ASTVผู้จัดการรายวัน – นายกฯTEA ฉะ กระทรวงการท่องเที่ยวฯ ทำงานไม่เป็น เสียดายเงินสร้างศูนย์ประชุมเชียงใหม่กว่า 3 พันล้านบาท เหตุเพราะยังไม่มีการเริ่มแผนการตลาด ทั้งที่จริงต้องทำงานควบคู่กับการก่อสร้าง ทำให้เสียโอกาสทางการตลาด หวั่นฉุดภาพลักษณ์จากศูนย์ไฮเอนด์ เหลือแค่โลคัล หากต้องเร่งดึงงานเข้าใช้โดยวิธีจัดแค่งานสินค้าชุมชน
ขณะที่ภาพรวมธุรกิจเอ็กชิบิชั่น ปีนี้ สดใส คาดเติบโต 20% จากปีก่อน
นายพรรธระพี ชินะโชติ นายกสมาคมการแสดงสินค้า(ไทย) หรือ TEA กล่าวว่า กรณีศูนย์การประชุมนานาชาติ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งขณะนี้ ยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องการเปิดประมูลหาผู้บริหารศูนย์ และ ยังไม่มีแผนงานด้านการทำตลาด ทั้งที่ การก่อสร้างใกล้จะเสร็จแล้ว ซึ่งสมาคมในฐานะตัวแทนภาคเอกชนที่อยู่ในธุรกิจนี้มานานมองว่า จะเป็นการเสียโอกาสอย่างมาก เพราะในความเป็นจริงโดยหลักของการทำธุรกิจศูนย์การประชุม ต้องเริ่มทำตลาดตั้งแต่เริ่มก่อสร้าง อย่างน้อย 6 เดือน หรือ 2 ปี เพื่อให้มีงานเข้ามาจัดได้ทันทีภายหลังศูนย์สร้างเสร็จ และอย่างน้อยได้มีการประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้ให้แก่ผู้จัดงาน ว่า ประเทศไทย หรือเชียงใหม่ กำลังจะมีศูนย์การประชุมระดับนานาชาติเกิดขึ้น
“ต้องทำการตลาดคู่ไปกับการเริ่มก่อสร้าง จะได้มีงานเข้ามาทันทีที่ศูนย์เปิด ไม่ต้องปล่อยให้ศูนย์ว่างต้องเสียค่าดูแลไปวันๆจนกว่าจะมีลูกค้ามาใช้ ต้องขอบอกว่างานนี้กระทรวงการท่องเที่ยวซึ่งเป็นเจ้าของโครงการ ทำงานไม่เป็น ขาดการประสานงานกับเอกชน ไม่เคยเชิญสมาคมไปดูพื้นที่ทั้งที่เราเป็นฝ่ายทำตลาด Floor Plan ก็ไม่เคยให้ ต้องทำหนังสือเข้าไปขอผู้จัดงานมอเตอร์เอ็กซ์โป ซึ่งสนใจเข้าไปจัดงาน ยังต้องมาขอให้สมาคมช่วยขอ Floor Plan ให้เพื่อไปใช้วางแผนจัดงาน
***เสียโอกาส-เสียภาพลักษณ์****
จากสิ่งที่เกิดขึ้นทำให้ สมาคมรู้สึกเสียดายเงินงบประมาณสร้างศูนย์ที่รัฐใช้ไปกว่า 3 พันล้านบาท วางตำแหน่งเป็นศูนย์ประชุมนานาชาติระดับไฮเอนด์ ซึ่งหากไม่มีผู้เข้ามาใช้ รัฐ หรือท้องถิ่น ก็อาจต้องเร่งหางานเข้ามาด้วยการจัดงานประเภทสินค้าชุมชน งานบ้านและสวน ที่เป็นเอ็กซิบิชั่นระดับท้องถิ่น ภาพลักษณ์ของศูนย์จากที่วางไว้ก็จะเปลี่ยนไป ผู้จัดงานระดับอินเตอร์ ก็ไม่อยากเข้ามาใช้บริการ
อย่างไรก็ตามความล่าช้าทางความคิดและการสั่งการของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ยังทำให้ ศูนย์ประชุมฯเชียงใหม่ เสียโอกาสที่จะเปิดตัว ในเวทีการประชุมสมาคมอุตสาหกรรมนิทรรศการ(UFI)เอเชีย ซึ่งปีนี้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ จัดประชุมวันที่ 23 ก.พ.54 ซึ่งจะมีสมาชิกซึ่งเป็นระดับบริษัทผู้จัดงานเอ็กซิบิชั่นในเอเชีย มาร่วมประชุม
และไทยควรใช้โอกาสนี้นำเสนอพื้นที่ของศูนย์ประชุมฯเชียงใหม่ให้แก่ผู้ประกอบการที่มาร่วมประชุมได้รับรู้ นำฝ่ายการตลาดของศูนย์ มานำเสนอศูนย์ฯ และใช้โอกาสนี้ทำความรู้จักกับผู้ประกอบการ นำเสนอพื้นที่เพื่อจะดึงงานเข้าไปใช้ แต่ เมื่อทุกอย่างไม่มีความชัดเจน เช่นนี้ก็แน่นอนว่าทั้งหมดที่กล่าวมาไม่สามารถทำได้เลย ทำให้สูญเสียโอกาส
***ธุรกิจเอ็กซิบิชั่นปีนี้โต20%
นายพรรธระพี กล่าวถึง สถานการณ์ธุรกิจการจัดงานแสดงสินค้า ปี 2554 ว่า มีแนวโน้มสดใส คาดตลาดรวมทั้งประเทศเติบโตกว่าปีก่อนราว 20% มากกว่าที่สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ(องค์การมหาชน)หรือ สสปน. ที่วางเป้าหมายว่าจะเติบโต 10-15% ซึ่งการเติบโตที่เกิดขึ้นจะมาจากหลายปัจจัยสนบัสนุน ได้แก่ 1.เป็นปีเฉลิมฉลองพระชนม์มายุ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ครบ 84 พรรษา ซึ่งหน่วยงานต่างๆ ทั้งรัฐและเอกชน จะมีการจัดงานใหญ่ เพื่อร่วมเทิดพระเกียรติ 2.ธุรกิจไมซ์ และ การจัดงานนิทรรศการของไทย ชะลอและทรงตัวมา 2-3 ปี เพราะปัญหาทางการเมืองของประเทศ แต่ปีนี้ การเมืองสงบแล้ว งานที่อั้นมานานก็จะเริ่มออกมาจัดงาน และ 3. ช่วงพ.ย.54สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ บีโอไอ เตรียมจัดงาน BOI แฟร์
เชิญชวนนักลงทุนต่างชาติมาร่วมงาน นำเสนอศัยกาภาพการลงทุนในประเทศไทย
ในส่วนของสมาคมฯ ขณะนี้อยู่ระหว่างหารือกับกระทรวงพาณิชย์ เพื่อจัดงานแสดงสินค้า ในกลุ่มที่ได้รับยกเว้นภาษีเหลือ 0% ตามข้อตกลงอาเซียน เพื่อเป็นเวทีให้ผู้ผู้ประกอบการในอาเซียนนำสินค้าของตัวเองมาเปิดตลาด เจรจาซื้อขาย โดยกระบวนการจะเร่งให้ทันภายในสิ้นปีนี้เช่นกัน
ปัจจุบัน พื้นที่จัดงานแสดงสินค้าในประเทศไทยมีทั้งสิ้น 2.5 แสนตารางเมตร โดย 90% เป็นพื้นที่ในกรุงเทพฯและปริมณฑล ปีที่ผ่านมา มีอัตราการใช้พื้นที่เฉลี่ยที่ 50% ฉะนั้น จากการเติบโตของเศรษฐกิจประเทศ และเศรษฐกิจอาเซียน ทำให้ ไทยยังมีพื้นที่สำหรับรองรับการจัดงานได้อีกจำนวนมาก
ขณะที่ภาพรวมธุรกิจเอ็กชิบิชั่น ปีนี้ สดใส คาดเติบโต 20% จากปีก่อน
นายพรรธระพี ชินะโชติ นายกสมาคมการแสดงสินค้า(ไทย) หรือ TEA กล่าวว่า กรณีศูนย์การประชุมนานาชาติ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งขณะนี้ ยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องการเปิดประมูลหาผู้บริหารศูนย์ และ ยังไม่มีแผนงานด้านการทำตลาด ทั้งที่ การก่อสร้างใกล้จะเสร็จแล้ว ซึ่งสมาคมในฐานะตัวแทนภาคเอกชนที่อยู่ในธุรกิจนี้มานานมองว่า จะเป็นการเสียโอกาสอย่างมาก เพราะในความเป็นจริงโดยหลักของการทำธุรกิจศูนย์การประชุม ต้องเริ่มทำตลาดตั้งแต่เริ่มก่อสร้าง อย่างน้อย 6 เดือน หรือ 2 ปี เพื่อให้มีงานเข้ามาจัดได้ทันทีภายหลังศูนย์สร้างเสร็จ และอย่างน้อยได้มีการประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้ให้แก่ผู้จัดงาน ว่า ประเทศไทย หรือเชียงใหม่ กำลังจะมีศูนย์การประชุมระดับนานาชาติเกิดขึ้น
“ต้องทำการตลาดคู่ไปกับการเริ่มก่อสร้าง จะได้มีงานเข้ามาทันทีที่ศูนย์เปิด ไม่ต้องปล่อยให้ศูนย์ว่างต้องเสียค่าดูแลไปวันๆจนกว่าจะมีลูกค้ามาใช้ ต้องขอบอกว่างานนี้กระทรวงการท่องเที่ยวซึ่งเป็นเจ้าของโครงการ ทำงานไม่เป็น ขาดการประสานงานกับเอกชน ไม่เคยเชิญสมาคมไปดูพื้นที่ทั้งที่เราเป็นฝ่ายทำตลาด Floor Plan ก็ไม่เคยให้ ต้องทำหนังสือเข้าไปขอผู้จัดงานมอเตอร์เอ็กซ์โป ซึ่งสนใจเข้าไปจัดงาน ยังต้องมาขอให้สมาคมช่วยขอ Floor Plan ให้เพื่อไปใช้วางแผนจัดงาน
***เสียโอกาส-เสียภาพลักษณ์****
จากสิ่งที่เกิดขึ้นทำให้ สมาคมรู้สึกเสียดายเงินงบประมาณสร้างศูนย์ที่รัฐใช้ไปกว่า 3 พันล้านบาท วางตำแหน่งเป็นศูนย์ประชุมนานาชาติระดับไฮเอนด์ ซึ่งหากไม่มีผู้เข้ามาใช้ รัฐ หรือท้องถิ่น ก็อาจต้องเร่งหางานเข้ามาด้วยการจัดงานประเภทสินค้าชุมชน งานบ้านและสวน ที่เป็นเอ็กซิบิชั่นระดับท้องถิ่น ภาพลักษณ์ของศูนย์จากที่วางไว้ก็จะเปลี่ยนไป ผู้จัดงานระดับอินเตอร์ ก็ไม่อยากเข้ามาใช้บริการ
อย่างไรก็ตามความล่าช้าทางความคิดและการสั่งการของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ยังทำให้ ศูนย์ประชุมฯเชียงใหม่ เสียโอกาสที่จะเปิดตัว ในเวทีการประชุมสมาคมอุตสาหกรรมนิทรรศการ(UFI)เอเชีย ซึ่งปีนี้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ จัดประชุมวันที่ 23 ก.พ.54 ซึ่งจะมีสมาชิกซึ่งเป็นระดับบริษัทผู้จัดงานเอ็กซิบิชั่นในเอเชีย มาร่วมประชุม
และไทยควรใช้โอกาสนี้นำเสนอพื้นที่ของศูนย์ประชุมฯเชียงใหม่ให้แก่ผู้ประกอบการที่มาร่วมประชุมได้รับรู้ นำฝ่ายการตลาดของศูนย์ มานำเสนอศูนย์ฯ และใช้โอกาสนี้ทำความรู้จักกับผู้ประกอบการ นำเสนอพื้นที่เพื่อจะดึงงานเข้าไปใช้ แต่ เมื่อทุกอย่างไม่มีความชัดเจน เช่นนี้ก็แน่นอนว่าทั้งหมดที่กล่าวมาไม่สามารถทำได้เลย ทำให้สูญเสียโอกาส
***ธุรกิจเอ็กซิบิชั่นปีนี้โต20%
นายพรรธระพี กล่าวถึง สถานการณ์ธุรกิจการจัดงานแสดงสินค้า ปี 2554 ว่า มีแนวโน้มสดใส คาดตลาดรวมทั้งประเทศเติบโตกว่าปีก่อนราว 20% มากกว่าที่สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ(องค์การมหาชน)หรือ สสปน. ที่วางเป้าหมายว่าจะเติบโต 10-15% ซึ่งการเติบโตที่เกิดขึ้นจะมาจากหลายปัจจัยสนบัสนุน ได้แก่ 1.เป็นปีเฉลิมฉลองพระชนม์มายุ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ครบ 84 พรรษา ซึ่งหน่วยงานต่างๆ ทั้งรัฐและเอกชน จะมีการจัดงานใหญ่ เพื่อร่วมเทิดพระเกียรติ 2.ธุรกิจไมซ์ และ การจัดงานนิทรรศการของไทย ชะลอและทรงตัวมา 2-3 ปี เพราะปัญหาทางการเมืองของประเทศ แต่ปีนี้ การเมืองสงบแล้ว งานที่อั้นมานานก็จะเริ่มออกมาจัดงาน และ 3. ช่วงพ.ย.54สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ บีโอไอ เตรียมจัดงาน BOI แฟร์
เชิญชวนนักลงทุนต่างชาติมาร่วมงาน นำเสนอศัยกาภาพการลงทุนในประเทศไทย
ในส่วนของสมาคมฯ ขณะนี้อยู่ระหว่างหารือกับกระทรวงพาณิชย์ เพื่อจัดงานแสดงสินค้า ในกลุ่มที่ได้รับยกเว้นภาษีเหลือ 0% ตามข้อตกลงอาเซียน เพื่อเป็นเวทีให้ผู้ผู้ประกอบการในอาเซียนนำสินค้าของตัวเองมาเปิดตลาด เจรจาซื้อขาย โดยกระบวนการจะเร่งให้ทันภายในสิ้นปีนี้เช่นกัน
ปัจจุบัน พื้นที่จัดงานแสดงสินค้าในประเทศไทยมีทั้งสิ้น 2.5 แสนตารางเมตร โดย 90% เป็นพื้นที่ในกรุงเทพฯและปริมณฑล ปีที่ผ่านมา มีอัตราการใช้พื้นที่เฉลี่ยที่ 50% ฉะนั้น จากการเติบโตของเศรษฐกิจประเทศ และเศรษฐกิจอาเซียน ทำให้ ไทยยังมีพื้นที่สำหรับรองรับการจัดงานได้อีกจำนวนมาก