ASTVผู้จัดการรายวัน-ตำรวจแจ้ง 2 ข้อหา“แพรวา” ขับรถประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ขับรถโดยไม่มีใบอนุญาตขับขี่ "อำนวย"ยันไม่หนักใจคดีมีหลักฐานชัดเจน ยึดหลักสมานฉันท์ เน้นเจรจาค่าเสียหาย ขณะที่"แพรวา"อ้างอุบัติเหตุ กล่าวขอโทษ สถานพินิจปล่อยตัว คาดสามารถทำรายงานเสนอต่อศาลเยาวชนและครอบครัว ภายใน กำหนด 30 วัน
วานนี้(5 ม.ค.)เวลา 08.45 น.ที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) จากกรณี น.ส.อรชร หรือ แพรวา เทพหัสดิน ณ อยุธยา อายุ 16 ปี 6 เดือน ขับรถยนต์เก๋งฮอนด้า ซีวิค ชนท้ายรถตู้โดยสาร บนทางด่วนโทลล์เวย์ ทำให้มีผู้เสียชีวิต 9 ราย และบาดเจ็บจำนวนมาก เมื่อค่ำวันที่ 27 ธันวาคม 2553 นั้น โดย พล.ต.ต.อำนวย นิ่มมะโน รอง ผบช.น.เปิด เผยว่าผู้ต้องหาได้เดินทางมารับทราบข้อกล่าวหา เบื้องต้นจะแจ้ง 2 ข้อหา คือ ข้อหาขับรถประมาทเป็นเหตุให้ชนรถผู้อื่น ได้รับความเสียหายมีผู้ถึงแก่ความตายและได้รับบาด เจ็บสาหัส และอีกข้อหา คือ ขับรถโดยไม่มีใบอนุญาตขับขี่ ซึ่งข้อหานี้เป็นข้อหาเล็ก แต่ข้อหาหลักคือ ขับรถประมาท ซึ่งขั้นตอนก็จะรับมอบตัวและแจ้งข้อกล่าวหา เมื่อสอบ ปากคำ และพิมพ์มือแล้วก็จะส่งสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนกรุงเทพมหานคร ภายใน 24 ชั่วโมง ซึ่งเป็นไปตามกฎหมาย จากนั้นทาง ผอ.สถานพินิจฯ จะดำเนินการ ตามขั้นตอน
“คดีนี้ก็ไม่ได้หนักใจหรือกดดันอะไร พนักงานสอบสวนก็สอบไปตามหน้าที่ อย่างตรงไปตรงมา มีตนเองเป็นผู้ควบคุมดูแลอยู่ ซึ่งคดีนี้ที่ตัดสินใจแจ้งข้อหาฝ่ายเดียวเพราะหลัก ฐานชัดเจน” รอง ผบช.น.กล่าว
พล.ต.ต.อำนวย กล่าวว่า ขณะนี้หลักฐานชัดเจนในการแจ้งข้อหาฝ่ายเดียว แต่รายละเอียดในสำนวนไม่สามารถเปิดเผยได้ โดยกรณีนี้ผู้ต้องหาเป็นเยาวชนต่ำกว่า 18 ปี ทาง กฎหมายกำหนดให้ต้องสอบสวนต่อหน้า พนักงานอัยการ นักจิตวิทยา หรือนักสังคมสงเคราะห์ มีบุคคลที่เด็กร้องขอไม่ว่าจะเป็นบิดา มารดา หรือผู้ปกครอง และทนายความ หากเด็กไม่ได้จัดหามา เจ้าหน้าที่ก็ต้องจัดหา โดยร้องขอจากสภาทนายความ ส่วนเจ้าของรถฮอนด้าซีวิค ก็ต้องตามตัวมาสอบปากคำ ซึ่งอาจต้องดำเนินคดีด้วย มีโทษปรับไม่ เกิน 2,000 บาท ในข้อหายินยอมให้ผู้ไม่มีใบอนุญาตขับขี่นำรถไปใช้ในทางสาธารณะ ซึ่งพนักงานสอบสวนต้องติดตามต่อไป ได้ข่าวว่าเป็นรถเช่าซื้อ รถของบริษัท ซึ่งไม่มี ปัญหา
**ตำรวจไม่เอาผิดผู้ปกครอง
ผู้สื่อข่าวถามว่า กรณีนี้จะมีการแจ้งดำเนินคดีกับผู้ปกครองหรือไม่ ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พล.ต.ต.อำนวย กล่าวว่า คดีนี้เป็นความผิดโดยประมาท ไม่ใช่ความผิดโดยเจตนา หากเป็นความผิดอาญาทั่วไปที่ผู้ปกครอง พาลูกไปส่งหน้าผับ ไปเที่ยวผับ ยุยงส่งเสริมหรือยินยอมให้เด็กกระทำผิด แต่ในส่วนของความประมาทมันกำหนดไม่ได้ว่าจะเกิดหรือ ไม่เกิด อีกส่วนคือ ต้องสอบให้ได้ความว่ารถคันนี้เป็นของใคร ผู้ปกครองยุยงส่งเสริมมาให้ขับหรือไม่ หากชัดเจนว่าผู้ปกครองซื้อรถมาให้ขับ ตอนจะออกจากบ้านก็ถอยหลังรถ ออกไปให้ บอกว่าไปขับเลยลูก ไปชนใครก็ช่างมัน อย่างนั้นถือว่าใช่ แต่หากไม่ชัดเจนขนาดนั้น พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก ก็ต้องดูที่เจตนาด้วย เพราะเป็นความผิดอาญา หรือบอกว่า แม่หนูจะออกไปซิ่ง แม่บอกว่าไปเลยลูก ไปให้ชนะเขาก็อีกเรื่อง มันเป็นคนละกรณี เพราะกรณีนี้ถือว่าประมาท
**จูงมือ พ่อ-แม่ เข้ามอบตัว
ต่อมาเวลา 09.20 น.ผู้สื่อข่าวรายงานว่า น.ส.อรชร พร้อมด้วย พ.อ.รัฐชัย เทพหัสดิน ณ อยุธยา บิดา นางลัดดาวัลย์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา มารดา พร้อมทนายความ ลงจาก รถตู้สีขาว ที่ลานจอดรถ บริเวณโรงอาหารด้านหลัง บช.น.ก่อนเดินเข้าไปภายในห้อง ซึ่งมี พล.ต.ต.อำนวย พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ รออยู่ โดย น.ส.อรชร สวมเสื้อชุดสีดำ แว่นตาดำ ประกบด้านซ้ายด้วยบิดา ส่วนด้านขวามารดาเดินประกบ โดยทั้งหมดมีสีหน้าเรียบเฉย แต่ นางลัดดาวัลย์ มีสีหน้าค่อนข้าง เคร่งเครียด เมื่อมาถึงก่อนทางเข้าห้องประชุม บรรดาสื่อมวลชนที่ปักหลักรออยู่ ทั้งโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ และวิทยุ ประมาณ 100 คนต่างรุมถ่ายภาพ โดยไม่มีผู้ใดเอ่ยปากให้ สัมภาษณ์แต่อย่างใด เมื่อเดินเข้าห้องประชุมแล้ว ทางพนักงานสอบสวนได้ปิดห้องทันที ก่อนจะนำป้าย “พื้นที่หวงห้าม” มาวางไว้ด้านหน้า เพื่อกันบรรดาสื่อมวลชนล่วงล้ำเข้า ไปภายใน
**“แพรวา” ขอโทษมันเป็นอุบัติเหตุ
จากนั้นเวลา 11.50 น.ตำรวจกันตัว น.ส.อรชร บิดา มารดา เดินออกจากห้องประชุมปารุสกวัน 2 ท่ามกลางกองทัพสื่อมวลชนจำนวนมาก โดยต่างคนต่างพยายามเข้าให้ถึงตัว น.ส.อรชร มากที่สุด โดย น.ส.อรชร พูดสั้นๆ ว่า “หนูขอไปพูดที่สถานพินิจแล้วกันค่ะ ตอนนี้หนูขอไปก่อน เดี๋ยวไปพูดที่สถานพินิจ” เมื่อถามว่ามีอะไรจะพูดขอโทษหรือไม่ น.ส .อรชร พูดว่า “ขอโทษค่ะ หนูเสียใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น มันเป็นอุบัติเหตุ” จากนั้นได้เดินออกไปขึ้นรถหน้า บช.น.
**ตร.ยึดสมานฉันท์รอเจรจาค่าเสียหาย
หลังสอบปากคำเสร็จสิ้น พล.ต.ต.อำนวย กล่าวว่า น.ส.อรชร ให้ความร่วมมือให้รายละเอียดพอสมควร ส่วนรายละเอียดในสำนวนตนพูดตรงนี้ไม่ได้ หลังสอบปากคำก็มีการ พิมพ์มือเรียบร้อย จากนั้นนำตัวส่งสถานพินิจฯ เพราะคดีนี้ขึ้นศาลเด็กและเยาวชนกลาง เพราะ น.ส.อรชร อายุ 16 ปี 6 เดือน ส่วนจะควบคุมตัว หรือปล่อยตัวชั่วคราวก็ขึ้นอยู่ กับดุลยพินิจของสถานพินิจฯ ส่วนกรณีมีข่าวว่า น.ส.อรชร มีใบขับขี่สากล พล.ต.ต.อำนวย กล่าวว่า ยังไม่มีการนำมาแสดง
พล.ต.ต.อำนวย กล่าวว่า เรื่องการเจรจาค่าเสียหาย ตนสอบถามผู้ปกครอง ซึ่งในชั้นพนักงานสอบสวนก็สามารถจัดให้มีการเจรจาค่าเสียหายในทางแพ่งไม่ว่าเรื่องการชดใช้ค่า สินไหมทดแทน ค่าเสียหาย รวมทั้งการเยียวยาคนเจ็บ ผู้เสียชีวิต และผู้เกี่ยวข้อง ตนทราบว่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ตั้งทีมกฎหมายขึ้นมาเพื่อดูแลในส่วนนี้ด้วย ทางผู้ ปกครองของ น.ส.แพรวา ก็ประสงค์ให้ตำรวจจัดให้มีการนัดเจรจา ถ้าหากตกลงกันได้ด้วยดีอย่างสมานฉันท์ก็ดี แต่ถ้าตกลงกันไม่ได้ก็เป็นหน้าที่ของทีมงานกฎหมายที่ ทางมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ตั้งขึ้นก็ต้องไปฟ้องร้องกันทางแพ่งต่อไป
**สถานพินิจปล่อยตัวไม่ต้องประกัน
นายสุนทร เพิงมาก รองอธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กระทรวงยุติธรรม เปิดเผยว่า เมื่อเวลาประมาณเที่ยงเศษ น.ส.แพรวา พร้อมผู้ปกครองเดินทางมารายงาน ตัวกับนางทัศนาวิไล ไกรนรา ผู้อำนวยการสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนกรุงเทพมหานคร จากนั้นได้จ่ายสำนวนไปยังพนักงานคุมประพฤติเพื่อทำการสอบปากคำ และสืบเสาะข้อมูลประวัติ การศึกษา และสติปัญญา จากนั้นจึงสอบปากคำมารดา ซึ่งเป็นผู้ปกครองของเยาวชน เสร็จสิ้นในเวลา 16.30 น.จากนั้นทั้งหมดจึงเดินทางกลับ โดย สถานพินิจฯไม่มีอำนาจควบคุมตัว และไม่ต้องพิจารณาเรื่องการขอประกันตัว เนื่องจากคดีนี้พนักงานสอบสวนแจ้งให้ผู้ต้องหาเข้ามอบตัว โดยไม่มีการจับกุมตัวแต่อย่างใด
**ทำรายงานเสนอศาลภายใน 30 วัน
รองอธิบดีกรมพินิจฯ กล่าวว่า หลังสอบปากคำเสร็จ ก็ได้นัดหมายให้ผู้ต้องหามาพบนักจิตวิทยา เพื่อทดสอบและเก็บข้อมูลด้านจิตวิทยาอีกครั้ง คาดว่าจะสามารถทำรายงาน เพื่อเสนอต่อศาลเยาวชนและครอบครัว ภายในกำหนด 30 วัน
“ขั้นตอนหลังจากนี้จะรวบรวมข้อเท็จจริงส่งให้พนักงานสอบสวนเจ้าของคดี เพื่อประกอบสำนวน ให้พนักงานอัยการพิจารณาสั่งฟ้อง และเมื่อคดีถึงชั้นศาลแล้ว ก็จะเสนอ รายงานการสืบเสาะประวัติ การศึกษาและครอบครัว พร้อมเสนอความเห็นต่อศาล ซึ่งมีหลายแนวทาง อาทิ โทษว่ากล่าวตักเตือน ปล่อยตัวไปโดยวางเงื่อนไขการคุมประพฤติ หรือ เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นอบรมความประพฤติ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศาล” รองอธิบดีกรมพินิจฯกล่าว
วานนี้(5 ม.ค.)เวลา 08.45 น.ที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) จากกรณี น.ส.อรชร หรือ แพรวา เทพหัสดิน ณ อยุธยา อายุ 16 ปี 6 เดือน ขับรถยนต์เก๋งฮอนด้า ซีวิค ชนท้ายรถตู้โดยสาร บนทางด่วนโทลล์เวย์ ทำให้มีผู้เสียชีวิต 9 ราย และบาดเจ็บจำนวนมาก เมื่อค่ำวันที่ 27 ธันวาคม 2553 นั้น โดย พล.ต.ต.อำนวย นิ่มมะโน รอง ผบช.น.เปิด เผยว่าผู้ต้องหาได้เดินทางมารับทราบข้อกล่าวหา เบื้องต้นจะแจ้ง 2 ข้อหา คือ ข้อหาขับรถประมาทเป็นเหตุให้ชนรถผู้อื่น ได้รับความเสียหายมีผู้ถึงแก่ความตายและได้รับบาด เจ็บสาหัส และอีกข้อหา คือ ขับรถโดยไม่มีใบอนุญาตขับขี่ ซึ่งข้อหานี้เป็นข้อหาเล็ก แต่ข้อหาหลักคือ ขับรถประมาท ซึ่งขั้นตอนก็จะรับมอบตัวและแจ้งข้อกล่าวหา เมื่อสอบ ปากคำ และพิมพ์มือแล้วก็จะส่งสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนกรุงเทพมหานคร ภายใน 24 ชั่วโมง ซึ่งเป็นไปตามกฎหมาย จากนั้นทาง ผอ.สถานพินิจฯ จะดำเนินการ ตามขั้นตอน
“คดีนี้ก็ไม่ได้หนักใจหรือกดดันอะไร พนักงานสอบสวนก็สอบไปตามหน้าที่ อย่างตรงไปตรงมา มีตนเองเป็นผู้ควบคุมดูแลอยู่ ซึ่งคดีนี้ที่ตัดสินใจแจ้งข้อหาฝ่ายเดียวเพราะหลัก ฐานชัดเจน” รอง ผบช.น.กล่าว
พล.ต.ต.อำนวย กล่าวว่า ขณะนี้หลักฐานชัดเจนในการแจ้งข้อหาฝ่ายเดียว แต่รายละเอียดในสำนวนไม่สามารถเปิดเผยได้ โดยกรณีนี้ผู้ต้องหาเป็นเยาวชนต่ำกว่า 18 ปี ทาง กฎหมายกำหนดให้ต้องสอบสวนต่อหน้า พนักงานอัยการ นักจิตวิทยา หรือนักสังคมสงเคราะห์ มีบุคคลที่เด็กร้องขอไม่ว่าจะเป็นบิดา มารดา หรือผู้ปกครอง และทนายความ หากเด็กไม่ได้จัดหามา เจ้าหน้าที่ก็ต้องจัดหา โดยร้องขอจากสภาทนายความ ส่วนเจ้าของรถฮอนด้าซีวิค ก็ต้องตามตัวมาสอบปากคำ ซึ่งอาจต้องดำเนินคดีด้วย มีโทษปรับไม่ เกิน 2,000 บาท ในข้อหายินยอมให้ผู้ไม่มีใบอนุญาตขับขี่นำรถไปใช้ในทางสาธารณะ ซึ่งพนักงานสอบสวนต้องติดตามต่อไป ได้ข่าวว่าเป็นรถเช่าซื้อ รถของบริษัท ซึ่งไม่มี ปัญหา
**ตำรวจไม่เอาผิดผู้ปกครอง
ผู้สื่อข่าวถามว่า กรณีนี้จะมีการแจ้งดำเนินคดีกับผู้ปกครองหรือไม่ ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พล.ต.ต.อำนวย กล่าวว่า คดีนี้เป็นความผิดโดยประมาท ไม่ใช่ความผิดโดยเจตนา หากเป็นความผิดอาญาทั่วไปที่ผู้ปกครอง พาลูกไปส่งหน้าผับ ไปเที่ยวผับ ยุยงส่งเสริมหรือยินยอมให้เด็กกระทำผิด แต่ในส่วนของความประมาทมันกำหนดไม่ได้ว่าจะเกิดหรือ ไม่เกิด อีกส่วนคือ ต้องสอบให้ได้ความว่ารถคันนี้เป็นของใคร ผู้ปกครองยุยงส่งเสริมมาให้ขับหรือไม่ หากชัดเจนว่าผู้ปกครองซื้อรถมาให้ขับ ตอนจะออกจากบ้านก็ถอยหลังรถ ออกไปให้ บอกว่าไปขับเลยลูก ไปชนใครก็ช่างมัน อย่างนั้นถือว่าใช่ แต่หากไม่ชัดเจนขนาดนั้น พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก ก็ต้องดูที่เจตนาด้วย เพราะเป็นความผิดอาญา หรือบอกว่า แม่หนูจะออกไปซิ่ง แม่บอกว่าไปเลยลูก ไปให้ชนะเขาก็อีกเรื่อง มันเป็นคนละกรณี เพราะกรณีนี้ถือว่าประมาท
**จูงมือ พ่อ-แม่ เข้ามอบตัว
ต่อมาเวลา 09.20 น.ผู้สื่อข่าวรายงานว่า น.ส.อรชร พร้อมด้วย พ.อ.รัฐชัย เทพหัสดิน ณ อยุธยา บิดา นางลัดดาวัลย์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา มารดา พร้อมทนายความ ลงจาก รถตู้สีขาว ที่ลานจอดรถ บริเวณโรงอาหารด้านหลัง บช.น.ก่อนเดินเข้าไปภายในห้อง ซึ่งมี พล.ต.ต.อำนวย พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ รออยู่ โดย น.ส.อรชร สวมเสื้อชุดสีดำ แว่นตาดำ ประกบด้านซ้ายด้วยบิดา ส่วนด้านขวามารดาเดินประกบ โดยทั้งหมดมีสีหน้าเรียบเฉย แต่ นางลัดดาวัลย์ มีสีหน้าค่อนข้าง เคร่งเครียด เมื่อมาถึงก่อนทางเข้าห้องประชุม บรรดาสื่อมวลชนที่ปักหลักรออยู่ ทั้งโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ และวิทยุ ประมาณ 100 คนต่างรุมถ่ายภาพ โดยไม่มีผู้ใดเอ่ยปากให้ สัมภาษณ์แต่อย่างใด เมื่อเดินเข้าห้องประชุมแล้ว ทางพนักงานสอบสวนได้ปิดห้องทันที ก่อนจะนำป้าย “พื้นที่หวงห้าม” มาวางไว้ด้านหน้า เพื่อกันบรรดาสื่อมวลชนล่วงล้ำเข้า ไปภายใน
**“แพรวา” ขอโทษมันเป็นอุบัติเหตุ
จากนั้นเวลา 11.50 น.ตำรวจกันตัว น.ส.อรชร บิดา มารดา เดินออกจากห้องประชุมปารุสกวัน 2 ท่ามกลางกองทัพสื่อมวลชนจำนวนมาก โดยต่างคนต่างพยายามเข้าให้ถึงตัว น.ส.อรชร มากที่สุด โดย น.ส.อรชร พูดสั้นๆ ว่า “หนูขอไปพูดที่สถานพินิจแล้วกันค่ะ ตอนนี้หนูขอไปก่อน เดี๋ยวไปพูดที่สถานพินิจ” เมื่อถามว่ามีอะไรจะพูดขอโทษหรือไม่ น.ส .อรชร พูดว่า “ขอโทษค่ะ หนูเสียใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น มันเป็นอุบัติเหตุ” จากนั้นได้เดินออกไปขึ้นรถหน้า บช.น.
**ตร.ยึดสมานฉันท์รอเจรจาค่าเสียหาย
หลังสอบปากคำเสร็จสิ้น พล.ต.ต.อำนวย กล่าวว่า น.ส.อรชร ให้ความร่วมมือให้รายละเอียดพอสมควร ส่วนรายละเอียดในสำนวนตนพูดตรงนี้ไม่ได้ หลังสอบปากคำก็มีการ พิมพ์มือเรียบร้อย จากนั้นนำตัวส่งสถานพินิจฯ เพราะคดีนี้ขึ้นศาลเด็กและเยาวชนกลาง เพราะ น.ส.อรชร อายุ 16 ปี 6 เดือน ส่วนจะควบคุมตัว หรือปล่อยตัวชั่วคราวก็ขึ้นอยู่ กับดุลยพินิจของสถานพินิจฯ ส่วนกรณีมีข่าวว่า น.ส.อรชร มีใบขับขี่สากล พล.ต.ต.อำนวย กล่าวว่า ยังไม่มีการนำมาแสดง
พล.ต.ต.อำนวย กล่าวว่า เรื่องการเจรจาค่าเสียหาย ตนสอบถามผู้ปกครอง ซึ่งในชั้นพนักงานสอบสวนก็สามารถจัดให้มีการเจรจาค่าเสียหายในทางแพ่งไม่ว่าเรื่องการชดใช้ค่า สินไหมทดแทน ค่าเสียหาย รวมทั้งการเยียวยาคนเจ็บ ผู้เสียชีวิต และผู้เกี่ยวข้อง ตนทราบว่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ตั้งทีมกฎหมายขึ้นมาเพื่อดูแลในส่วนนี้ด้วย ทางผู้ ปกครองของ น.ส.แพรวา ก็ประสงค์ให้ตำรวจจัดให้มีการนัดเจรจา ถ้าหากตกลงกันได้ด้วยดีอย่างสมานฉันท์ก็ดี แต่ถ้าตกลงกันไม่ได้ก็เป็นหน้าที่ของทีมงานกฎหมายที่ ทางมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ตั้งขึ้นก็ต้องไปฟ้องร้องกันทางแพ่งต่อไป
**สถานพินิจปล่อยตัวไม่ต้องประกัน
นายสุนทร เพิงมาก รองอธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กระทรวงยุติธรรม เปิดเผยว่า เมื่อเวลาประมาณเที่ยงเศษ น.ส.แพรวา พร้อมผู้ปกครองเดินทางมารายงาน ตัวกับนางทัศนาวิไล ไกรนรา ผู้อำนวยการสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนกรุงเทพมหานคร จากนั้นได้จ่ายสำนวนไปยังพนักงานคุมประพฤติเพื่อทำการสอบปากคำ และสืบเสาะข้อมูลประวัติ การศึกษา และสติปัญญา จากนั้นจึงสอบปากคำมารดา ซึ่งเป็นผู้ปกครองของเยาวชน เสร็จสิ้นในเวลา 16.30 น.จากนั้นทั้งหมดจึงเดินทางกลับ โดย สถานพินิจฯไม่มีอำนาจควบคุมตัว และไม่ต้องพิจารณาเรื่องการขอประกันตัว เนื่องจากคดีนี้พนักงานสอบสวนแจ้งให้ผู้ต้องหาเข้ามอบตัว โดยไม่มีการจับกุมตัวแต่อย่างใด
**ทำรายงานเสนอศาลภายใน 30 วัน
รองอธิบดีกรมพินิจฯ กล่าวว่า หลังสอบปากคำเสร็จ ก็ได้นัดหมายให้ผู้ต้องหามาพบนักจิตวิทยา เพื่อทดสอบและเก็บข้อมูลด้านจิตวิทยาอีกครั้ง คาดว่าจะสามารถทำรายงาน เพื่อเสนอต่อศาลเยาวชนและครอบครัว ภายในกำหนด 30 วัน
“ขั้นตอนหลังจากนี้จะรวบรวมข้อเท็จจริงส่งให้พนักงานสอบสวนเจ้าของคดี เพื่อประกอบสำนวน ให้พนักงานอัยการพิจารณาสั่งฟ้อง และเมื่อคดีถึงชั้นศาลแล้ว ก็จะเสนอ รายงานการสืบเสาะประวัติ การศึกษาและครอบครัว พร้อมเสนอความเห็นต่อศาล ซึ่งมีหลายแนวทาง อาทิ โทษว่ากล่าวตักเตือน ปล่อยตัวไปโดยวางเงื่อนไขการคุมประพฤติ หรือ เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นอบรมความประพฤติ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศาล” รองอธิบดีกรมพินิจฯกล่าว