เอเอฟพี - ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกพุ่งเกินระดับ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2008 ในตลาดซื้อขายของโลกฝั่งตะวันตกเมื่อวันจันทร์ (31 ม.ค.) และแม้ในช่วงเวลาซื้อขายฟากเอเชียเมื่อวานนี้ (1) ราคาจะปรับตัวลงมาบ้าง ทว่าก็ยังคงอยู่เหนือระดับ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ทั้งนี้ปัจจัยสำคัญก็คือความหวาดผวาในสถานการณ์ความไม่สงบที่อียิปต์ซึ่งอาจส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อซัปพลายน้ำมันที่ส่วนหนึ่งขนส่งลำเลียงมาทางคลองสุเอซของดินแดนฟาห์โรแห่งนี้
ราคาน้ำมันดิบชนิด “เบรนต์” เพื่อการส่งมอบเดือนมีนาคม ทะยานผ่านพ้นระดับ 100 ดอลลาร์ต่อหนึ่งบาร์เรล ระหว่างการซื้อขายในตลาดลอนดอนเมื่อค่ำคืนวันจันทร์ (31 ม.ค.) นับว่าเป็นครั้งแรกตั้งแต่เกิดช่วงวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2008 เป็นต้นมาที่ราคาน้ำมันทะลุระดับแนวต้านที่มีผลทางจิตวิทยาสำคัญนี้ โดยคราวนี้พุ่งขึ้นไปสูงสุดที่ระดับ 101.73 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ก่อนจะถอยปรับตัวลงมาอยู่ที่ระดับ 100.51 ดอลลาร์ ในช่วงการซื้อขายฟากเอเชีย อย่างไรก็ตามราคาน้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูดในตลาดนิวยอร์กยังไม่ได้รับผลกระทบมากเท่าใดนัก
แม้อียิปต์จะไม่ใช่ประเทศผู้ผลิตและส่งออกน้ำมันรายสำคัญของโลก ทว่าประเทศแห่งนี้เป็นที่ตั้งของคลองสุเอซซึ่งใช้ในการลำเลียงขนส่งน้ำมันดิบราว 2.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยเฉพาะน้ำมันดิบชนิดเบรนต์จากทะเลเหนือ ซึ่งปริมาณดังกล่าวมากพอๆ กับกำลังการผลิตน้ำมันต่อวันของประเทศอิรักหรือบราซิลเลยทีเดียว
ส่วนราคาน้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูดเพื่อการส่งมอบเดือนมีนาคมในตลาดไนเม็กซ์ของนิวยอร์ก ปรับตัวลดลง 20 เซน มาแตะที่ระดับ 91.99 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในการซื้อขายช่วงบ่าย
ด้านออง อี หลิง นักวิเคราะห์การลงทุนแห่งฟิลิป ฟิวเจอร์ส ในสิงคโปร์ ให้ทัศนะว่า ระดับราคาน้ำมันที่ถอยลงมาในการซื้อขายฟากเอเชีย เป็นผลจากการที่บรรดาเทรดเดอร์เทขายทำกำไรระยะสั้น
“หนึ่งในหลายปัจจัยก็คือการเทรดแบบเทขายทำกำไร เนื่องจากราคาของมันพุ่งทะยานขึ้นไปแตะระดับสูงสุดในรอบ 27 เดือน” เธอให้สัมภาษณ์เอเอฟพี พร้อมกับกล่าวเพิ่มเติมว่า ราคาที่กระโจนขึ้นเช่นนี้เป็นผลพวงมาจากความหวาดวิตกในวิกฤตทางการเมืองในอียิปต์ด้วย
“สำหรับราคาน้ำมันดิบชนิดเบรนต์ เราจะได้เห็นมันปรับตัวสูงขึ้นไปอีกเรื่อยๆ... หากสถานการณ์ตึงเครียดในอียิปต์ยังดำเนินต่อไปแบบนี้ มันก็ยังจะส่งผลกระทบต่อระดับราคาน้ำมัน” เธอสำทับ
อย่างไรก็ตาม อองมองว่า การที่ราคาพุ่งทะยานขึ้นไปลักษณะนี้ ในที่สุดแล้วจะถูกควบคุมโดยบรรดาผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย เนื่องจากพวกเขาหวั่นเกรงว่าราคาน้ำมันที่สูงเช่นนี้จะเป็นภัยคุกคามร้ายแรงต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ
ขณะที่ทีมนักวิเคราะห์จากบาร์เคลย์ส แคปปิตอล ระบุว่า ถึงแม้ผู้คนยังหวาดวิตกว่าสถานการณ์ในอียิปต์จะฉุดราคาน้ำมันให้ขยับตัวสูงขึ้น แต่พวกเขาเห็นว่า ไม่น่าจะมีความเป็นไปได้ที่จะมีการสั่งปิดการลำเลียงน้ำมันผ่านทางคลองสุเอซ
ทั้งนี้อียิปต์กำลังเผชิญวิกฤตการเมืองครั้งรุนแรงที่สุดในรอบ 3 ทศวรรษ เมื่อประชาชนลุกฮือขึ้นก่อจลาจลขับไล่ประธานาธิบดีฮอสนี มูบารัคให้สละเก้าอี้ตั้งแต่หนึ่งสัปดาห์ก่อน จนมีผู้เสียชีวิตไปแล้วประมาณ 300 ราย พร้อมกันนี้ยังส่งผลกระทบกระเทือนถึงการเมืองในโลกอาหรับอีกด้วย
ราคาน้ำมันดิบชนิด “เบรนต์” เพื่อการส่งมอบเดือนมีนาคม ทะยานผ่านพ้นระดับ 100 ดอลลาร์ต่อหนึ่งบาร์เรล ระหว่างการซื้อขายในตลาดลอนดอนเมื่อค่ำคืนวันจันทร์ (31 ม.ค.) นับว่าเป็นครั้งแรกตั้งแต่เกิดช่วงวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2008 เป็นต้นมาที่ราคาน้ำมันทะลุระดับแนวต้านที่มีผลทางจิตวิทยาสำคัญนี้ โดยคราวนี้พุ่งขึ้นไปสูงสุดที่ระดับ 101.73 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ก่อนจะถอยปรับตัวลงมาอยู่ที่ระดับ 100.51 ดอลลาร์ ในช่วงการซื้อขายฟากเอเชีย อย่างไรก็ตามราคาน้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูดในตลาดนิวยอร์กยังไม่ได้รับผลกระทบมากเท่าใดนัก
แม้อียิปต์จะไม่ใช่ประเทศผู้ผลิตและส่งออกน้ำมันรายสำคัญของโลก ทว่าประเทศแห่งนี้เป็นที่ตั้งของคลองสุเอซซึ่งใช้ในการลำเลียงขนส่งน้ำมันดิบราว 2.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยเฉพาะน้ำมันดิบชนิดเบรนต์จากทะเลเหนือ ซึ่งปริมาณดังกล่าวมากพอๆ กับกำลังการผลิตน้ำมันต่อวันของประเทศอิรักหรือบราซิลเลยทีเดียว
ส่วนราคาน้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูดเพื่อการส่งมอบเดือนมีนาคมในตลาดไนเม็กซ์ของนิวยอร์ก ปรับตัวลดลง 20 เซน มาแตะที่ระดับ 91.99 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในการซื้อขายช่วงบ่าย
ด้านออง อี หลิง นักวิเคราะห์การลงทุนแห่งฟิลิป ฟิวเจอร์ส ในสิงคโปร์ ให้ทัศนะว่า ระดับราคาน้ำมันที่ถอยลงมาในการซื้อขายฟากเอเชีย เป็นผลจากการที่บรรดาเทรดเดอร์เทขายทำกำไรระยะสั้น
“หนึ่งในหลายปัจจัยก็คือการเทรดแบบเทขายทำกำไร เนื่องจากราคาของมันพุ่งทะยานขึ้นไปแตะระดับสูงสุดในรอบ 27 เดือน” เธอให้สัมภาษณ์เอเอฟพี พร้อมกับกล่าวเพิ่มเติมว่า ราคาที่กระโจนขึ้นเช่นนี้เป็นผลพวงมาจากความหวาดวิตกในวิกฤตทางการเมืองในอียิปต์ด้วย
“สำหรับราคาน้ำมันดิบชนิดเบรนต์ เราจะได้เห็นมันปรับตัวสูงขึ้นไปอีกเรื่อยๆ... หากสถานการณ์ตึงเครียดในอียิปต์ยังดำเนินต่อไปแบบนี้ มันก็ยังจะส่งผลกระทบต่อระดับราคาน้ำมัน” เธอสำทับ
อย่างไรก็ตาม อองมองว่า การที่ราคาพุ่งทะยานขึ้นไปลักษณะนี้ ในที่สุดแล้วจะถูกควบคุมโดยบรรดาผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย เนื่องจากพวกเขาหวั่นเกรงว่าราคาน้ำมันที่สูงเช่นนี้จะเป็นภัยคุกคามร้ายแรงต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ
ขณะที่ทีมนักวิเคราะห์จากบาร์เคลย์ส แคปปิตอล ระบุว่า ถึงแม้ผู้คนยังหวาดวิตกว่าสถานการณ์ในอียิปต์จะฉุดราคาน้ำมันให้ขยับตัวสูงขึ้น แต่พวกเขาเห็นว่า ไม่น่าจะมีความเป็นไปได้ที่จะมีการสั่งปิดการลำเลียงน้ำมันผ่านทางคลองสุเอซ
ทั้งนี้อียิปต์กำลังเผชิญวิกฤตการเมืองครั้งรุนแรงที่สุดในรอบ 3 ทศวรรษ เมื่อประชาชนลุกฮือขึ้นก่อจลาจลขับไล่ประธานาธิบดีฮอสนี มูบารัคให้สละเก้าอี้ตั้งแต่หนึ่งสัปดาห์ก่อน จนมีผู้เสียชีวิตไปแล้วประมาณ 300 ราย พร้อมกันนี้ยังส่งผลกระทบกระเทือนถึงการเมืองในโลกอาหรับอีกด้วย