จันทบุรี - ธนาคารออมสิน จับมือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดจันทบุรี เร่งขยายโอกาสทางการศึกษานักเรียนในพื้นที่ ด้วยการเปิดโรงเรียนอาชีวศึกษาออมสินอุปถัมภ์ หวังสร้างนักการเงิน นายธนาคาร ที่เริ่มต้นจากหลักสูตร ปวช.-ปวส. มุ่งสู่อาชีพด้านการเงินที่มีคุณภาพต่อเศรษฐกิจและสังคม
วันนี้ (7 ก.พ.) นายธีรเทพ ศรียะพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี นายเลอศักดิ์ จุลเทศ ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน ในฐานะประธานมูลนิธิออมสินเพื่อสังคมและนายสมชาย จิตรเนื่อง ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 ได้ร่วมกันทำพิธีเปิดสถาบันการศึกษาระดับอาชีวศึกษา หลักสูตรด้านการเงิน การธนาคาร และการบัญชี ภายใต้ชื่อ “โรงเรียนอาชีวศึกษาออมสินอุปถัมภ์ (G-BAC)” ณ โรงแรม เคพี แกรนด์ อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี โดยเริ่มใช้พื้นที่ในตำบลบางกะจะ อำเภอเมืองจันทบุรี เป็นที่ตั้งของโรงเรียนหลังพบมีความเหมาะสมในหลายด้านพร้อมทั้งอยู่ใกล้แหล่งชุมชน
โดยผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กล่าวว่าสถาบันการศึกษาแห่งนี้จะเปิดการเรียนการสอนในปี 2554 ในระดับหลักสูตร ปวช. 3 สาขา ประกอบด้วย การบัญชี การขาย และคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ส่วนในระดับ ปวส. เปิดการเรียนการสอนใน 4 สาขา ประกอบด้วย การบัญชี การตลาด การเงิน/การธนาคาร และคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ซึ่งจะเรียนควบคู่ไปกับภาษาจีน อังกฤษ ญี่ปุ่น และเกาหลี
“สถาบันการศึกษาด้านพาณิชยการแห่งนี้ มุ่งเน้นการฝึกปฏิบัติงานจริงในธนาคารออมสินและสถาบันการเงินชุมชน ซึ่งเมื่อผู้เรียนจบการศึกษาสามารถเข้าทำงานได้ที่ธนาคารออมสิน หรือสถาบันการเงินอื่นๆ โดยเฉพาะหากเข้าทำงานที่สถาบันการเงินชุมชน ก็ถือเป็นการคืนทรัพยากรบุคคลให้กลับสู่ท้องถิ่นเพื่อพัฒนา ให้เกิดความเข็มแข็งมีคุณภาพสังคมที่ดีและเศรษฐกิจโดยรวมของท้องถิ่นดีขึ้น นำมาซึ่งความยั่งยืนต่อไป” นายเลอศักดิ์ กล่าว
วันนี้ (7 ก.พ.) นายธีรเทพ ศรียะพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี นายเลอศักดิ์ จุลเทศ ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน ในฐานะประธานมูลนิธิออมสินเพื่อสังคมและนายสมชาย จิตรเนื่อง ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 ได้ร่วมกันทำพิธีเปิดสถาบันการศึกษาระดับอาชีวศึกษา หลักสูตรด้านการเงิน การธนาคาร และการบัญชี ภายใต้ชื่อ “โรงเรียนอาชีวศึกษาออมสินอุปถัมภ์ (G-BAC)” ณ โรงแรม เคพี แกรนด์ อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี โดยเริ่มใช้พื้นที่ในตำบลบางกะจะ อำเภอเมืองจันทบุรี เป็นที่ตั้งของโรงเรียนหลังพบมีความเหมาะสมในหลายด้านพร้อมทั้งอยู่ใกล้แหล่งชุมชน
โดยผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กล่าวว่าสถาบันการศึกษาแห่งนี้จะเปิดการเรียนการสอนในปี 2554 ในระดับหลักสูตร ปวช. 3 สาขา ประกอบด้วย การบัญชี การขาย และคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ส่วนในระดับ ปวส. เปิดการเรียนการสอนใน 4 สาขา ประกอบด้วย การบัญชี การตลาด การเงิน/การธนาคาร และคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ซึ่งจะเรียนควบคู่ไปกับภาษาจีน อังกฤษ ญี่ปุ่น และเกาหลี
“สถาบันการศึกษาด้านพาณิชยการแห่งนี้ มุ่งเน้นการฝึกปฏิบัติงานจริงในธนาคารออมสินและสถาบันการเงินชุมชน ซึ่งเมื่อผู้เรียนจบการศึกษาสามารถเข้าทำงานได้ที่ธนาคารออมสิน หรือสถาบันการเงินอื่นๆ โดยเฉพาะหากเข้าทำงานที่สถาบันการเงินชุมชน ก็ถือเป็นการคืนทรัพยากรบุคคลให้กลับสู่ท้องถิ่นเพื่อพัฒนา ให้เกิดความเข็มแข็งมีคุณภาพสังคมที่ดีและเศรษฐกิจโดยรวมของท้องถิ่นดีขึ้น นำมาซึ่งความยั่งยืนต่อไป” นายเลอศักดิ์ กล่าว