ASTVผู้จัดการรายวัน/เอเอฟพี/รอยเตอร์ - เร่งช่วยเหลือด่วน!4 คนไทยตกค้างในอียิปต์ หลังคว้าแชมป์แกะสลักน้ำแข็ง-หิมะ 3 รางวัล วอนบัวแก้วช่วย กต.เตือนคนไทยที่จะเดินทางไปอียิปต์ให้ระวัง ขณะที่เหตุจลาจลนองเลือดหมายล้มล้างระบอบการปกครองของ "มูบารัค" ทำให้ดินแดนฟาห์โรตกอยู่ในภาวะมิคสัญญี เมื่อมีผู้สังเวยชีวิตแล้วเกิน 100 ราย
ประชาชนหลายหมื่นคนยังคงเดินหน้าประท้วงขับไล่ ประธานาธิบดีฮอสนี มูบารัค ต่อไป เป็นวันที่ 6 เมื่อวานนี้ (30) พร้อมกันนี้ยังมีรายงานความโกลาหลเกิดขึ้นทุกหนแห่งทั่วประเทศเมื่อมีทั้งการปล้นสะดมร้านค้า, บุกโจรกรรมวัตถุโบราณล้ำค่าตามพิพิธภัณฑ์ต่างๆ ตลอดจนมีนักโทษหลายพันคนแหกคุกหลบหนีออกมาป่วนเมือง รวมทั้งมีนักท่องเที่ยวต่างชาติจำนวนมากติดค้างอยู่ในสนามบินอีกด้วย ถึงแม้ว่ามูบารัค พยายามจะคลี่คลายสถานการณ์ให้สงบลงโดยเร็วด้วยการสั่งให้คณะรัฐมนตรีลาออกยกชุดและปรับโฉมรัฐบาลใหม่โดยแต่งตั้งรองประธานาธิบดีกับนายกรัฐมนตรีคนใหม่แล้วก็ตาม ทว่าก็ไร้ผล
มีผู้เสียชีวิตเพิ่มอีก 22 ศพในเมืองเบนีซูเอฟ ทางใต้ของกรุงไคโร เมื่อวันเสาร์ (29) ซึ่งเป็นวันที่ 5 นับตั้งแต่ที่ประชาชนลุกฮือขึ้นประท้วงขับไล่ประธานาธิบดี มูบารัค ให้พ้นบังเหียนหลังยึดอำนาจบริหารประเทศแบบเบ็ดเสร็จมานานกว่า 30 ปี ขณะที่ผู้เห็นเหตุการณ์และเจ้าหน้าที่เล่าว่า เหล่าผู้ประท้วงในเมืองดังกล่าวยังพยายามจะวางเพลิงเผาสถานีตำรวจ ส่วนในกรุงไคโร มีผู้ประท้วงสังเวยชีวิตเพิ่มอีก 3 ศพ และที่เมืองซีนาย ก็มีรายงานว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจ 3 นายถูกสังหาร ซึ่งทำให้ยอดผู้เสียชีวิตทั้งหมดจนถึงเมื่อเช้าวานนี้ (30) พุ่งขึ้นเป็นอย่างน้อย 102 รายแล้ว
อย่างไรก็ตาม ประชาชนหลายหมื่นคนยังคงเดินหน้าประท้วงขับไล่รัฐบาลต่อไปในวันอาทิตย์ (30) หลังจากเมื่อวันเสาร์ (29) มีรายงานว่าผู้ประท้วงหลายร้อยคน ได้ขว้างปาระเบิดขวดทำเอง “โมโลตอฟค็อกเทล” ใส่ตำรวจใกล้กับใจกลางเมืองอันเป็นจุดศูนย์กลางของการประท้วง รวมทั้งมีการทุบทำลายร้านค้าริมทางและปล้นสะดม ขณะที่ตำรวจตอบโต้ด้วยการยิงกระสุนจริง โดยที่ในช่วงหัวค่ำของวันเดียวกัน ผู้ประท้วงกับตำรวจยังได้ปะทะกันที่บริเวณด้านหน้าของที่ทำการกระทรวงมหาดไทยอีกด้วย
ขณะที่มีพลเรือนอีกจำนวนหนึ่งราว 200 ชีวิตได้ปักหลักนั่งประท้วง ณ จตุรัสตอห์รีร์ ข้ามวันข้ามคืนโดยที่ถูกล้อมโดยรถถังของทหาร อย่างไรก็ตามทหารไม่ได้กระทำการปราบปรามกลุ่มผู้ประท้วงเหล่านี้แม้ว่าพวกเขาจะฝ่าฝืนคำประกาศเคอร์ฟิวห้ามผู้ใดออกนอกบริเวณที่พำนักในยามวิกาลซึ่งมีผลบังคับใช้ทั่วกรุงไคโร, อเล็กซานเดรีย เมืองใหญ่อันดับสอง และเมืองสุเอซ เมืองท่าสำคัญของอียิปต์
นอกจากนี้ยังเกิดเหตุการณ์นักโทษในเรือนจำหลายแห่งทั่วประเทศอิยิปต์ถือโอกาสเหตุความไม่สงบครั้งนี้ทำการแหกคุกอีกด้วย โดยที่เรือนจำวาดี นัตรุน ทางเหนือของกรุงไคโร มีรายงานว่านักโทษจำนวนหลายพันคนได้แหกคุกหลบหนีในช่วงกลางดึกของคืนวันเสาร์ (29) ทั้งนี้เรือนจำดังกล่าวเป็นที่คุมขังนักโทษการเมืองอสลามมิสต์จำนวนมาก ขณะที่เจ้าหน้าที่คนหนึ่งระบุว่า ยังมีนักโทษจำนวน 8 รายถูกสังหารในระหว่างก่อหวอดในเรือนจำอาบู จาบัล ทางตะวันออกของกรุงไคโร รวมทั้งยังมีนักโทษอีกหลายสิบคนในเรือนจำเมืองฟายุมทางตอนใต้ของกรุงไคโรก็พยายามหลบหนีจนเกิดการปะทะกับเจ้าหน้าที่ ทำให้มีตำรวจเสียชีวิต 1 นาย ส่วนนักโทษในเรือนจำตามเขตปกครองต่างๆ ทั่วอียิปต์ก็พากันแหกคุกเช่นกัน
ยังไม่หมดเพียงแค่นี้ ในช่วงกลางดึกของวันเสาร์ (29) มีกลุ่มโจรบุกปล้นพิพิธภัณฑ์กรุงไคโร ซึ่งเป็นสถานที่เก็บรักษาหน้ากากทองคำและทรัพย์สมบัติล้ำค่าอื่นๆ ของฟาห์โรตุตันตามุน ทำให้รูปปั้นและมัมมี่อายุกว่า 2,000 ปีได้รับความเสียหาย โดยรายงานระบุว่า ชายฉกรรจ์ 9 คนอาศัยเหตุเพลิงไหม้บริเวณที่ทำการพรรคเนชั่นแนล เดโมแครติก ปาร์ตี้ของมูบารัค ซึ่งส่งผลให้ระบบรักษาความปลอดภัยในพิพิธภัณฑ์ขัดข้อง บุกเข้าไปขโมยของมีค่า อย่างไรก็ตามทั้งหมดถูกตำรวจและประชาชนช่วยกันจับไว้ได้ขณะพยายามหลบหนีไปพร้อมกับหัวของมัมมี่และรูปปั้น ซึ่งคาดว่ามีอายุกว่า 2,000 ปี
ท่ามกลางความโกลาหลวุ่นวายในกรุงไคโรและเมืองสำคัญหลายแห่งในเหตุตึงเครียดทางการเมืองที่รุนแรงที่สุดในรอบ 3 ทศวรรษคราวนี้ มีรายงานด้วยว่า บรรดานักท่องเที่ยวจำนวนมากต้องติดค้างอยู่ในท่าอากาศยานกรุงไคโร หลังจากที่สายการบินหลายแห่ง ซึ่งรวมถึงอียิปต์แอร์ ประกาศยกเลิกเที่ยวบิน
ด้านประธานาธิบดีมูบารัค ซึ่งก่อนหน้านี้ในวันเสาร์ (29) ได้สั่งการให้คณะรัฐมนตรีลาออกยกชุด เพื่อหวังจะคลี่คลายสถานการณ์ตึงเครียดและลดความโกรธกริ้วของประชาชนลง ล่าสุดเมื่อวานนี้ (30) ก็ได้แต่งตั้งให้พลเอกโอมาร์ ซูไรมาน หัวหน้าหน่วยข่าวกรองของกองทัพ เป็นรองประธานาธิบดี ซึ่งเป็นตำแหน่งที่เพิ่งจะมีขึ้นครั้งแรก ขณะเดียวกันยังได้แต่งตั้งให้อาห์เหม็ด ชาฟิก ซึ่งเคยได้รับคาดหมายว่าจะเป็นทายาททางการเมืองต่อจากมูบารัค เป็นนายกรัฐมนตรีอีกด้วย
แต่กระนั้นก็ตาม กลุ่มผู้ประท้วง ยังคงปฏิเสธไม่ให้การยอมรับโดยระบุว่า คำมั่นสัญญาที่เขาให้ไว้ว่าจะปฏิรูประบบการเมืองและเศรษฐกิจนั้นหลักลอยเกินไป อีกทั้งเรื่องนี้ก็สายเกินไปเสียแล้ว พร้อมกับแสดงความไม่พอใจที่มูบารัคแต่งตั้งซูไรมานให้เป็นรองประธานาธิบดี โดยหลังจากคำประกาศแต่งตั้งและการสาบานตนเข้ารับตำแหน่งของทั้งสองมีขึ้น ปรากฏว่าที่จตุรัสตอห์รีร์ กลุ่มผู้ประท้วงต่างร้องตะโกนกึกก้องว่า “ไม่เอามูบารัค ไม่เอาซูไรมาน”
ทางด้านโมฮัมเหม็ด เอลบาราเด เจ้าของรางวัลโนเบลและอดีตหัวหน้าผู้ตรวจสอบอาวุธนิวเคลียร์ขององค์การสหประชาชาติ ที่เวลานี้ผันตัวมาเป็นแกนนำในการประท้วงโค่นล้มอำนาจเผด็จการในอียิปต์ ประกาศว่า การแต่งตั้งและการปรับแต่งคณะรัฐมนตรีโฉมใหม่คราวนี้ยังไม่เพียงพอ
“ผมขอบอกกับประธานาธิบดีมูบารัคและระบอบของเขาให้ไปให้พ้นจากอียิปต์โดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้ ซึ่งมันจะเป็นการดีขึ้นสำหรับอียิปต์และสำหรับพวกคุณเอง” เขาให้สัมภาษณ์ผ่านทางโทรทัศน์อัลญะซีเราะห์ของกาตาร์
สำหรับปฏิกิริยาของนานาชาติต่อเรื่องนี้ สหรัฐฯ ซึ่งกำลังตกอยู่สภาพอิหลักอิเหลื่อหลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้ให้การสนับสนุนประธานาธิบดีมูบารัคเรื่อยมา รบเร้าให้ผู้นำอียิปต์ทำการปฏิรูประบบการเมืองอย่างจริงจังหลังจากที่มีการปรับคณะรัฐมนตรีแล้ว (รายละเอียดของท่าทีของสหรัฐฯ...อ่านต่อหน้า2)
***เร่งช่วยเหลือด่วน!4 คนไทยตกค้าง
นายอาณัติ ลิ้มจิระวัฒนา ผู้ประสานงานกิจการการแข่งขันแกะสลักน้ำแข็ง และแกะสลักหิมะ ชิงแชมป์โลก ณ ประเทศฝรั่งเศส กล่าวเรียกร้องให้กระทรวงต่างประเทศ ประสานไปยังเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศอียิปต์ เร่งดำเนินการให้การช่วยเหลือคนไทย4 คน ที่ติดอยู่ที่สนามบินไคโร ไม่สามารถเดินทางกลับประเทศไทยได้ เพราะเกิดการก่อจลาจลจนทำให้ต้องปิดสนามบินจากปัญหาการเมืองภายในประเทศ
สำหรับคนไทยทั้ง 4 ประกอบด้วย นายพนม หมึกขุนทด กัปตันทีม นายสมศักดิ์ สุดจันทึก นายภูริทัต จันทรวงศา และนายจตุพร จึงมีสุข โดยทั้ง4คน เป็นตัวแทนทีมชาติไทย ในนาม Thailand Culinary Academy Ice & Snow Sculpture Team ไปรวมแข่งขันที่ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 22 ม.ค. โดยในงานดังกล่าวเป็นการรวมตัวของระดับมือชีพทั่วโลก ซึ่งคนไทยทั้ง4 ได้มีโอกาสสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทย โดยได้รางวัลมาครอบครองทั้งประเภทแกะสลักน้ำแข็ง และ แกะสลักหิมะ ถึง 3 ประเภท คือ รางวัลชนะเลิศประเภท ป๊อปปูล่าโหวต รางวัลขวัญใจสื่อมวลชน และ รางวันคะแนนรวมอันดับ3
ทั้งนี้โดยกำหนดการจะเดินทางกลับมาถึงประเทศไทยในเวลา 12.00 ของวันที่ 29 ม.ค. แต่ปรากฏว่าจนถึงขณะนี้ยังติดค้างอยู่ที่สนามบินไคไร ประเทศอียิปต์ เนื่องจากจะต้องต่อเครื่องบินที่สนามบินดังกล่าว และไม่คาดคิดว่าจะได้รับผลกระทบจากการจลาจลประท้วงรัฐบาล และจนถึงขณะนี้ยังไม่ได้รับการติดต่อช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่สถาตทูตไทยประจำอียิปต์แต่อย่างใด จึงขอให้กระทรวงต่างประเทศเข้ามาช่วยเหลือคนไทยทั้ง4 เป็นการด่วนเพราะเกรงว่าเหตุการณ์ประท้วงในอียิปต์จะบานปลายและกระทบต่อสวัสดิภาพของคนไทยทั้งคณะ
นายธานี ทองภักดี อธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ กล่าวถึงการชุมนุมประท้วง ในกรุงไคโรและเมืองสำคัญอื่น ๆ ในสาธารณรัฐอาหรับอียิปต์นับตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม 2554 เป็นต้นมา จนนำไปสู่เหตุการณ์ปะทะและใช้ความรุนแรงระหว่างกลุ่มผู้ชุมนุมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ และเป็นผลให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนหนึ่งนั้น ว่า สถานเอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงไคโรรายงาน ว่า ในขณะนี้ การชุมนุมประท้วงยังดำเนินต่อไป และยังมีความเสี่ยงที่จะเกิดเหตุการณ์ความรุนแรง กระทรวงการต่างประเทศจึงขอแจ้งเตือนผู้ประสงค์เดินทางไปอียิปต์ในระยะนี้ขอให้เลื่อนการเดินทางออกไปก่อน จนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลายและกลับสู่ภาวะปกติ ทั้งนี้ ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องการเดินทาง ขอพึงใช้ความระมัดระวังอย่างยิ่ง พร้อมทั้งหลีกเลี่ยงสถานที่ซึ่งมีความเสี่ยง โดยเฉพาะพื้นที่และสถานที่ซึ่งมีการชุมนุม.
ประชาชนหลายหมื่นคนยังคงเดินหน้าประท้วงขับไล่ ประธานาธิบดีฮอสนี มูบารัค ต่อไป เป็นวันที่ 6 เมื่อวานนี้ (30) พร้อมกันนี้ยังมีรายงานความโกลาหลเกิดขึ้นทุกหนแห่งทั่วประเทศเมื่อมีทั้งการปล้นสะดมร้านค้า, บุกโจรกรรมวัตถุโบราณล้ำค่าตามพิพิธภัณฑ์ต่างๆ ตลอดจนมีนักโทษหลายพันคนแหกคุกหลบหนีออกมาป่วนเมือง รวมทั้งมีนักท่องเที่ยวต่างชาติจำนวนมากติดค้างอยู่ในสนามบินอีกด้วย ถึงแม้ว่ามูบารัค พยายามจะคลี่คลายสถานการณ์ให้สงบลงโดยเร็วด้วยการสั่งให้คณะรัฐมนตรีลาออกยกชุดและปรับโฉมรัฐบาลใหม่โดยแต่งตั้งรองประธานาธิบดีกับนายกรัฐมนตรีคนใหม่แล้วก็ตาม ทว่าก็ไร้ผล
มีผู้เสียชีวิตเพิ่มอีก 22 ศพในเมืองเบนีซูเอฟ ทางใต้ของกรุงไคโร เมื่อวันเสาร์ (29) ซึ่งเป็นวันที่ 5 นับตั้งแต่ที่ประชาชนลุกฮือขึ้นประท้วงขับไล่ประธานาธิบดี มูบารัค ให้พ้นบังเหียนหลังยึดอำนาจบริหารประเทศแบบเบ็ดเสร็จมานานกว่า 30 ปี ขณะที่ผู้เห็นเหตุการณ์และเจ้าหน้าที่เล่าว่า เหล่าผู้ประท้วงในเมืองดังกล่าวยังพยายามจะวางเพลิงเผาสถานีตำรวจ ส่วนในกรุงไคโร มีผู้ประท้วงสังเวยชีวิตเพิ่มอีก 3 ศพ และที่เมืองซีนาย ก็มีรายงานว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจ 3 นายถูกสังหาร ซึ่งทำให้ยอดผู้เสียชีวิตทั้งหมดจนถึงเมื่อเช้าวานนี้ (30) พุ่งขึ้นเป็นอย่างน้อย 102 รายแล้ว
อย่างไรก็ตาม ประชาชนหลายหมื่นคนยังคงเดินหน้าประท้วงขับไล่รัฐบาลต่อไปในวันอาทิตย์ (30) หลังจากเมื่อวันเสาร์ (29) มีรายงานว่าผู้ประท้วงหลายร้อยคน ได้ขว้างปาระเบิดขวดทำเอง “โมโลตอฟค็อกเทล” ใส่ตำรวจใกล้กับใจกลางเมืองอันเป็นจุดศูนย์กลางของการประท้วง รวมทั้งมีการทุบทำลายร้านค้าริมทางและปล้นสะดม ขณะที่ตำรวจตอบโต้ด้วยการยิงกระสุนจริง โดยที่ในช่วงหัวค่ำของวันเดียวกัน ผู้ประท้วงกับตำรวจยังได้ปะทะกันที่บริเวณด้านหน้าของที่ทำการกระทรวงมหาดไทยอีกด้วย
ขณะที่มีพลเรือนอีกจำนวนหนึ่งราว 200 ชีวิตได้ปักหลักนั่งประท้วง ณ จตุรัสตอห์รีร์ ข้ามวันข้ามคืนโดยที่ถูกล้อมโดยรถถังของทหาร อย่างไรก็ตามทหารไม่ได้กระทำการปราบปรามกลุ่มผู้ประท้วงเหล่านี้แม้ว่าพวกเขาจะฝ่าฝืนคำประกาศเคอร์ฟิวห้ามผู้ใดออกนอกบริเวณที่พำนักในยามวิกาลซึ่งมีผลบังคับใช้ทั่วกรุงไคโร, อเล็กซานเดรีย เมืองใหญ่อันดับสอง และเมืองสุเอซ เมืองท่าสำคัญของอียิปต์
นอกจากนี้ยังเกิดเหตุการณ์นักโทษในเรือนจำหลายแห่งทั่วประเทศอิยิปต์ถือโอกาสเหตุความไม่สงบครั้งนี้ทำการแหกคุกอีกด้วย โดยที่เรือนจำวาดี นัตรุน ทางเหนือของกรุงไคโร มีรายงานว่านักโทษจำนวนหลายพันคนได้แหกคุกหลบหนีในช่วงกลางดึกของคืนวันเสาร์ (29) ทั้งนี้เรือนจำดังกล่าวเป็นที่คุมขังนักโทษการเมืองอสลามมิสต์จำนวนมาก ขณะที่เจ้าหน้าที่คนหนึ่งระบุว่า ยังมีนักโทษจำนวน 8 รายถูกสังหารในระหว่างก่อหวอดในเรือนจำอาบู จาบัล ทางตะวันออกของกรุงไคโร รวมทั้งยังมีนักโทษอีกหลายสิบคนในเรือนจำเมืองฟายุมทางตอนใต้ของกรุงไคโรก็พยายามหลบหนีจนเกิดการปะทะกับเจ้าหน้าที่ ทำให้มีตำรวจเสียชีวิต 1 นาย ส่วนนักโทษในเรือนจำตามเขตปกครองต่างๆ ทั่วอียิปต์ก็พากันแหกคุกเช่นกัน
ยังไม่หมดเพียงแค่นี้ ในช่วงกลางดึกของวันเสาร์ (29) มีกลุ่มโจรบุกปล้นพิพิธภัณฑ์กรุงไคโร ซึ่งเป็นสถานที่เก็บรักษาหน้ากากทองคำและทรัพย์สมบัติล้ำค่าอื่นๆ ของฟาห์โรตุตันตามุน ทำให้รูปปั้นและมัมมี่อายุกว่า 2,000 ปีได้รับความเสียหาย โดยรายงานระบุว่า ชายฉกรรจ์ 9 คนอาศัยเหตุเพลิงไหม้บริเวณที่ทำการพรรคเนชั่นแนล เดโมแครติก ปาร์ตี้ของมูบารัค ซึ่งส่งผลให้ระบบรักษาความปลอดภัยในพิพิธภัณฑ์ขัดข้อง บุกเข้าไปขโมยของมีค่า อย่างไรก็ตามทั้งหมดถูกตำรวจและประชาชนช่วยกันจับไว้ได้ขณะพยายามหลบหนีไปพร้อมกับหัวของมัมมี่และรูปปั้น ซึ่งคาดว่ามีอายุกว่า 2,000 ปี
ท่ามกลางความโกลาหลวุ่นวายในกรุงไคโรและเมืองสำคัญหลายแห่งในเหตุตึงเครียดทางการเมืองที่รุนแรงที่สุดในรอบ 3 ทศวรรษคราวนี้ มีรายงานด้วยว่า บรรดานักท่องเที่ยวจำนวนมากต้องติดค้างอยู่ในท่าอากาศยานกรุงไคโร หลังจากที่สายการบินหลายแห่ง ซึ่งรวมถึงอียิปต์แอร์ ประกาศยกเลิกเที่ยวบิน
ด้านประธานาธิบดีมูบารัค ซึ่งก่อนหน้านี้ในวันเสาร์ (29) ได้สั่งการให้คณะรัฐมนตรีลาออกยกชุด เพื่อหวังจะคลี่คลายสถานการณ์ตึงเครียดและลดความโกรธกริ้วของประชาชนลง ล่าสุดเมื่อวานนี้ (30) ก็ได้แต่งตั้งให้พลเอกโอมาร์ ซูไรมาน หัวหน้าหน่วยข่าวกรองของกองทัพ เป็นรองประธานาธิบดี ซึ่งเป็นตำแหน่งที่เพิ่งจะมีขึ้นครั้งแรก ขณะเดียวกันยังได้แต่งตั้งให้อาห์เหม็ด ชาฟิก ซึ่งเคยได้รับคาดหมายว่าจะเป็นทายาททางการเมืองต่อจากมูบารัค เป็นนายกรัฐมนตรีอีกด้วย
แต่กระนั้นก็ตาม กลุ่มผู้ประท้วง ยังคงปฏิเสธไม่ให้การยอมรับโดยระบุว่า คำมั่นสัญญาที่เขาให้ไว้ว่าจะปฏิรูประบบการเมืองและเศรษฐกิจนั้นหลักลอยเกินไป อีกทั้งเรื่องนี้ก็สายเกินไปเสียแล้ว พร้อมกับแสดงความไม่พอใจที่มูบารัคแต่งตั้งซูไรมานให้เป็นรองประธานาธิบดี โดยหลังจากคำประกาศแต่งตั้งและการสาบานตนเข้ารับตำแหน่งของทั้งสองมีขึ้น ปรากฏว่าที่จตุรัสตอห์รีร์ กลุ่มผู้ประท้วงต่างร้องตะโกนกึกก้องว่า “ไม่เอามูบารัค ไม่เอาซูไรมาน”
ทางด้านโมฮัมเหม็ด เอลบาราเด เจ้าของรางวัลโนเบลและอดีตหัวหน้าผู้ตรวจสอบอาวุธนิวเคลียร์ขององค์การสหประชาชาติ ที่เวลานี้ผันตัวมาเป็นแกนนำในการประท้วงโค่นล้มอำนาจเผด็จการในอียิปต์ ประกาศว่า การแต่งตั้งและการปรับแต่งคณะรัฐมนตรีโฉมใหม่คราวนี้ยังไม่เพียงพอ
“ผมขอบอกกับประธานาธิบดีมูบารัคและระบอบของเขาให้ไปให้พ้นจากอียิปต์โดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้ ซึ่งมันจะเป็นการดีขึ้นสำหรับอียิปต์และสำหรับพวกคุณเอง” เขาให้สัมภาษณ์ผ่านทางโทรทัศน์อัลญะซีเราะห์ของกาตาร์
สำหรับปฏิกิริยาของนานาชาติต่อเรื่องนี้ สหรัฐฯ ซึ่งกำลังตกอยู่สภาพอิหลักอิเหลื่อหลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้ให้การสนับสนุนประธานาธิบดีมูบารัคเรื่อยมา รบเร้าให้ผู้นำอียิปต์ทำการปฏิรูประบบการเมืองอย่างจริงจังหลังจากที่มีการปรับคณะรัฐมนตรีแล้ว (รายละเอียดของท่าทีของสหรัฐฯ...อ่านต่อหน้า2)
***เร่งช่วยเหลือด่วน!4 คนไทยตกค้าง
นายอาณัติ ลิ้มจิระวัฒนา ผู้ประสานงานกิจการการแข่งขันแกะสลักน้ำแข็ง และแกะสลักหิมะ ชิงแชมป์โลก ณ ประเทศฝรั่งเศส กล่าวเรียกร้องให้กระทรวงต่างประเทศ ประสานไปยังเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศอียิปต์ เร่งดำเนินการให้การช่วยเหลือคนไทย4 คน ที่ติดอยู่ที่สนามบินไคโร ไม่สามารถเดินทางกลับประเทศไทยได้ เพราะเกิดการก่อจลาจลจนทำให้ต้องปิดสนามบินจากปัญหาการเมืองภายในประเทศ
สำหรับคนไทยทั้ง 4 ประกอบด้วย นายพนม หมึกขุนทด กัปตันทีม นายสมศักดิ์ สุดจันทึก นายภูริทัต จันทรวงศา และนายจตุพร จึงมีสุข โดยทั้ง4คน เป็นตัวแทนทีมชาติไทย ในนาม Thailand Culinary Academy Ice & Snow Sculpture Team ไปรวมแข่งขันที่ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 22 ม.ค. โดยในงานดังกล่าวเป็นการรวมตัวของระดับมือชีพทั่วโลก ซึ่งคนไทยทั้ง4 ได้มีโอกาสสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทย โดยได้รางวัลมาครอบครองทั้งประเภทแกะสลักน้ำแข็ง และ แกะสลักหิมะ ถึง 3 ประเภท คือ รางวัลชนะเลิศประเภท ป๊อปปูล่าโหวต รางวัลขวัญใจสื่อมวลชน และ รางวันคะแนนรวมอันดับ3
ทั้งนี้โดยกำหนดการจะเดินทางกลับมาถึงประเทศไทยในเวลา 12.00 ของวันที่ 29 ม.ค. แต่ปรากฏว่าจนถึงขณะนี้ยังติดค้างอยู่ที่สนามบินไคไร ประเทศอียิปต์ เนื่องจากจะต้องต่อเครื่องบินที่สนามบินดังกล่าว และไม่คาดคิดว่าจะได้รับผลกระทบจากการจลาจลประท้วงรัฐบาล และจนถึงขณะนี้ยังไม่ได้รับการติดต่อช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่สถาตทูตไทยประจำอียิปต์แต่อย่างใด จึงขอให้กระทรวงต่างประเทศเข้ามาช่วยเหลือคนไทยทั้ง4 เป็นการด่วนเพราะเกรงว่าเหตุการณ์ประท้วงในอียิปต์จะบานปลายและกระทบต่อสวัสดิภาพของคนไทยทั้งคณะ
นายธานี ทองภักดี อธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ กล่าวถึงการชุมนุมประท้วง ในกรุงไคโรและเมืองสำคัญอื่น ๆ ในสาธารณรัฐอาหรับอียิปต์นับตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม 2554 เป็นต้นมา จนนำไปสู่เหตุการณ์ปะทะและใช้ความรุนแรงระหว่างกลุ่มผู้ชุมนุมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ และเป็นผลให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนหนึ่งนั้น ว่า สถานเอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงไคโรรายงาน ว่า ในขณะนี้ การชุมนุมประท้วงยังดำเนินต่อไป และยังมีความเสี่ยงที่จะเกิดเหตุการณ์ความรุนแรง กระทรวงการต่างประเทศจึงขอแจ้งเตือนผู้ประสงค์เดินทางไปอียิปต์ในระยะนี้ขอให้เลื่อนการเดินทางออกไปก่อน จนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลายและกลับสู่ภาวะปกติ ทั้งนี้ ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องการเดินทาง ขอพึงใช้ความระมัดระวังอย่างยิ่ง พร้อมทั้งหลีกเลี่ยงสถานที่ซึ่งมีความเสี่ยง โดยเฉพาะพื้นที่และสถานที่ซึ่งมีการชุมนุม.