ASTVผู้จัดการรายวัน-“พาณิชย์”ถกผู้ผลิต ห้างสรรพสินค้า ร้านค้าปลีกสมัยใหม่ ถกรับมือม็อบแดงป่วน สั่งเตรียมพร้อมผลิตสินค้า วางจำหน่ายตามปกติ อย่าให้ขาดแคลน พร้อมส่งสายตรวจติดตามภาวะราคาสินค้าทั่วประเทศ ขู่งัดกฎหมายคุม หากเห็นแววป่วนหนัก
น.ส.ชุติมา บุณยประภัศร อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า ในวันที่ 11 มี.ค.นี้ กรมฯ จะเชิญผู้ประกอบการ ผู้ผลิตสินค้า ห้างสรรพสินค้า ร้านค้าปลีกสมัยใหม่ (โมเดิร์น เทรด) ซึ่งเป็นช่องทางจำหน่ายสินค้ารายใหญ่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล เข้าประชุมหาแนวทางดูแลการซื้อขายสินค้าในช่วงเกิดวิกฤติทางการเมือง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความตระหนก การกักตุนสินค้า หรือขายสินค้าเกินราคาจนทำให้ตลาดเกิดความปั่นป่วน โดยเฉพาะกลุ่มอาหาร สินค้าอุปโภคบริโภค ซึ่งมีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวัน
“ได้ออกมาตรการเพิ่มเติมเพื่อดูแลภาวะราคาสินค้าให้อยู่ในภาวะปกติ โดยจะประชุมขอความร่วมมือไปยังผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค ห้างสรรพสินค้า ห้างค้าปลีกค้าส่ง ให้ผลิตและนำสินค้าออกจำหน่ายตามปกติในช่วงการชุมนุม พร้อมเร่งประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจถึงมาตรการกำกับดูแล เพื่อสร้างความมั่นใจแก่ประชาชนว่าจะมีสินค้าที่จำเป็นขั้นพื้นฐาน เช่น ข้าวสาร น้ำตาลทราย เพียงพอ และไม่เกิดการขาดแคลนแน่นอน”
นอกจากนี้ กรมการค้าภายในได้ออกมาตรการทางกฎหมายเพิ่มเติม เพื่อรับมือการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงที่เริ่มชุมนุมระหว่างวันที่ 12-14 มี.ค. นี้ โดยหากเกิดภาวะสินค้าขาดแคลน จะใช้มาตรการป้องกันการกักตุนสินค้าหรือครอบครองสินค้าเกินปริมาณที่กำหนด รวมถึงการสั่งห้ามยักย้ายข้าวจากสถานที่เก็บหรือเปลี่ยนแปลงสภาพข้าวเพื่อไม่ให้เกิดการกักตุนพร้อมทั้งประสานให้องค์การคลังสินค้า (อคส.) บริหาร จัดหาดูแลสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นกระจายสินค้าให้ถึงมือผู้บริโภคอย่างทั่วถึง
น.ส.ชุติมากล่าวว่า ได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ส่วนกลางและส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ ออกตรวจสอบสถานการณ์ราคาสินค้าอย่างใกล้ชิด ไม่ให้มีการฉวยโอกาสเอารัดเอาเปรียบประชาชนผู้บริโภค หากฝ่าฝืนจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี หรือปรับไม่เกิน 140,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และประชาชนพบเห็นความไม่เป็นธรรมทางการค้าสามารถแจ้งได้ที่สายด่วน 1569 กรมการค้าภายในและสำนักงานการค้าภายในจังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งจะส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบทันที
ส่วนกำกับดูแลสินค้าเกษตรกร จะดูแลให้เกิดขายผลผลิตได้ในราคาที่เป็นธรรม โดยเฉพาะช่วงข้าวนาปรังกำลังออกสู่ตลาด และรัฐบาลได้ออกมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวตามโครงการประกันรายได้รอบสอง โดยมอบให้ อคส. และองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) ตั้งโต๊ะรับซื้อข้าวเปลือกจากชาวนาในราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงและจัดตลาดนัดข้าวเปลือก ผ่านโรงสี 13 จังหวัด จำนวน 42 จุด และกำกับดูแลการดำเนินโครงการประกันรายได้รอบสอง เพื่อให้ประโยชน์ตกถึงเกษตรกรอย่างแท้จริง ไม่ให้ถูกเอาเปรียบด้านน้ำหนักและความชื้น พร้อมประสานให้เร่งรัดออกหนังสือรับรองความเป็นเกษตรกร และจ่ายเงินให้เกษตรกรโดยเร็วที่สุด
น.ส.ชุติมา บุณยประภัศร อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า ในวันที่ 11 มี.ค.นี้ กรมฯ จะเชิญผู้ประกอบการ ผู้ผลิตสินค้า ห้างสรรพสินค้า ร้านค้าปลีกสมัยใหม่ (โมเดิร์น เทรด) ซึ่งเป็นช่องทางจำหน่ายสินค้ารายใหญ่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล เข้าประชุมหาแนวทางดูแลการซื้อขายสินค้าในช่วงเกิดวิกฤติทางการเมือง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความตระหนก การกักตุนสินค้า หรือขายสินค้าเกินราคาจนทำให้ตลาดเกิดความปั่นป่วน โดยเฉพาะกลุ่มอาหาร สินค้าอุปโภคบริโภค ซึ่งมีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวัน
“ได้ออกมาตรการเพิ่มเติมเพื่อดูแลภาวะราคาสินค้าให้อยู่ในภาวะปกติ โดยจะประชุมขอความร่วมมือไปยังผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค ห้างสรรพสินค้า ห้างค้าปลีกค้าส่ง ให้ผลิตและนำสินค้าออกจำหน่ายตามปกติในช่วงการชุมนุม พร้อมเร่งประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจถึงมาตรการกำกับดูแล เพื่อสร้างความมั่นใจแก่ประชาชนว่าจะมีสินค้าที่จำเป็นขั้นพื้นฐาน เช่น ข้าวสาร น้ำตาลทราย เพียงพอ และไม่เกิดการขาดแคลนแน่นอน”
นอกจากนี้ กรมการค้าภายในได้ออกมาตรการทางกฎหมายเพิ่มเติม เพื่อรับมือการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงที่เริ่มชุมนุมระหว่างวันที่ 12-14 มี.ค. นี้ โดยหากเกิดภาวะสินค้าขาดแคลน จะใช้มาตรการป้องกันการกักตุนสินค้าหรือครอบครองสินค้าเกินปริมาณที่กำหนด รวมถึงการสั่งห้ามยักย้ายข้าวจากสถานที่เก็บหรือเปลี่ยนแปลงสภาพข้าวเพื่อไม่ให้เกิดการกักตุนพร้อมทั้งประสานให้องค์การคลังสินค้า (อคส.) บริหาร จัดหาดูแลสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นกระจายสินค้าให้ถึงมือผู้บริโภคอย่างทั่วถึง
น.ส.ชุติมากล่าวว่า ได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ส่วนกลางและส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ ออกตรวจสอบสถานการณ์ราคาสินค้าอย่างใกล้ชิด ไม่ให้มีการฉวยโอกาสเอารัดเอาเปรียบประชาชนผู้บริโภค หากฝ่าฝืนจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี หรือปรับไม่เกิน 140,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และประชาชนพบเห็นความไม่เป็นธรรมทางการค้าสามารถแจ้งได้ที่สายด่วน 1569 กรมการค้าภายในและสำนักงานการค้าภายในจังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งจะส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบทันที
ส่วนกำกับดูแลสินค้าเกษตรกร จะดูแลให้เกิดขายผลผลิตได้ในราคาที่เป็นธรรม โดยเฉพาะช่วงข้าวนาปรังกำลังออกสู่ตลาด และรัฐบาลได้ออกมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวตามโครงการประกันรายได้รอบสอง โดยมอบให้ อคส. และองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) ตั้งโต๊ะรับซื้อข้าวเปลือกจากชาวนาในราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงและจัดตลาดนัดข้าวเปลือก ผ่านโรงสี 13 จังหวัด จำนวน 42 จุด และกำกับดูแลการดำเนินโครงการประกันรายได้รอบสอง เพื่อให้ประโยชน์ตกถึงเกษตรกรอย่างแท้จริง ไม่ให้ถูกเอาเปรียบด้านน้ำหนักและความชื้น พร้อมประสานให้เร่งรัดออกหนังสือรับรองความเป็นเกษตรกร และจ่ายเงินให้เกษตรกรโดยเร็วที่สุด