วานนี้(8 ก.พ.)คณะอนุกรรมการปฏิบัติการยุทธศาสตร์ด้านเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และความเสมอภาคของบุคคล ในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่มีนางวิสา เบ็ญจมะโน เป็นประธาน ได้ออกแถลงการณ์แสดงความชื่นชมหน่วยงานภาครัฐและฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ที่ได้ระดมความร่วมมือ ทั้งในด้านการอพยพ จัดหาที่พักที่ปลอดภัย อาหาร และสิ่งจำเป็นสำหรับการอุปโภค บริโภคเป็นอย่างดีแล้ว ให้ชาวบ้านที่ได้รับเดือดร้อนจากเหตุ เหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ชายแดน อ.กันทรลักษณ์ จ.ศรีสะเกษ โดยคณะอนุกรรมการฯ ยังมีความเป็นห่วงและมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในส่วนของกลุ่มเปราะบาง ได้แก่ กลุ่มเด็ก สตรี ผู้สูงอายุและคนพิการ ซึ่งเห็นว่าการดำเนินการช่วยเหลือควรคำนึงถึง
1. ระยะสั้นนอกเหนือสิ่งของเครื่องใช้จำเป็นเฉพาะหน้าแล้ว ยังคงต้องคำนึงถึงความจำเป็นและความต้องการสำหรับการดำรงชีวิตประจำวันของกลุ่มเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ และคนพิการ เป็นกรณีพิเศษ เช่น ยารักษาโรคยาประจำตัว ซึ่งอาจเกิดขึ้นในกลุ่มผู้สูงอายุ นมกล่อง นมผงและขวดนม ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อทารก และเด็กอ่อน ผ้าอนามัยและของใช้ที่จำเป็นส่วนตัว รวมถึงระบบสุขอนามัยของกลุ่มบุคคลดังกล่าว
2.ระยะยาว ในการฟื้นฟู ปรับสภาพแวดล้อม พื้นที่ทำกิน ที่อยู่อาศัย คณะอนุกรรมการฯ เชื่อมั่นว่ารัฐบาลจะพยายามดำเนินการอย่างเต็มที่ แต่อย่างไรก็ตาม การดำเนินการดังกล่าว ควรคำนึงถึงพื้นที่นอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้ว อาทิ สถานที่รวมตัวเพื่อประกอบอาชีพและกิจกรรมทางสังคมอื่นๆของกลุ่มแม่บ้าน ศูนย์เด็กเล็ก ชมรมผู้สูงอายุ เป็นต้น 3. ควรให้ความสำคัญเป็นพิเศษในการฟื้นฟู เยียวยา สภาพจิตใจผู้ประสบความเดือดร้อนอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนการช่วยเหลือด้านวัตถุและสิ่งของจำเป็น ทั้งนี้หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ควรจัดระบบบริหารจัดการการช่วยเหลือ เยียวยาอย่างเข้าถึงทุกกลุ่มคนอย่างเหมาะสมและเพียงพอ
วันเดียวกันสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ออกแถลงการณ์ เรื่อง “ข้อห่วงใยต่อการนำเสนอข่าว และภาพข่าวของสื่อมวลชน กรณีข้อพิพาทชายแดนและการใช้กำลังทหารระหว่างไทย-กัมพูชา” ระบุว่า
1.ขอให้เพื่อนร่วมวิชาชีพสื่อมวลชน ไม่ว่าหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ และสื่อออนไลน์ ฯลฯ ได้ทำหน้าที่ของตนด้วยความรับผิดชอบต่อประเทศชาติและประชาชน โดยการเสนอข่าวและภาพข่าว ตลอดจนการแสดงความคิดเห็นต้องเป็นไปในเชิงสร้างสรรค์ แสวงหาหนทางการแก้ปัญหาข้อพิพาท ความขัดแย้งอย่างสันติวิธี
2.ขอให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการตัดสินนำเสนอประเด็นข่าวและภาพข่าวได้ตระหนักถึงความอ่อนไหว และให้ความระมัดระวังอย่างยิ่งยวดต่อผลกระทบทางด้านความมั่นคง ซึ่งอาจเป็นการเปิดเผยจุดยุทธศาสตร์ หรือยุทธวิธีทางการทหารให้กับฝ่ายตรงข้ามนำไปใช้ประโยชน์โดยไม่ตั้งใจได้
3.ในการนำเสนอข่าว ตลอดจนการแสดงข้อคิดเห็นใด ๆ โดยผ่านทางบทสัมภาษณ์ บทความ หรือทางอื่นใด ขอให้หลีกเลี่ยงการใช้ภาษา หรือการแสดงท่าทีที่เป็นการดูถูกดูหมิ่น เหยียดหยาม ก่อให้เกิดความเกลียดชังระหว่างประชาชนทั้งสองประเทศ
4. ขอเรียกร้องให้ผู้นำทั้งสองประเทศ ตลอดจนผู้เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาข้อพิพาทชายแดน แสดงความจริงใจที่จะร่วมกันยุติปัญหาความขัดแย้งให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรม โดยใช้กลไกการแก้ปัญหาที่มีอยู่ หันหน้ามาพูดคุย เจรจาเพื่อหาข้อยุติอย่างสร้างสรรค์และยึดมั่นในสันติวิธี โดยยึดผลประโยชน์และความสงบสุขของพี่น้องประชาชนสองประเทศเป็นที่ตั้ง
5. สำหรับการเคลื่อนไหวของกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองที่มีอยู่ในขณะนี้ แม้เป็นการแสดงความคิดเห็นตามรัฐธรรมนูญที่พึงกระทำได้ แต่ต้องคำนึงถึงผลกระทบสิทธิของผู้อื่น อีกทั้งไม่ควรกระทำการใด ๆ ที่เป็นการยั่วยุให้ปัญหาข้อพิพาทลุกลามบานปลายมากขึ้น เนื่องเพราะสันติวิธีเท่านั้น คือหนทางยุติปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างยั่งยืน.
1. ระยะสั้นนอกเหนือสิ่งของเครื่องใช้จำเป็นเฉพาะหน้าแล้ว ยังคงต้องคำนึงถึงความจำเป็นและความต้องการสำหรับการดำรงชีวิตประจำวันของกลุ่มเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ และคนพิการ เป็นกรณีพิเศษ เช่น ยารักษาโรคยาประจำตัว ซึ่งอาจเกิดขึ้นในกลุ่มผู้สูงอายุ นมกล่อง นมผงและขวดนม ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อทารก และเด็กอ่อน ผ้าอนามัยและของใช้ที่จำเป็นส่วนตัว รวมถึงระบบสุขอนามัยของกลุ่มบุคคลดังกล่าว
2.ระยะยาว ในการฟื้นฟู ปรับสภาพแวดล้อม พื้นที่ทำกิน ที่อยู่อาศัย คณะอนุกรรมการฯ เชื่อมั่นว่ารัฐบาลจะพยายามดำเนินการอย่างเต็มที่ แต่อย่างไรก็ตาม การดำเนินการดังกล่าว ควรคำนึงถึงพื้นที่นอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้ว อาทิ สถานที่รวมตัวเพื่อประกอบอาชีพและกิจกรรมทางสังคมอื่นๆของกลุ่มแม่บ้าน ศูนย์เด็กเล็ก ชมรมผู้สูงอายุ เป็นต้น 3. ควรให้ความสำคัญเป็นพิเศษในการฟื้นฟู เยียวยา สภาพจิตใจผู้ประสบความเดือดร้อนอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนการช่วยเหลือด้านวัตถุและสิ่งของจำเป็น ทั้งนี้หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ควรจัดระบบบริหารจัดการการช่วยเหลือ เยียวยาอย่างเข้าถึงทุกกลุ่มคนอย่างเหมาะสมและเพียงพอ
วันเดียวกันสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ออกแถลงการณ์ เรื่อง “ข้อห่วงใยต่อการนำเสนอข่าว และภาพข่าวของสื่อมวลชน กรณีข้อพิพาทชายแดนและการใช้กำลังทหารระหว่างไทย-กัมพูชา” ระบุว่า
1.ขอให้เพื่อนร่วมวิชาชีพสื่อมวลชน ไม่ว่าหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ และสื่อออนไลน์ ฯลฯ ได้ทำหน้าที่ของตนด้วยความรับผิดชอบต่อประเทศชาติและประชาชน โดยการเสนอข่าวและภาพข่าว ตลอดจนการแสดงความคิดเห็นต้องเป็นไปในเชิงสร้างสรรค์ แสวงหาหนทางการแก้ปัญหาข้อพิพาท ความขัดแย้งอย่างสันติวิธี
2.ขอให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการตัดสินนำเสนอประเด็นข่าวและภาพข่าวได้ตระหนักถึงความอ่อนไหว และให้ความระมัดระวังอย่างยิ่งยวดต่อผลกระทบทางด้านความมั่นคง ซึ่งอาจเป็นการเปิดเผยจุดยุทธศาสตร์ หรือยุทธวิธีทางการทหารให้กับฝ่ายตรงข้ามนำไปใช้ประโยชน์โดยไม่ตั้งใจได้
3.ในการนำเสนอข่าว ตลอดจนการแสดงข้อคิดเห็นใด ๆ โดยผ่านทางบทสัมภาษณ์ บทความ หรือทางอื่นใด ขอให้หลีกเลี่ยงการใช้ภาษา หรือการแสดงท่าทีที่เป็นการดูถูกดูหมิ่น เหยียดหยาม ก่อให้เกิดความเกลียดชังระหว่างประชาชนทั้งสองประเทศ
4. ขอเรียกร้องให้ผู้นำทั้งสองประเทศ ตลอดจนผู้เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาข้อพิพาทชายแดน แสดงความจริงใจที่จะร่วมกันยุติปัญหาความขัดแย้งให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรม โดยใช้กลไกการแก้ปัญหาที่มีอยู่ หันหน้ามาพูดคุย เจรจาเพื่อหาข้อยุติอย่างสร้างสรรค์และยึดมั่นในสันติวิธี โดยยึดผลประโยชน์และความสงบสุขของพี่น้องประชาชนสองประเทศเป็นที่ตั้ง
5. สำหรับการเคลื่อนไหวของกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองที่มีอยู่ในขณะนี้ แม้เป็นการแสดงความคิดเห็นตามรัฐธรรมนูญที่พึงกระทำได้ แต่ต้องคำนึงถึงผลกระทบสิทธิของผู้อื่น อีกทั้งไม่ควรกระทำการใด ๆ ที่เป็นการยั่วยุให้ปัญหาข้อพิพาทลุกลามบานปลายมากขึ้น เนื่องเพราะสันติวิธีเท่านั้น คือหนทางยุติปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างยั่งยืน.