นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์” เมื่อเช้าวานนี้ (28 ก.พ.) ถึงเรื่องการทุจริตคอรัปชั่น ด้วยการซื้อขายตำแหน่งราชการว่า สัปดาห์ที่ผ่านมามีเรื่องที่เกี่ยวข้องกับปัญหาการทุจริตที่เป็นข่าว ก็ขอเรียนว่าเรื่องที่เคยเป็นข่าวเกี่ยวกับเรื่องของการมีการซื้อขายตำแหน่งหรือไม่ เรื่องของโรงเรียนนายอำเภอ ไปจนถึงการจัดซื้อจัดจ้าง เช่น โครงการคอมพิวเตอร์ ทุกโครงการ ขอยืนยันว่า ขณะนี้รัฐบาลมีการดำเนินการ หรือองค์กรอิสระมีการดำเนินการในการสอบสวนอยู่
นอกจากนั้นได้มีการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนในเรื่องของนโยบายการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาคราชการ (ป.ป.ท.) และได้มีการกำหนดยุทธศาสตร์และมาตรการออกมา ไม่ว่าจะเป็นการร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ในการรณรงค์เรื่องค่านิยมการต่อต้านการทุจริต การเร่งที่จะมีมาตรการเพิ่มเติมในเรื่องของการที่จะคุ้มครองผู้ที่เป็นพยาน หรือให้เบาะแสให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตเพื่อเสริมกลไกการร้องเรียน การสอบสวน ไปจนถึงการสร้างเครือข่ายในการที่จะช่วยกันรณรงค์ และช่วยกันสอดส่องให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการทุจริต ที่เราจะไปเชื่อมโยงกับอาสาพิทักษ์ยุติธรรม ที่กระทรวงยุติธรรมได้ดำเนินการอยู่ ไปจนถึงได้สั่งการให้มีการนำเอากรณีการทุจริตมาศึกษาให้เห็นชัดเจนว่า รูปแบบการทุจริตในแต่ละรูปแบบนั้น จะมีวิธีการแก้ไขอย่างไร เช่น กรณีที่มีการเรียกรับสินบน มีการรีดไถจากประชาชน ก็ให้หน่วยงานนั้นๆ เสนอแนวทางในการปรับปรุงระบบ ระเบียบ ของการบริหารต่างๆ เพื่อไม่ให้เป็นช่องว่างสำหรับเจ้าหน้าที่ หรือกรณีของการจัดซื้อจัดจ้างก็ให้ไปดูตั้งแต่กระบวนการของการกำหนดราคากลาง เงื่อนไขในการประมูลและกระบวนการประมูล ไปจนถึงความเป็นไปได้ในการที่มีการสมยอมกันในการเสนอราคา เพื่อเสนอมาตรการมาป้องกันให้ได้ถูกจุด
นอกจากนั้นการอำนวยความสะดวกให้กับภาคธุรกิจผ่านศูนย์บริการจุดเดียว ที่เราเรียกว่า OSOS : One Start One Stop ที่อาคารจามจุรีสแควร์ ก็เป็นอีกมาตรการหนึ่งที่เราคิดว่าจะช่วยลดปัญหาของการทุจริตที่เกี่ยวข้องกับขั้นตอนการอนุญาตต่าง ๆ ให้ความมั่นใจกับประชาชนว่าปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นนั้น เป็นปัญหาที่ผมและรัฐบาลนี้ให้ความสำคัญและจะดำเนินมาตรการต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาเช่นนี้
**จี้มาร์คตั้งกก.สอบทุจริตในมท.
ด้านนายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย แถลงถึงกรณี สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ (ป.ป.ท.) รายงานการทุจริตคอร์รัปชันภาครัฐ ตั้งแต่ปี51- 52 ว่ามีแนวโน้มการทุจริตมากขึ้น รวมทั้งกรณีที่สำนักงานของเพิร์ค ซึ่งเป็นองค์กรระหว่างประเทศ รายงานว่า ปี 52 ประเทศไทยมีการทุจริตเป็นอันดับ 2 ของเอเชีย ว่า สะท้อนให้เห็นความล้มเหลวของรัฐบาลในการปราบปรามการทุจริต รัฐบาลมีแต่สร้างหนี้มหาศาล แต่ผลาญด้วยการโกง
ทั้งนี้การตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์ปราบโกง และออก 6 มาตรการในการคุมการทุจริตนั้น เป็นเพียงการสร้างภาพรายวัน ไม่กล้าดำเนินการอย่างจริงจัง เช่น กรณีการซื้อขายตำแหน่งในกระทรวงมหาดไทย การทุจริตสอบเข้าโรงเรียนนายอำเภอ การประมูลจัดซื้อคอมพิวเตอร์ของกรมการปกครอง การจัดซื้อเครื่องตรวจสารเสพติด อัลฟ่า 6 รวมถึงการทุจริตเกี่บวกับงบภัยพิบัติ แสดงให้เห็นว่า กระทรวงมหาดไทยยุค นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล เป็น รมว.มหาดไทย และ นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ เป็นรมช.มหาดไทย นั้น เต็มไปด้วยการทุจริตคอร์รัปชัน
ดังนั้น ขอเรียกร้องให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการทุตจริตในกระทรวงมหาดไทย เพื่อให้เกิดความโปร่งใสโดยไม่เลือกปฏิบัติ ใช้เงินภาษีของประชาชนให้คุ้มค่าเพื่อพัฒนาประเทศและรักษาไว้ซึ่งระบบธรรมาภิบาล เพื่อไม่ให้ข้าราชการประจำถูกแทรกแซงและกลั่นแกล้ง
นอกจากนั้นได้มีการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนในเรื่องของนโยบายการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาคราชการ (ป.ป.ท.) และได้มีการกำหนดยุทธศาสตร์และมาตรการออกมา ไม่ว่าจะเป็นการร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ในการรณรงค์เรื่องค่านิยมการต่อต้านการทุจริต การเร่งที่จะมีมาตรการเพิ่มเติมในเรื่องของการที่จะคุ้มครองผู้ที่เป็นพยาน หรือให้เบาะแสให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตเพื่อเสริมกลไกการร้องเรียน การสอบสวน ไปจนถึงการสร้างเครือข่ายในการที่จะช่วยกันรณรงค์ และช่วยกันสอดส่องให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการทุจริต ที่เราจะไปเชื่อมโยงกับอาสาพิทักษ์ยุติธรรม ที่กระทรวงยุติธรรมได้ดำเนินการอยู่ ไปจนถึงได้สั่งการให้มีการนำเอากรณีการทุจริตมาศึกษาให้เห็นชัดเจนว่า รูปแบบการทุจริตในแต่ละรูปแบบนั้น จะมีวิธีการแก้ไขอย่างไร เช่น กรณีที่มีการเรียกรับสินบน มีการรีดไถจากประชาชน ก็ให้หน่วยงานนั้นๆ เสนอแนวทางในการปรับปรุงระบบ ระเบียบ ของการบริหารต่างๆ เพื่อไม่ให้เป็นช่องว่างสำหรับเจ้าหน้าที่ หรือกรณีของการจัดซื้อจัดจ้างก็ให้ไปดูตั้งแต่กระบวนการของการกำหนดราคากลาง เงื่อนไขในการประมูลและกระบวนการประมูล ไปจนถึงความเป็นไปได้ในการที่มีการสมยอมกันในการเสนอราคา เพื่อเสนอมาตรการมาป้องกันให้ได้ถูกจุด
นอกจากนั้นการอำนวยความสะดวกให้กับภาคธุรกิจผ่านศูนย์บริการจุดเดียว ที่เราเรียกว่า OSOS : One Start One Stop ที่อาคารจามจุรีสแควร์ ก็เป็นอีกมาตรการหนึ่งที่เราคิดว่าจะช่วยลดปัญหาของการทุจริตที่เกี่ยวข้องกับขั้นตอนการอนุญาตต่าง ๆ ให้ความมั่นใจกับประชาชนว่าปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นนั้น เป็นปัญหาที่ผมและรัฐบาลนี้ให้ความสำคัญและจะดำเนินมาตรการต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาเช่นนี้
**จี้มาร์คตั้งกก.สอบทุจริตในมท.
ด้านนายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย แถลงถึงกรณี สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ (ป.ป.ท.) รายงานการทุจริตคอร์รัปชันภาครัฐ ตั้งแต่ปี51- 52 ว่ามีแนวโน้มการทุจริตมากขึ้น รวมทั้งกรณีที่สำนักงานของเพิร์ค ซึ่งเป็นองค์กรระหว่างประเทศ รายงานว่า ปี 52 ประเทศไทยมีการทุจริตเป็นอันดับ 2 ของเอเชีย ว่า สะท้อนให้เห็นความล้มเหลวของรัฐบาลในการปราบปรามการทุจริต รัฐบาลมีแต่สร้างหนี้มหาศาล แต่ผลาญด้วยการโกง
ทั้งนี้การตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์ปราบโกง และออก 6 มาตรการในการคุมการทุจริตนั้น เป็นเพียงการสร้างภาพรายวัน ไม่กล้าดำเนินการอย่างจริงจัง เช่น กรณีการซื้อขายตำแหน่งในกระทรวงมหาดไทย การทุจริตสอบเข้าโรงเรียนนายอำเภอ การประมูลจัดซื้อคอมพิวเตอร์ของกรมการปกครอง การจัดซื้อเครื่องตรวจสารเสพติด อัลฟ่า 6 รวมถึงการทุจริตเกี่บวกับงบภัยพิบัติ แสดงให้เห็นว่า กระทรวงมหาดไทยยุค นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล เป็น รมว.มหาดไทย และ นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ เป็นรมช.มหาดไทย นั้น เต็มไปด้วยการทุจริตคอร์รัปชัน
ดังนั้น ขอเรียกร้องให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการทุตจริตในกระทรวงมหาดไทย เพื่อให้เกิดความโปร่งใสโดยไม่เลือกปฏิบัติ ใช้เงินภาษีของประชาชนให้คุ้มค่าเพื่อพัฒนาประเทศและรักษาไว้ซึ่งระบบธรรมาภิบาล เพื่อไม่ให้ข้าราชการประจำถูกแทรกแซงและกลั่นแกล้ง