“กฎเกณฑ์” หรือ “ตรรกะ” ที่เป็น “ฐานร่วม” ของจีน สิงคโปร์ และเกาหลีใต้ ในการขับเคลื่อนตัวเองไปสู่ความรุ่งโรจน์ได้ดังใจหมาย พอจะประมวลออกมาได้ดังนี้
ประการแรก และเป็นประการที่สำคัญที่สุดก็คือ การมีคณะผู้นำประเทศที่ใช้อำนาจบริหารประเทศ โดยถือเอาผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนเป็นตัวตั้ง
ประการที่สอง พวกเขาสามารถค้นพบและบุกเบิกเส้นทางการพัฒนาประเทศที่สอดคล้องกับสภาพเป็นจริงของประเทศตน
ประการที่สาม พวกเขาสามารถใช้ประโยชน์จากเงื่อนไขและปัจจัยต่างๆ ที่มีอยู่ทั่วทั้งโลกให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศตน
ประการที่สี่ พวกเขาสามารถแก้ไขปัญหาอุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นหรือมีอยู่ให้ตกไป พร้อมๆ กับการพัฒนาและนวัตกรรมสิ่งใหม่ๆ ขึ้นมาได้ในทุกขั้นตอน (พลิกวิกฤตเป็นโอกาส)
ประการที่ห้า พวกเขาสามารถเปลี่ยนแปลงตัวเอง ให้เป็น “คณะทำงานทรงประสิทธิภาพ และสะอาดบริสุทธิ์” ยิ่งขึ้นเรื่อยๆ
ประการที่หก พวกเขาสามารถสร้างอุดมการณ์ยาวไกลอันสูงส่ง ให้เป็นที่ยึดมั่นร่วมกันของประชาชนทั้งชาติได้สำเร็จ
ทั้งหกประการนี้ มิใช่ “เคล็ดลับ” หรือ “สูตรสำเร็จ” ของการบริหารประเทศ แต่เป็น “สัจธรรม” ที่สะท้อนถึงแก่นแท้ของความเป็นจริงว่า การบริหารประเทศให้เจริญรุ่งเรืองรอบด้าน ประชาชนอยู่ดีมีสุข ในสังคมโลกยุคปัจจุบัน มี “กฎเกณฑ์” ที่ทุกฝ่ายจะต้องเคารพและยึดถือปฏิบัติ
ผู้ใดปฏิบัติได้จริง ประเทศชาติก็เจริญ ประชาชนก็มีสุข
ผู้ใด “โหลยโท่ย” ไม่เดียงสากับสัจธรรมหรือกฎเกณฑ์ดังกล่าว ก็รังแต่จะทำให้ประเทศชาติเสียโอกาส ประชาชนตกระกำลำบาก
ที่แน่ชัดที่สุดก็คือ ในกรณีของประเทศไทย เมื่อเทียบกับสามประเทศนี้แล้ว ภายในห้วงเวลาของการพัฒนาประเทศเกือบจะพร้อมๆ กัน (จีนเริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ.1953 ตามแผนพัฒนาประเทศห้าปีแผนที่ 1, สิงคโปร์เริ่มตั้งแต่ได้รับเอกราช ในปี ค.ศ. 1965 และเกาหลีใต้ตั้งแต่ภายหลังสงครามเกาหลี ปี ค.ศ. 1953 ส่วนประเทศไทยเริ่มพัฒนาตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจห้าปีแผนที่ 1 ในปี พ.ศ. 2504 หรือ ค.ศ. 1961) เราไม่พบว่า มีคณะผู้นำประเทศชุดใดได้ดำเนินการการบริหารประเทศตาม “กฎเกณฑ์” ห้า-หกข้อข้างต้นอย่างแท้จริง อาจจะมีบ้าง ในตอนแรกของรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ที่เริ่มต้นการพัฒนาประเทศด้วยการวางแผนห้าปี แต่ทว่าแนวคิดหลักก็ยังคงเป็นไปตามแบบตะวันตก โดยเฉพาะสหรัฐฯ ที่เริ่มเข้ามาครอบงำประเทศไทยทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง และการทหาร
แต่จุด “ตาย” ของรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ มิใช่เรื่องการตกอยู่ใต้อิทธิพลของสหรัฐฯ (เกาหลีใต้ก็พัฒนาตัวเองให้เจริญได้ภายใต้ “ร่มเงา” ของสหรัฐฯ) แต่อยู่ตรงความ “ไม่สะอาด”
การเริ่มต้นพัฒนาประเทศ ด้วยคณะผู้บริหารประเทศที่ไม่สามารถพาตนหลีกพ้นลาภที่ไม่ควรได้ หนีไม่พ้นการใช้อำนาจสนองตัณหาของตนเอง ทำให้ประเทศไทยถูกพาเดินเข้ารกเข้าพงตั้งแต่เริ่มต้นของการพัฒนา
ด้านหนึ่ง ขาดความเป็นตัวของตัวเองในการกำหนดแผนพัฒนาประเทศ นักวิชาการไทยอิงทฤษฎีพัฒนาประเทศตามแบบตะวันตก (สหรัฐฯ) แบบ “บูชาตำรา” ไม่ได้เริ่มต้นจากสภาพเป็นจริงของประเทศไทย แต่ดำเนินไปตามสภาพเป็นจริงของสหรัฐอเมริกา ที่ต้องการให้ประเทศไทยดำรงอยู่ในฐานะ “ลูกสมุน” ร่วมดำเนินนโยบายปิดล้อมจีนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
อีกด้านหนึ่ง คณะผู้นำประเทศส่วนใหญ่ มือ “ไม่สะอาด” ใช้อำนาจบริหารประเทศเพื่อสนองตอบผลประโยชน์ส่วนตนเป็นเบื้องต้น พากันโกงบ้านกินเมือง กลายเป็นมรดกตกทอดถึงรุ่นลูกหลานในสายการบริหารประเทศ ทั้งในรูปของเผด็จการทหารและเผด็จการรัฐสภา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
มาบัดนี้ โลกได้ให้โอกาสประเทศไทยอีกครั้ง ยุคสมัยที่ทั่วทั้งโลกแสวงหาสันติภาพ มุ่งมั่นพัฒนา (ยุค “สันติภาพและการพัฒนา”) ได้ก้าวมาถึงแบบฉบับความสำเร็จของการพัฒนาประเทศมิได้เป็นไปตามทฤษฎีตะวันตกที่เป็นตำราเล่มหนา ที่เป็น “สูตรสำเร็จ” ให้นักเรียนนักศึกษาทั่วโลกจดจำทำตามอีกต่อไป แต่เป็น “กรณีศึกษา” ที่เข้าถึงได้โดยตรง สัมผัสได้โดยตรง แล้วสามารถนำเอา “หลักการร่วม” ในรูปของ “กฎเกณฑ์” มาปรับใช้กับความเป็นจริงเราได้โดยตรง
ทั้งนี้ ไม่ได้หมายถึงว่า เราจะต้องเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองไปเป็นแบบสังคมนิยมเหมือนประเทศจีน หรือเปลี่ยนเป็นแบบ “สังคมยุติธรรม” ที่แข็งทื่อของสิงคโปร์ หรือกระทั่งพาตัวเองเข้าไปอยู่ใน “ร่มเงา” ของสหรัฐฯ แบบเกาหลีใต้
ทั้งหมดอยู่ที่ตัวเราเอง เริ่มจากสภาพเป็นจริงของเราเอง
ซึ่ง ณ วันนี้ ก็คือ “ทุกฝ่าย” จะต้องร่วมมือกันสร้าง “อำนาจนำใหม่” ให้สำเร็จ
จากอำนาจนำสกปรก เป็น “อำนาจนำสะอาด”!
ประการแรก และเป็นประการที่สำคัญที่สุดก็คือ การมีคณะผู้นำประเทศที่ใช้อำนาจบริหารประเทศ โดยถือเอาผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนเป็นตัวตั้ง
ประการที่สอง พวกเขาสามารถค้นพบและบุกเบิกเส้นทางการพัฒนาประเทศที่สอดคล้องกับสภาพเป็นจริงของประเทศตน
ประการที่สาม พวกเขาสามารถใช้ประโยชน์จากเงื่อนไขและปัจจัยต่างๆ ที่มีอยู่ทั่วทั้งโลกให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศตน
ประการที่สี่ พวกเขาสามารถแก้ไขปัญหาอุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นหรือมีอยู่ให้ตกไป พร้อมๆ กับการพัฒนาและนวัตกรรมสิ่งใหม่ๆ ขึ้นมาได้ในทุกขั้นตอน (พลิกวิกฤตเป็นโอกาส)
ประการที่ห้า พวกเขาสามารถเปลี่ยนแปลงตัวเอง ให้เป็น “คณะทำงานทรงประสิทธิภาพ และสะอาดบริสุทธิ์” ยิ่งขึ้นเรื่อยๆ
ประการที่หก พวกเขาสามารถสร้างอุดมการณ์ยาวไกลอันสูงส่ง ให้เป็นที่ยึดมั่นร่วมกันของประชาชนทั้งชาติได้สำเร็จ
ทั้งหกประการนี้ มิใช่ “เคล็ดลับ” หรือ “สูตรสำเร็จ” ของการบริหารประเทศ แต่เป็น “สัจธรรม” ที่สะท้อนถึงแก่นแท้ของความเป็นจริงว่า การบริหารประเทศให้เจริญรุ่งเรืองรอบด้าน ประชาชนอยู่ดีมีสุข ในสังคมโลกยุคปัจจุบัน มี “กฎเกณฑ์” ที่ทุกฝ่ายจะต้องเคารพและยึดถือปฏิบัติ
ผู้ใดปฏิบัติได้จริง ประเทศชาติก็เจริญ ประชาชนก็มีสุข
ผู้ใด “โหลยโท่ย” ไม่เดียงสากับสัจธรรมหรือกฎเกณฑ์ดังกล่าว ก็รังแต่จะทำให้ประเทศชาติเสียโอกาส ประชาชนตกระกำลำบาก
ที่แน่ชัดที่สุดก็คือ ในกรณีของประเทศไทย เมื่อเทียบกับสามประเทศนี้แล้ว ภายในห้วงเวลาของการพัฒนาประเทศเกือบจะพร้อมๆ กัน (จีนเริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ.1953 ตามแผนพัฒนาประเทศห้าปีแผนที่ 1, สิงคโปร์เริ่มตั้งแต่ได้รับเอกราช ในปี ค.ศ. 1965 และเกาหลีใต้ตั้งแต่ภายหลังสงครามเกาหลี ปี ค.ศ. 1953 ส่วนประเทศไทยเริ่มพัฒนาตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจห้าปีแผนที่ 1 ในปี พ.ศ. 2504 หรือ ค.ศ. 1961) เราไม่พบว่า มีคณะผู้นำประเทศชุดใดได้ดำเนินการการบริหารประเทศตาม “กฎเกณฑ์” ห้า-หกข้อข้างต้นอย่างแท้จริง อาจจะมีบ้าง ในตอนแรกของรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ที่เริ่มต้นการพัฒนาประเทศด้วยการวางแผนห้าปี แต่ทว่าแนวคิดหลักก็ยังคงเป็นไปตามแบบตะวันตก โดยเฉพาะสหรัฐฯ ที่เริ่มเข้ามาครอบงำประเทศไทยทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง และการทหาร
แต่จุด “ตาย” ของรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ มิใช่เรื่องการตกอยู่ใต้อิทธิพลของสหรัฐฯ (เกาหลีใต้ก็พัฒนาตัวเองให้เจริญได้ภายใต้ “ร่มเงา” ของสหรัฐฯ) แต่อยู่ตรงความ “ไม่สะอาด”
การเริ่มต้นพัฒนาประเทศ ด้วยคณะผู้บริหารประเทศที่ไม่สามารถพาตนหลีกพ้นลาภที่ไม่ควรได้ หนีไม่พ้นการใช้อำนาจสนองตัณหาของตนเอง ทำให้ประเทศไทยถูกพาเดินเข้ารกเข้าพงตั้งแต่เริ่มต้นของการพัฒนา
ด้านหนึ่ง ขาดความเป็นตัวของตัวเองในการกำหนดแผนพัฒนาประเทศ นักวิชาการไทยอิงทฤษฎีพัฒนาประเทศตามแบบตะวันตก (สหรัฐฯ) แบบ “บูชาตำรา” ไม่ได้เริ่มต้นจากสภาพเป็นจริงของประเทศไทย แต่ดำเนินไปตามสภาพเป็นจริงของสหรัฐอเมริกา ที่ต้องการให้ประเทศไทยดำรงอยู่ในฐานะ “ลูกสมุน” ร่วมดำเนินนโยบายปิดล้อมจีนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
อีกด้านหนึ่ง คณะผู้นำประเทศส่วนใหญ่ มือ “ไม่สะอาด” ใช้อำนาจบริหารประเทศเพื่อสนองตอบผลประโยชน์ส่วนตนเป็นเบื้องต้น พากันโกงบ้านกินเมือง กลายเป็นมรดกตกทอดถึงรุ่นลูกหลานในสายการบริหารประเทศ ทั้งในรูปของเผด็จการทหารและเผด็จการรัฐสภา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
มาบัดนี้ โลกได้ให้โอกาสประเทศไทยอีกครั้ง ยุคสมัยที่ทั่วทั้งโลกแสวงหาสันติภาพ มุ่งมั่นพัฒนา (ยุค “สันติภาพและการพัฒนา”) ได้ก้าวมาถึงแบบฉบับความสำเร็จของการพัฒนาประเทศมิได้เป็นไปตามทฤษฎีตะวันตกที่เป็นตำราเล่มหนา ที่เป็น “สูตรสำเร็จ” ให้นักเรียนนักศึกษาทั่วโลกจดจำทำตามอีกต่อไป แต่เป็น “กรณีศึกษา” ที่เข้าถึงได้โดยตรง สัมผัสได้โดยตรง แล้วสามารถนำเอา “หลักการร่วม” ในรูปของ “กฎเกณฑ์” มาปรับใช้กับความเป็นจริงเราได้โดยตรง
ทั้งนี้ ไม่ได้หมายถึงว่า เราจะต้องเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองไปเป็นแบบสังคมนิยมเหมือนประเทศจีน หรือเปลี่ยนเป็นแบบ “สังคมยุติธรรม” ที่แข็งทื่อของสิงคโปร์ หรือกระทั่งพาตัวเองเข้าไปอยู่ใน “ร่มเงา” ของสหรัฐฯ แบบเกาหลีใต้
ทั้งหมดอยู่ที่ตัวเราเอง เริ่มจากสภาพเป็นจริงของเราเอง
ซึ่ง ณ วันนี้ ก็คือ “ทุกฝ่าย” จะต้องร่วมมือกันสร้าง “อำนาจนำใหม่” ให้สำเร็จ
จากอำนาจนำสกปรก เป็น “อำนาจนำสะอาด”!