ASTVผู้จัดการรายวัน - "มาร์ค" มั่นใจคุมสถานการณ์ได้ ยันไม่ยุบสภา-ทำรัฐประหารตัวเอง ใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินหรือไม่ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ยกเลิกประชุม ครม.อังคารนี้ แต่มีการประชุมร่วม 2 สภาวันอังคาร ส่วนวันจันทร์ไม่หยุดราชการ ราบ 11 เสริมทหารกองหนุน 14 กองร้อย ส่วนศิริราช รปภ.เข้ม หลังเสื้อแดงประกาศสงครามชนชั้น
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีะ นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการเชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯอภิสิทธ์ เมื่อเช้าวานนี้ (14 มี.ค.) ว่า ได้พูดคุยกันแลกเปลี่ยนถึงสถานการณ์ต่างๆ กับผู้ช่วยรัฐมนตรีของสหรัฐอเมริกา รวมไปถึงบรรดาแขกต่างประเทศที่ได้เดินทางเข้ามา จึงถือโอกาสทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องสถานการณ์ของบ้านเมือง ซึ่งทุกประเทศเข้าใจว่า การชุมนุมเคลื่อนไหวเป็นส่วนหนึ่งของระบอบประชาธิปไตย ทุกประเทศในโลกเข้าใจดีถึงจุดยืนของรัฐบาลชุดปัจจุบันในการเคารพเรื่องของสิทธิของผู้ชุมนุม
อย่างไรก็ตาม คิดว่าเรื่องที่หลายประเทศเขาเฝ้ามองอยู่ จะมีผลต่อความเชื่อมั่นในระยะสั้น แต่ว่าถ้าเราบริหารจัดการสถานการณ์ได้คิดว่าจะเป็นอีกจุดหนึ่งซึ่งทำให้สังคมโลกเริ่มมองเห็นการเติบโตในเชิงวุฒิภาวะของระบอบประชาธิปไตยของไทยในการบริหารจัดการ
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า หลังจากที่มีการประกาศ พ.ร.บ.ความมั่นคง ผู้ชุมนุมที่จะเดินทางจากต่างจังหวัดเข้ามา กทม. เราก็มีการตั้งด่านเพื่อตรวจอาวุธ แรงงานต่างด้าว และยาเสพติด ไม่ได้เป็นการสกัดกั้นไม่ให้คนเข้ามา และไม่ได้เป็นอย่างที่วิเคราะห์กันว่า จะมีการแหกด่าน ฝ่าด่าน ซึ่งไม่มี ทั้งหมดเป็นเรื่องการอำนวยความสะดวก เพื่อประโยชน์ของประชาชนและผู้ชุมนุม ซึ่งสถานการณ์โดยทั่วไปก็เรียบร้อยดี
นอกจากนี้ รัฐบาลได้เอาคำวินิจฉัยของศาลปกครองกลางมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติ ซึ่งชัดเจนว่าต้องชุมนุมโดยสงบปราศจากอาวุธ ถ้าการชุมนุมมีลักษณะไปสร้างความหวาดกลัว เกิดการข่มขู่คุกคาม ปิดล้อมสถานที่ ไม่สามารถให้ประชาชนใช้ชีวิตตามปกติได้ กรณีนี้ศาลวินิจฉัยว่า ไม่ใช่การชุมนุมที่ได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ
"เจ้าหน้าที่สามารถสลายการชุมนุมได้ โดยศาลเขียนชัดเจนว่า ให้ยึดหลักสากล โดยแจ้งกับผู้ชุมนุมว่า ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย และไม่ใช่เป็นการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ และหากไม่ได้รับความร่วมมือ เจ้าหน้าที่จะใช้มาตรการจากเบาไปหาหนัก นี่คือแนวปฏิบัติที่เราจะใช้ในการชุมนุมครั้งนี้" นายอภิสิทธิ์ ชี้แจงถึง การสลายการชุมนุม
นายอภิสิทธิ์ ยังกล่าวถึงการประเมินสถานการณ์การชุมนุม และจำนวนผู้ชุมนุมว่า เรื่องจำนวนตัวเลขก็ดูตามสภาพความเป็นจริง จากการประเมินเมื่อคืนวันเสาร์ น่าจะใกล้เคียง 1 แสนคน ซึ่งไม่ได้เกินความคาดหมายของหน่วยต่างๆ ซึ่งตนเคยย้ำเสมอว่า จะรับฟังทุกเสียง 1 คน ก็ต้องฟัง ส่วนข้อเรียกร้องจะเป็นอย่างไร ก็คงต้องฟังกันต่อไปว่าเขาจะมีข้อเสนออย่างไร
**ข้อเรียกร้องผู้ชุมนุมไม่ชัดเจน
เมื่อถามว่า กลุ่ม นปช.ประกาศที่จะเผด็จศึกรัฐบาลภายใน 3 วัน รอคำตอบจากท่านนายกฯ ขอให้ยุบสภา หรือลาออก นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า พูดตรง ๆ ว่าขณะนี้ก็เป็นการพูดจาปราศรัยของแกนนำบางคนพูด 2 วันก็ไม่ตรงกัน เช่น บอกว่าลาออก บางคนก็บอกยุบสภาฯ บางคนพูดว่ายุบสภาฯ แต่อีกวันก็พูดว่ายุบสภาฯ นี่แค่หลักกิโลเมตรแรก มีเรื่องอื่น ๆ ที่จะต้องตามมาอีก ก็แสดงให้เห็นว่ามันยังไม่ชัดเจน
" ถ้าพูดถึงสิทธิตามรัฐธรรมนูญ ผมก็ต้องบอกความจริงว่าผมมีสิทธิ์ที่จะอยู่ครบเทอม ผมมาในระบบเดียวกันกับนายสมัคร สุนทรเวช และ นาย สมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกฯ มีสิทธิ์ที่จะอยู่ครบเทอม แต่ผมก็พูดมาตลอดว่า อยู่ครบเทอมหรือไม่ ไม่มีใครพูดล่วงหน้าได้ การยุบสภา การลาออกเป็นเรื่องปกติของวิถีทางประชาธิปไตยที่เกิดขึ้นได้ แต่ต้องมีเหตุมีผล และเหตุและผลที่จะใช้ก็คือ ประโยชน์ของประเทศ แต่ถ้าการยุบสภาฯ แล้วปรากฏว่า ยังมีความขัดแย้ง ยังมีการเคลื่อนไหวในลักษณะที่ทำให้การเลือกตั้งไม่เป็นไปอย่างสงบ กลายเป็นการเลือกตั้งที่เสี่ยงต่อความรุนแรง ก็ไม่ดีกับประเทศ " นายอภิสิทธิ์กล่าว
**มาร์คยันไม่ทำรัฐประหารตัวเอง
นายอภิสิทธิ์ กล่าวถึงเรื่องปฏิวัติรัฐประหารว่า ตนไม่เคยยอมรับขอให้ย้อนกลับไปดูวันที่ 19 ก.ย.ที่เคยเกิดปฏิวัติรัฐประหารครั้งสุดท้ายนี้ วันที่ 20 ก.ย.49 หัวหน้าพรรคการเมืองคนแรกที่บอกว่าไม่เห็นด้วยคือตัวเองเพียงแต่ตนคิดต่างจากกลุ่มคนเสื้อแดงตอนนั้น กลุ่มคนเสื้อแดงอยากจะเคลื่อนไหวทันทีเพื่อต่อต้านการรัฐประหาร ในขณะที่ตนมองว่ากลุ่มที่ทำรัฐประหารควรจะมีการประกาศชัดเจนว่า เขาจะคืนอำนาจกลับมาให้ประชาชนเมื่อ ไร และเมื่อเขาบอกว่าเขาจะใช้เวลาประมาณปีคร่าว ๆ ซึ่งตนมองว่าดีที่สุดก็คือ ดูว่าเขาดำเนินการตามนั้นมีการเลือกตั้ง และทุกพรรคการเมืองก็กลับเข้ามาสู่กระบวนการเลือกตั้ง
"การรัฐประหารในขณะนี้ ไม่อาจเป็นคำตอบให้ใครได้เลย แน่นอนฝ่ายรัฐบาลเองถ้ามีการรัฐประหารก็ไม่ได้มาบริหารราชการแผ่นดินต่อ และผู้ชุมนุมเองเคลื่อนไหวต่อต้านความคิดเรื่องรัฐประหารอยู่แล้ว ถามว่าแล้วฝ่ายไหนอยากจะรัฐประหาร แล้วถ้าฝ่ายนั้นรัฐประหารไม่ยิ่งขัดแย้งกันมากยิ่งขึ้นหรือ เพราะไม่เป็นคำตอบ ถ้าจะมีใครอยากให้รัฐประหาร ต้องเป็นการคาดหวังว่ารัฐประหารแล้วจะวุ่นวายมากขึ้น แล้วก็นำไปสู่การล้มกระดาน"
นาย อภิสิทธิ์ อธิบายว่า ในความหมายล้มกระดานนี้ อาจจะกินความหมายกว้าง ความหมายแคบ แล้วแต่สถานการณ์ เพื่อหวังผลไปสู่เรื่องอื่น ๆ อีก เพราะฉะนั้นบอกได้เลยว่า การรัฐประหารนี้ไม่ใช่ประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ใน ประเทศอย่างแน่นอน ไม่มีเหตุผลที่ใครจะไปสนับสนุน รัฐบาลก็ไม่สนับสนุน ผู้ชุมนุมก็ไม่สนับสนุน
**ทหารมืออาชีพรับใช้รัฐ ไม่ใช่ “รัฐบาล”
นายอภิสิทธิ์ กล่าวถึงการทำงานร่วมกับกองทัพว่า ขณะนี้ต้องทำงานใกล้ชิดกับบรรดาผู้นำเหล่าทัพ กับทางตำรวจ กับทางเจ้าหน้าที่ของรัฐ และรู้สึกดีใจที่ได้ยินว่า แม่ทัพนายกองกับตำรวจพูดว่า " วันนี้ที่เขาทำงานทั้งหมดนี้ไม่ใช่เป็นเรื่องการทำงานให้นายอภิสิทธิ์ เป็นการทำงานเพื่อรักษาระบบของบ้านเมือง ไม่เกี่ยวกับนายอภิสิทธิ์ แต่เกี่ยวกับระบบของบ้านเมือง"
นายอภิสิทธิ์ กล่าวด้วยว่า ตนพูดคุยกับฝ่ายความมั่นคงหลายครั้ง รู้ว่าความแตกแยกทางการเมืองนี้มีผลอย่างมากต่อภาพลักษณ์ เดี๋ยวนี้ก็จะมีการบ่นว่า แม้กระทั่งตำรวจก็มีสี สีนั้นสีนี้ ตนได้ชี้แจงเสมอว่า ในใจของคนทุกฝักใฝ่ทางการเมือง มันมีได้ แต่อยู่ที่ความเป็นมืออาชีพ เราจะไปบอกคนเป็นข้าราชการ คนเป็นทหาร คนเป็นตำรวจ คุณไม่มีสิทธิ์ชอบพรรคการเมืองนี้ มันเป็นไปไม่ได้ แต่สิ่งที่เราต้องการคือ ความเป็นมืออาชีพ ในการปฏิบัติหน้าที่
“ผมจะไม่เอาบุคลากรทางด้านความมั่นคงมาใช้เพื่อประโยชน์ทางการเมือง ผมทำงานกับเขานี้ เพื่อให้เขาทำหน้าที่ของเขา ตามที่เขาได้ปวารณาตัว บางกรณีก็ต้องถวายสัตย์ฯ ในการที่จะรักษาระบบประเทศชาติบ้านเมือง เพราะฉะนั้นสบายใจได้ว่าเราไม่เอาการเมืองไปปะปนสับสนกับความมั่นคง หรือให้ความมั่นคงมาสับสนว่ากำลังทำงานเพื่อประโยชน์ทางการเมืองของฝ่าย หนึ่งฝ่ายใด ผมเชื่อว่า ถ้ารัฐบาลนี้เป็นรัฐบาลที่จงใจจะไปทำร้ายประชาชนนี้ ตำรวจ ทหาร เขาก็จะรู้ครับว่ารัฐบาลที่ทำร้ายประชาชนไม่ใช่รัฐบาลที่กำลังดำเนินการ อย่างถูกต้อง เขาก็จะไม่ต้องสนับสนุน”
นายอภิสิทธิ์ กล่าวด้วยว่า เขาจะไม่ไปทำตามคำสั่งที่ผิดกฎหมาย เขาจะไม่ไปทำอะไรซึ่งมันเป็นนอกการปฏิบัติหน้าที่ของเขา เนื่องจาก 1. ตัวเขาเองก็จะมีความเสี่ยง และสำคัญกว่านั้นผมเชื่อคือ 2. มันขัดกับสำนึกของความเป็นมืออาชีพของคนที่เป็นเจ้าหน้าที่ ว่าเขามีหน้าที่ในการรับใช้รัฐไม่ใช่รัฐบาล
***ใช้“พ.ร.ก.ฉุกเฉิน” ขึ้นอยู่กับสถานการณ์
สำหรับหลายคนกังวลใจว่าจะมีการก่อวินาศกรรม ก่อจลาจล นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า แนวทางป้องกันคือความเข้มงวดของเจ้าหน้าที่ และได้ขอความร่วมมือประชาชน ขอความร่วมมือผู้ชุมนุม การทำความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติก็ต้องทำอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันขอย้ำว่า รัฐบาลไม่มีความคิดจะไปปราบปรามประชาชนโดยใช้ความรุนแรงกับประชาชน แต่เรื่องที่มีผู้ประสงค์จะใช้ความรุนแรง เราจำเป็นต้องมีมาตรการเข้มงวดตามสมควร ในการจัดระเบียบครั้งนี้
“พ.ร.ก.ฉุกเฉินไม่ใช้อยากจะประกาศก็ประกาศได้ เป็นพ.ร.ก.ที่ระบุเงื่อนไขเหตุการณ์ชัดเจน มีความจำเป็นเร่งด่วนเห็นแล้วว่าจะมีปัญหาเกิดขึ้น หรือปัญหาเกิดขึ้นแล้วจึงประกาศ ถ้ามีการประกาศก็ไม่ได้เป็นการดำเนินการตามใจชอบเมื่อเม.ย.ปีที่แล้ว เราได้นำเอากำลังต่างๆเพื่อให้สถานการณ์กลับเข้าสู่ภาวะปกติ ในช่วงเม.ย.ปีที่แล้วที่ทำเนียบรัฐบาลก็ไม่ได้สลายการชุมนุม” นายอภิสิทธิ์กล่าว
อย่างไรก็ตาม การจะประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ ไม่ใช่ว่าอยากใช้ก็ใช้ ไม่อยากใช้ก็ไม่ใช้ มันต้องมีเหตุตามเงื่อนไขของกฎหมาย
" ต้องมีเหตุก่อน เมื่อมีเหตุแล้วก็จะมีการประกาศ แม้มีการประกาศแล้วแนวปฏิบัติ ก็ยังต้องเป็นไปตามหลักสากล ตั้งแต่การแจ้งว่าจะมีการทำอะไร ขอความร่วมมือจากผู้ชุมนุมอย่างไร แต่ว่าถ้าเป็นเรื่องการจลาจล เช่นมีการใช้ความรุนแรงจากใครก็แล้วแต่ ก็ต้องเข้าไประงับเหตุตรงนั้น นี่คือหลักมีเท่านี้" นายอภิสิทธิ์กล่าว
**ราบ 11 คุมเข้ม เสริมทหารกองหนุน 14 กองร้อย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศที่กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ ได้มีเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยบริเวณภายในขั้นสูงสุด โดยมีการเพิ่มกำลังทหารกองหนุนจำนวน 14 กองร้อย กระจายกำลังโดยรอบ เพื่อดูแลความสงบเรียบร้อย ขณะเดียวกันมีการนำรั้วลวดหนามมาเสริมบริเวณรอบตัวอาคารที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯฝ่ายความมั่นคงใช้เป็นศูนย์บัญชาการในการประชุมศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย หลังจากที่ก่อนหน้านี้มีการวางรั้วลวดหนามไว้แล้วสองชั้นที่บริเวณกำแพงด้านในโดยรอบบริเวณพื้นที่กรมทหารราบที่ ป้องกันการบุกรุกของผู้ชุมนุม
**งดประชุม ครม.แต่ถกร่วม 2 สภาวันอังคาร
นายสุรชัย ภู่ประเสริฐ เลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) เปิดเผยว่า ในวันอังคารที่ 16 มี.ค.นี้ นายกรัฐมนตรี ได้ยกเลิกการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เนื่องจากมีการประชุมร่วม 2 สภา อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรียังไม่เรียกประชุมครม.ฉุกเฉินเพื่อประกาศวันหยุดราชการ แต่หากมีความจำเป็นเร่งด่วน นายกฯร่วมกับ รัฐมนตรี ที่มีอยู่ สามารถประกาศวันหยุดได้ ทั้งนี้สำหรับการประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ต้องขึ้นอยู่กับสถานการณ์
**รปภ.เข้มศิริราชหลังแดงประกาศสงครามชนชั้น
นายเทพไท เสนพงศ์ โฆษกประจำตัวหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ แถลงว่า กรณีที่ นปช. เรียกร้องให้มีการลงสัตยาบัน 2 กลุ่ม คือ พล.อ.เปรม ติณสูณานนท์ ประธานองคมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. และนายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรฯ กับ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ นายวีระ มุสิกพงศ์ และพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นั้น ถือเป็นข้อเรียกร้องใหม่ที่เป็นไปไม่ได้ เพระทั้ง 2 กลุ่มไม่ใช่ผู้ขัดแย้งที่แท้จริง แต่ความขัดแย้งขณะนี้เกิดจาก พ.ต.ท.ทักษิณ กับประเทศไทย และระบอบประชาธิปไตย กับระบอบทักษิณ ดังนั้นไม่เข้าใจการเรียกร้องหวังผลอะไร และมีผลทางปฎิบัติได้หรือไม่ เพราะปกติบ้านเมืองปกครองด้วยกฎหมาย แต่การลงสัตยาบันมีการฉีกนับครั้งไม่ถ้วน โดยเฉพาะในสมัยที่ พ.ต.ท.ทักษิณได้ประกาศว่าจะแก้ไขรธน.กับพรรคร่วมรัฐบาล สุดท้ายก็มีการฉีกสัตยาบัน จนนำไปสู่การบอยคอยการเลือกตั้ง
นายเทพไท กล่าวต่อว่า การลงสัตยาบันจะใช้กติกาอะไร เพราะกลุ่มคน 2 กลุ่มแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง จะเอาพระมาลงสัตยาบันกับโจรโดยโจรปล้นแล้วไม่ผิด พระก็คงไม่ยอม จึงเป็นไปไม่ได้
นอกจากนี้ข้อเสนอของกลุ่มเสื้อแดง ที่ขีดเส้นให้รัฐบาลยุบสภาในวันที่ 15 มี.ค. ตนรู้สึกคลางแคลงใจว่า เป็นข้อเรียกร้องที่จริงหรือไม่ เพราะก่อนหน้านี้ การเคลบื่อนไหวได้ชูว่า จะล้มระบบอำมาตย์ แต่ถ้าหากมีการยุบสภาจะล้มอำมาตย์ได้อย่างไร รวมถึงการเรียกร้องประชาธิปไตยเมื่อมีการยุบสภาแล้วจะได้ระบอบประชาธิปไตยอย่างไร อีกทั้งสัญญาณที่ออกมาจากแกนนำว่า การยุบสภาเป็นเพียงหลักกิโลเมตรที่ 1 เท่านั้น ซึ่งค่อนข้างเป็นเรื่องจริง ที่เมื่อคืนที่ผ่านมามีการปลุกระดมประกาศสงครามระหว่างชนชั้น ทำให้คนจนกับคนรวย ชนชั้นสูงกับชนชั้นล่าง คนชนบทกับคนกรุงเทพ เกิดความขัดแย้งกัน
การที่ นปช.ได้ประกาศสงครามชนชั้น ทำให้รัฐบาลต้องกลับมาติดตาม และปรับระบบรักษาความปลอดภัยให้เข้มข้นสูงสุด โดยเฉพาะที่ รพ.ศิริราช เพราะเชื่อว่าคนรอบข้างของพ.ต.ท.ทักษิณ ต้องการทำสงครามชนชั้น เช่น กลุ่มแดงคอมมิวนิสต์ กลุ่มแดงสยาม ที่เข้าร่วมกับระบอบทักษิณประกาศที่จะล้มระบบศักดินา เพื่อนนำไปสู่การล้มทุนต่อไป อย่างไรก็ตาม การเคลื่อนไหวของกลุ่มเสื้อแดงมีวาระซ่อนเร้นมากมาย ซึ่งรัฐบาลและพรรคประชาธิปัตย์ จะต้องติดตามจับตาดูอย่างใกล้ชิด
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีะ นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการเชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯอภิสิทธ์ เมื่อเช้าวานนี้ (14 มี.ค.) ว่า ได้พูดคุยกันแลกเปลี่ยนถึงสถานการณ์ต่างๆ กับผู้ช่วยรัฐมนตรีของสหรัฐอเมริกา รวมไปถึงบรรดาแขกต่างประเทศที่ได้เดินทางเข้ามา จึงถือโอกาสทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องสถานการณ์ของบ้านเมือง ซึ่งทุกประเทศเข้าใจว่า การชุมนุมเคลื่อนไหวเป็นส่วนหนึ่งของระบอบประชาธิปไตย ทุกประเทศในโลกเข้าใจดีถึงจุดยืนของรัฐบาลชุดปัจจุบันในการเคารพเรื่องของสิทธิของผู้ชุมนุม
อย่างไรก็ตาม คิดว่าเรื่องที่หลายประเทศเขาเฝ้ามองอยู่ จะมีผลต่อความเชื่อมั่นในระยะสั้น แต่ว่าถ้าเราบริหารจัดการสถานการณ์ได้คิดว่าจะเป็นอีกจุดหนึ่งซึ่งทำให้สังคมโลกเริ่มมองเห็นการเติบโตในเชิงวุฒิภาวะของระบอบประชาธิปไตยของไทยในการบริหารจัดการ
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า หลังจากที่มีการประกาศ พ.ร.บ.ความมั่นคง ผู้ชุมนุมที่จะเดินทางจากต่างจังหวัดเข้ามา กทม. เราก็มีการตั้งด่านเพื่อตรวจอาวุธ แรงงานต่างด้าว และยาเสพติด ไม่ได้เป็นการสกัดกั้นไม่ให้คนเข้ามา และไม่ได้เป็นอย่างที่วิเคราะห์กันว่า จะมีการแหกด่าน ฝ่าด่าน ซึ่งไม่มี ทั้งหมดเป็นเรื่องการอำนวยความสะดวก เพื่อประโยชน์ของประชาชนและผู้ชุมนุม ซึ่งสถานการณ์โดยทั่วไปก็เรียบร้อยดี
นอกจากนี้ รัฐบาลได้เอาคำวินิจฉัยของศาลปกครองกลางมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติ ซึ่งชัดเจนว่าต้องชุมนุมโดยสงบปราศจากอาวุธ ถ้าการชุมนุมมีลักษณะไปสร้างความหวาดกลัว เกิดการข่มขู่คุกคาม ปิดล้อมสถานที่ ไม่สามารถให้ประชาชนใช้ชีวิตตามปกติได้ กรณีนี้ศาลวินิจฉัยว่า ไม่ใช่การชุมนุมที่ได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ
"เจ้าหน้าที่สามารถสลายการชุมนุมได้ โดยศาลเขียนชัดเจนว่า ให้ยึดหลักสากล โดยแจ้งกับผู้ชุมนุมว่า ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย และไม่ใช่เป็นการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ และหากไม่ได้รับความร่วมมือ เจ้าหน้าที่จะใช้มาตรการจากเบาไปหาหนัก นี่คือแนวปฏิบัติที่เราจะใช้ในการชุมนุมครั้งนี้" นายอภิสิทธิ์ ชี้แจงถึง การสลายการชุมนุม
นายอภิสิทธิ์ ยังกล่าวถึงการประเมินสถานการณ์การชุมนุม และจำนวนผู้ชุมนุมว่า เรื่องจำนวนตัวเลขก็ดูตามสภาพความเป็นจริง จากการประเมินเมื่อคืนวันเสาร์ น่าจะใกล้เคียง 1 แสนคน ซึ่งไม่ได้เกินความคาดหมายของหน่วยต่างๆ ซึ่งตนเคยย้ำเสมอว่า จะรับฟังทุกเสียง 1 คน ก็ต้องฟัง ส่วนข้อเรียกร้องจะเป็นอย่างไร ก็คงต้องฟังกันต่อไปว่าเขาจะมีข้อเสนออย่างไร
**ข้อเรียกร้องผู้ชุมนุมไม่ชัดเจน
เมื่อถามว่า กลุ่ม นปช.ประกาศที่จะเผด็จศึกรัฐบาลภายใน 3 วัน รอคำตอบจากท่านนายกฯ ขอให้ยุบสภา หรือลาออก นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า พูดตรง ๆ ว่าขณะนี้ก็เป็นการพูดจาปราศรัยของแกนนำบางคนพูด 2 วันก็ไม่ตรงกัน เช่น บอกว่าลาออก บางคนก็บอกยุบสภาฯ บางคนพูดว่ายุบสภาฯ แต่อีกวันก็พูดว่ายุบสภาฯ นี่แค่หลักกิโลเมตรแรก มีเรื่องอื่น ๆ ที่จะต้องตามมาอีก ก็แสดงให้เห็นว่ามันยังไม่ชัดเจน
" ถ้าพูดถึงสิทธิตามรัฐธรรมนูญ ผมก็ต้องบอกความจริงว่าผมมีสิทธิ์ที่จะอยู่ครบเทอม ผมมาในระบบเดียวกันกับนายสมัคร สุนทรเวช และ นาย สมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกฯ มีสิทธิ์ที่จะอยู่ครบเทอม แต่ผมก็พูดมาตลอดว่า อยู่ครบเทอมหรือไม่ ไม่มีใครพูดล่วงหน้าได้ การยุบสภา การลาออกเป็นเรื่องปกติของวิถีทางประชาธิปไตยที่เกิดขึ้นได้ แต่ต้องมีเหตุมีผล และเหตุและผลที่จะใช้ก็คือ ประโยชน์ของประเทศ แต่ถ้าการยุบสภาฯ แล้วปรากฏว่า ยังมีความขัดแย้ง ยังมีการเคลื่อนไหวในลักษณะที่ทำให้การเลือกตั้งไม่เป็นไปอย่างสงบ กลายเป็นการเลือกตั้งที่เสี่ยงต่อความรุนแรง ก็ไม่ดีกับประเทศ " นายอภิสิทธิ์กล่าว
**มาร์คยันไม่ทำรัฐประหารตัวเอง
นายอภิสิทธิ์ กล่าวถึงเรื่องปฏิวัติรัฐประหารว่า ตนไม่เคยยอมรับขอให้ย้อนกลับไปดูวันที่ 19 ก.ย.ที่เคยเกิดปฏิวัติรัฐประหารครั้งสุดท้ายนี้ วันที่ 20 ก.ย.49 หัวหน้าพรรคการเมืองคนแรกที่บอกว่าไม่เห็นด้วยคือตัวเองเพียงแต่ตนคิดต่างจากกลุ่มคนเสื้อแดงตอนนั้น กลุ่มคนเสื้อแดงอยากจะเคลื่อนไหวทันทีเพื่อต่อต้านการรัฐประหาร ในขณะที่ตนมองว่ากลุ่มที่ทำรัฐประหารควรจะมีการประกาศชัดเจนว่า เขาจะคืนอำนาจกลับมาให้ประชาชนเมื่อ ไร และเมื่อเขาบอกว่าเขาจะใช้เวลาประมาณปีคร่าว ๆ ซึ่งตนมองว่าดีที่สุดก็คือ ดูว่าเขาดำเนินการตามนั้นมีการเลือกตั้ง และทุกพรรคการเมืองก็กลับเข้ามาสู่กระบวนการเลือกตั้ง
"การรัฐประหารในขณะนี้ ไม่อาจเป็นคำตอบให้ใครได้เลย แน่นอนฝ่ายรัฐบาลเองถ้ามีการรัฐประหารก็ไม่ได้มาบริหารราชการแผ่นดินต่อ และผู้ชุมนุมเองเคลื่อนไหวต่อต้านความคิดเรื่องรัฐประหารอยู่แล้ว ถามว่าแล้วฝ่ายไหนอยากจะรัฐประหาร แล้วถ้าฝ่ายนั้นรัฐประหารไม่ยิ่งขัดแย้งกันมากยิ่งขึ้นหรือ เพราะไม่เป็นคำตอบ ถ้าจะมีใครอยากให้รัฐประหาร ต้องเป็นการคาดหวังว่ารัฐประหารแล้วจะวุ่นวายมากขึ้น แล้วก็นำไปสู่การล้มกระดาน"
นาย อภิสิทธิ์ อธิบายว่า ในความหมายล้มกระดานนี้ อาจจะกินความหมายกว้าง ความหมายแคบ แล้วแต่สถานการณ์ เพื่อหวังผลไปสู่เรื่องอื่น ๆ อีก เพราะฉะนั้นบอกได้เลยว่า การรัฐประหารนี้ไม่ใช่ประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ใน ประเทศอย่างแน่นอน ไม่มีเหตุผลที่ใครจะไปสนับสนุน รัฐบาลก็ไม่สนับสนุน ผู้ชุมนุมก็ไม่สนับสนุน
**ทหารมืออาชีพรับใช้รัฐ ไม่ใช่ “รัฐบาล”
นายอภิสิทธิ์ กล่าวถึงการทำงานร่วมกับกองทัพว่า ขณะนี้ต้องทำงานใกล้ชิดกับบรรดาผู้นำเหล่าทัพ กับทางตำรวจ กับทางเจ้าหน้าที่ของรัฐ และรู้สึกดีใจที่ได้ยินว่า แม่ทัพนายกองกับตำรวจพูดว่า " วันนี้ที่เขาทำงานทั้งหมดนี้ไม่ใช่เป็นเรื่องการทำงานให้นายอภิสิทธิ์ เป็นการทำงานเพื่อรักษาระบบของบ้านเมือง ไม่เกี่ยวกับนายอภิสิทธิ์ แต่เกี่ยวกับระบบของบ้านเมือง"
นายอภิสิทธิ์ กล่าวด้วยว่า ตนพูดคุยกับฝ่ายความมั่นคงหลายครั้ง รู้ว่าความแตกแยกทางการเมืองนี้มีผลอย่างมากต่อภาพลักษณ์ เดี๋ยวนี้ก็จะมีการบ่นว่า แม้กระทั่งตำรวจก็มีสี สีนั้นสีนี้ ตนได้ชี้แจงเสมอว่า ในใจของคนทุกฝักใฝ่ทางการเมือง มันมีได้ แต่อยู่ที่ความเป็นมืออาชีพ เราจะไปบอกคนเป็นข้าราชการ คนเป็นทหาร คนเป็นตำรวจ คุณไม่มีสิทธิ์ชอบพรรคการเมืองนี้ มันเป็นไปไม่ได้ แต่สิ่งที่เราต้องการคือ ความเป็นมืออาชีพ ในการปฏิบัติหน้าที่
“ผมจะไม่เอาบุคลากรทางด้านความมั่นคงมาใช้เพื่อประโยชน์ทางการเมือง ผมทำงานกับเขานี้ เพื่อให้เขาทำหน้าที่ของเขา ตามที่เขาได้ปวารณาตัว บางกรณีก็ต้องถวายสัตย์ฯ ในการที่จะรักษาระบบประเทศชาติบ้านเมือง เพราะฉะนั้นสบายใจได้ว่าเราไม่เอาการเมืองไปปะปนสับสนกับความมั่นคง หรือให้ความมั่นคงมาสับสนว่ากำลังทำงานเพื่อประโยชน์ทางการเมืองของฝ่าย หนึ่งฝ่ายใด ผมเชื่อว่า ถ้ารัฐบาลนี้เป็นรัฐบาลที่จงใจจะไปทำร้ายประชาชนนี้ ตำรวจ ทหาร เขาก็จะรู้ครับว่ารัฐบาลที่ทำร้ายประชาชนไม่ใช่รัฐบาลที่กำลังดำเนินการ อย่างถูกต้อง เขาก็จะไม่ต้องสนับสนุน”
นายอภิสิทธิ์ กล่าวด้วยว่า เขาจะไม่ไปทำตามคำสั่งที่ผิดกฎหมาย เขาจะไม่ไปทำอะไรซึ่งมันเป็นนอกการปฏิบัติหน้าที่ของเขา เนื่องจาก 1. ตัวเขาเองก็จะมีความเสี่ยง และสำคัญกว่านั้นผมเชื่อคือ 2. มันขัดกับสำนึกของความเป็นมืออาชีพของคนที่เป็นเจ้าหน้าที่ ว่าเขามีหน้าที่ในการรับใช้รัฐไม่ใช่รัฐบาล
***ใช้“พ.ร.ก.ฉุกเฉิน” ขึ้นอยู่กับสถานการณ์
สำหรับหลายคนกังวลใจว่าจะมีการก่อวินาศกรรม ก่อจลาจล นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า แนวทางป้องกันคือความเข้มงวดของเจ้าหน้าที่ และได้ขอความร่วมมือประชาชน ขอความร่วมมือผู้ชุมนุม การทำความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติก็ต้องทำอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันขอย้ำว่า รัฐบาลไม่มีความคิดจะไปปราบปรามประชาชนโดยใช้ความรุนแรงกับประชาชน แต่เรื่องที่มีผู้ประสงค์จะใช้ความรุนแรง เราจำเป็นต้องมีมาตรการเข้มงวดตามสมควร ในการจัดระเบียบครั้งนี้
“พ.ร.ก.ฉุกเฉินไม่ใช้อยากจะประกาศก็ประกาศได้ เป็นพ.ร.ก.ที่ระบุเงื่อนไขเหตุการณ์ชัดเจน มีความจำเป็นเร่งด่วนเห็นแล้วว่าจะมีปัญหาเกิดขึ้น หรือปัญหาเกิดขึ้นแล้วจึงประกาศ ถ้ามีการประกาศก็ไม่ได้เป็นการดำเนินการตามใจชอบเมื่อเม.ย.ปีที่แล้ว เราได้นำเอากำลังต่างๆเพื่อให้สถานการณ์กลับเข้าสู่ภาวะปกติ ในช่วงเม.ย.ปีที่แล้วที่ทำเนียบรัฐบาลก็ไม่ได้สลายการชุมนุม” นายอภิสิทธิ์กล่าว
อย่างไรก็ตาม การจะประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ ไม่ใช่ว่าอยากใช้ก็ใช้ ไม่อยากใช้ก็ไม่ใช้ มันต้องมีเหตุตามเงื่อนไขของกฎหมาย
" ต้องมีเหตุก่อน เมื่อมีเหตุแล้วก็จะมีการประกาศ แม้มีการประกาศแล้วแนวปฏิบัติ ก็ยังต้องเป็นไปตามหลักสากล ตั้งแต่การแจ้งว่าจะมีการทำอะไร ขอความร่วมมือจากผู้ชุมนุมอย่างไร แต่ว่าถ้าเป็นเรื่องการจลาจล เช่นมีการใช้ความรุนแรงจากใครก็แล้วแต่ ก็ต้องเข้าไประงับเหตุตรงนั้น นี่คือหลักมีเท่านี้" นายอภิสิทธิ์กล่าว
**ราบ 11 คุมเข้ม เสริมทหารกองหนุน 14 กองร้อย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศที่กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ ได้มีเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยบริเวณภายในขั้นสูงสุด โดยมีการเพิ่มกำลังทหารกองหนุนจำนวน 14 กองร้อย กระจายกำลังโดยรอบ เพื่อดูแลความสงบเรียบร้อย ขณะเดียวกันมีการนำรั้วลวดหนามมาเสริมบริเวณรอบตัวอาคารที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯฝ่ายความมั่นคงใช้เป็นศูนย์บัญชาการในการประชุมศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย หลังจากที่ก่อนหน้านี้มีการวางรั้วลวดหนามไว้แล้วสองชั้นที่บริเวณกำแพงด้านในโดยรอบบริเวณพื้นที่กรมทหารราบที่ ป้องกันการบุกรุกของผู้ชุมนุม
**งดประชุม ครม.แต่ถกร่วม 2 สภาวันอังคาร
นายสุรชัย ภู่ประเสริฐ เลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) เปิดเผยว่า ในวันอังคารที่ 16 มี.ค.นี้ นายกรัฐมนตรี ได้ยกเลิกการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เนื่องจากมีการประชุมร่วม 2 สภา อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรียังไม่เรียกประชุมครม.ฉุกเฉินเพื่อประกาศวันหยุดราชการ แต่หากมีความจำเป็นเร่งด่วน นายกฯร่วมกับ รัฐมนตรี ที่มีอยู่ สามารถประกาศวันหยุดได้ ทั้งนี้สำหรับการประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ต้องขึ้นอยู่กับสถานการณ์
**รปภ.เข้มศิริราชหลังแดงประกาศสงครามชนชั้น
นายเทพไท เสนพงศ์ โฆษกประจำตัวหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ แถลงว่า กรณีที่ นปช. เรียกร้องให้มีการลงสัตยาบัน 2 กลุ่ม คือ พล.อ.เปรม ติณสูณานนท์ ประธานองคมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. และนายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรฯ กับ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ นายวีระ มุสิกพงศ์ และพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นั้น ถือเป็นข้อเรียกร้องใหม่ที่เป็นไปไม่ได้ เพระทั้ง 2 กลุ่มไม่ใช่ผู้ขัดแย้งที่แท้จริง แต่ความขัดแย้งขณะนี้เกิดจาก พ.ต.ท.ทักษิณ กับประเทศไทย และระบอบประชาธิปไตย กับระบอบทักษิณ ดังนั้นไม่เข้าใจการเรียกร้องหวังผลอะไร และมีผลทางปฎิบัติได้หรือไม่ เพราะปกติบ้านเมืองปกครองด้วยกฎหมาย แต่การลงสัตยาบันมีการฉีกนับครั้งไม่ถ้วน โดยเฉพาะในสมัยที่ พ.ต.ท.ทักษิณได้ประกาศว่าจะแก้ไขรธน.กับพรรคร่วมรัฐบาล สุดท้ายก็มีการฉีกสัตยาบัน จนนำไปสู่การบอยคอยการเลือกตั้ง
นายเทพไท กล่าวต่อว่า การลงสัตยาบันจะใช้กติกาอะไร เพราะกลุ่มคน 2 กลุ่มแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง จะเอาพระมาลงสัตยาบันกับโจรโดยโจรปล้นแล้วไม่ผิด พระก็คงไม่ยอม จึงเป็นไปไม่ได้
นอกจากนี้ข้อเสนอของกลุ่มเสื้อแดง ที่ขีดเส้นให้รัฐบาลยุบสภาในวันที่ 15 มี.ค. ตนรู้สึกคลางแคลงใจว่า เป็นข้อเรียกร้องที่จริงหรือไม่ เพราะก่อนหน้านี้ การเคลบื่อนไหวได้ชูว่า จะล้มระบบอำมาตย์ แต่ถ้าหากมีการยุบสภาจะล้มอำมาตย์ได้อย่างไร รวมถึงการเรียกร้องประชาธิปไตยเมื่อมีการยุบสภาแล้วจะได้ระบอบประชาธิปไตยอย่างไร อีกทั้งสัญญาณที่ออกมาจากแกนนำว่า การยุบสภาเป็นเพียงหลักกิโลเมตรที่ 1 เท่านั้น ซึ่งค่อนข้างเป็นเรื่องจริง ที่เมื่อคืนที่ผ่านมามีการปลุกระดมประกาศสงครามระหว่างชนชั้น ทำให้คนจนกับคนรวย ชนชั้นสูงกับชนชั้นล่าง คนชนบทกับคนกรุงเทพ เกิดความขัดแย้งกัน
การที่ นปช.ได้ประกาศสงครามชนชั้น ทำให้รัฐบาลต้องกลับมาติดตาม และปรับระบบรักษาความปลอดภัยให้เข้มข้นสูงสุด โดยเฉพาะที่ รพ.ศิริราช เพราะเชื่อว่าคนรอบข้างของพ.ต.ท.ทักษิณ ต้องการทำสงครามชนชั้น เช่น กลุ่มแดงคอมมิวนิสต์ กลุ่มแดงสยาม ที่เข้าร่วมกับระบอบทักษิณประกาศที่จะล้มระบบศักดินา เพื่อนนำไปสู่การล้มทุนต่อไป อย่างไรก็ตาม การเคลื่อนไหวของกลุ่มเสื้อแดงมีวาระซ่อนเร้นมากมาย ซึ่งรัฐบาลและพรรคประชาธิปัตย์ จะต้องติดตามจับตาดูอย่างใกล้ชิด