นอกเหนือเจตนารมณ์ปลูกฝังให้ผู้เรียนมีจิตสำนึกความเป็นไทย มีระเบียบวินัย คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม และยึดมั่นการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแล้ว รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 มาตรา 80 (3) ยังระบุเจตนารมณ์ชัดแจ้งให้รัฐต้องบริหารราชการแผ่นดินโดยการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการจัดการศึกษาในทุกระดับและทุกรูปแบบให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมด้วย เพราะทั้งสองประเด็นกำลังเผชิญวิกฤตอย่างใหญ่หลวง
ถึงแม้นว่าทั้งสองประเด็นจะน่าวิตกกังวลอยู่มากหากพิเคราะห์ปรากฏการณ์ปัจจุบันอย่างจริงจัง หากทว่าท้ายสุดแล้วประเด็นหลังก็น่ากังวลกว่ามากในห้วงทศวรรษหน้า เพราะขณะประเทศไทยก้าวสู่สังคมสูงอายุอย่างรวดเร็วจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรจนสัดส่วนผู้สูงอายุในปัจจุบันทบทวีขึ้นถึง 7.4 ล้านคนในปี 2551 และจะทะยานถึง 12.3 ล้านคนในปี 2563 ความเหนียวแน่นในระบอบการปกครอง และคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมที่ต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นก็ยังคงอยู่
เนื่องด้วยผู้สูงอายุที่จะเพิ่มสัดส่วนสูงขึ้นมากในทศวรรษหน้านั้นปัจจุบันคือผู้ใหญ่ที่หล่อหลอมคืนวันด้วยความถูกต้องของครรลองคลองธรรมและการเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ต่างจากเยาวชนหนุ่มสาวของวันนี้ที่กำลังลี้ห่างจากกรอบคิดประโยชน์ส่วนรวมเหนือประโยชน์ส่วนตนเพราะถูกหล่อหลอมเลี้ยงดูด้วยแนวคิดทุนนิยมสุดโต่งจนมองไม่เห็นความไม่เป็นธรรมของการกอบโกยโดยใช้การศึกษาที่สูงกว่ามาเป็นเครื่องมือ ซึ่งถึงที่สุดแล้วผู้คนที่ถูกเอารัดเอาเปรียบก็คือผู้สูงอายุที่ส่วนมากขาดการศึกษาหรือมีการศึกษาแค่ประถมศึกษา และเป็นแรงงานนอกระบบที่ไร้สิ้นสวัสดิการรองรับชีวิตชรา
ภารกิจเร่งด่วนของรัฐบาลจึงเป็นการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญในส่วนแนวนโยบายด้านศาสนา สังคม การสาธารณสุข การศึกษา และวัฒนธรรม ที่ผูกพันอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการจัดการศึกษาในทุกระดับและทุกรูปแบบให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมของสังคมสูงอายุ (Aging society) เพื่อจะขจัดความยากจนข้นแค้นในหมู่ผู้สูงอายุที่มีสัดส่วนคนจนสูงสุดเมื่อเทียบกับประชากรวัยอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มแรงงานผู้สูงอายุนอกระบบ 2.55 ล้านคนที่ขาดโอกาสทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมอันเนื่องมาจากขาดการศึกษาเป็นสำคัญ
ด้วยเหตุปัจจัยนี้ ภาครัฐจึงต้องส่งเสริมการเรียนรู้โดยการดำเนินการจัดการศึกษาสำหรับผู้สูงอายุให้สอดคล้องกับภารกิจหลักและอำนาจหน้าที่ของแต่ละหน่วยงานทั้งการจัดบริการข้อมูลข่าวสาร การจัดบริการการศึกษาอย่างต่อเนื่องครอบคลุมทั้งในและนอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ในขณะเดียวกันก็ต้องส่งเสริมให้หน่วยงานสถานศึกษามีส่วนร่วมจัดกิจกรรมเพื่อผู้สูงอายุ วิจัยเพิ่มพูนองค์ความรู้ผู้สูงอายุ พร้อมๆ กับสนับสนุนการจัดศูนย์การเรียนรู้ในชุมชนแก่ผู้สูงอายุด้วย
รวมถึงต้องเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุสามารถเข้ารับการศึกษาอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาอาชีพและทักษะชีวิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน โดยเน้นหนักที่การฝึกทักษะอาชีพของผู้สูงวัยให้มีความรู้ ความชำนาญ และความสามารถในนำเทคโนโลยีมาพัฒนาอาชีพในรูปของหลักสูตรอาชีพระยะสั้น เช่น นวดแผนโบราณ ปลูกผักปลอดสารพิษ และแปรรูปอาหาร
ดังปี 2551 ที่มีผู้สูงอายุเข้ารับการศึกษาตามอัธยาศัยในหลักสูตรการศึกษาอาชีพ (ระยะสั้น) เพิ่มขึ้นถึง 148,941 คน โดยเข้ารับการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชนสูงสุดร้อยละ 47.7 รองลงมาเป็นการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต ร้อยละ 33.1 และการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ ร้อยละ 19.2 โดยระหว่างนั้นก็มีการส่งเสริมการศึกษาขั้นพื้นฐานตั้งแต่ ป. 6 ถึง ม. 6 แก่ผู้สูงอายุร่วมด้วย เพื่อเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจและสังคมที่กว้างขวางขึ้น
ยิ่งกว่านั้น ผู้สูงอายุไทยจำนวนหนึ่งยังเพียรสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจและสังคมด้วยตนเองโดยการเรียนขั้นพื้นฐานด้วย ดังปีเดียวกันนั้นที่มีผู้สูงอายุเข้ารับการศึกษานอกระบบขั้นพื้นฐานระดับประถมศึกษาถึง 13,501 คน เพิ่มจากปี 2550 ที่มีแค่ 1,119 คน โดยอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือสูงสุด รองลงมาคือภาคเหนือ กลาง ใต้ และตะวันออก ตลอดจนมีผู้สูงอายุเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษาเพิ่มขึ้นด้วยเป็น 2,950 คน โดยเป็นระดับปริญญาตรีสูงสุดทั้งในมหาวิทยาลัยรัฐและเอกชน
ปรากฏการณ์ด้านการศึกษาในหมู่ผู้สูงอายุที่เกิดขึ้นจึงฉายชัดถึงสำนวน ‘ไม่มีใครแก่เกินเรียน’ เพราะแม้แต่สังคมไทยที่คนอ่านหนังสือแค่ปีละไม่กี่บรรทัด ผู้สูงอายุที่ถูกสังคมประทับตราว่าแก่เกินวัยจะเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้แล้วนั้นกลับพยายามขวนขวายหาความรู้ทั้งทางพื้นฐานและทักษะอาชีพเพิ่มเติมเพื่อจะสร้างชีวิตบั้นปลายที่อยู่ได้อย่างมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เพราะพึ่งพิงตนเองทางเศรษฐกิจสังคมได้ จนตกเป็นภาระเดือดร้อนลูกหลานหรือสังคมต้องดูแลเลี้ยงดูจวบจนสิ้นชีวิต
เมื่อสังคมกลับมาตระหนักถึงความสามารถยืนหยัดทางเศรษฐกิจได้ด้วยตนเองของผู้สูงวัย การเกื้อกูลกันระหว่างรุ่นสู่รุ่นผ่านมาตรการกฎหมาย กลไกสังคม และเครื่องมือวัฒนธรรมที่เคยเสื่อมสูญไปก็หวนจะกลับมาด้วยความยินยอมพร้อมใจของสังคมมากขึ้น ยิ่งได้มาตรการส่งต่อข้อมูลของกระทรวงศึกษาธิการผ่าน 8 ภารกิจหลักสำหรับผู้สูงวัยทั้ง 1) เน้นให้ผู้สูงอายุที่มีภูมิปัญญาเป็นผู้ถ่ายทอดการเรียนรู้ และร่วมจัดกิจกรรมในฐานะธนาคารสมอง 2) จัดโครงการ/กิจกรรมสร้างการเรียนรู้ด้านผู้สูงอายุในกลุ่มนักเรียนอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ชั่วโมง เช่น เยี่ยมเยือนผู้สูงวัยที่อยู่คนเดียว
3) ปรับการดำเนินงานเข้าถึงกลุ่มผู้สูงอายุทั้งที่รวมและยังไม่รวมกลุ่มเป็นชมรมผู้สูงอายุโดยเชื่อมโยงกิจกรรมเข้าหากัน 4) สร้างช่องทางให้ผู้สูงวัยได้บริโภคข้อมูล/สารสนเทศด้านการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในลักษณะภูมิปัญญาของชุมชนและสังคมที่เรียนรู้ได้ต่อเนื่องตลอดชีวิต 5) จัดการศึกษาที่ยืดหยุ่นตามความต้องการของผู้สูงอายุ 6) เน้นการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุกับชุมชน 7) นำเทคโนโลยีไปใช้จัดการศึกษา และ 8) จัดการศึกษาร่วมกับเครือข่ายทุกภาคส่วน
การศึกษาที่บูรณาการความต้องการและความขาดแคลนของผู้สูงอายุเข้ากับเจตนารมณ์ดีงามของรัฐธรรมนูญในส่วนการบริหารราชการแผ่นดินด้านการศึกษาที่ปรารถนาเห็นการศึกษาในทุกระดับและทุกรูปแบบที่สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมเช่นนี้ ไม่เพียงจะนำมาซึ่งปัจจัย 4 ที่ดีขึ้น หากยังเพิ่มอำนาจต่อรองเจรจาให้กับแรงงานผู้สูงอายุ โดยเฉพาะแรงงานผู้สูงอายุนอกระบบที่เดิมไร้สิทธิเสียงทางเศรษฐกิจสังคมให้ได้รับสวัสดิการสุขภาพ และหลักประกันการงาน
มากกว่านั้นการศึกษาทั้งขั้นพื้นฐานและเฉพาะทางเพื่อพัฒนาสังคม ชุมชน เพื่อพัฒนาทักษะชีวิต หรือเพื่อพัฒนาอาชีพ ที่ทวีขึ้นในหมู่แรงงานผู้สูงอายุนอกระบบจะทำให้พวกเขาที่เคยถูกจัดเป็นกลุ่มคนชายขอบสังคมรู้ทันการถูกชักจูงด้วยผลประโยชน์เทียม มั่นใจในความรู้ที่มีจนกล้าหาญที่จะเรียกร้องปกป้องสิทธิเหมือนดังคนไทยทั่วไป โดยเฉพาะสิทธิด้านการงานที่ต้องไม่ถูกเลือกปฏิบัติ
กระทั่งท้ายสุดอาจทำให้แรงงานผู้สูงอายุที่เคยต่อสู้อย่างโดดเดี่ยวโดยรัฐบาลและภาคประชาสังคมหลงลืมละทิ้งมานานเนิ่นกลับมาได้รับสวัสดิการ สิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะอย่างสมศักดิ์ศรี และความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐ โดยการต่อสู้เรียกร้องของพวกเขาเองผ่านความรู้ที่ได้จากการศึกษาที่ทำให้รู้เท่าทันนโยบายรัฐ การเอารัดเอาเปรียบของนายจ้าง การใช้ช่องทางทางกฎหมายผสานเข้ากับความรู้ภูมิปัญญาที่มีมาเป็นเครื่องมือหรือกลไกในการต่อสู้เรียกร้องปกป้องสิทธิ
การศึกษาจึงเป็นหนึ่งในเครื่องมือสร้างโอกาสที่เท่าเทียมได้ด้วยการกรุยทางสร้างความเป็นธรรมขึ้นในสังคมไทยที่ความเหลื่อมล้ำต่ำสูงทางเศรษฐกิจและสังคมก่อตัวจากระดับการศึกษาภายนอกที่ต่างกันมากกว่าจะมาจากภายในที่เป็นเนื้อแท้ของผู้คน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วแรงงานผู้สูงอายุนอกระบบจะร่ำรวยความอดทน อดออม และขยันหมั่นเพียรกว่ามาก หากสุดท้ายก็ยังยากจนข้นแค้นชั่วนาตาปีเพราะไม่มีการศึกษาเป็นใบเบิกทางการงาน
มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) www.thainhf.org
ถึงแม้นว่าทั้งสองประเด็นจะน่าวิตกกังวลอยู่มากหากพิเคราะห์ปรากฏการณ์ปัจจุบันอย่างจริงจัง หากทว่าท้ายสุดแล้วประเด็นหลังก็น่ากังวลกว่ามากในห้วงทศวรรษหน้า เพราะขณะประเทศไทยก้าวสู่สังคมสูงอายุอย่างรวดเร็วจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรจนสัดส่วนผู้สูงอายุในปัจจุบันทบทวีขึ้นถึง 7.4 ล้านคนในปี 2551 และจะทะยานถึง 12.3 ล้านคนในปี 2563 ความเหนียวแน่นในระบอบการปกครอง และคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมที่ต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นก็ยังคงอยู่
เนื่องด้วยผู้สูงอายุที่จะเพิ่มสัดส่วนสูงขึ้นมากในทศวรรษหน้านั้นปัจจุบันคือผู้ใหญ่ที่หล่อหลอมคืนวันด้วยความถูกต้องของครรลองคลองธรรมและการเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ต่างจากเยาวชนหนุ่มสาวของวันนี้ที่กำลังลี้ห่างจากกรอบคิดประโยชน์ส่วนรวมเหนือประโยชน์ส่วนตนเพราะถูกหล่อหลอมเลี้ยงดูด้วยแนวคิดทุนนิยมสุดโต่งจนมองไม่เห็นความไม่เป็นธรรมของการกอบโกยโดยใช้การศึกษาที่สูงกว่ามาเป็นเครื่องมือ ซึ่งถึงที่สุดแล้วผู้คนที่ถูกเอารัดเอาเปรียบก็คือผู้สูงอายุที่ส่วนมากขาดการศึกษาหรือมีการศึกษาแค่ประถมศึกษา และเป็นแรงงานนอกระบบที่ไร้สิ้นสวัสดิการรองรับชีวิตชรา
ภารกิจเร่งด่วนของรัฐบาลจึงเป็นการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญในส่วนแนวนโยบายด้านศาสนา สังคม การสาธารณสุข การศึกษา และวัฒนธรรม ที่ผูกพันอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการจัดการศึกษาในทุกระดับและทุกรูปแบบให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมของสังคมสูงอายุ (Aging society) เพื่อจะขจัดความยากจนข้นแค้นในหมู่ผู้สูงอายุที่มีสัดส่วนคนจนสูงสุดเมื่อเทียบกับประชากรวัยอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มแรงงานผู้สูงอายุนอกระบบ 2.55 ล้านคนที่ขาดโอกาสทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมอันเนื่องมาจากขาดการศึกษาเป็นสำคัญ
ด้วยเหตุปัจจัยนี้ ภาครัฐจึงต้องส่งเสริมการเรียนรู้โดยการดำเนินการจัดการศึกษาสำหรับผู้สูงอายุให้สอดคล้องกับภารกิจหลักและอำนาจหน้าที่ของแต่ละหน่วยงานทั้งการจัดบริการข้อมูลข่าวสาร การจัดบริการการศึกษาอย่างต่อเนื่องครอบคลุมทั้งในและนอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ในขณะเดียวกันก็ต้องส่งเสริมให้หน่วยงานสถานศึกษามีส่วนร่วมจัดกิจกรรมเพื่อผู้สูงอายุ วิจัยเพิ่มพูนองค์ความรู้ผู้สูงอายุ พร้อมๆ กับสนับสนุนการจัดศูนย์การเรียนรู้ในชุมชนแก่ผู้สูงอายุด้วย
รวมถึงต้องเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุสามารถเข้ารับการศึกษาอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาอาชีพและทักษะชีวิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน โดยเน้นหนักที่การฝึกทักษะอาชีพของผู้สูงวัยให้มีความรู้ ความชำนาญ และความสามารถในนำเทคโนโลยีมาพัฒนาอาชีพในรูปของหลักสูตรอาชีพระยะสั้น เช่น นวดแผนโบราณ ปลูกผักปลอดสารพิษ และแปรรูปอาหาร
ดังปี 2551 ที่มีผู้สูงอายุเข้ารับการศึกษาตามอัธยาศัยในหลักสูตรการศึกษาอาชีพ (ระยะสั้น) เพิ่มขึ้นถึง 148,941 คน โดยเข้ารับการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชนสูงสุดร้อยละ 47.7 รองลงมาเป็นการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต ร้อยละ 33.1 และการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ ร้อยละ 19.2 โดยระหว่างนั้นก็มีการส่งเสริมการศึกษาขั้นพื้นฐานตั้งแต่ ป. 6 ถึง ม. 6 แก่ผู้สูงอายุร่วมด้วย เพื่อเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจและสังคมที่กว้างขวางขึ้น
ยิ่งกว่านั้น ผู้สูงอายุไทยจำนวนหนึ่งยังเพียรสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจและสังคมด้วยตนเองโดยการเรียนขั้นพื้นฐานด้วย ดังปีเดียวกันนั้นที่มีผู้สูงอายุเข้ารับการศึกษานอกระบบขั้นพื้นฐานระดับประถมศึกษาถึง 13,501 คน เพิ่มจากปี 2550 ที่มีแค่ 1,119 คน โดยอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือสูงสุด รองลงมาคือภาคเหนือ กลาง ใต้ และตะวันออก ตลอดจนมีผู้สูงอายุเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษาเพิ่มขึ้นด้วยเป็น 2,950 คน โดยเป็นระดับปริญญาตรีสูงสุดทั้งในมหาวิทยาลัยรัฐและเอกชน
ปรากฏการณ์ด้านการศึกษาในหมู่ผู้สูงอายุที่เกิดขึ้นจึงฉายชัดถึงสำนวน ‘ไม่มีใครแก่เกินเรียน’ เพราะแม้แต่สังคมไทยที่คนอ่านหนังสือแค่ปีละไม่กี่บรรทัด ผู้สูงอายุที่ถูกสังคมประทับตราว่าแก่เกินวัยจะเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้แล้วนั้นกลับพยายามขวนขวายหาความรู้ทั้งทางพื้นฐานและทักษะอาชีพเพิ่มเติมเพื่อจะสร้างชีวิตบั้นปลายที่อยู่ได้อย่างมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เพราะพึ่งพิงตนเองทางเศรษฐกิจสังคมได้ จนตกเป็นภาระเดือดร้อนลูกหลานหรือสังคมต้องดูแลเลี้ยงดูจวบจนสิ้นชีวิต
เมื่อสังคมกลับมาตระหนักถึงความสามารถยืนหยัดทางเศรษฐกิจได้ด้วยตนเองของผู้สูงวัย การเกื้อกูลกันระหว่างรุ่นสู่รุ่นผ่านมาตรการกฎหมาย กลไกสังคม และเครื่องมือวัฒนธรรมที่เคยเสื่อมสูญไปก็หวนจะกลับมาด้วยความยินยอมพร้อมใจของสังคมมากขึ้น ยิ่งได้มาตรการส่งต่อข้อมูลของกระทรวงศึกษาธิการผ่าน 8 ภารกิจหลักสำหรับผู้สูงวัยทั้ง 1) เน้นให้ผู้สูงอายุที่มีภูมิปัญญาเป็นผู้ถ่ายทอดการเรียนรู้ และร่วมจัดกิจกรรมในฐานะธนาคารสมอง 2) จัดโครงการ/กิจกรรมสร้างการเรียนรู้ด้านผู้สูงอายุในกลุ่มนักเรียนอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ชั่วโมง เช่น เยี่ยมเยือนผู้สูงวัยที่อยู่คนเดียว
3) ปรับการดำเนินงานเข้าถึงกลุ่มผู้สูงอายุทั้งที่รวมและยังไม่รวมกลุ่มเป็นชมรมผู้สูงอายุโดยเชื่อมโยงกิจกรรมเข้าหากัน 4) สร้างช่องทางให้ผู้สูงวัยได้บริโภคข้อมูล/สารสนเทศด้านการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในลักษณะภูมิปัญญาของชุมชนและสังคมที่เรียนรู้ได้ต่อเนื่องตลอดชีวิต 5) จัดการศึกษาที่ยืดหยุ่นตามความต้องการของผู้สูงอายุ 6) เน้นการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุกับชุมชน 7) นำเทคโนโลยีไปใช้จัดการศึกษา และ 8) จัดการศึกษาร่วมกับเครือข่ายทุกภาคส่วน
การศึกษาที่บูรณาการความต้องการและความขาดแคลนของผู้สูงอายุเข้ากับเจตนารมณ์ดีงามของรัฐธรรมนูญในส่วนการบริหารราชการแผ่นดินด้านการศึกษาที่ปรารถนาเห็นการศึกษาในทุกระดับและทุกรูปแบบที่สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมเช่นนี้ ไม่เพียงจะนำมาซึ่งปัจจัย 4 ที่ดีขึ้น หากยังเพิ่มอำนาจต่อรองเจรจาให้กับแรงงานผู้สูงอายุ โดยเฉพาะแรงงานผู้สูงอายุนอกระบบที่เดิมไร้สิทธิเสียงทางเศรษฐกิจสังคมให้ได้รับสวัสดิการสุขภาพ และหลักประกันการงาน
มากกว่านั้นการศึกษาทั้งขั้นพื้นฐานและเฉพาะทางเพื่อพัฒนาสังคม ชุมชน เพื่อพัฒนาทักษะชีวิต หรือเพื่อพัฒนาอาชีพ ที่ทวีขึ้นในหมู่แรงงานผู้สูงอายุนอกระบบจะทำให้พวกเขาที่เคยถูกจัดเป็นกลุ่มคนชายขอบสังคมรู้ทันการถูกชักจูงด้วยผลประโยชน์เทียม มั่นใจในความรู้ที่มีจนกล้าหาญที่จะเรียกร้องปกป้องสิทธิเหมือนดังคนไทยทั่วไป โดยเฉพาะสิทธิด้านการงานที่ต้องไม่ถูกเลือกปฏิบัติ
กระทั่งท้ายสุดอาจทำให้แรงงานผู้สูงอายุที่เคยต่อสู้อย่างโดดเดี่ยวโดยรัฐบาลและภาคประชาสังคมหลงลืมละทิ้งมานานเนิ่นกลับมาได้รับสวัสดิการ สิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะอย่างสมศักดิ์ศรี และความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐ โดยการต่อสู้เรียกร้องของพวกเขาเองผ่านความรู้ที่ได้จากการศึกษาที่ทำให้รู้เท่าทันนโยบายรัฐ การเอารัดเอาเปรียบของนายจ้าง การใช้ช่องทางทางกฎหมายผสานเข้ากับความรู้ภูมิปัญญาที่มีมาเป็นเครื่องมือหรือกลไกในการต่อสู้เรียกร้องปกป้องสิทธิ
การศึกษาจึงเป็นหนึ่งในเครื่องมือสร้างโอกาสที่เท่าเทียมได้ด้วยการกรุยทางสร้างความเป็นธรรมขึ้นในสังคมไทยที่ความเหลื่อมล้ำต่ำสูงทางเศรษฐกิจและสังคมก่อตัวจากระดับการศึกษาภายนอกที่ต่างกันมากกว่าจะมาจากภายในที่เป็นเนื้อแท้ของผู้คน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วแรงงานผู้สูงอายุนอกระบบจะร่ำรวยความอดทน อดออม และขยันหมั่นเพียรกว่ามาก หากสุดท้ายก็ยังยากจนข้นแค้นชั่วนาตาปีเพราะไม่มีการศึกษาเป็นใบเบิกทางการงาน
มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) www.thainhf.org