วันศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2553 องค์คณะผู้พิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง 9 ท่าน วินิจฉัย และพิพากษายึดทรัพย์ นช.พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร 4.6 หมื่นล้านบาท จากที่อายัดไว้ 7.6 ล้านบาท หลังคำพิพากษา นช.พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ออกมาแสดงความเกรี้ยวกราด ต่อคำตัดสินของศาล ยืนยัน ปฏิเสธ ไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษา
“ผมจะแสวงหาความยุติไม่ว่าในนรก สวรรค์ ในประเทศหรือนอกประเทศ วันนี้ผมไม่ได้รับความยุติธรรม ผมจะแสวงหาความยุติธรรมต่อไป”
“วันนี้ผมเจอเพื่อนฝรั่ง เขาถามว่าทำไมมีหลักเกณฑ์อย่างไร ถึงได้เอาเงินของผมส่วนที่เป็นราคาหุ้นตั้งแต่วันที่ผมเข้าเป็นนายกฯ แล้วราคาหุ้นขึ้นบาทเดียว ก็ถูกหาว่าใช้อิทธิพล แล้วเขาก็ถามต่อว่า หุ้นตัวอื่นราคามันไม่ขึ้นหรือ มันขึ้นเฉพาะแค่ของผมตัวเดียวหรือ ผมก็บอกว่าตอนนั้นหุ้นแบงก์กรุงเทพ ที่คุณเปรมเป็นประธานก็ขึ้น หุ้นกลุ่มซีพี หุ้นกลุ่มเบียร์ช้าง หุ้นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
ไม่ว่าจะเป็นแบงก์ไทยพาณิชย์ หรือ ปตท. รวมทั้งกลุ่มพวกนายทุนค่ายผู้จัดการ เครือเนชั่นก็ขึ้น ขึ้นกันหมด แล้วเพื่อนผมก็ถามอีกว่า ราคาหุ้นขึ้นตามดัชนีไหม ผมก็ตอบว่าของผมเนี่ยขึ้นตามดัชนีเลย มีบางตัวขึ้นสูงกว่าดัชนีด้วยซ้ำ ทำไมไม่ยึดหมดล่ะ ยึดแค่ผมที่เป็นนายกฯ คนเดียว แต่ทีบางคนสั่งการเหนือนายกรัฐมนตรี สั่งการเหมือนหนังตะลุงทุกเรื่อง ทำไมไม่ยึดด้วยล่ะ นี่ฝรั่งเขาถามผมนะ”
จากการเกรี้ยวกราด น่าเชื่อว่า นช.พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จะนำเรื่องการยึดทรัพย์ช่วงสูงขึ้นของชินคอร์ป ช่วงที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี มาอุทธรณ์ต่อศาลได้
ผู้เขียนในฐานะที่คลุกคลีกับข้อมูลหุ้นทั่วโลก ได้ทราบความเป็นไปของตลาดหุ้นของโลกมาประมาณ 20 ปี กล่าวได้ว่า ความเป็นไปของตลาดหุ้น มีอยู่ 3 ปัจจัย
1) ปัจจัยพื้นฐาน เช่น ผลประกอบการดี ราคาหุ้นจะดี ผลประกอบการไม่ดีราคาหุ้นจะไม่ดี
2) ปัจจัยทางเทคนิค หรือด้านจิตวิทยา เช่น รู้สึกว่าราคาหุ้นต่ำก็จะเข้าไปซื้อ ทำให้ราคาหุ้นสูงขึ้น หรือรู้สึกว่าราคาหุ้นสูง ก็จะขายออก ทำให้ราคาหุ้นตกลง
3) ปัจจัยของการปั่น โดยอาศัย 2 ปัจจัยข้างต้น สวมรอยปั่นให้สูงขึ้น หรือต่ำลง เช่น ราคาหุ้นสูงมากแล้ว ก็สวมรอยหนุนให้ราคาหุ้นสูงขึ้นไปอีก ทำให้คนหลงเชื่อ เข้าไปไล่ซื้อหุ้น แล้วคนปั่นหุ้นก็เทขายให้ หรือราคาหุ้นตกลงต่ำแล้ว ก็สวมรอยทุบราคาหุ้นให้ตกต่ำลงไปอีก ทำให้คนตื่นกลัว เทขายหุ้นตามมา แล้วคนปั่นหุ้นก็เข้าไปช้อนซื้อหุ้นที่ราคาต่ำ
ส่วนใหญ่แล้วเจ้าของหุ้นที่ทราบข้อมูลภายใน จะเป็นคนเข้ามาปั่นราคาหุ้น อาจจะมีตัวแทน (Nominees) ที่เป็นรายใหญ่ทั้งในและต่างประเทศเข้ามาปั่น จากนั้นก็จะมีนักลงทุนทั่วไปเข้ามาร่วมซื้อและร่วมขาย ดูเหมือนเป็นธรรมชาติ ทำให้ยากที่จะตรวจสอบได้ ตลาดอาจจะถูกปั่นทั้งตลาดได้ การปั่นหุ้นมักจะสวมรอยให้สอดคล้องกับทิศทางตลาดรวม ที่จะปั่นหุ้นตัวเดียวเดี่ยวโดดขึ้นลงผิดตลาดมีน้อย
ความเป็นไปของ 2 ปัจจัยแรกไม่อันตรายต่อระบบ แต่ความเป็นไปของปัจจัยที่ 3 เป็นเรื่องที่อันตรายต่อระบบ ทำให้ราคาหุ้นขึ้นและลงผิดจริงได้มาก ทำให้ตลาดหุ้นเป็นแหล่งที่ใช้ฟอกเงินแหล่งใหญ่ที่สุดในโลก แหล่งกาสิโนและแหล่งการพนันอื่นๆ ถือเป็นแหล่งฟอกเงินอันดับรองลงไป
ผู้เขียนเห็นด้วยกับคำพิพากษา ว่ามีการใช้อำนาจหน้าที่เอื้อประโยชน์ให้ชินคอร์ป และทำให้ราคาหุ้นชินคอร์ปสูงขึ้นจริง
หากตรวจสอบย้อนหลัง 20 ปี ตั้งแต่หุ้นชินคอร์ปเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ พบว่าราคาหุ้นชินคอร์ปแกว่งตัวที่รุนแรง และบ่อยครั้งมาก ขึ้นก็แรง ตกก็แรง ฉวยโอกาสขึ้นและตกแรงกว่าหุ้นทั่วไป วันที่ 4 มกราคม 2537 วันที่ SET Index ปิดที่ 1,753.73 จุด ชินคอร์ปปิดที่ 48.37 บาท (ราคาเฉลี่ยหลังการแตกพาร์และเพิ่มทุน) วันที่ 23 มกราคา 2549 วันที่มีการตกลงซื้อ-ขายกับเทมาเส็ก(deal) SET Index ปิดที่ 750.28 ชินคอร์ปปิดที่ 48.25 บาท โดยตกลงซื้อ-ขายกับเทมาเส็กที่ราคา 49.25 บาท
นช.พ.ต.ท.ทักษิณ คงได้ตรวจสอบแล้วว่า ราคาที่เคยสูงสุดในอดีตคือ 48.37 บาท ดังนั้นจึงพยายามใช้อำนาจหน้าที่แก้ไขสัญญา เปลี่ยนแปลงสัมปทานฯ แก้ไขกฎหมาย ให้เกิดผลดีต่อชินคอร์ป ทำให้ปัจจัยพื้นฐานของชินคอร์ปดีเป็นพิเศษ (Excellent) ช่วยหนุนราคาหุ้นขึ้นมา แล้วตกลงขายให้เทมาเส็กที่ราคาหุ้นละ 49.25 บาท ซึ่งใกล้เคียงกับราคาที่เคยสูงสุดเป็นประวัติการณ์เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2537 ที่ SET Index สูงเท่ากับ1,753.73 จุด นั่นเอง
การใช้หนี้ไอเอ็มเอฟหมดกลางปี 2546 ก็มีส่วนเอามาเป็นข่าวดี ช่วยทำให้ราคาหุ้นสูงขึ้นได้
ย้อนกลับตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของราคาชินคอร์ปในอดีต วันที่ 1 เมษายน 2536 มีราคาปิดที่ 7.90 บาท วันที่ 4 มกราคม 2537 ราคาปิดที่ 48.37 บาท ช่วงระยะเวลาเพียง 9 เดือน ราคาหุ้นชินคอร์ปสูงขึ้น 6.63 เท่า หรือสูงขึ้น 512 เปอร์เซ็นต์ ถือว่าเป็นการขึ้นเร็วและแรงมาก และหลังจากนั้นก็ตกลงแรง
16 กุมภาพันธ์ 2553 โลกทวิตเตอร์ @suthichai ทวิตถึง “พาดหัวกรุงเทพธุรกิจเช้านี้ว่า 4 ปี เทมาเส็กกำไรจากฮุบ “ชิน” ตั้งแต่ปี 49 รับปันผล 8.7 หมื่นล้าน” ซึ่งมากกว่าที่ นช.พ.ต.ท.ทักษิณขายให้เทมาเส็ก 6.9 หมื่นล้านล้านบาท แสดงว่าเทมาเส็กได้ทุนที่ซื้อชินคอร์ปคืนในเวลาอันสั้น สินทรัพย์ที่เหลือ รวมทั้งผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นในอนาคตก็จะเป็นกำไรของเทมาเส็กแต่อย่างเดียว
แสดงว่ามีการใช้อำนาจหน้าที่เอื้อประโยชน์มหาศาลแก่ชินคอร์ปจริง ทำให้เทมาเส็กได้รับการคืนทุนที่ซื้อชินคอร์ปในเวลาอันสั้นมาก แต่น่าเสียดาย และเสียใจ แทนที่การเอื้อประโยชน์ดังกล่าวจะตกเป็นผลประโยชน์กิจการของคนไทย แต่กลับตกเป็นของบริษัทต่างชาติ
“ผมจะแสวงหาความยุติไม่ว่าในนรก สวรรค์ ในประเทศหรือนอกประเทศ วันนี้ผมไม่ได้รับความยุติธรรม ผมจะแสวงหาความยุติธรรมต่อไป”
“วันนี้ผมเจอเพื่อนฝรั่ง เขาถามว่าทำไมมีหลักเกณฑ์อย่างไร ถึงได้เอาเงินของผมส่วนที่เป็นราคาหุ้นตั้งแต่วันที่ผมเข้าเป็นนายกฯ แล้วราคาหุ้นขึ้นบาทเดียว ก็ถูกหาว่าใช้อิทธิพล แล้วเขาก็ถามต่อว่า หุ้นตัวอื่นราคามันไม่ขึ้นหรือ มันขึ้นเฉพาะแค่ของผมตัวเดียวหรือ ผมก็บอกว่าตอนนั้นหุ้นแบงก์กรุงเทพ ที่คุณเปรมเป็นประธานก็ขึ้น หุ้นกลุ่มซีพี หุ้นกลุ่มเบียร์ช้าง หุ้นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
ไม่ว่าจะเป็นแบงก์ไทยพาณิชย์ หรือ ปตท. รวมทั้งกลุ่มพวกนายทุนค่ายผู้จัดการ เครือเนชั่นก็ขึ้น ขึ้นกันหมด แล้วเพื่อนผมก็ถามอีกว่า ราคาหุ้นขึ้นตามดัชนีไหม ผมก็ตอบว่าของผมเนี่ยขึ้นตามดัชนีเลย มีบางตัวขึ้นสูงกว่าดัชนีด้วยซ้ำ ทำไมไม่ยึดหมดล่ะ ยึดแค่ผมที่เป็นนายกฯ คนเดียว แต่ทีบางคนสั่งการเหนือนายกรัฐมนตรี สั่งการเหมือนหนังตะลุงทุกเรื่อง ทำไมไม่ยึดด้วยล่ะ นี่ฝรั่งเขาถามผมนะ”
จากการเกรี้ยวกราด น่าเชื่อว่า นช.พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จะนำเรื่องการยึดทรัพย์ช่วงสูงขึ้นของชินคอร์ป ช่วงที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี มาอุทธรณ์ต่อศาลได้
ผู้เขียนในฐานะที่คลุกคลีกับข้อมูลหุ้นทั่วโลก ได้ทราบความเป็นไปของตลาดหุ้นของโลกมาประมาณ 20 ปี กล่าวได้ว่า ความเป็นไปของตลาดหุ้น มีอยู่ 3 ปัจจัย
1) ปัจจัยพื้นฐาน เช่น ผลประกอบการดี ราคาหุ้นจะดี ผลประกอบการไม่ดีราคาหุ้นจะไม่ดี
2) ปัจจัยทางเทคนิค หรือด้านจิตวิทยา เช่น รู้สึกว่าราคาหุ้นต่ำก็จะเข้าไปซื้อ ทำให้ราคาหุ้นสูงขึ้น หรือรู้สึกว่าราคาหุ้นสูง ก็จะขายออก ทำให้ราคาหุ้นตกลง
3) ปัจจัยของการปั่น โดยอาศัย 2 ปัจจัยข้างต้น สวมรอยปั่นให้สูงขึ้น หรือต่ำลง เช่น ราคาหุ้นสูงมากแล้ว ก็สวมรอยหนุนให้ราคาหุ้นสูงขึ้นไปอีก ทำให้คนหลงเชื่อ เข้าไปไล่ซื้อหุ้น แล้วคนปั่นหุ้นก็เทขายให้ หรือราคาหุ้นตกลงต่ำแล้ว ก็สวมรอยทุบราคาหุ้นให้ตกต่ำลงไปอีก ทำให้คนตื่นกลัว เทขายหุ้นตามมา แล้วคนปั่นหุ้นก็เข้าไปช้อนซื้อหุ้นที่ราคาต่ำ
ส่วนใหญ่แล้วเจ้าของหุ้นที่ทราบข้อมูลภายใน จะเป็นคนเข้ามาปั่นราคาหุ้น อาจจะมีตัวแทน (Nominees) ที่เป็นรายใหญ่ทั้งในและต่างประเทศเข้ามาปั่น จากนั้นก็จะมีนักลงทุนทั่วไปเข้ามาร่วมซื้อและร่วมขาย ดูเหมือนเป็นธรรมชาติ ทำให้ยากที่จะตรวจสอบได้ ตลาดอาจจะถูกปั่นทั้งตลาดได้ การปั่นหุ้นมักจะสวมรอยให้สอดคล้องกับทิศทางตลาดรวม ที่จะปั่นหุ้นตัวเดียวเดี่ยวโดดขึ้นลงผิดตลาดมีน้อย
ความเป็นไปของ 2 ปัจจัยแรกไม่อันตรายต่อระบบ แต่ความเป็นไปของปัจจัยที่ 3 เป็นเรื่องที่อันตรายต่อระบบ ทำให้ราคาหุ้นขึ้นและลงผิดจริงได้มาก ทำให้ตลาดหุ้นเป็นแหล่งที่ใช้ฟอกเงินแหล่งใหญ่ที่สุดในโลก แหล่งกาสิโนและแหล่งการพนันอื่นๆ ถือเป็นแหล่งฟอกเงินอันดับรองลงไป
ผู้เขียนเห็นด้วยกับคำพิพากษา ว่ามีการใช้อำนาจหน้าที่เอื้อประโยชน์ให้ชินคอร์ป และทำให้ราคาหุ้นชินคอร์ปสูงขึ้นจริง
หากตรวจสอบย้อนหลัง 20 ปี ตั้งแต่หุ้นชินคอร์ปเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ พบว่าราคาหุ้นชินคอร์ปแกว่งตัวที่รุนแรง และบ่อยครั้งมาก ขึ้นก็แรง ตกก็แรง ฉวยโอกาสขึ้นและตกแรงกว่าหุ้นทั่วไป วันที่ 4 มกราคม 2537 วันที่ SET Index ปิดที่ 1,753.73 จุด ชินคอร์ปปิดที่ 48.37 บาท (ราคาเฉลี่ยหลังการแตกพาร์และเพิ่มทุน) วันที่ 23 มกราคา 2549 วันที่มีการตกลงซื้อ-ขายกับเทมาเส็ก(deal) SET Index ปิดที่ 750.28 ชินคอร์ปปิดที่ 48.25 บาท โดยตกลงซื้อ-ขายกับเทมาเส็กที่ราคา 49.25 บาท
นช.พ.ต.ท.ทักษิณ คงได้ตรวจสอบแล้วว่า ราคาที่เคยสูงสุดในอดีตคือ 48.37 บาท ดังนั้นจึงพยายามใช้อำนาจหน้าที่แก้ไขสัญญา เปลี่ยนแปลงสัมปทานฯ แก้ไขกฎหมาย ให้เกิดผลดีต่อชินคอร์ป ทำให้ปัจจัยพื้นฐานของชินคอร์ปดีเป็นพิเศษ (Excellent) ช่วยหนุนราคาหุ้นขึ้นมา แล้วตกลงขายให้เทมาเส็กที่ราคาหุ้นละ 49.25 บาท ซึ่งใกล้เคียงกับราคาที่เคยสูงสุดเป็นประวัติการณ์เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2537 ที่ SET Index สูงเท่ากับ1,753.73 จุด นั่นเอง
การใช้หนี้ไอเอ็มเอฟหมดกลางปี 2546 ก็มีส่วนเอามาเป็นข่าวดี ช่วยทำให้ราคาหุ้นสูงขึ้นได้
ย้อนกลับตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของราคาชินคอร์ปในอดีต วันที่ 1 เมษายน 2536 มีราคาปิดที่ 7.90 บาท วันที่ 4 มกราคม 2537 ราคาปิดที่ 48.37 บาท ช่วงระยะเวลาเพียง 9 เดือน ราคาหุ้นชินคอร์ปสูงขึ้น 6.63 เท่า หรือสูงขึ้น 512 เปอร์เซ็นต์ ถือว่าเป็นการขึ้นเร็วและแรงมาก และหลังจากนั้นก็ตกลงแรง
16 กุมภาพันธ์ 2553 โลกทวิตเตอร์ @suthichai ทวิตถึง “พาดหัวกรุงเทพธุรกิจเช้านี้ว่า 4 ปี เทมาเส็กกำไรจากฮุบ “ชิน” ตั้งแต่ปี 49 รับปันผล 8.7 หมื่นล้าน” ซึ่งมากกว่าที่ นช.พ.ต.ท.ทักษิณขายให้เทมาเส็ก 6.9 หมื่นล้านล้านบาท แสดงว่าเทมาเส็กได้ทุนที่ซื้อชินคอร์ปคืนในเวลาอันสั้น สินทรัพย์ที่เหลือ รวมทั้งผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นในอนาคตก็จะเป็นกำไรของเทมาเส็กแต่อย่างเดียว
แสดงว่ามีการใช้อำนาจหน้าที่เอื้อประโยชน์มหาศาลแก่ชินคอร์ปจริง ทำให้เทมาเส็กได้รับการคืนทุนที่ซื้อชินคอร์ปในเวลาอันสั้นมาก แต่น่าเสียดาย และเสียใจ แทนที่การเอื้อประโยชน์ดังกล่าวจะตกเป็นผลประโยชน์กิจการของคนไทย แต่กลับตกเป็นของบริษัทต่างชาติ