เมื่อพูดถึง "Risk " หรือ "ความเสี่ยง" ผู้อ่านหลายท่านอาจนึกถึงความเป็นไปได้ในทางสูญเสีย ในขณะที่บางท่านอาจนึกถึงความเป็นไปได้ในการเกิดโอกาสดีๆ สำหรับดิฉันมองว่า “Risk หรือ ความเสี่ยง” สามารถเป็นไปได้ทั้งสองด้านค่ะ
"Risk หรือ ความเสี่ยง" คือ ความไม่แน่นอน ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นแล้วทำให้ผลลัพธ์แตกต่างไปจากความคาดหวังหรือเป้าหมายที่เราวางไว้ ทั้งนี้ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นนี้อาจเป็นได้ทั้งโอกาสดีๆ หรือภัยคุกคามจนทำให้เกิดความสูญเสีย
เมื่อทำความรู้จักกับ "Risk หรือ ความเสี่ยง " แล้ว ท่านผู้อ่านอาจสงสัยต่อไปว่า แล้ว " Commodity Risk" คืออะไร สำคัญอย่างไร ทำไมจึงมาเป็นหัวข้อบทความของเราในวันนี้
" Commodity Risk หรือ ความเสี่ยงของสินค้าโภคภัณฑ์ " คือ ความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ซึ่งสินค้าโภคภัณฑ์นี้มีหลากหลายประเภท อาทิ
- กลุ่มโลหะและอัญมณี เช่น ทองคำ เพชร พลอย เหล็ก เงิน ทองแดง อลูมิเนียม นิกเกิล ฯลฯ
- กลุ่มสินค้าเกษตร เช่น ยางพารา ข้าว มันสำปะหลัง ข้าวโพด ถั่วเหลือง น้ำตาล เนื้อสัตว์ ฯลฯ
- กลุ่มพลังงาน เช่น น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ และผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียมต่างๆ
ดังนั้น ผู้ที่เผชิญกับความเสี่ยงประเภท Commodity Risk นี้โดยตรง จึงเป็นกลุ่มผู้ผลิตสินค้าโภคภัณฑ์ และผู้ที่เกี่ยวข้องกับสินค้าโภคภัณฑ์ชนิดนั้นๆ เช่น เจ้าของเหมืองแร่ต่างๆ ผู้ผลิตน้ำมัน ผู้ผลิตรถยนต์ สายการบิน เกษตรกร ผู้ผลิตอาหาร ผู้ผลิตอัญมณี ร้านค้าทอง ฯลฯ ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้ล้วนได้รับผลกระทบโดยตรงจากการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่พวกเขาทำธุรกิจทั้งสิ้น โดย Commodity Risk นี้จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อรายได้ กำไรหรือขาดทุน รวมถึงอนาคตทางธุรกิจของพวกเขาเลยทีเดียว โดยเฉพาะหากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ชนิดนั้นมีความผันผวนสูง (ราคามีการเคลื่อนไหวขึ้นลงอย่างรุนแรงและรวดเร็ว ) ซึ่งความเสี่ยงประเภท Commodity Risk นี้เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิด Commodity Futures Exchange หรือตลาดซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์ล่วงหน้าทั่วโลก เพื่อให้ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับสินค้าโภคภัณฑ์เข้ามาใช้ประโยชน์จากตลาดซื้อขายล่วงหน้าล่วงหน้าในการป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของราคานั่นเอง
อ่านมาถึงตรงนี้ ท่านผู้อ่านที่ไม่ได้เป็นผู้ผลิตสินค้าโภคภัณฑ์และผู้ที่เกี่ยวข้องกับสินค้าโภคภัณฑ์ อาจคิดว่า Commodity Risk นี้คงไม่เกี่ยวข้องกับตนเอง แต่ท่านรู้หรือไม่ว่ามีคนกลุ่มหนึ่งที่ไม่ได้เกี่ยวข้องหรือเผชิญกับ Commodity Risk นี้โดยตรง แต่ก็อยากจะเข้ามามีส่วนร่วม และลองเสี่ยงกับ Commodity Risk นี้ดูบ้าง เนื่องจากพวกเขาเหล่านี้มองเห็นโอกาสในการทำกำไรจากตัว Commodity Risk ซึ่งในแวดวงตลาดลงทุน เรียกพวกเขาเหล่านี้ว่า " Speculator หรือ นัก" เก็งกำไร " นั่นเอง โดย Speculator จะใช้ความสามารถในการคาดการณ์แนวโน้มการเคลื่อนไหวของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ในตลาดล่วงหน้า โดยหากคาดการณ์ว่าราคาสินค้าชนิดใดจะเพิ่มขึ้นในอนาคต Speculator จะเข้าซื้อสินค้าชนิดนั้นเพื่อรอให้ราคาเพิ่มขึ้นแล้วจึงขายทำกำไร ในทางกลับกันหากพวกเขาคาดการณ์ว่าราคาสินค้าชนิดนั้นจะลดลงในอนาคต Speculator จะเข้าไปขายในตลาดล่วงหน้าก่อน แล้วจึงค่อยซื้อกลับเมื่อราคาสินค้าลดลง ทั้งนี้เทคนิค "ขายก่อนซื้อ" นี้ก็เป็นสเน่ห์อย่างหนึ่งของตลาดล่วงหน้า ซึ่งช่วยให้ Speculator สามารถทำกำไรได้ทั้งตลาดขาขึ้นและตลาดขาลง
อย่างไรก็ตาม Speculator เหล่านี้ก็ไม่ได้คาดการณ์ถูกต้องเสมอไป ดังนั้น พวกเขาจึงมีความเสี่ยงที่จะ “กำไรหรือขาดทุน” จากการเข้ามาหากำไรในตลาดซื้อขายล่วงหน้า แต่สำหรับคนที่อยากหากำไร แต่ใจยังกลัวความเสี่ยง ดิฉันก็มีเคล็ดลับกลยุทธ์การลงทุนในตลาดล่วงหน้า ที่ช่วยได้ทั้งลดความเสี่ยงและเพิ่มผลตอบแทน แต่จะเป็นวิธีการใดนั้น อดใจรอในสัปดาห์หน้าค่ะ
"Risk หรือ ความเสี่ยง" คือ ความไม่แน่นอน ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นแล้วทำให้ผลลัพธ์แตกต่างไปจากความคาดหวังหรือเป้าหมายที่เราวางไว้ ทั้งนี้ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นนี้อาจเป็นได้ทั้งโอกาสดีๆ หรือภัยคุกคามจนทำให้เกิดความสูญเสีย
เมื่อทำความรู้จักกับ "Risk หรือ ความเสี่ยง " แล้ว ท่านผู้อ่านอาจสงสัยต่อไปว่า แล้ว " Commodity Risk" คืออะไร สำคัญอย่างไร ทำไมจึงมาเป็นหัวข้อบทความของเราในวันนี้
" Commodity Risk หรือ ความเสี่ยงของสินค้าโภคภัณฑ์ " คือ ความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ซึ่งสินค้าโภคภัณฑ์นี้มีหลากหลายประเภท อาทิ
- กลุ่มโลหะและอัญมณี เช่น ทองคำ เพชร พลอย เหล็ก เงิน ทองแดง อลูมิเนียม นิกเกิล ฯลฯ
- กลุ่มสินค้าเกษตร เช่น ยางพารา ข้าว มันสำปะหลัง ข้าวโพด ถั่วเหลือง น้ำตาล เนื้อสัตว์ ฯลฯ
- กลุ่มพลังงาน เช่น น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ และผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียมต่างๆ
ดังนั้น ผู้ที่เผชิญกับความเสี่ยงประเภท Commodity Risk นี้โดยตรง จึงเป็นกลุ่มผู้ผลิตสินค้าโภคภัณฑ์ และผู้ที่เกี่ยวข้องกับสินค้าโภคภัณฑ์ชนิดนั้นๆ เช่น เจ้าของเหมืองแร่ต่างๆ ผู้ผลิตน้ำมัน ผู้ผลิตรถยนต์ สายการบิน เกษตรกร ผู้ผลิตอาหาร ผู้ผลิตอัญมณี ร้านค้าทอง ฯลฯ ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้ล้วนได้รับผลกระทบโดยตรงจากการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่พวกเขาทำธุรกิจทั้งสิ้น โดย Commodity Risk นี้จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อรายได้ กำไรหรือขาดทุน รวมถึงอนาคตทางธุรกิจของพวกเขาเลยทีเดียว โดยเฉพาะหากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ชนิดนั้นมีความผันผวนสูง (ราคามีการเคลื่อนไหวขึ้นลงอย่างรุนแรงและรวดเร็ว ) ซึ่งความเสี่ยงประเภท Commodity Risk นี้เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิด Commodity Futures Exchange หรือตลาดซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์ล่วงหน้าทั่วโลก เพื่อให้ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับสินค้าโภคภัณฑ์เข้ามาใช้ประโยชน์จากตลาดซื้อขายล่วงหน้าล่วงหน้าในการป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของราคานั่นเอง
อ่านมาถึงตรงนี้ ท่านผู้อ่านที่ไม่ได้เป็นผู้ผลิตสินค้าโภคภัณฑ์และผู้ที่เกี่ยวข้องกับสินค้าโภคภัณฑ์ อาจคิดว่า Commodity Risk นี้คงไม่เกี่ยวข้องกับตนเอง แต่ท่านรู้หรือไม่ว่ามีคนกลุ่มหนึ่งที่ไม่ได้เกี่ยวข้องหรือเผชิญกับ Commodity Risk นี้โดยตรง แต่ก็อยากจะเข้ามามีส่วนร่วม และลองเสี่ยงกับ Commodity Risk นี้ดูบ้าง เนื่องจากพวกเขาเหล่านี้มองเห็นโอกาสในการทำกำไรจากตัว Commodity Risk ซึ่งในแวดวงตลาดลงทุน เรียกพวกเขาเหล่านี้ว่า " Speculator หรือ นัก" เก็งกำไร " นั่นเอง โดย Speculator จะใช้ความสามารถในการคาดการณ์แนวโน้มการเคลื่อนไหวของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ในตลาดล่วงหน้า โดยหากคาดการณ์ว่าราคาสินค้าชนิดใดจะเพิ่มขึ้นในอนาคต Speculator จะเข้าซื้อสินค้าชนิดนั้นเพื่อรอให้ราคาเพิ่มขึ้นแล้วจึงขายทำกำไร ในทางกลับกันหากพวกเขาคาดการณ์ว่าราคาสินค้าชนิดนั้นจะลดลงในอนาคต Speculator จะเข้าไปขายในตลาดล่วงหน้าก่อน แล้วจึงค่อยซื้อกลับเมื่อราคาสินค้าลดลง ทั้งนี้เทคนิค "ขายก่อนซื้อ" นี้ก็เป็นสเน่ห์อย่างหนึ่งของตลาดล่วงหน้า ซึ่งช่วยให้ Speculator สามารถทำกำไรได้ทั้งตลาดขาขึ้นและตลาดขาลง
อย่างไรก็ตาม Speculator เหล่านี้ก็ไม่ได้คาดการณ์ถูกต้องเสมอไป ดังนั้น พวกเขาจึงมีความเสี่ยงที่จะ “กำไรหรือขาดทุน” จากการเข้ามาหากำไรในตลาดซื้อขายล่วงหน้า แต่สำหรับคนที่อยากหากำไร แต่ใจยังกลัวความเสี่ยง ดิฉันก็มีเคล็ดลับกลยุทธ์การลงทุนในตลาดล่วงหน้า ที่ช่วยได้ทั้งลดความเสี่ยงและเพิ่มผลตอบแทน แต่จะเป็นวิธีการใดนั้น อดใจรอในสัปดาห์หน้าค่ะ