ASTVผู้จัดการรายวัน – ขุนคลังสั่ง "ธ.ก.ส.-ออมสิน" อัดฉีดกองทุนหมู่บ้านทั่วประเทศ อีกหมู่บ้านละ 1 ล้าน ยกระดับขึ้นเป็นสถาบันการเงินชุมชน มั่นใจสิ้นปีนี้ทำได้ไม่ต่ำกว่า 2 หมื่นหมู่บ้าน เน้นปล่อยสินเชื่อซอฟท์โลนปล่อยกู้ต่อสมาชิก 12% เท่า โครงการแก้หนี้นอกระบบ หมอหนี้พี่เลี้ยงรากหญ้า ทำบัญชีครัวเรือน ดึงเป็นรูปแบบแก้หนี้นอกระบบรอบ 2
นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังได้มอบหมายให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การณ์เกษตร (ธ.ก.ส.) และธนาคารออมสิน พิจารณากองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง (กทบ.) ที่มีความแข็งแกร่งและสามารถยกระดับขึ้นเป็นสถาบันการเงินชุมชนให้ดำเนินการได้ทันที โดยขึ้นอยู่กับการพิจารณาคุณสมบัติของกองทุนหมู่บ้านแต่ละแห่งว่ามีศักยภาพที่จะยกระดับได้หรือไม่เพื่อให้แต่ละหมู่บ้านมีธนาคารที่ใกล้ตัวและมีความเข้มแข็ง
โดยกระทรวงการคลังมีนโยบายให้ธนาคารทั้งสองแห่งปล่อยกู้ให้กับกับกองทุนหมู่บ้านเพิ่มอีกกองทุนละ 1 ล้านบาทโดยคิดอัตราดอกเบี้ยต่ำเพียง 6% ต่อปี และปล่อยกู้ให้กับสมาชิกในอัตราดอกเบี้ย 12% ต่อปีเท่ากับโครงการแก้หนี้นอกระบบ โดยส่วนต่างที่เกิดขึ้นจะใช้สำหรับการบริหารจัดการสถาบันการเงินชุมชนที่ตั้งขึ้นและคืนกำไรให้กับสมาชิกในรูปแบบต่างๆ เช่น สวัสดิการของสมาชิก และเงินสงเคราะห์ฌาปนกิจ เป็นต้น
“เราไม่ได้บังคับธ.ก.ส.และออมสินเพียงแค่ผลักนโยบายไปให้เขาตัดสินใจเองว่ากองทุนหมู่บ้านใดที่เขาดูแลอยู่มีความสามารถที่จะยกระดับก็ให้ดำเนินการได้ทันที ส่วนกองทุนหมู่บ้านใดที่ยังไม่พร้อมก็จะมีการอบรม พัฒนา ผ่านโครงการหมอหนี้เพื่อให้สามารถยกระดับกองทุนหมู่บ้านที่มีอยู่ทั่วประเทศให้เป็นสถาบันการเงินชุมชนที่แข็งแกร่งให้ได้ โดยในเบื้องต้นคาดว่าในสิ้นปีนี้จะสามารถดำเนินการได้ทันที 1 ใน 3 ของกองทุนหมู่บ้านทั้งหมดหรือมากกว่า 2 หมื่นหมู่บ้าน” นายกรณ์กล่าว
รมว.คลังกล่าวว่า สำหรับความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบรอบ 2 จะมีรูปแบบการแก้ไขปัญหาที่แตกต่างจากรอบแรก โดยจะให้ชาวบ้านดูแลกันเองมากขึ้นแทนการดูแลจากภาครัฐ โดยผ่าน โครงการอบรมหมอหนี้ของรัฐบาลจะเป็นตัวกำหนดทิศทางการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบในอนาคต ซึ่งขณะนี้ธนาคารออมสินดูแลกองทุนหมู่บ้าน 1 ล้านบาท ประมาณ 60,000 หมู่บ้าน และธ.ก.ส.ดูแลประมาณ 20,000 หมู่บ้าน รวมทั้งสิ้นกว่า 70,000 หมู่บ้าน
ซึ่งธนาคารทั้ง 2 แห่งจะดำเนินการฝึกอบรมหมอหนี้ให้คำปรึกษากับชาวบ้านในชุมชน เพื่อจัดทำบัญชีครัวเรือน หากเป็นกองทุนขนาดใหญ่จะมีหมอหนี้ 3 คนคอยดูแล กองทุนขนาดเล็กใช้หมอนี้ 1 คน โดย ธนาคารออมสินได้ทำการฝึกอบรมหมอหนี้ไปแล้ว 10,000 คน ภายในปี 2554 คาดว่าจะฝึกอบรมได้ 1 แสนคน และปี 2555 อีก 60,000 คน สำหรับ ธ.ก.ส.จะมีหมอหนี้นับแสนคนเช่นเดียวกัน
“เราจะไม่รอให้ฝึกอบรมหมอหนี้ครบทั้งหมด เพียงให้ชัดเจนเรื่องการจัดทำบัญชีครัวเรือนก่อน เพราะจะได้ทราบที่มาที่ไปของเงินได้ว่าใช้จ่ายในส่วนใดเกิดประโยชน์หรือไม่เกิดประโยชน์ หากชาวบ้านเข้าใจในตรงนี้และทำได้ก็สามารถกู้เงินจากสถาบันการเงินชุมชนได้รวมทั้งมีการค้ำประกันและตรวจสอบกันเองมากขึ้นเพื่อให้หลุดพ้นจากปัญหาหนี้นอกระบบได้อย่างแท้จริงและยั่งยืน” รมว.คลังกล่าว
นายกรณ์กล่าวว่า ระหว่างวันที่ 5-6 กุมภาพันธ์ ได้เดินทางมาตรวจเยี่ยมโครงการฝึกอบอบรมหมอหนี้และความคืบหน้าในการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบในจังหวัดลำพูนและแม่ฮ่องสอน เพื่อให้แนวทางแก้ปัญหาหนี้นอกระบบรอบ 2 มีประสิทธิภาพและแก้ปัญหาหนี้นอกระบบได้อย่างยั่งยืน รัฐบาลจึงวางเป้าหมายการฝึกอบรมหมอหนี้ ด้วยการตัวแทนชาวบ้านที่มีความรู้ความสามารถเป็นที่เชื่อถือของคนในชุมชนมาทำการฝึกอบรมให้ความรู้ในการทำบัญชีครัวเรือน ใช้เป็นหลักฐานในการดูแลการการควบคุมค่าใช้จ่ายในครัวเรือน และรับรู้สถานภาพทางการเงินของแต่ละครัวเรือน เพื่อประเมินปล่อยสินเชื่อให้สมาชิก เพื่อเป็นการต่อยอดกองทุนหมู่บ้านให้พัฒนาเป็นสถาบันการเงินชุมชน โดยให้ธนาคารของรัฐเป็นพี่เลี้ยงในการฝึกอบรมให้ความรู้ในการบริหารจัดการเงินของกองทุนหมู่บ้าน.
นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังได้มอบหมายให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การณ์เกษตร (ธ.ก.ส.) และธนาคารออมสิน พิจารณากองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง (กทบ.) ที่มีความแข็งแกร่งและสามารถยกระดับขึ้นเป็นสถาบันการเงินชุมชนให้ดำเนินการได้ทันที โดยขึ้นอยู่กับการพิจารณาคุณสมบัติของกองทุนหมู่บ้านแต่ละแห่งว่ามีศักยภาพที่จะยกระดับได้หรือไม่เพื่อให้แต่ละหมู่บ้านมีธนาคารที่ใกล้ตัวและมีความเข้มแข็ง
โดยกระทรวงการคลังมีนโยบายให้ธนาคารทั้งสองแห่งปล่อยกู้ให้กับกับกองทุนหมู่บ้านเพิ่มอีกกองทุนละ 1 ล้านบาทโดยคิดอัตราดอกเบี้ยต่ำเพียง 6% ต่อปี และปล่อยกู้ให้กับสมาชิกในอัตราดอกเบี้ย 12% ต่อปีเท่ากับโครงการแก้หนี้นอกระบบ โดยส่วนต่างที่เกิดขึ้นจะใช้สำหรับการบริหารจัดการสถาบันการเงินชุมชนที่ตั้งขึ้นและคืนกำไรให้กับสมาชิกในรูปแบบต่างๆ เช่น สวัสดิการของสมาชิก และเงินสงเคราะห์ฌาปนกิจ เป็นต้น
“เราไม่ได้บังคับธ.ก.ส.และออมสินเพียงแค่ผลักนโยบายไปให้เขาตัดสินใจเองว่ากองทุนหมู่บ้านใดที่เขาดูแลอยู่มีความสามารถที่จะยกระดับก็ให้ดำเนินการได้ทันที ส่วนกองทุนหมู่บ้านใดที่ยังไม่พร้อมก็จะมีการอบรม พัฒนา ผ่านโครงการหมอหนี้เพื่อให้สามารถยกระดับกองทุนหมู่บ้านที่มีอยู่ทั่วประเทศให้เป็นสถาบันการเงินชุมชนที่แข็งแกร่งให้ได้ โดยในเบื้องต้นคาดว่าในสิ้นปีนี้จะสามารถดำเนินการได้ทันที 1 ใน 3 ของกองทุนหมู่บ้านทั้งหมดหรือมากกว่า 2 หมื่นหมู่บ้าน” นายกรณ์กล่าว
รมว.คลังกล่าวว่า สำหรับความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบรอบ 2 จะมีรูปแบบการแก้ไขปัญหาที่แตกต่างจากรอบแรก โดยจะให้ชาวบ้านดูแลกันเองมากขึ้นแทนการดูแลจากภาครัฐ โดยผ่าน โครงการอบรมหมอหนี้ของรัฐบาลจะเป็นตัวกำหนดทิศทางการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบในอนาคต ซึ่งขณะนี้ธนาคารออมสินดูแลกองทุนหมู่บ้าน 1 ล้านบาท ประมาณ 60,000 หมู่บ้าน และธ.ก.ส.ดูแลประมาณ 20,000 หมู่บ้าน รวมทั้งสิ้นกว่า 70,000 หมู่บ้าน
ซึ่งธนาคารทั้ง 2 แห่งจะดำเนินการฝึกอบรมหมอหนี้ให้คำปรึกษากับชาวบ้านในชุมชน เพื่อจัดทำบัญชีครัวเรือน หากเป็นกองทุนขนาดใหญ่จะมีหมอหนี้ 3 คนคอยดูแล กองทุนขนาดเล็กใช้หมอนี้ 1 คน โดย ธนาคารออมสินได้ทำการฝึกอบรมหมอหนี้ไปแล้ว 10,000 คน ภายในปี 2554 คาดว่าจะฝึกอบรมได้ 1 แสนคน และปี 2555 อีก 60,000 คน สำหรับ ธ.ก.ส.จะมีหมอหนี้นับแสนคนเช่นเดียวกัน
“เราจะไม่รอให้ฝึกอบรมหมอหนี้ครบทั้งหมด เพียงให้ชัดเจนเรื่องการจัดทำบัญชีครัวเรือนก่อน เพราะจะได้ทราบที่มาที่ไปของเงินได้ว่าใช้จ่ายในส่วนใดเกิดประโยชน์หรือไม่เกิดประโยชน์ หากชาวบ้านเข้าใจในตรงนี้และทำได้ก็สามารถกู้เงินจากสถาบันการเงินชุมชนได้รวมทั้งมีการค้ำประกันและตรวจสอบกันเองมากขึ้นเพื่อให้หลุดพ้นจากปัญหาหนี้นอกระบบได้อย่างแท้จริงและยั่งยืน” รมว.คลังกล่าว
นายกรณ์กล่าวว่า ระหว่างวันที่ 5-6 กุมภาพันธ์ ได้เดินทางมาตรวจเยี่ยมโครงการฝึกอบอบรมหมอหนี้และความคืบหน้าในการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบในจังหวัดลำพูนและแม่ฮ่องสอน เพื่อให้แนวทางแก้ปัญหาหนี้นอกระบบรอบ 2 มีประสิทธิภาพและแก้ปัญหาหนี้นอกระบบได้อย่างยั่งยืน รัฐบาลจึงวางเป้าหมายการฝึกอบรมหมอหนี้ ด้วยการตัวแทนชาวบ้านที่มีความรู้ความสามารถเป็นที่เชื่อถือของคนในชุมชนมาทำการฝึกอบรมให้ความรู้ในการทำบัญชีครัวเรือน ใช้เป็นหลักฐานในการดูแลการการควบคุมค่าใช้จ่ายในครัวเรือน และรับรู้สถานภาพทางการเงินของแต่ละครัวเรือน เพื่อประเมินปล่อยสินเชื่อให้สมาชิก เพื่อเป็นการต่อยอดกองทุนหมู่บ้านให้พัฒนาเป็นสถาบันการเงินชุมชน โดยให้ธนาคารของรัฐเป็นพี่เลี้ยงในการฝึกอบรมให้ความรู้ในการบริหารจัดการเงินของกองทุนหมู่บ้าน.