วานนี้(10 ม.ค.)ที่กระทรวงมหาดไทย นายถาวร เสนเนียม รมช.มหาดไทยกำกับดูแลการแก้ปัญหาภาคใต้ กล่าวว่า ภายหลังรัฐบาลได้ประกาศยกเลิกการใช้พระราชกำหนดในสถานการณ์ฉุกเฉิน และกฎอัยการศึก ใน อ.แม่ลาน จ.ปัตตานี เนื่องจากในปี 2552 จ.ปัตตานีมีเหตุรุนแรงเกิดขึ้น 12 ครั้ง ส่วนปี 2553 ลดลงเหลือเพียง 3 ครั้ง ซึ่งความรุนแรงที่เกิดขึ้นไม่ถึงขั้นเสียชีวิต
เนื่องจากประชาชนเข้ามาร่วมมือแก้ไขปัญหามาก จึงหมดความจำเป็นที่จะให้อำนาจพิเศษของรัฐ จึงยกเลิกกฎหมาย 2 ฉบับ และนำ พ.ร.บ.รักษาความมั่นคงมาใช้ ส่วนเหตุการณ์ในปี 2553 4 อำเภอใน จ.สงขลา คือ อ.เทพา เกิดเหตุเพียง 2 ครั้ง อ.จะ นะ เกิด 1 ครั้ง อ.นาทวี เกิดเหตุ 1 ครั้ง และ อ.สะบ้าย้อย เกิด 1 ครั้ง ดังนั้น ก็หมดความจำเป็นในการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินเช่นกัน โดยจะนำ พ.ร.บ.รักษาความมั่นคงมาใช้แทน จากนั้นจะใช้มาตรการตามมาตรา 21 เพื่อเปิดโอกาสให้คนที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ ที่ก่อความผิดคดีเกี่ยวข้องกับความมั่นคง โดยใช้กระบวนการเพื่อเปลี่ยนแปลงในทางนโยบายจะนำคนเหล่านั้นมาเข้าสู่กระบวน การฝึกอบรม ให้กลับตัวกลับใจ
ซึ่งก่อนการฝึกอบรมจะต้องมี 1.คณะ กรรมการเข้ามาคัดสรรตัวบุคคล 2.มีคณะกรรมการสอบสวน โดยมีพนักงานอัยการเข้ามาร่วม 3.มีคณะกรรมการช่วยเหลือคดีและไปเยียวยาชุมชน หรือบุคคลที่ได้รับความเสียหายเข้ามามอบตัว 4.มีคณะกรรมการกลั่นกรองผู้เข้ารับการอบรมแทนการฟ้อง และสถานที่ฝึกอบรมจะมีอยู่ที่โรงเรียนเสริมสร้างสันติสุข อ.บ่อทอง จ.ปัตตานี และที่กองพลพัฒนา อ.คลองหอยโข่ง จ.สงขลา และที่ กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 5 อ.เมือง จ.สงขลา
นาย ถาวร กล่าวว่า ขณะนี้มี 27 คน ที่พร้อมที่จะเข้าสู่กระบวนการและกลับตัวกลับใจ ซึ่งยังถือเป็นข้อมูลลับอยู่ แต่สิ่งที่กังวล คือ อาจจะมีผู้เข้าร่วมกระบวนการ อาร์เคเค หรือ กลุ่มฮาร์ดคออาจกล่าวหาว่า บุคคลเหล่านี้หักหลักกระบวนการ จึงเกิดความเครียดแค้น ดังนั้น จำเป็นที่จะมีกระบวนการคุ้มครองดูแลทั้งครอบครัว และบุคคลที่เข้าสู่กระบวนการนี้ ซึ่งบุคคลเหล่านี้จะเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง จึงใช้ว่าเป็นหลักสูตรผู้นำการเปลี่ยนแปลง ส่วน ผู้ที่เข้ารับการอบรมจะกลับเข้าสู่กระบวนการก่อการร้ายอีกจะให้เป็นไปได้ ทั้ง 100 เปอร์เซ็นต์ ก็คงเป็นไปไม่ได้ แต่ขึ้นอยู่กับหลักการของการบริหาร
“17 ม.ค.นี้ นายกรัฐมนตรี จะลงพื้นที่ตรวจสอบความพร้อมการใช้ พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร แทนการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และกดปุ่มโอนเงินโครงการเพิ่มพัฒนาคุณภาพชีวิตในหมู่บ้าน จำนวน 2,281 หมู่บ้าน จำนวนหมู่บ้านละ 228,000 บาท เป็นเงิน 512 ล้านบาท ใน อ.แม่ลาน จ.ปัตตานีด้วย แต่ 15 ม.ค. จะครบกำหนดการประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินในพื้นที่ภาคใต้ ก็จะคุยกับนายกรัฐมนตรี ถึงการจะยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน อ.เบตง ยะลา อ.สุคิรินทร์ นราธิวาส หากสภาความมั่นคงแห่งชาติเห็นชอบ ก็จะได้ขอยกเลิกการประกาศใช้ พ.ร.ก.ในพื้นที่ดังกล่าว ต่อไป”รมช.มหาดไทยกล่าว
เนื่องจากประชาชนเข้ามาร่วมมือแก้ไขปัญหามาก จึงหมดความจำเป็นที่จะให้อำนาจพิเศษของรัฐ จึงยกเลิกกฎหมาย 2 ฉบับ และนำ พ.ร.บ.รักษาความมั่นคงมาใช้ ส่วนเหตุการณ์ในปี 2553 4 อำเภอใน จ.สงขลา คือ อ.เทพา เกิดเหตุเพียง 2 ครั้ง อ.จะ นะ เกิด 1 ครั้ง อ.นาทวี เกิดเหตุ 1 ครั้ง และ อ.สะบ้าย้อย เกิด 1 ครั้ง ดังนั้น ก็หมดความจำเป็นในการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินเช่นกัน โดยจะนำ พ.ร.บ.รักษาความมั่นคงมาใช้แทน จากนั้นจะใช้มาตรการตามมาตรา 21 เพื่อเปิดโอกาสให้คนที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ ที่ก่อความผิดคดีเกี่ยวข้องกับความมั่นคง โดยใช้กระบวนการเพื่อเปลี่ยนแปลงในทางนโยบายจะนำคนเหล่านั้นมาเข้าสู่กระบวน การฝึกอบรม ให้กลับตัวกลับใจ
ซึ่งก่อนการฝึกอบรมจะต้องมี 1.คณะ กรรมการเข้ามาคัดสรรตัวบุคคล 2.มีคณะกรรมการสอบสวน โดยมีพนักงานอัยการเข้ามาร่วม 3.มีคณะกรรมการช่วยเหลือคดีและไปเยียวยาชุมชน หรือบุคคลที่ได้รับความเสียหายเข้ามามอบตัว 4.มีคณะกรรมการกลั่นกรองผู้เข้ารับการอบรมแทนการฟ้อง และสถานที่ฝึกอบรมจะมีอยู่ที่โรงเรียนเสริมสร้างสันติสุข อ.บ่อทอง จ.ปัตตานี และที่กองพลพัฒนา อ.คลองหอยโข่ง จ.สงขลา และที่ กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 5 อ.เมือง จ.สงขลา
นาย ถาวร กล่าวว่า ขณะนี้มี 27 คน ที่พร้อมที่จะเข้าสู่กระบวนการและกลับตัวกลับใจ ซึ่งยังถือเป็นข้อมูลลับอยู่ แต่สิ่งที่กังวล คือ อาจจะมีผู้เข้าร่วมกระบวนการ อาร์เคเค หรือ กลุ่มฮาร์ดคออาจกล่าวหาว่า บุคคลเหล่านี้หักหลักกระบวนการ จึงเกิดความเครียดแค้น ดังนั้น จำเป็นที่จะมีกระบวนการคุ้มครองดูแลทั้งครอบครัว และบุคคลที่เข้าสู่กระบวนการนี้ ซึ่งบุคคลเหล่านี้จะเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง จึงใช้ว่าเป็นหลักสูตรผู้นำการเปลี่ยนแปลง ส่วน ผู้ที่เข้ารับการอบรมจะกลับเข้าสู่กระบวนการก่อการร้ายอีกจะให้เป็นไปได้ ทั้ง 100 เปอร์เซ็นต์ ก็คงเป็นไปไม่ได้ แต่ขึ้นอยู่กับหลักการของการบริหาร
“17 ม.ค.นี้ นายกรัฐมนตรี จะลงพื้นที่ตรวจสอบความพร้อมการใช้ พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร แทนการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และกดปุ่มโอนเงินโครงการเพิ่มพัฒนาคุณภาพชีวิตในหมู่บ้าน จำนวน 2,281 หมู่บ้าน จำนวนหมู่บ้านละ 228,000 บาท เป็นเงิน 512 ล้านบาท ใน อ.แม่ลาน จ.ปัตตานีด้วย แต่ 15 ม.ค. จะครบกำหนดการประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินในพื้นที่ภาคใต้ ก็จะคุยกับนายกรัฐมนตรี ถึงการจะยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน อ.เบตง ยะลา อ.สุคิรินทร์ นราธิวาส หากสภาความมั่นคงแห่งชาติเห็นชอบ ก็จะได้ขอยกเลิกการประกาศใช้ พ.ร.ก.ในพื้นที่ดังกล่าว ต่อไป”รมช.มหาดไทยกล่าว