ASTVผู้จัดการรายวัน- “ชัยวุฒิ” เบรกลอยตัวราคาน้ำตาลหากไม่แก้ไขทั้งระบบไม่เสนอครม.วางกรอบปฏิบัติแน่ ย้ำไม่ลดราคาน้ำตาลทราย 5 บาท/ก.ก.ที่เรียกเข้ากองทุนอ้อยฯเหตุเป็นมติครม.ชำระหนี้ให้หมดสิ้นปีอยู่แล้วและราคาเพื่อนบ้านสูงหากลดยิ่งขาดและแพง จับตาราคาน้ำตาลทรายขายปลีกในตลาดยังสูง 28-30 บาทต่อก.ก.ยี่ปั๊วซาปั๊วอ้างซื้อโรงงานแพงคาดผลพวงราคาตลาดโลกสูง
นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า วันที่ 15 ม.ค.นี้คณะทำงานศึกษาการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายจะเสนอผลศึกษาแนวทางทั้งหมดส่งตนซึ่งคงจะต้องขอพิจารณารายละเอียดอีกครั้ง โดยยืนยันว่าหากเสนอเพียงแนวทางการลอยตัวราคาน้ำตาลทรายเพียงอย่างเดียวแต่ไม่สามารถทำให้โครงสร้างอื่นๆ ทั้งระบบดีขึ้นก็คงไม่มีความจำเป็นจะต้องเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.)เพื่อวางกรอบการดำเนินการแต่อย่างใด
“ ผมสั่งชัดเจนว่าจะต้องปรับโครงสร้างทั้งระบบสำคัญสุดต้องเป็นธรรมทุกส่วน ถ้าหยิบยกเฉพาะการลอยตัวมาถามว่าวันนี้คนที่ได้ประโยชน์คือโรงงานและชาวไร่เท่านั้น ประชาชนไม่ได้ และส่วนตัวมองว่ากองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย(กท.)ควรจะมีเงินสะสมไว้ไม่ต่ำกว่าหมื่นล้านบาทแต่ไม่เกิน 2 หมื่นล้านบาทเพื่อดูแลเสถียรภาพและราคาซึ่งยังต้องใช้เวลา โควตาต้องปรับใหม่หรือไม่ และกรณีการคุมโรงงานควรมีการเปิดเสรีดีไหม ไม่ใช่แค่พูดแค่กึ่งลอยตัวผมพูดชัดว่าต้องแก้ทั้งระบบ”นายชัยวุฒิกล่าว
ทั้งนี้ เมื่อเดือนธ.ค.53 ที่ผ่านมากระทรวงอุตสาหกรรมได้เสนอการช่วยเหลือชาวไร่อ้อยด้วยการให้กองทุนอ้อยฯกู้เงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์เพิ่มเติมอีก 8,000 ล้านบาทเพื่อเพิ่มราคาอ้อยขั้นต้นเป็น 1,050 บาทต่อตันหรือเพิ่มให้อีกตันละ 105 บาทซึ่งในแผนได้รวมการนำเงินจัดเข้ากองทุน 5 บาทต่อก.ก.ไว้แล้วดังนั้นเดือนก.พ.นี้จึงไม่สามารถจะลดการจัดเก็บเงินดังกล่าวเข้ากองทุนฯได้จนกว่าหนี้ทั้งหมดจะชำระหมดซึ่งคาดว่าจะเป็นภายในธ.ค. 2554
อย่างไรก็ตามข้อเท็จจริงการลดเก็บเงินกองทุนฯเพื่อลดราคาขายปลีกน้ำตาลทรายลงมาตามข้อเสนอของภาคอุตสาหกรรมเครื่องดื่มนั้นระยะสั้นนี้คงเป็นไปได้ยากเนื่องจากราคาน้ำตาลทรายประเทศเพื่อนบ้านราคาแพงกว่าไทยเฉลี่ย 10 บาทต่อก.ก.เช่น พม่า 40 บาทต่อก.ก. เวียดนาม 42 บาทต่อก.ก. กัมพูชา 35 บาทต่อก.ก. ฯลฯไทยถูกสุดเว้นมาเลเซียที่มีการอุดหนุนให้ หากไทยลดราคาลงจะยิ่งสร้างปัญหาให้น้ำตาลขาดแคลนและแพงขึ้นทันที
“ทุกวันนี้ผมก็ปวดหัวอยู่แล้วน้ำตาลเราถูกมากต้องเหนื่อยไล่ตามตะเข็บชายแดนเพราะราคาห่างกันเป็น 10 บาทต่อก.ก.ถ้าลดลงมาเหลือ 18-19 บาทต่อก.ก.ทันทีเราควบคุมได้จริงไหมแต่ถ้าลดได้จะมีวิธีอย่างไรที่จะทำให้ภาพรวมไม่เสียด้วย”นายชัยวุฒิกล่าว
จับตาน้ำตาลในตลาดยังแพงอื้อ
แหล่งข่าวจากกระทรวงอุตสาหกรรมกล่าวว่า จากการติดตามสถานการณ์ราคาน้ำตาลทรายหลังการเปิดหีบของโรงงานน้ำตาลทั้งหมดยอมรับว่าราคาน้ำตาลทรายขายปลีกในประเทศในหลายพื้นที่ยังคงทรงตัวในระดับสูงเฉลี่ย 28-30 บาทต่อกิโลกรัม(ก.ก.) ซึ่งทางยี่ปั๊วและซาปั๊วอ้างว่าซื้อมาจากโรงงานในราคาที่แพงโดยต้องการน้ำตาลทรายต้องบวกราคาเพิ่มให้อีก 3 บาทต่อก.ก.
“อำนาจในการดูแลราคาซื้อขายอยู่ที่พาณิชย์ ขณะที่กระทรวงอุตสาหกรรมควบคุมราคา ณ หน้าโรงงานเท่านั้นและเวลาทำใบเสร็จก็สามารถทำให้ราคาหน้าโรงงานได้แต่ราคาจริงเราเองก็ตรวจสอบไม่ได้เพราะไม่มีอำนาจเข้าไปจัดการ”แหล่งข่าวกล่าว
ทั้งนี้ ปริมาณน้ำตาลทรายโควตาก.(บริโภคในประเทศ)ปี 53/54 จัดสรรไว้ 25 ล้านกระสอบถือว่ามากสุดเป็นประวัติการณ์และได้มีการขึ้นงวดกว่า 4 แสนกระสอบต่อสัปดาห์แต่ราคากลับยังคงทรงตัวระดับสูงดังกล่าวซึ่งสาเหตุสำคัญมาจากราคาน้ำตาลทรายต่างประเทศยังคงมีราคาสูงมาก ประกอบกับโรงงานน้ำตาลมีการจ่ายค่าอ้อยขั้นต้นให้ชาวไร่ที่เกินกว่าราคากำหนดโดยจ่ายสูงถึง 1,200-1,300 บาทต่อตันทำให้ต้นทุนการผลิตสูงแต่ราคาขายที่ขึ้นไปก่อนหน้านี้ 5 บาทต่อก.ก.เพื่อเข้ากองทุนอ้อยฯ ทั้งหมดถูกส่งให้กับกองทุนฯเพื่อใช้หนี้ให้ชาวไร่อ้อยแต่โรงงานได้รับราคาจริงหน้าโรงงานขาวธรรมและขาวบริสุทธิ์ 14-15 บาทต่อก.ก.เท่านั้น
นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า วันที่ 15 ม.ค.นี้คณะทำงานศึกษาการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายจะเสนอผลศึกษาแนวทางทั้งหมดส่งตนซึ่งคงจะต้องขอพิจารณารายละเอียดอีกครั้ง โดยยืนยันว่าหากเสนอเพียงแนวทางการลอยตัวราคาน้ำตาลทรายเพียงอย่างเดียวแต่ไม่สามารถทำให้โครงสร้างอื่นๆ ทั้งระบบดีขึ้นก็คงไม่มีความจำเป็นจะต้องเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.)เพื่อวางกรอบการดำเนินการแต่อย่างใด
“ ผมสั่งชัดเจนว่าจะต้องปรับโครงสร้างทั้งระบบสำคัญสุดต้องเป็นธรรมทุกส่วน ถ้าหยิบยกเฉพาะการลอยตัวมาถามว่าวันนี้คนที่ได้ประโยชน์คือโรงงานและชาวไร่เท่านั้น ประชาชนไม่ได้ และส่วนตัวมองว่ากองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย(กท.)ควรจะมีเงินสะสมไว้ไม่ต่ำกว่าหมื่นล้านบาทแต่ไม่เกิน 2 หมื่นล้านบาทเพื่อดูแลเสถียรภาพและราคาซึ่งยังต้องใช้เวลา โควตาต้องปรับใหม่หรือไม่ และกรณีการคุมโรงงานควรมีการเปิดเสรีดีไหม ไม่ใช่แค่พูดแค่กึ่งลอยตัวผมพูดชัดว่าต้องแก้ทั้งระบบ”นายชัยวุฒิกล่าว
ทั้งนี้ เมื่อเดือนธ.ค.53 ที่ผ่านมากระทรวงอุตสาหกรรมได้เสนอการช่วยเหลือชาวไร่อ้อยด้วยการให้กองทุนอ้อยฯกู้เงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์เพิ่มเติมอีก 8,000 ล้านบาทเพื่อเพิ่มราคาอ้อยขั้นต้นเป็น 1,050 บาทต่อตันหรือเพิ่มให้อีกตันละ 105 บาทซึ่งในแผนได้รวมการนำเงินจัดเข้ากองทุน 5 บาทต่อก.ก.ไว้แล้วดังนั้นเดือนก.พ.นี้จึงไม่สามารถจะลดการจัดเก็บเงินดังกล่าวเข้ากองทุนฯได้จนกว่าหนี้ทั้งหมดจะชำระหมดซึ่งคาดว่าจะเป็นภายในธ.ค. 2554
อย่างไรก็ตามข้อเท็จจริงการลดเก็บเงินกองทุนฯเพื่อลดราคาขายปลีกน้ำตาลทรายลงมาตามข้อเสนอของภาคอุตสาหกรรมเครื่องดื่มนั้นระยะสั้นนี้คงเป็นไปได้ยากเนื่องจากราคาน้ำตาลทรายประเทศเพื่อนบ้านราคาแพงกว่าไทยเฉลี่ย 10 บาทต่อก.ก.เช่น พม่า 40 บาทต่อก.ก. เวียดนาม 42 บาทต่อก.ก. กัมพูชา 35 บาทต่อก.ก. ฯลฯไทยถูกสุดเว้นมาเลเซียที่มีการอุดหนุนให้ หากไทยลดราคาลงจะยิ่งสร้างปัญหาให้น้ำตาลขาดแคลนและแพงขึ้นทันที
“ทุกวันนี้ผมก็ปวดหัวอยู่แล้วน้ำตาลเราถูกมากต้องเหนื่อยไล่ตามตะเข็บชายแดนเพราะราคาห่างกันเป็น 10 บาทต่อก.ก.ถ้าลดลงมาเหลือ 18-19 บาทต่อก.ก.ทันทีเราควบคุมได้จริงไหมแต่ถ้าลดได้จะมีวิธีอย่างไรที่จะทำให้ภาพรวมไม่เสียด้วย”นายชัยวุฒิกล่าว
จับตาน้ำตาลในตลาดยังแพงอื้อ
แหล่งข่าวจากกระทรวงอุตสาหกรรมกล่าวว่า จากการติดตามสถานการณ์ราคาน้ำตาลทรายหลังการเปิดหีบของโรงงานน้ำตาลทั้งหมดยอมรับว่าราคาน้ำตาลทรายขายปลีกในประเทศในหลายพื้นที่ยังคงทรงตัวในระดับสูงเฉลี่ย 28-30 บาทต่อกิโลกรัม(ก.ก.) ซึ่งทางยี่ปั๊วและซาปั๊วอ้างว่าซื้อมาจากโรงงานในราคาที่แพงโดยต้องการน้ำตาลทรายต้องบวกราคาเพิ่มให้อีก 3 บาทต่อก.ก.
“อำนาจในการดูแลราคาซื้อขายอยู่ที่พาณิชย์ ขณะที่กระทรวงอุตสาหกรรมควบคุมราคา ณ หน้าโรงงานเท่านั้นและเวลาทำใบเสร็จก็สามารถทำให้ราคาหน้าโรงงานได้แต่ราคาจริงเราเองก็ตรวจสอบไม่ได้เพราะไม่มีอำนาจเข้าไปจัดการ”แหล่งข่าวกล่าว
ทั้งนี้ ปริมาณน้ำตาลทรายโควตาก.(บริโภคในประเทศ)ปี 53/54 จัดสรรไว้ 25 ล้านกระสอบถือว่ามากสุดเป็นประวัติการณ์และได้มีการขึ้นงวดกว่า 4 แสนกระสอบต่อสัปดาห์แต่ราคากลับยังคงทรงตัวระดับสูงดังกล่าวซึ่งสาเหตุสำคัญมาจากราคาน้ำตาลทรายต่างประเทศยังคงมีราคาสูงมาก ประกอบกับโรงงานน้ำตาลมีการจ่ายค่าอ้อยขั้นต้นให้ชาวไร่ที่เกินกว่าราคากำหนดโดยจ่ายสูงถึง 1,200-1,300 บาทต่อตันทำให้ต้นทุนการผลิตสูงแต่ราคาขายที่ขึ้นไปก่อนหน้านี้ 5 บาทต่อก.ก.เพื่อเข้ากองทุนอ้อยฯ ทั้งหมดถูกส่งให้กับกองทุนฯเพื่อใช้หนี้ให้ชาวไร่อ้อยแต่โรงงานได้รับราคาจริงหน้าโรงงานขาวธรรมและขาวบริสุทธิ์ 14-15 บาทต่อก.ก.เท่านั้น