “รูปแบบการปกครอง (form of the government) เป็นผลผลิตของความเชื่อ (myth) และสถานการณ์ (situation)
3. ดร.ชำนาญ ยุวบูรณ์ อดีตอธิบดีกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย อธิบายว่า “รูปแบบการปกครอง จะเหมาะสมกับชาติใดหรือไม่นั้น จะต้องมีส่วนสัมพันธ์กับประวัติศาสตร์ในการปกครองและขนบธรรมเนียมของชนชาตินั้นด้วย”
การเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 24752 คณะราษฎรได้ออกแบบ (design) รัฐธรรมนูญ โดยใช้รูปแบบตามความเห็นดังกล่าวเป็นหลัก ได้กำหนดให้โครงสร้างของรัฐเป็นระบบ “รัฐเดี่ยว” (unitary system) และกำหนดโครงสร้างรัฐบาลให้เป็นระบบ “รัฐสภา” (parliamentary system)
เพื่อให้การบริหารประเทศสอดคล้องกับรูปแบบการปกครอง และโครงสร้างตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด ได้มีการประกาศใช้กฎหมาย 2 ฉบับ คือ
1. พระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2476 กฎหมายนี้กำหนดให้แบ่งการบริหารราชอาณาจักรออกเป็น 3 ส่วน คือ ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และราชการส่วนท้องถิ่น
2. พระราชบัญญัติเทศบาล พุทธศักราช 2476
กฎหมายทั้งสองฉบับนี้สะท้อนให้เห็น “ความแท้จริง” (intrinsic) ที่มีอยู่ในธรรมชาติ (nature) ของรูปแบบการปกครองประเทศไทย
ถ้านำเอาหลักการตามหนังสือรัฐศาสตร์ที่กล่าวถึงมาเปรียบเทียบกับรูปแบบการปกครองประเทศไทยและโครงสร้างในระบบรัฐเดี่ยว ในส่วนที่เกี่ยวกับการกระจายให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะพบว่า รัฐบาลไม่เข้าใจทฤษฎีทางรัฐศาสตร์เกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้
Jacobsen และ Lipman อธิบายว่า โดยทั่วไปรัฐเดี่ยวเป็นรัฐขนาดเล็กๆ รัฐบาลสามารถดูแลประชาชนได้ทั่วถึง แต่เมื่อประเทศเติบโตขึ้น รัฐบาลจะต้องนำเอาหลักการเรื่อง “องค์การที่เป็นเอกภาพของรัฐ” (The unitary organization of the state) มาใช้ในการบริหารประเทศ พระราชบัญญัติ 2 ฉบับที่กล่าวถึงข้างต้น คือ หลักการขององค์การที่ว่านี้
การที่รัฐบาลมีนโยบายลดบทบาทภาครัฐ ด้วยการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นโดยไม่ยึดหลักการใดๆ ทั้งสิ้น เหตุผลกับหลักการขัดแย้งกันเอง ต้องถือว่าเป็นการกระทำที่ผิดพลาด เป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการปกครอง กฎหมายและนโยบายตามที่นักทฤษฎีทางรัฐศาสตร์พูดถึง เป็นการกระทำที่ผิดหลักการเรื่อง “องค์การที่เป็นเอกภาพของรัฐ” ทั้งหมดนี้คือสาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้เกิดความไม่สงบขึ้นในจังหวัดชายแดนภาคใต้
Douglas Mc.Gregor นักบริหารจัดการระดับโลกอีกท่านหนึ่ง ก็อธิบายว่า “การกระทำในเรื่องการบริหารจัดการต้องอาศัยทฤษฎี” (Managerial act rests on theory) รัฐบาลไม่เข้าใจหลักการบริหารจัดการในเรื่อง “อำนาจคู่” (dual authority) อำนาจนี้เกิดขึ้นที่ไหน ที่นั้นจะมีแต่ความวิบัติ (wreak havoc) เหมือนกับเรื่อง “ดับเบิลสแตนดาร์ด” ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเคยมีพระราชดำรัส เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2544 ว่าจะทำให้ประเทศเกิดความหายนะ องค์การบริหารส่วนจังหวัดและองค์การบริหารส่วนตำบล ทำให้เกิด “อำนาจคู่” และทำให้เกิด “ดับเบิลสแตนดาร์ด” ผู้ก่อความไม่สงบฉวยโอกาสใช้ช่องว่างของอำนาจคู่ที่เป็นสองมาตรฐาน เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง และหวังผลสำเร็จในระยะยาว
การประกาศใช้กฎหมายใหม่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ ถ้าวิเคราะห์ตามหลักรัฐศาสตร์และหลักการบริหารจัดการต้องถือว่า ฝ่ายตรงกันข้ามได้เปรียบ
เมื่อรัฐบาลไม่เข้าใจว่า “รูปแบบการปกครอง (form of government) ของประเทศไทย” หมายความว่าอย่างไร ก็ยากที่จะนำพาประเทศไปสู่เป้าหมาย อย่าลืมคำกล่าวของ R.M. Mac lver ที่อธิบายว่า “การกระทำใดๆ ที่ฝ่าฝืนกฎของธรรมชาติ (Law of Nature) การกระทำนั้นจะไร้คุณค่า (null and void)” พูดกันตรงๆ ก็คือ “ความหายนะ”
ปัญหาของจังหวัดชายแดนภาคใต้ เกิดจากการกระทำของรัฐบาลเองที่ไม่เข้าใจเรื่องการบริหารประเทศ ให้สอดคล้องกับธรรมชาติของรูปแบบการปกครองประเทศไทย และกลายเป็นวิกฤตปัญหาของประเทศในที่สุด
ไม่ว่าจะเป็นผู้ปฏิบัติงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือผู้ใดต้องเข้าใจเรื่องเหล่านี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกองทัพ จะต้องเข้าใจเรื่องนี้ให้มากกว่านี้ คงจะมีสักวันหนึ่งที่จะมีคนอย่างพลเอกเดอโกล์ล เกิดขึ้นในประเทศไทย เมื่อวันนั้นมาถึง กองทัพก็จะได้มีโอกาสใช้ยุทธศาสตร์พระราชทานนี้ได้อย่างถูกต้องไม่ผิดพลาด