เบื่อรัฐบาลไทยที่อ่อนแอปวกเปียก..ทำตัวเป็นลูกไล่รัฐบาลเขมรตลอดเวลา เลยขอใช้เวลาพูดถึงผู้ประกอบการเอสเอ็มอีแก้เซ็งบ้างดีกว่า..
10 มกราคม 2554 ผมมีโอกาสไปนั่งซุกตัวเงียบๆ ในห้องประชุมใหญ่ของตึกรูปทรง “เพชร” ที่เจียระไนแล้ว ซึ่งถือเป็นแลนด์มาร์คของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (วิทยาเขตรังสิต) ที่ตั้งอยู่ริมถนนวิภาวดีรังสิต “ตึกเพชร” นี่แหละ..ที่ทำให้ผมระลึกถึงเพื่อนรุ่นพี่แสนดีอย่างคุณ “สุรัตน์ โอสถานุเคราะห์” ที่มีชื่อเล่นเรียกกันติดปากว่า “พี่เพชร”
“พี่เพชร” เคยบอกกับผมว่า..กำลังจะสร้างตึกรูปทรง “เพชร” ที่เจียระไนแล้ว ทว่า..ก่อน “ตึกเพชร” จะสร้างเสร็จ “พี่เพชร” ก็ต้องมาจากพวกเราไปเสียก่อน..
วินาทีที่ผมได้มานั่งอยู่ใน “ตึกเพชร” แสนเท่ ซึ่งถูกใช้เป็นสถานที่เปิดตัว“สถาบันพัฒนาผู้ประกอบการเชิงสร้างสรรค์” หรือ CEDI และการก่อตั้งโครงการ School of Entrepreneurship ระหว่างมหาวิทยาลัยกรุงเทพ และมหาวิทยาลัย BABSON ที่ได้รับการจัดอันดับหลักสูตรยอดเยี่ยมอันดับ 1 ของสหรัฐอเมริกา ในด้านสร้างผู้ประกอบการถึง 17 ปีซ้อน โดย US New & world Report
นอกจากนี้..ทั้งสองสถาบันสถานศึกษา ยังมีการเซ็นความร่วมมือในโครงการนี้ กับอีก 10 หน่วยงานใหญ่ทั้งของรัฐและเอกชน ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างผู้ประกอบการอีกด้วย
โดยมี “เพชร โอสถานุเคราะห์” ลูกชายคนโตของ “พี่เพชร” อดีตศิลปินมาดเซอร์เจ้าของเพลงฮิต “เพียงชายคนนี้ (ไม่ใช่ผู้วิเศษ)” ในฐานะประธานบริหารมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้ขึ้นกล่าวเปิดงานกับแขกเต็มห้องประชุมใหญ่
หลังจากนั้น ศาสตราภิชาน ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ประธานสภามหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้กล่าวปาฐกถาพิเศษในห้วข้อ “เปิดโลกเปลี่ยนผ่านผู้ประกอบการเชิงสร้างสรรค์” ต้องยอมรับครับว่า..อดีตผู้กุมนโยบายเศรษฐกิจชาติผู้นี้ บรรยายถึงผู้ประกอบการเอสเอ็มอีโลกได้ดีทีเดียว..
ผมดีใจที่เพชร โอสถานุเคราะห์ กับ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ได้ก่อตั้งสถาบันการศึกษาที่จะมอบองค์ความรู้ให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยอย่างเป็นระบบและเท่าทันโลก
ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีนั้น เป็นเสมือนเส้นเลือดใหญ่ทางเศรษฐกิจของทุกชาติ และทุกชาติในโลกไม่ว่าอเมริกา ยุโรป จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ล้วนให้ความสำคัญเป็นพิเศษ กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีทั้งสิ้น
ทุกประเทศในโลกล้วนมีรูปธรรมของผู้ประการเอสเอ็มอี ที่ทั้งล้มเหลวและประสบความสำเร็จให้เรียนรู้ “บิลเกตส์” เจ้าพ่อซอฟต์แวร์ของไมโครซอฟท์ หรือ “สตีฟ จอบส์” ผู้นำสินค้าไอโฟนและไอแพดของค่ายแอปเปิ้ล ให้กลายเป็นสิ่งจำเป็นของผู้คนในโลกยุคดิจิตอลไปเสียแล้ว
ส่วนหนุ่ม มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ก็สร้างธุรกิจเอสเอ็มอีขึ้นในรั้วมหาวิทยาลัย ก่อนจะนำธุรกิจของเขาสู่ผู้คนนับพันล้านทั่วโลก ให้รู้จักเขาในฐานะเจ้าของ “เฟสบุ๊ก” จนฮอลลีวูดต้องนำเรื่องราว “มาร์ค-เฟสบุ๊ก” ไปสร้างหนังฉายทั่วโลกเลยครับ
แน่นอน..สมองของคนเหล่านี้ ต้องสร้างสรรค์ด้วยความสอดคล้องกับความต้องการของผู้คนในโลก สินค้าของพวกเขาจึงขายดี-เงินทองเลยไหลมาเทมา จนกลายเป็นมหาเศรษฐีอันดับต้นๆ ของโลกอย่างรวดเร็ว
ประเทศเล็กๆ อย่างฟินแลนด์ ที่ภูมิประเทศเต็มไปด้วยทะเลสาบ ประชากรชาวฟินแลนด์ต้องใช้ชีวิตกระจายอยู่ตามขอบทะเลสาบ นั่นทำให้รัฐบาลและนักวิทยาศาสตร์ฟินแลนด์ ต้องวิจัยค้นคว้าเทคโนโลยีด้านการสื่อสารเป็นพิเศษ เพื่อให้บริการประชากรของตนได้ติดต่อกันได้อย่างสะดวกดายไงล่ะครับ
เทคโนโลยีด้านการสื่อสารจึงก่อเกิดสินค้าใหม่ๆ ไม่ขาดสาย จนทำให้ฟินแลนด์กลายเป็นประเทศ ที่มีรายได้ติดอันดับ 5 ของโลกไปเลยครับ
สำหรับประเทศไทยแล้ว..มีผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไม่น้อย ที่ประสบความสำเร็จจากความคิดสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ จนหลายคนกลายเป็นเศรษฐีและมหาเศรษฐีเช่นกัน
ตระกูลโอสถานุเคราะห์เองก็เริ่มต้นจากธุรกิจเอสเอ็มอี ด้วยการนำยาและสินค้าอื่นๆ เที่ยววางขายตามร้านค้าทั่วราชอาณาจักรไทย จนมายุคหนึ่ง..มีการสร้างสรรค์ยอดขายสินค้าเพิ่มขึ้น ด้วยการใช้รถและเรือเร่ฉายภาพยนตร์ ประสานไปกับการขายสินค้าของบริษัทตามชนบทไทย
บริษัทโอสถาสภาฯ ได้เติบโต และก่อเกิดสินค้าสารพัดชนิดขึ้นในโลกใบนี้ โดยเฉพาะเครื่องดื่มชูกำลังเอ็ม 100 เอ็ม 150 ที่บริษัทคิดค้นขึ้น ได้กลายเป็นสินค้าที่ขายดีที่สุดในประเทศไทยอยู่ในขณะนี้
การสร้างผู้ประกอบการเอสเอ็มอีให้มีคุณภาพ ต้องใช้องค์ความรู้ทั้งลึกทั้งกว้างทั้งรวดเร็ว ทั้งทันยุคสมัย พูดตรงๆ ก็คือ..ต้องทันโลกตลอดเวลาครับ
ทว่า..น่าเสียดายที่นักการเมืองไทยไม่ค่อยยอมทำอะไรให้เป็นเรื่องเป็นราวเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการเอสเอ็มอีให้มั่นคงเลย
มิหนำซ้ำ..ยังกลับปล่อยให้บริษัทค้าปลีกยักษ์ใหญ่ต่างชาติ สยายปีกขยายอาณาจักรกินแดนโชวห่วยไปทั่วทุกหัวระแหงเสียอีก เฮ้อ..เวรกรรมของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยครับ
รัฐบาลไทยไม่รู้หรือไงว่า..หากผู้ประกอบการเอสเอ็มอีทั้งหลายเข้มแข็ง นั่นหมายถึงเส้นเลือดใหญ่ทางเศรษฐกิจของชาติไทย จะพลอยมั่นคงถาวรตามไปด้วย..หือ..???
10 มกราคม 2554 ผมมีโอกาสไปนั่งซุกตัวเงียบๆ ในห้องประชุมใหญ่ของตึกรูปทรง “เพชร” ที่เจียระไนแล้ว ซึ่งถือเป็นแลนด์มาร์คของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (วิทยาเขตรังสิต) ที่ตั้งอยู่ริมถนนวิภาวดีรังสิต “ตึกเพชร” นี่แหละ..ที่ทำให้ผมระลึกถึงเพื่อนรุ่นพี่แสนดีอย่างคุณ “สุรัตน์ โอสถานุเคราะห์” ที่มีชื่อเล่นเรียกกันติดปากว่า “พี่เพชร”
“พี่เพชร” เคยบอกกับผมว่า..กำลังจะสร้างตึกรูปทรง “เพชร” ที่เจียระไนแล้ว ทว่า..ก่อน “ตึกเพชร” จะสร้างเสร็จ “พี่เพชร” ก็ต้องมาจากพวกเราไปเสียก่อน..
วินาทีที่ผมได้มานั่งอยู่ใน “ตึกเพชร” แสนเท่ ซึ่งถูกใช้เป็นสถานที่เปิดตัว“สถาบันพัฒนาผู้ประกอบการเชิงสร้างสรรค์” หรือ CEDI และการก่อตั้งโครงการ School of Entrepreneurship ระหว่างมหาวิทยาลัยกรุงเทพ และมหาวิทยาลัย BABSON ที่ได้รับการจัดอันดับหลักสูตรยอดเยี่ยมอันดับ 1 ของสหรัฐอเมริกา ในด้านสร้างผู้ประกอบการถึง 17 ปีซ้อน โดย US New & world Report
นอกจากนี้..ทั้งสองสถาบันสถานศึกษา ยังมีการเซ็นความร่วมมือในโครงการนี้ กับอีก 10 หน่วยงานใหญ่ทั้งของรัฐและเอกชน ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างผู้ประกอบการอีกด้วย
โดยมี “เพชร โอสถานุเคราะห์” ลูกชายคนโตของ “พี่เพชร” อดีตศิลปินมาดเซอร์เจ้าของเพลงฮิต “เพียงชายคนนี้ (ไม่ใช่ผู้วิเศษ)” ในฐานะประธานบริหารมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้ขึ้นกล่าวเปิดงานกับแขกเต็มห้องประชุมใหญ่
หลังจากนั้น ศาสตราภิชาน ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ประธานสภามหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้กล่าวปาฐกถาพิเศษในห้วข้อ “เปิดโลกเปลี่ยนผ่านผู้ประกอบการเชิงสร้างสรรค์” ต้องยอมรับครับว่า..อดีตผู้กุมนโยบายเศรษฐกิจชาติผู้นี้ บรรยายถึงผู้ประกอบการเอสเอ็มอีโลกได้ดีทีเดียว..
ผมดีใจที่เพชร โอสถานุเคราะห์ กับ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ได้ก่อตั้งสถาบันการศึกษาที่จะมอบองค์ความรู้ให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยอย่างเป็นระบบและเท่าทันโลก
ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีนั้น เป็นเสมือนเส้นเลือดใหญ่ทางเศรษฐกิจของทุกชาติ และทุกชาติในโลกไม่ว่าอเมริกา ยุโรป จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ล้วนให้ความสำคัญเป็นพิเศษ กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีทั้งสิ้น
ทุกประเทศในโลกล้วนมีรูปธรรมของผู้ประการเอสเอ็มอี ที่ทั้งล้มเหลวและประสบความสำเร็จให้เรียนรู้ “บิลเกตส์” เจ้าพ่อซอฟต์แวร์ของไมโครซอฟท์ หรือ “สตีฟ จอบส์” ผู้นำสินค้าไอโฟนและไอแพดของค่ายแอปเปิ้ล ให้กลายเป็นสิ่งจำเป็นของผู้คนในโลกยุคดิจิตอลไปเสียแล้ว
ส่วนหนุ่ม มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ก็สร้างธุรกิจเอสเอ็มอีขึ้นในรั้วมหาวิทยาลัย ก่อนจะนำธุรกิจของเขาสู่ผู้คนนับพันล้านทั่วโลก ให้รู้จักเขาในฐานะเจ้าของ “เฟสบุ๊ก” จนฮอลลีวูดต้องนำเรื่องราว “มาร์ค-เฟสบุ๊ก” ไปสร้างหนังฉายทั่วโลกเลยครับ
แน่นอน..สมองของคนเหล่านี้ ต้องสร้างสรรค์ด้วยความสอดคล้องกับความต้องการของผู้คนในโลก สินค้าของพวกเขาจึงขายดี-เงินทองเลยไหลมาเทมา จนกลายเป็นมหาเศรษฐีอันดับต้นๆ ของโลกอย่างรวดเร็ว
ประเทศเล็กๆ อย่างฟินแลนด์ ที่ภูมิประเทศเต็มไปด้วยทะเลสาบ ประชากรชาวฟินแลนด์ต้องใช้ชีวิตกระจายอยู่ตามขอบทะเลสาบ นั่นทำให้รัฐบาลและนักวิทยาศาสตร์ฟินแลนด์ ต้องวิจัยค้นคว้าเทคโนโลยีด้านการสื่อสารเป็นพิเศษ เพื่อให้บริการประชากรของตนได้ติดต่อกันได้อย่างสะดวกดายไงล่ะครับ
เทคโนโลยีด้านการสื่อสารจึงก่อเกิดสินค้าใหม่ๆ ไม่ขาดสาย จนทำให้ฟินแลนด์กลายเป็นประเทศ ที่มีรายได้ติดอันดับ 5 ของโลกไปเลยครับ
สำหรับประเทศไทยแล้ว..มีผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไม่น้อย ที่ประสบความสำเร็จจากความคิดสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ จนหลายคนกลายเป็นเศรษฐีและมหาเศรษฐีเช่นกัน
ตระกูลโอสถานุเคราะห์เองก็เริ่มต้นจากธุรกิจเอสเอ็มอี ด้วยการนำยาและสินค้าอื่นๆ เที่ยววางขายตามร้านค้าทั่วราชอาณาจักรไทย จนมายุคหนึ่ง..มีการสร้างสรรค์ยอดขายสินค้าเพิ่มขึ้น ด้วยการใช้รถและเรือเร่ฉายภาพยนตร์ ประสานไปกับการขายสินค้าของบริษัทตามชนบทไทย
บริษัทโอสถาสภาฯ ได้เติบโต และก่อเกิดสินค้าสารพัดชนิดขึ้นในโลกใบนี้ โดยเฉพาะเครื่องดื่มชูกำลังเอ็ม 100 เอ็ม 150 ที่บริษัทคิดค้นขึ้น ได้กลายเป็นสินค้าที่ขายดีที่สุดในประเทศไทยอยู่ในขณะนี้
การสร้างผู้ประกอบการเอสเอ็มอีให้มีคุณภาพ ต้องใช้องค์ความรู้ทั้งลึกทั้งกว้างทั้งรวดเร็ว ทั้งทันยุคสมัย พูดตรงๆ ก็คือ..ต้องทันโลกตลอดเวลาครับ
ทว่า..น่าเสียดายที่นักการเมืองไทยไม่ค่อยยอมทำอะไรให้เป็นเรื่องเป็นราวเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการเอสเอ็มอีให้มั่นคงเลย
มิหนำซ้ำ..ยังกลับปล่อยให้บริษัทค้าปลีกยักษ์ใหญ่ต่างชาติ สยายปีกขยายอาณาจักรกินแดนโชวห่วยไปทั่วทุกหัวระแหงเสียอีก เฮ้อ..เวรกรรมของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยครับ
รัฐบาลไทยไม่รู้หรือไงว่า..หากผู้ประกอบการเอสเอ็มอีทั้งหลายเข้มแข็ง นั่นหมายถึงเส้นเลือดใหญ่ทางเศรษฐกิจของชาติไทย จะพลอยมั่นคงถาวรตามไปด้วย..หือ..???