ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 8 ก.พ.นี้ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้ทำรายงานให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อพิจารณาป้องกันการทุจริต กรณีส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานของรัฐ ทำสัญญาหรือบริหารสัญญาเสียเปรียบเอกชนหรือตีความสัญญาเอื้อประโยชน์แก่เอกชน ทำให้ทางราชการได้รับความเสียหาย ทั้งนี้ ป.ป.ช.ได้รวบรวมข้อมูลข้อเท็จจริงคำวินิจฉัยชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการและคำพิพากษาของศาลเกี่ยวกับข้อพิพาทในการทำสัญญา การตีความข้อสัญญา และการบริหารสัญญาของภาครัฐกับภาคเอกชน ยกมาเป็นกรณีศึกษา รวม 6 สัญญา
เช่น สัญญาระหว่าง ทศท.กับบริษัทคอม-ลิงค์ จำกัด ในโครงการร่วมทุนสร้างโครงข่ายเคเบิลใยแก้วนำแสงตามเส้นทางรถไฟ, สัญญาระหว่างสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลกับบริษัทจาโก จำกัด เป็นผู้แทนจำหน่ายและจ่ายรางวัลสลากบำรุงการกุศลแบบอัตโนมัติ, สัญญาระหว่างการทางพิเศษแห่งประเทศ ไทย (กทพ.) กับกิจการร่วมค้าบีบีซีดี จ้างเหมาออกแบบก่อสร้างทางด่วนสายบางนา-บางพลี-บางปะกง และสัญญาระหว่าง กทพ.กับบริษัททางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ให้เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 2 เป็นต้น
“ป.ป.ช.เสนอให้ ครม.ปรับปรุงกระบวนการในการทำสัญญา แก้ไขสัญญา และบริหารสัญญาของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจและหน่วยงานรัฐ ที่จะทำกับเอกชน ที่มีวงเงินตั้งแต่ 500 ล้านบาทขึ้นไป รวมทั้งให้มีการหาผู้รับผิดชอบทุกเรื่องทุกรายเพื่อป้องกันหรือปราบปรามการทุจริตต่อหน้าที่ การกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ และป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานรัฐ”
สำหรับแนวทางที่ ป.ป.ช.เสนอแนะ ที่สำคัญ ได้แก่ กรณีที่สัญญาไม่ทำตามแบบที่ระเบียบกำหนดหรือไม่ทำตามร่างที่สำนักงานอัยการสูงสุดพิจารณามาแล้ว หรือปกปิดข้อมูลที่ควรเปิดเผยให้อัยการสูงสุดได้รับทราบ รวมถึงการแก้ไขสัญญาที่ไม่ส่งร่างที่จะแก้ไขให้สำนักงานอัยการสูงสุดพิจารณาก่อน จนทำให้หน่วยงานของรัฐเสียเปรียบหรือเสียหายร้ายแรง ต้องสอบสวนหาผู้รับผิดทางวินัย ทางแพ่ง และทางอาญา แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องทุกราย ตั้งแต่ รัฐมนตรี หัวหน้าส่วนราชการ หรือผู้บริหารสูงสุดของ รัฐวิสาหกิจ ลงมาจนถึงเจ้าหน้าที่ระดับผู้ปฏิบัติ กรณีที่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของรัฐ มีข้อต่อสู้ที่เป็นประโยชน์ และสามารถยกขึ้นต่อสู้กับเอกชนได้ แต่เพิกเฉยไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้หรือพยายามตีความข้อสัญญาให้เอื้อประโยชน์แก่ฝ่ายเอกชนจนเกิดความเสียหายร้ายแรง ต้องสอบสวนหาผู้รับผิดทางวินัย ทางแพ่ง ทางอาญา ตั้งแต่ระดับรัฐมนตรีลงไปเช่นกัน
นอกจากนี้ เพื่อให้สัญญาที่ทำเกิดความโปร่งใส ป.ป.ช.ได้กำหนดให้ต้องมีการบันทึกเสียงการประชุมทุกขั้นตอนและทุกครั้งที่มีการประชุมเกี่ยวกับการยกร่างสัญญาและการแก้ไขสัญญา และห้ามไม่ให้มีการตัดต่อเสียงการประชุมอย่างเด็ดขาดและให้เก็บรักษาไว้เป็นหลักฐาน รวมทั้งให้เปิดเผยร่างสัญญาและเอกสารท้ายสัญญาทั้งหมดลงในอินเตอร์เน็ตทางเว็บไซต์ของหน่วยงานและสื่อมวลชน ก่อนที่จะให้สำนักงานอัยการสูงสุดพิจารณา และเมื่อลงนามในสัญญาแล้วหรือมีการแก้ไขสัญญาก็ให้เปิดเผยในลักษณะเดียวกัน เท่าที่ไม่ขัดต่อกฎหมายหรือความมั่นคงของชาติ กรณี ที่เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงอันเนื่องมาจากการทำสัญญา หน่วยงานเจ้าของโครงการต้องรายงานให้กระทรวงการคลังและสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินรับทราบทันที และให้กระทรวงการคลังรายงาน ครม.รับทราบเพื่อเอาผิดกับผู้ที่เกี่ยวข้องตั้งแต่รัฐมนตรีลงไป
เช่น สัญญาระหว่าง ทศท.กับบริษัทคอม-ลิงค์ จำกัด ในโครงการร่วมทุนสร้างโครงข่ายเคเบิลใยแก้วนำแสงตามเส้นทางรถไฟ, สัญญาระหว่างสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลกับบริษัทจาโก จำกัด เป็นผู้แทนจำหน่ายและจ่ายรางวัลสลากบำรุงการกุศลแบบอัตโนมัติ, สัญญาระหว่างการทางพิเศษแห่งประเทศ ไทย (กทพ.) กับกิจการร่วมค้าบีบีซีดี จ้างเหมาออกแบบก่อสร้างทางด่วนสายบางนา-บางพลี-บางปะกง และสัญญาระหว่าง กทพ.กับบริษัททางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ให้เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 2 เป็นต้น
“ป.ป.ช.เสนอให้ ครม.ปรับปรุงกระบวนการในการทำสัญญา แก้ไขสัญญา และบริหารสัญญาของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจและหน่วยงานรัฐ ที่จะทำกับเอกชน ที่มีวงเงินตั้งแต่ 500 ล้านบาทขึ้นไป รวมทั้งให้มีการหาผู้รับผิดชอบทุกเรื่องทุกรายเพื่อป้องกันหรือปราบปรามการทุจริตต่อหน้าที่ การกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ และป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานรัฐ”
สำหรับแนวทางที่ ป.ป.ช.เสนอแนะ ที่สำคัญ ได้แก่ กรณีที่สัญญาไม่ทำตามแบบที่ระเบียบกำหนดหรือไม่ทำตามร่างที่สำนักงานอัยการสูงสุดพิจารณามาแล้ว หรือปกปิดข้อมูลที่ควรเปิดเผยให้อัยการสูงสุดได้รับทราบ รวมถึงการแก้ไขสัญญาที่ไม่ส่งร่างที่จะแก้ไขให้สำนักงานอัยการสูงสุดพิจารณาก่อน จนทำให้หน่วยงานของรัฐเสียเปรียบหรือเสียหายร้ายแรง ต้องสอบสวนหาผู้รับผิดทางวินัย ทางแพ่ง และทางอาญา แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องทุกราย ตั้งแต่ รัฐมนตรี หัวหน้าส่วนราชการ หรือผู้บริหารสูงสุดของ รัฐวิสาหกิจ ลงมาจนถึงเจ้าหน้าที่ระดับผู้ปฏิบัติ กรณีที่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของรัฐ มีข้อต่อสู้ที่เป็นประโยชน์ และสามารถยกขึ้นต่อสู้กับเอกชนได้ แต่เพิกเฉยไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้หรือพยายามตีความข้อสัญญาให้เอื้อประโยชน์แก่ฝ่ายเอกชนจนเกิดความเสียหายร้ายแรง ต้องสอบสวนหาผู้รับผิดทางวินัย ทางแพ่ง ทางอาญา ตั้งแต่ระดับรัฐมนตรีลงไปเช่นกัน
นอกจากนี้ เพื่อให้สัญญาที่ทำเกิดความโปร่งใส ป.ป.ช.ได้กำหนดให้ต้องมีการบันทึกเสียงการประชุมทุกขั้นตอนและทุกครั้งที่มีการประชุมเกี่ยวกับการยกร่างสัญญาและการแก้ไขสัญญา และห้ามไม่ให้มีการตัดต่อเสียงการประชุมอย่างเด็ดขาดและให้เก็บรักษาไว้เป็นหลักฐาน รวมทั้งให้เปิดเผยร่างสัญญาและเอกสารท้ายสัญญาทั้งหมดลงในอินเตอร์เน็ตทางเว็บไซต์ของหน่วยงานและสื่อมวลชน ก่อนที่จะให้สำนักงานอัยการสูงสุดพิจารณา และเมื่อลงนามในสัญญาแล้วหรือมีการแก้ไขสัญญาก็ให้เปิดเผยในลักษณะเดียวกัน เท่าที่ไม่ขัดต่อกฎหมายหรือความมั่นคงของชาติ กรณี ที่เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงอันเนื่องมาจากการทำสัญญา หน่วยงานเจ้าของโครงการต้องรายงานให้กระทรวงการคลังและสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินรับทราบทันที และให้กระทรวงการคลังรายงาน ครม.รับทราบเพื่อเอาผิดกับผู้ที่เกี่ยวข้องตั้งแต่รัฐมนตรีลงไป