เมื่อเวลา 10.00 น. วานนี้ (6 ม.ค.) นายพิชา วิจิตรศิลป์ ประธานชมรมกฎหมายภิวัฒน์แห่งประเทศไทยและเครือข่าย ได้เดินทางไปที่สำนักงาน กกต. เพื่อยื่นหนังสือร้องเรียนต่อ นายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธานกกต. ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง เพื่อขอให้พิจารณาคดีเงินสนับสนุนพรรคการเมือง จำนวน 29 ล้านบาท และคดีเงินบริจาค 258 ล้านบาท ของพรรคประชาธิปัตย์ ที่ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติเสียงข้างมากยกคำร้องมาพิจารณา และยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญใหม่อีกครั้ง โดยได้นำคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 15/2553 เรื่องการยุบพรรคพลังเกษตรกร และคำวินิจฉัยยุบพรรคประชาธิปัตย์ ในคดีรับเงินบริจาค 258 ล้านบาท มาเป็นหลักฐาน
นายพิชา กล่าวว่า การที่ต้องเดินทางมายื่นยุบพรรคประชาธิปัตย์ใหม่ในครั้งนี้ เพราะคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ จะมีผลผูกพันต่อรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรอื่นของรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 216 วรรคห้า แต่หากดูตามข้อกำหนด ศาลรัฐธรรมนูญที่ 50 จะระบุว่า เมื่อศาลกำหนดประเด็นการพิจารณาไว้ คำวินิจฉัยก็ต้องพิจารณาครบทุกประเด็นเช่นกัน แต่เมื่อศาลมีมติและมีคำวินิจฉัยกลางออกมากลับพบว่า มีการยึดความเห็นของตุลาการเพียงท่านเดียว ที่มีความเห็นว่า นายทะเบียนฯ ยื่นเรื่องต้องศาลรัฐธรรมนูญเกินกรอบระยะเวลา 15 วันตามที่กฎหมายกำหนดมาเป็นประเด็นหลักในคำวินิจฉัยกลาง ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง ประกอบกับเพราะเหตุใดศาลรัฐธรรมนูญจึงไม่มีการยกคำวินิจฉัยคดียุบพรรคพลังเกษตรกรมาเป็นประเด็นเปรียบเทียบในการยุบพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งในขณะนั้น ศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคพลังเกษตรกรโดยที่นายทะเบียนฯ ยังไม่ได้ทำความเห็นเช่นกัน ทำให้เป็นที่คลางแคลงใจของประชาชนเป็นอย่างมาก
เมื่อถามว่ามีการตรวจสอบข้อกฎหมายในกรณีที่จะยื่นยุบพรรคประชาธิปัตย์ใหม่ หลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญได้มีมติยกคำร้องไปแล้ว นายพิชา กล่าวว่า หากยึดหลักข้อกำหนดศาลรัฐธรรมนูญที่ 50 จะเห็นว่า ในคำวินิจฉัยกลางไม่ได้ระบุถึงข้อเท็จจริงของคดี แต่เป็นเพียงการระบุถึงขั้นตอนการพิจารณาคดีเท่านั้น ทำให้คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ยังไม่มีผลผูกพันต่อองค์กรอื่น จึงสามารถยื่นเรื่องให้พิจารณายุบพรรคประชาธิปัตย์ใหม่ได้ ส่วนทางนายทะเบียนฯ จะรับเรื่องดังกล่าวไว้พิจารณาหรือไม่ก็ถือเป็นอีกเรื่องหนึ่ง
ด้านนายราเมศ รัตนะเชวง คณะทำงานฝ่ายกฎหมายต่อสู้คดียุบพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่ ประธานชมรมกฎหมายภิวัฒน์ ร้องให้นายทะเบียนพรรคการเมืองพิจารณายุบพรรคประชาธิปัตย์ รอบสอง ว่า เป็นอีกกระบวนการหนึ่งที่ไม่ยอมรับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งสังคมทราบดีอยู่แล้วว่า ชมรมนี้ได้ทำงานควบคู่ไปกับพรรคการเมืองใด การออกมาแต่ละครั้ง ล้วนแต่มีการวางแผนการกันมาเป็นระบบ เพื่อทำลายล้างพรรคประชาธิปัตย์ให้ได้ ทั้งๆที่ผลของคำวินิจฉัยผูกพันทุกองค์กร จึงอยากแนะนำว่า ให้ชมรมนี้ให้กลับไปปรึกษา นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย ว่าน่าจะเสนอให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญในประเด็นคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญผูกพันทุกองค์กร โดยให้ยกเว้นพรรคเพื่อไทย กับพวก เพราะไม่เช่นนั้นก็จะไม่จบไม่สิ้นทั้งๆ ที่ บ้านเมืองมีการปกครองโดยระบบนิติรัฐ นายราเมศ กล่าวว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ มีครบทุกประเด็นทั้งในคำวินิจฉัยกลางและคำวินิจฉัยส่วนตน ที่บอกว่ามีแค่ประเด็นนำมาเขียนเป็นของตุลาการคนเดียว ในเรื่อง กำหนดเวลา 15 วันนั้น เป็นการกล่าวที่ไม่ได้ศึกษาให้ดี ให้ถ่องแท้ และภายในวันจันทร์ที่ 10 ม.ค.นี้ ตนจะส่งคำวินิจฉัย พร้อมกับขีดเส้นใต้ข้อความที่สำคัญไปให้ชมรมดังกล่าว และจะส่งบทความในหนังสือปกขาวที่ชมรมนี้เขียนเทียบกับผลคำวินิจฉัย เพื่อจะได้มีความรู้ให้กระจ่างชัดมากยิ่งขึ้น และจะฝากสำเนาไปให้ทีมกฎหมายพรรคเพื่อไทยด้วย
" ผมขอท้าพรรคเพื่อไทยกับพวกว่า จะให้ไปพบที่เวทีไหนก็ได้ ผมจะอธิบายให้ทุกคนเข้าใจว่า กระบวนการยื่นคำร้องเป็นอย่างไร กระบวนการสมคบกันทำพยานหลักฐานเท็จต่าง ๆ เป็นอย่างไร การกดดัน กกต. เป็นอย่างไร นายทะเบียนพรรคการเมืองยื่นคำร้องว่าอย่างไร เราต่อสู้ในประเด็นข้อกฎหมายอย่างไร ข้อเท็จจริงอย่างไร และจะอธิบายให้เห็นถึงคำวินิจฉัยของศาล ที่ได้แสดงให้เห็นว่า พรรคประชาธิปัตย์บริสุทธิ์ในทุกประเด็นที่ถูกกล่าวหา ซึ่งอยากให้รับฟังศึกษากันด้วย สติ และปัญญาอย่างแท้จริง เพราะหากไม่ใช้สติปัญญาในการไตร่ตรอง รับรองทุกเรื่องไม่มีวันจบ นักกฎหมายต้องคิดในเชิงที่ทำให้มีการภิวัฒน์จริงๆ ไม่เช่นนั้นความวิบัติก็จะเกิดขึ้นในสังคม" คณะทำงานฝ่ายกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์ กล่าว
นายราเมศ กล่าวอีกว่า ขอให้กำลังใจ และเห็นใจ กกต. และนายทะเบียนพรรคการเมือง ที่ต้องมารับภาระกับสิ่งเดิมๆ แต่ทุกคนต้องมั่นคงในหลักการของบ้านเมือง แม้ว่าที่ผ่านมาจะเจอกับกระบวนการป่าเถื่อน ที่อยู่นอกเหนือบทกฎหมายบ้านเมือง แต่ก็ผ่านมาได้ เป็นสิ่งที่น่าเห็นใจแต่ขอให้อย่าหวั่นไหวกับการกระทำที่นอกกติกาของบ้านเมือง ซึ่งคาดว่านับจากนี้ไป ก็จะมีกระบวนการกดดัน ตามมาอีกอย่างแน่นอน
ทั้งนี้ ตนอยากให้จับตาดูคดีอาญา ที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้ยื่นฟ้องนายพร้อมพงศ์ กับพวก ซึ่งจะพิสูจน์ให้เห็นถึงการแบ่งหน้าที่กันทำในสิ่งที่นอกกระบวนการยุติธรรม การข่มขู่คุกคามตุลาการ เพื่อที่จะให้มีการยุบพรรคประชาธิปัตย์ให้ได้ และน่าเห็นใจตุลาการทุกคนที่ต้องมาเจอกับการกระทำของคนชั่ว ที่สมคบกันทำในสิ่งที่อยู่นอกเหนือกติกาของบ้านเมือง อีกทั้งยังอยากฝากไปยังพรรคเพื่อไทย กับพวกหยุดการดำเนินการ เพราะทำอย่างไรก็คงจะลบล้างความบริสุทธิ์ความซื่อสัตย์ของพรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้
นายพิชา กล่าวว่า การที่ต้องเดินทางมายื่นยุบพรรคประชาธิปัตย์ใหม่ในครั้งนี้ เพราะคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ จะมีผลผูกพันต่อรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรอื่นของรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 216 วรรคห้า แต่หากดูตามข้อกำหนด ศาลรัฐธรรมนูญที่ 50 จะระบุว่า เมื่อศาลกำหนดประเด็นการพิจารณาไว้ คำวินิจฉัยก็ต้องพิจารณาครบทุกประเด็นเช่นกัน แต่เมื่อศาลมีมติและมีคำวินิจฉัยกลางออกมากลับพบว่า มีการยึดความเห็นของตุลาการเพียงท่านเดียว ที่มีความเห็นว่า นายทะเบียนฯ ยื่นเรื่องต้องศาลรัฐธรรมนูญเกินกรอบระยะเวลา 15 วันตามที่กฎหมายกำหนดมาเป็นประเด็นหลักในคำวินิจฉัยกลาง ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง ประกอบกับเพราะเหตุใดศาลรัฐธรรมนูญจึงไม่มีการยกคำวินิจฉัยคดียุบพรรคพลังเกษตรกรมาเป็นประเด็นเปรียบเทียบในการยุบพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งในขณะนั้น ศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคพลังเกษตรกรโดยที่นายทะเบียนฯ ยังไม่ได้ทำความเห็นเช่นกัน ทำให้เป็นที่คลางแคลงใจของประชาชนเป็นอย่างมาก
เมื่อถามว่ามีการตรวจสอบข้อกฎหมายในกรณีที่จะยื่นยุบพรรคประชาธิปัตย์ใหม่ หลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญได้มีมติยกคำร้องไปแล้ว นายพิชา กล่าวว่า หากยึดหลักข้อกำหนดศาลรัฐธรรมนูญที่ 50 จะเห็นว่า ในคำวินิจฉัยกลางไม่ได้ระบุถึงข้อเท็จจริงของคดี แต่เป็นเพียงการระบุถึงขั้นตอนการพิจารณาคดีเท่านั้น ทำให้คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ยังไม่มีผลผูกพันต่อองค์กรอื่น จึงสามารถยื่นเรื่องให้พิจารณายุบพรรคประชาธิปัตย์ใหม่ได้ ส่วนทางนายทะเบียนฯ จะรับเรื่องดังกล่าวไว้พิจารณาหรือไม่ก็ถือเป็นอีกเรื่องหนึ่ง
ด้านนายราเมศ รัตนะเชวง คณะทำงานฝ่ายกฎหมายต่อสู้คดียุบพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่ ประธานชมรมกฎหมายภิวัฒน์ ร้องให้นายทะเบียนพรรคการเมืองพิจารณายุบพรรคประชาธิปัตย์ รอบสอง ว่า เป็นอีกกระบวนการหนึ่งที่ไม่ยอมรับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งสังคมทราบดีอยู่แล้วว่า ชมรมนี้ได้ทำงานควบคู่ไปกับพรรคการเมืองใด การออกมาแต่ละครั้ง ล้วนแต่มีการวางแผนการกันมาเป็นระบบ เพื่อทำลายล้างพรรคประชาธิปัตย์ให้ได้ ทั้งๆที่ผลของคำวินิจฉัยผูกพันทุกองค์กร จึงอยากแนะนำว่า ให้ชมรมนี้ให้กลับไปปรึกษา นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย ว่าน่าจะเสนอให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญในประเด็นคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญผูกพันทุกองค์กร โดยให้ยกเว้นพรรคเพื่อไทย กับพวก เพราะไม่เช่นนั้นก็จะไม่จบไม่สิ้นทั้งๆ ที่ บ้านเมืองมีการปกครองโดยระบบนิติรัฐ นายราเมศ กล่าวว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ มีครบทุกประเด็นทั้งในคำวินิจฉัยกลางและคำวินิจฉัยส่วนตน ที่บอกว่ามีแค่ประเด็นนำมาเขียนเป็นของตุลาการคนเดียว ในเรื่อง กำหนดเวลา 15 วันนั้น เป็นการกล่าวที่ไม่ได้ศึกษาให้ดี ให้ถ่องแท้ และภายในวันจันทร์ที่ 10 ม.ค.นี้ ตนจะส่งคำวินิจฉัย พร้อมกับขีดเส้นใต้ข้อความที่สำคัญไปให้ชมรมดังกล่าว และจะส่งบทความในหนังสือปกขาวที่ชมรมนี้เขียนเทียบกับผลคำวินิจฉัย เพื่อจะได้มีความรู้ให้กระจ่างชัดมากยิ่งขึ้น และจะฝากสำเนาไปให้ทีมกฎหมายพรรคเพื่อไทยด้วย
" ผมขอท้าพรรคเพื่อไทยกับพวกว่า จะให้ไปพบที่เวทีไหนก็ได้ ผมจะอธิบายให้ทุกคนเข้าใจว่า กระบวนการยื่นคำร้องเป็นอย่างไร กระบวนการสมคบกันทำพยานหลักฐานเท็จต่าง ๆ เป็นอย่างไร การกดดัน กกต. เป็นอย่างไร นายทะเบียนพรรคการเมืองยื่นคำร้องว่าอย่างไร เราต่อสู้ในประเด็นข้อกฎหมายอย่างไร ข้อเท็จจริงอย่างไร และจะอธิบายให้เห็นถึงคำวินิจฉัยของศาล ที่ได้แสดงให้เห็นว่า พรรคประชาธิปัตย์บริสุทธิ์ในทุกประเด็นที่ถูกกล่าวหา ซึ่งอยากให้รับฟังศึกษากันด้วย สติ และปัญญาอย่างแท้จริง เพราะหากไม่ใช้สติปัญญาในการไตร่ตรอง รับรองทุกเรื่องไม่มีวันจบ นักกฎหมายต้องคิดในเชิงที่ทำให้มีการภิวัฒน์จริงๆ ไม่เช่นนั้นความวิบัติก็จะเกิดขึ้นในสังคม" คณะทำงานฝ่ายกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์ กล่าว
นายราเมศ กล่าวอีกว่า ขอให้กำลังใจ และเห็นใจ กกต. และนายทะเบียนพรรคการเมือง ที่ต้องมารับภาระกับสิ่งเดิมๆ แต่ทุกคนต้องมั่นคงในหลักการของบ้านเมือง แม้ว่าที่ผ่านมาจะเจอกับกระบวนการป่าเถื่อน ที่อยู่นอกเหนือบทกฎหมายบ้านเมือง แต่ก็ผ่านมาได้ เป็นสิ่งที่น่าเห็นใจแต่ขอให้อย่าหวั่นไหวกับการกระทำที่นอกกติกาของบ้านเมือง ซึ่งคาดว่านับจากนี้ไป ก็จะมีกระบวนการกดดัน ตามมาอีกอย่างแน่นอน
ทั้งนี้ ตนอยากให้จับตาดูคดีอาญา ที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้ยื่นฟ้องนายพร้อมพงศ์ กับพวก ซึ่งจะพิสูจน์ให้เห็นถึงการแบ่งหน้าที่กันทำในสิ่งที่นอกกระบวนการยุติธรรม การข่มขู่คุกคามตุลาการ เพื่อที่จะให้มีการยุบพรรคประชาธิปัตย์ให้ได้ และน่าเห็นใจตุลาการทุกคนที่ต้องมาเจอกับการกระทำของคนชั่ว ที่สมคบกันทำในสิ่งที่อยู่นอกเหนือกติกาของบ้านเมือง อีกทั้งยังอยากฝากไปยังพรรคเพื่อไทย กับพวกหยุดการดำเนินการ เพราะทำอย่างไรก็คงจะลบล้างความบริสุทธิ์ความซื่อสัตย์ของพรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้