ASTVผู้จัดการรายวัน - หุ้นไทยผันผวน ดัชนีสวิงตัวในแดนบวกและลบตลอดทั้งวัน ก่อนปิดตลาดลดลงอีก 4.51 จุด ด้านต่างชาติหยุดขายและกลับมาซื้อสุทธิ 601 ล้าน แต่ภาพรวมตั้งแต่ต้นปีขายสุทธิสะสม 2.8หมื่นล้านบาท ตลาดหลักทรัพย์ฯชี้ ต่างชาติเริ่มชะลอขายหุ้น เหตุเหลือวงเงินให้ขายได้อีกไม่มาก เชื่อแรงขายรอบนี้เกิดจากปรับพอร์ตไม่เกี่ยวความกังวลเรื่องอัตราเงินเฟ้อและการเมือง โบรกฯแนะมองหาจังหวะเข้าซื้อของถูก ช่วงที่แรงเทขายเริ่มเบาบาง
ความเคลื่อนไหวตลาดหุ้นไทยวานนี้(25ม.ค.) ดัชนีสวิงตัวไปมาตลอดทั้งวัน โดยเริ่มจากตอนเปิดตลาดปรับตัวลดลงกว่า 10 จุด ก่อนที่จะรีบาวน์ขึ้นมาปิดบวกได้ในการซื้อขายครึ่งวันแรกที่ระดับ 966.10 จุด เพิ่มขึ้น 2.42 จุด และเมื่อเปิดการซื้อขายในช่วงบ่าย ดัชนีกลับปรับตัวลดลงต่อ ก่อนมีแรงดีดกลับขึ้นมาบ้าง แต่สุดท้ายก็ปิดที่ระดับ 959.17 จุด ลดลง 4.51 จุด หรือ -0.47% มูลค่าการซื้อขาย 40,704 ล้านบาท ระหว่างวันแตะจุดสูงสุดของวันที่ระดับ 972.72 จุด และจุดต่ำสุดที่ 950.61 จุด
หลักทรัพย์ที่มีการเปลี่ยนแปลงวานนี้ เพิ่มขึ้น 117 หลักทรัพย์ ลดลง 310 หลักทรัพย์ และไม่เปลี่ยนแปลง 95 หลักทรัพย์ โดยนักลงทุนต่างชาติ กลับมาซื้อสุทธิ 601.63 ล้านบาท (ภาพรวมตั้งแต่ต้นปีขายสุทธิ 28,682.58ล้านบาท) เช่นเดียวกับบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) และนักลงทุนทั่วไปที่ซื้อสุทธิ 470.94ล้านบาท และ2,178.52ล้านบาท จึงมีเพียงกลุ่มสถาบันที่ขายสุทธิ 3,251.10 ล้านบาท
นายชนิตร ชาญชัยณรงค์ ผู้ช่วยผู้จัดการ กลุ่มงานผู้ออกหลักทรัพย์และบริษัทจดทะเบียน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.)และกรรมการผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ (mai) เปิดเผยว่า แรงขายของนักลงทุนต่างประเทศจากนี้คาดว่าน่าจะขายออกมาอีกไม่มาก เนื่องจาก เม็ดเงินที่เข้ามาซื้อสุทธิตลาดหุ้นไทยในรอบที่ผ่านมา (15 มิ.ย 53-5 ม.ค.54) จำนวน 100,000 แสนล้านบาท ซึ่งหากลบกับการที่บริษัทจดทะเบียน4 แห่ง มีการขายหุ้นบนกระดานรายใหญ่ ให้กับนักลงทุนต่างประเทศจำนวน 47,000 ล้านบาท ก็จะทำให้มีเม็ดเงินในการขายออกมาได้จำนวน 53,000 ล้านบาท
ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่6 มกราคม -24 มกราคม2554 นักลงทุนต่างชาติขายออกมาเกือบ 3 หมื่นล้านบาท ทำให้เหลือเม็ดเงินที่จะขายออกมามีอีกไม่มาก ดังนั้นนักลงทุนไม่ควรกังวลว่านักลงทุนต่างประเทศจะมีเม็ดเงินเหลือที่จะขายออกมาอีกมาก โดยการขายของนักลงทุนต่างประเทศที่ออกมานั้นเพื่อเป็นการปรับพอร์ต ซึ่งเป็นทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นในแถบภูมิภาค โดยส่วนตัวมองว่าไม่เกิดจากความกังวลจากอัตราเงินเฟ้อที่จะมีการปรับตัวสูงขึ้น เพราะ เชื่อว่าธนาคารแห่งประเทศไทย จะสามารควบคุมได้
นอกจากนี้หากทิศทางเงินเฟ้อที่จะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นของราคาหุ้นในกลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรม แต่หุ้นในกลุ่มนี้กลับปรับตัวลดลงมาแล้ว 8% จึงมองว่าแรงขายไม่น่าจะเกิดจากปัจจัยเรื่องอัตราเงินเฟ้อ แต่ในเรื่องปัจจัยการเมืองในประเทศนั้นถือว่าเป็นปัจจัยเสื่ยงในการลงทุนที่กดดันบรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทย ทำให้นักลงทุนควรกระจายการลงทุนในหุ้นขนาดกลางและขนาดเล็ก จากข้อมูลหากหุ้นมีการปรับตัวลดลงแรง หุ้นขนาดกลางและเล็กนั้นจะมีการปรับตัวลดลงที่น้อยกว่าหุ้นขนาดใหญ่
“จากความกังวลว่านักลงทุนต่างชาติจะมีการขายหุ้นออกมาอีกจำนวนมาก จากเม็ดเงินที่เข้ามาซื้อรอบที่ผ่านมานั้นมีสูงถึง 1 แสนล้านบาท แต่หากมีการหักการขายหุ้นบิ๊กล็อตให้นักลงทุนต่างชาติของปตท.เคมิคอล,บีอีซี , ราชบุรีและ พฤกษาฯ ที่มีรวม 4.7 หมื่นล้านบาทก็จะเหลือเม็ดเงินในการเทรดดิ้ง 5.3 หมื่นล้านบาท ซึ่งตั้งแต่วันที่ 6 มค -24 ม.ค.ต่างชาตขายออกไปแล้ว 3 หมื่นล้านบาท ทำให้เหลือเม็ดเงินในการขายอีกไม่มากแล้วจากนี้ ” นายชนิตร กล่าว
อย่างไรก็ตามหากดัชนีตลาดหุ้นไทยมีการปรับตัวลดลงแรงโดยไร้ปัจจัยเหตุผล ส่วนตัวมองว่า นั้นยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องตั้งกองทุนเพื่อเข้ามาซื้อหุ้น เนื่อง จากปัจจุบันมีเครื่องมือการลงทุนหลายอย่าง เช่น การทำโครงการซื้อหุ้นคืน ซึ่งทุกครั้งที่มีการทำก็ประสบความสำเร็จ แต่ปัจจุบันเชื่อว่ายังไม่ถึงขั้นที่จะต้องมีการทำ เพราะ มูลค่าทางบัญชี (บุ๊คแวลู)ของบริษัทจดทะเบียนไทยขณะนี้อยู่ที่ 2 เท่า ไม่เหมือนกับในอดีตที่หุ้นลงแรงบุ๊คแวลูบจ.ลดลงต่ำกว่า 1 เท่า
นายพิชัย เลิศสุพงศ์กิจ ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโสฝ่ายการตลาด บล.ธนชาต กล่าวว่า ตลาดหุ้นวานนี้ยังมีแรงขายของกองทุนต่างชาติต่อเนื่องจากช่วงต้นสัปดาห์ก่อน เนื่องจากตลาดหุ้นไทยยังเป็นตลาดที่มีกำไรอยู่ค่อนข้างมาก เพราะปี 53 ราคาหุ้นขึ้นมาสูงมากและได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนด้วย จึงเป็นจังหวะที่กองทุนต่างชาติกำลังขายทำกำไรอยู่ จึงกดให้ดัชนีไหลลงมาอย่างรวดเร็ว
แต่วานนี้เป็นลักษณะเปลี่ยนตัวขาย โดยหลายวันที่ผ่านมามีแรงขายกลุ่มแบงก์ รวมถึง BANPU แต่วานนี้เปลี่ยนมาขาย STEC, SCC, TOP โดนหนักสุด เชื่อว่าระยะสั้นแรงขายของต่างชาติยังมีบทบาทกดดันตลาดต่อไป อย่างไรก็ดี ในเชิงมูลค่าทางปัจจัยพื้นฐาน พบว่า มีหุ้นหลายตัวอยู่ในข่ายที่น่าสนใจ หากแรงขายเบาบางลงไป ก็เป็นจังหวะเข้าซื้อ
" ภาพรวมระยะสั้น ทิศทางของดัชนียังแกว่งตัวลงเพื่อหาจุดต่ำสุดภายในสัปดาห์นี้หรือสัปดาห์หน้า ตอนนี้ต่างชาติขายไปในปีนี้ประมาณ 3 หมื่นล้านบาท ตอนช่วงที่กลับเข้ามาซื้อหลังพ.ค.53 ซื้อสุทธิไว้ 8 หมื่นล้านบาท ก็ยังมีอีกพอสมควร และส่วนต่างราคาก็ยังเหลืออีกเยอะพอสมควรด้วย"นายพิชัย กล่าว
ความเคลื่อนไหวตลาดหุ้นไทยวานนี้(25ม.ค.) ดัชนีสวิงตัวไปมาตลอดทั้งวัน โดยเริ่มจากตอนเปิดตลาดปรับตัวลดลงกว่า 10 จุด ก่อนที่จะรีบาวน์ขึ้นมาปิดบวกได้ในการซื้อขายครึ่งวันแรกที่ระดับ 966.10 จุด เพิ่มขึ้น 2.42 จุด และเมื่อเปิดการซื้อขายในช่วงบ่าย ดัชนีกลับปรับตัวลดลงต่อ ก่อนมีแรงดีดกลับขึ้นมาบ้าง แต่สุดท้ายก็ปิดที่ระดับ 959.17 จุด ลดลง 4.51 จุด หรือ -0.47% มูลค่าการซื้อขาย 40,704 ล้านบาท ระหว่างวันแตะจุดสูงสุดของวันที่ระดับ 972.72 จุด และจุดต่ำสุดที่ 950.61 จุด
หลักทรัพย์ที่มีการเปลี่ยนแปลงวานนี้ เพิ่มขึ้น 117 หลักทรัพย์ ลดลง 310 หลักทรัพย์ และไม่เปลี่ยนแปลง 95 หลักทรัพย์ โดยนักลงทุนต่างชาติ กลับมาซื้อสุทธิ 601.63 ล้านบาท (ภาพรวมตั้งแต่ต้นปีขายสุทธิ 28,682.58ล้านบาท) เช่นเดียวกับบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) และนักลงทุนทั่วไปที่ซื้อสุทธิ 470.94ล้านบาท และ2,178.52ล้านบาท จึงมีเพียงกลุ่มสถาบันที่ขายสุทธิ 3,251.10 ล้านบาท
นายชนิตร ชาญชัยณรงค์ ผู้ช่วยผู้จัดการ กลุ่มงานผู้ออกหลักทรัพย์และบริษัทจดทะเบียน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.)และกรรมการผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ (mai) เปิดเผยว่า แรงขายของนักลงทุนต่างประเทศจากนี้คาดว่าน่าจะขายออกมาอีกไม่มาก เนื่องจาก เม็ดเงินที่เข้ามาซื้อสุทธิตลาดหุ้นไทยในรอบที่ผ่านมา (15 มิ.ย 53-5 ม.ค.54) จำนวน 100,000 แสนล้านบาท ซึ่งหากลบกับการที่บริษัทจดทะเบียน4 แห่ง มีการขายหุ้นบนกระดานรายใหญ่ ให้กับนักลงทุนต่างประเทศจำนวน 47,000 ล้านบาท ก็จะทำให้มีเม็ดเงินในการขายออกมาได้จำนวน 53,000 ล้านบาท
ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่6 มกราคม -24 มกราคม2554 นักลงทุนต่างชาติขายออกมาเกือบ 3 หมื่นล้านบาท ทำให้เหลือเม็ดเงินที่จะขายออกมามีอีกไม่มาก ดังนั้นนักลงทุนไม่ควรกังวลว่านักลงทุนต่างประเทศจะมีเม็ดเงินเหลือที่จะขายออกมาอีกมาก โดยการขายของนักลงทุนต่างประเทศที่ออกมานั้นเพื่อเป็นการปรับพอร์ต ซึ่งเป็นทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นในแถบภูมิภาค โดยส่วนตัวมองว่าไม่เกิดจากความกังวลจากอัตราเงินเฟ้อที่จะมีการปรับตัวสูงขึ้น เพราะ เชื่อว่าธนาคารแห่งประเทศไทย จะสามารควบคุมได้
นอกจากนี้หากทิศทางเงินเฟ้อที่จะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นของราคาหุ้นในกลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรม แต่หุ้นในกลุ่มนี้กลับปรับตัวลดลงมาแล้ว 8% จึงมองว่าแรงขายไม่น่าจะเกิดจากปัจจัยเรื่องอัตราเงินเฟ้อ แต่ในเรื่องปัจจัยการเมืองในประเทศนั้นถือว่าเป็นปัจจัยเสื่ยงในการลงทุนที่กดดันบรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทย ทำให้นักลงทุนควรกระจายการลงทุนในหุ้นขนาดกลางและขนาดเล็ก จากข้อมูลหากหุ้นมีการปรับตัวลดลงแรง หุ้นขนาดกลางและเล็กนั้นจะมีการปรับตัวลดลงที่น้อยกว่าหุ้นขนาดใหญ่
“จากความกังวลว่านักลงทุนต่างชาติจะมีการขายหุ้นออกมาอีกจำนวนมาก จากเม็ดเงินที่เข้ามาซื้อรอบที่ผ่านมานั้นมีสูงถึง 1 แสนล้านบาท แต่หากมีการหักการขายหุ้นบิ๊กล็อตให้นักลงทุนต่างชาติของปตท.เคมิคอล,บีอีซี , ราชบุรีและ พฤกษาฯ ที่มีรวม 4.7 หมื่นล้านบาทก็จะเหลือเม็ดเงินในการเทรดดิ้ง 5.3 หมื่นล้านบาท ซึ่งตั้งแต่วันที่ 6 มค -24 ม.ค.ต่างชาตขายออกไปแล้ว 3 หมื่นล้านบาท ทำให้เหลือเม็ดเงินในการขายอีกไม่มากแล้วจากนี้ ” นายชนิตร กล่าว
อย่างไรก็ตามหากดัชนีตลาดหุ้นไทยมีการปรับตัวลดลงแรงโดยไร้ปัจจัยเหตุผล ส่วนตัวมองว่า นั้นยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องตั้งกองทุนเพื่อเข้ามาซื้อหุ้น เนื่อง จากปัจจุบันมีเครื่องมือการลงทุนหลายอย่าง เช่น การทำโครงการซื้อหุ้นคืน ซึ่งทุกครั้งที่มีการทำก็ประสบความสำเร็จ แต่ปัจจุบันเชื่อว่ายังไม่ถึงขั้นที่จะต้องมีการทำ เพราะ มูลค่าทางบัญชี (บุ๊คแวลู)ของบริษัทจดทะเบียนไทยขณะนี้อยู่ที่ 2 เท่า ไม่เหมือนกับในอดีตที่หุ้นลงแรงบุ๊คแวลูบจ.ลดลงต่ำกว่า 1 เท่า
นายพิชัย เลิศสุพงศ์กิจ ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโสฝ่ายการตลาด บล.ธนชาต กล่าวว่า ตลาดหุ้นวานนี้ยังมีแรงขายของกองทุนต่างชาติต่อเนื่องจากช่วงต้นสัปดาห์ก่อน เนื่องจากตลาดหุ้นไทยยังเป็นตลาดที่มีกำไรอยู่ค่อนข้างมาก เพราะปี 53 ราคาหุ้นขึ้นมาสูงมากและได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนด้วย จึงเป็นจังหวะที่กองทุนต่างชาติกำลังขายทำกำไรอยู่ จึงกดให้ดัชนีไหลลงมาอย่างรวดเร็ว
แต่วานนี้เป็นลักษณะเปลี่ยนตัวขาย โดยหลายวันที่ผ่านมามีแรงขายกลุ่มแบงก์ รวมถึง BANPU แต่วานนี้เปลี่ยนมาขาย STEC, SCC, TOP โดนหนักสุด เชื่อว่าระยะสั้นแรงขายของต่างชาติยังมีบทบาทกดดันตลาดต่อไป อย่างไรก็ดี ในเชิงมูลค่าทางปัจจัยพื้นฐาน พบว่า มีหุ้นหลายตัวอยู่ในข่ายที่น่าสนใจ หากแรงขายเบาบางลงไป ก็เป็นจังหวะเข้าซื้อ
" ภาพรวมระยะสั้น ทิศทางของดัชนียังแกว่งตัวลงเพื่อหาจุดต่ำสุดภายในสัปดาห์นี้หรือสัปดาห์หน้า ตอนนี้ต่างชาติขายไปในปีนี้ประมาณ 3 หมื่นล้านบาท ตอนช่วงที่กลับเข้ามาซื้อหลังพ.ค.53 ซื้อสุทธิไว้ 8 หมื่นล้านบาท ก็ยังมีอีกพอสมควร และส่วนต่างราคาก็ยังเหลืออีกเยอะพอสมควรด้วย"นายพิชัย กล่าว