สวนดุสิตโพล สำรวจความคิดเห็นประชาชนในกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 1,468 คน เพื่อประเมินสถานการณ์การชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง ตั้งแต่วันที่ 12-21 มี.ค.53 พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 31.52 เห็นว่า รัฐบาลมีความอดทนและสามารถแก้ปัญหาได้ดี โดยร้อยละ 74.78 เห็นด้วยที่จะมีการเจรจา เพื่อยุติการชุมนุม ด้วยการนำความต้องการของทั้ง 2 ฝ่ายมาเจรจาตกลงกัน
อย่างไรก็ตามประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 42.44 ยังมองไม่เห็นว่า จะมีใครที่เข้ามาเป็นตัวกลางในการเจรจาได้ และ ร้อยละ 56.11 ระบุว่า ทั้งฝ่ายรัฐบาลและกลุ่มคนเสื้อแดงจะสามารถนำบทเรียนที่ได้จากการชุมนุมครั้งนี้ไปปรับใช้หากมีการชุมนุมเกิดขึ้นอีก
นายนพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน (ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน) ม.อัสสัมชัญเปิดเผยผลวิจัย เรื่องสำรวจความหวังของประชาชนต่อแนวทางสันติวิธีในการชุมนุมทางการเมืองของประชาชน กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไปใน 17 จังหวัดของประเทศ ครอบคลุมกรุงเทพฯ ปริมณฑล ภาคเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ จำนวนทั้งสิ้น 1,082 ครัวเรือน สำรวจในวันที่ 20 มี.ค.53
ผลการสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 89.3 ต้องการให้กลุ่มผู้ชุมนุม และรัฐบาลจับมือเจรจากันเพื่อหาทางออกในการแก้ไขปัญหา และส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 64.2 คิดว่าการชุมนุมทางการเมืองของกลุ่มคนเสื้อแดง แสดงออกถึงความเข้มแข็งของประชาชนตามระบอบประชาธิปไตย
นอกจากนี้ ร้อยละ 76.4 ระบุไม่เห็นด้วยกับการปฏิวัติ รัฐประหาร แต่ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 88.6 เห็นด้วยกับการจะยกวาระ“ความเป็นธรรมทางสังคม ความเป็นมาตรฐานเดียวกัน” ขึ้นเป็นวาระสำคัญในการแก้ไขปัญหาของประเทศ
ที่น่าสนใจคือ ในท่ามกลางความขัดแย้งที่รุนแรงทางการเมืองขณะนี้ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 84.5 ยังคงพบเห็นความมีน้ำใจไมตรีต่อกันในกลุ่มประชาชนที่มีฐานะแตกต่างกันและร้อยละ 80.6 ยังคงมีความหวังว่า ประเทศไทยจะมีทางแก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้วยสันติวิธี.
อย่างไรก็ตามประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 42.44 ยังมองไม่เห็นว่า จะมีใครที่เข้ามาเป็นตัวกลางในการเจรจาได้ และ ร้อยละ 56.11 ระบุว่า ทั้งฝ่ายรัฐบาลและกลุ่มคนเสื้อแดงจะสามารถนำบทเรียนที่ได้จากการชุมนุมครั้งนี้ไปปรับใช้หากมีการชุมนุมเกิดขึ้นอีก
นายนพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน (ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน) ม.อัสสัมชัญเปิดเผยผลวิจัย เรื่องสำรวจความหวังของประชาชนต่อแนวทางสันติวิธีในการชุมนุมทางการเมืองของประชาชน กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไปใน 17 จังหวัดของประเทศ ครอบคลุมกรุงเทพฯ ปริมณฑล ภาคเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ จำนวนทั้งสิ้น 1,082 ครัวเรือน สำรวจในวันที่ 20 มี.ค.53
ผลการสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 89.3 ต้องการให้กลุ่มผู้ชุมนุม และรัฐบาลจับมือเจรจากันเพื่อหาทางออกในการแก้ไขปัญหา และส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 64.2 คิดว่าการชุมนุมทางการเมืองของกลุ่มคนเสื้อแดง แสดงออกถึงความเข้มแข็งของประชาชนตามระบอบประชาธิปไตย
นอกจากนี้ ร้อยละ 76.4 ระบุไม่เห็นด้วยกับการปฏิวัติ รัฐประหาร แต่ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 88.6 เห็นด้วยกับการจะยกวาระ“ความเป็นธรรมทางสังคม ความเป็นมาตรฐานเดียวกัน” ขึ้นเป็นวาระสำคัญในการแก้ไขปัญหาของประเทศ
ที่น่าสนใจคือ ในท่ามกลางความขัดแย้งที่รุนแรงทางการเมืองขณะนี้ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 84.5 ยังคงพบเห็นความมีน้ำใจไมตรีต่อกันในกลุ่มประชาชนที่มีฐานะแตกต่างกันและร้อยละ 80.6 ยังคงมีความหวังว่า ประเทศไทยจะมีทางแก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้วยสันติวิธี.