วานนี้(4 ม.ค.54)พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กล่าวถึง กรณีที่กลุ่มคนร้ายลอบวางระเบิดที่ อ.สุไหงปาดี จ.นราธิวาส ทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ 2 นาย ที่สวมชุดบอมบ์สูทอยู่ ต้องเสียชีวิต และมีผู้บาดเจ็บอีกจำนวนหนึ่ง ในช่วงวันที่ 1 ม.ค. ที่ผ่านมาว่า จากการตรวจสอบชุดบอมบ์สูททั่วประเทศ มีทั้งหมด 11 ชุด อยู่ที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล 2 ชุด และอยู่ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้อีก 9 ชุด ซึ่งชุดบอมบ์สูท 3-8 ใน 11 ชุดนั้น ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ยืมมาจากทหาร และอีกส่วนหนึ่งได้รับการสนับสนุนจากประเทศออสเตรเลีย
ทั้งนี้ยอมรับว่า ชุดบอมบ์สูทไม่สามารถป้องกันระเบิด ที่มีอนุภาพรุนแรง อย่างระเบิด ซีโฟร์ได้ ดังนั้นในปีงบประมาณ 2554 ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จะได้เพิ่มงบประมาณให้กับหน่วยงาน ด้านการเก็บกู้วัตถุระเบิดตามที่ร้องขอมาอีกด้วย และในปีนี้จะมีการโอนย้ายเจ้าหน้าที่ชุดเก็บกู้วัตถุระเบิด หรือ อีโอดี จำนวน 26 นาย ของทหาร มาช่วยงานอีโอดีของตำรวจ
แหล่งข่าวในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ระบุถึงการแก้ไขปัญหาเรื่องชุดบอมบ์สูท โดยการเพิ่มจำนวน หรือให้เพียงพอกับพื้นที่แต่ละแห่งว่า เป็นการแก้ไขปัญหาที่ดีระดับหนึ่งเท่านั้น แต่หากพิจารณาสภาพของการก่อเหตุของคนร้ายอย่างลึกซึ้งแล้วจะพบว่า การลอบวางระเบิดของคนร้ายตลอด7ปีที่ผ่านมานั้นมีรูปแบบใหญ่ๆอยู่3ลักษณะคือ 1.การใช้โทรศัพท์จุดชนวน 2.ใช้รีโมทเป็นตัวจุดชนวน และ3.ใช้วิทยุสื่อสาร เป็นตัวจุดชนวน นอกจากนี้ยังมีการจัดชนวนระเบิดแบบลากสายไฟ และก่อเหตุด้วยระเบิดกับดักชนิดเหยียบ ซึ่ง2ชนิดหลังไม่เกี่ยวกับอุปกรณ์ตัดสัญญาณ
ความสูญเสียจากเหตุระเบิดแต่ละครั้งคนร้ายจะใช้รูปแบบจุดชนวนด้วยมือถือ รีโมท และวิทยุสื่อสาร ดังนั้นการตัดสัญญาณโทรศัพท์บางครั้งอาจใช้ไม่ได้ผล หากคนร้ายเลือกลงมือกดชนวนระเบิดด้วยรูปแบบอื่น ดังนั้นวันนี้จึงอยากให้มีการพิจารณาสนับสนุนอุปกรณ์ในการรับมือการก่อเหตุของคนร้ายให้ครอบคลุมมากขึ้นเพื่อลดการอัตราเสี่ยงในการเกิดเหตุที่นำไปสู่ความสูญเสีย
“ชุดบอมบ์สูทก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องมีให้เพียงพอเพื่อรองรับกับสถานการณ์ ขณะเดียวกันอุปกรณ์ควบคุมการจุดชนวนระเบิดของคนร้ายก็จำเป็นอย่างยิ่งยวดอย่างมาก ทั้งที่สามารถควบคุมสัญญาณโทรศัพท์มือถือ รีโมท รวมไปถึงวิทยุสื่อสาร เพื่อไม่ให้ต้องสูญเสียบุคคลากรที่ทุ่มเทแรงกาย แรงใจเพื่อดูแลความปลอดภัยของพี่น้องประชาชนได้อีก”แหล่งข่าวกล่าว
ทั้งนี้ยอมรับว่า ชุดบอมบ์สูทไม่สามารถป้องกันระเบิด ที่มีอนุภาพรุนแรง อย่างระเบิด ซีโฟร์ได้ ดังนั้นในปีงบประมาณ 2554 ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จะได้เพิ่มงบประมาณให้กับหน่วยงาน ด้านการเก็บกู้วัตถุระเบิดตามที่ร้องขอมาอีกด้วย และในปีนี้จะมีการโอนย้ายเจ้าหน้าที่ชุดเก็บกู้วัตถุระเบิด หรือ อีโอดี จำนวน 26 นาย ของทหาร มาช่วยงานอีโอดีของตำรวจ
แหล่งข่าวในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ระบุถึงการแก้ไขปัญหาเรื่องชุดบอมบ์สูท โดยการเพิ่มจำนวน หรือให้เพียงพอกับพื้นที่แต่ละแห่งว่า เป็นการแก้ไขปัญหาที่ดีระดับหนึ่งเท่านั้น แต่หากพิจารณาสภาพของการก่อเหตุของคนร้ายอย่างลึกซึ้งแล้วจะพบว่า การลอบวางระเบิดของคนร้ายตลอด7ปีที่ผ่านมานั้นมีรูปแบบใหญ่ๆอยู่3ลักษณะคือ 1.การใช้โทรศัพท์จุดชนวน 2.ใช้รีโมทเป็นตัวจุดชนวน และ3.ใช้วิทยุสื่อสาร เป็นตัวจุดชนวน นอกจากนี้ยังมีการจัดชนวนระเบิดแบบลากสายไฟ และก่อเหตุด้วยระเบิดกับดักชนิดเหยียบ ซึ่ง2ชนิดหลังไม่เกี่ยวกับอุปกรณ์ตัดสัญญาณ
ความสูญเสียจากเหตุระเบิดแต่ละครั้งคนร้ายจะใช้รูปแบบจุดชนวนด้วยมือถือ รีโมท และวิทยุสื่อสาร ดังนั้นการตัดสัญญาณโทรศัพท์บางครั้งอาจใช้ไม่ได้ผล หากคนร้ายเลือกลงมือกดชนวนระเบิดด้วยรูปแบบอื่น ดังนั้นวันนี้จึงอยากให้มีการพิจารณาสนับสนุนอุปกรณ์ในการรับมือการก่อเหตุของคนร้ายให้ครอบคลุมมากขึ้นเพื่อลดการอัตราเสี่ยงในการเกิดเหตุที่นำไปสู่ความสูญเสีย
“ชุดบอมบ์สูทก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องมีให้เพียงพอเพื่อรองรับกับสถานการณ์ ขณะเดียวกันอุปกรณ์ควบคุมการจุดชนวนระเบิดของคนร้ายก็จำเป็นอย่างยิ่งยวดอย่างมาก ทั้งที่สามารถควบคุมสัญญาณโทรศัพท์มือถือ รีโมท รวมไปถึงวิทยุสื่อสาร เพื่อไม่ให้ต้องสูญเสียบุคคลากรที่ทุ่มเทแรงกาย แรงใจเพื่อดูแลความปลอดภัยของพี่น้องประชาชนได้อีก”แหล่งข่าวกล่าว