ASTVผู้จัดการรายวัน – กรมการขนส่งทหารบกร้อนก้นเรียกประชุมถกปัญหาจัดซื้อเฮลิคอปเตอร์ส่อทุจริตสุดท้ายไร้ข้อสรุป กางผลสอบสตง.พบพิรุธอีกรวบรัดเปิดซองเทคนิคและซองราคาวันเดียวกันน่าจะไม่มีเวลาพิจารณารายละเอียดข้อเสนอของแต่ละบริษัทเพียงพอ ฟันซ้ำเปรียบเทียบราคาเฮลิคอปเตอร์แพงกว่าคู่แข่งอีกรายรวมกว่าร้อยล้าน ย้ำให้กลาโหมสั่งทบทวนกระบวนการจัดซื้อใหม่
ภายหลังจาก “ASTVผู้จัดการรายวัน” นำเสนอข่าวโครงการจัดซื้อเฮลิคอปเตอร์ ขนาดเบา แบบที่ 2 จำนวน 16 ลำ มูลค่าประมาณ 1,100 ล้านบาท ของกรมการขนส่งทหารบก (ขส.ทบ.) กองทัพบก ว่าส่อไปในทางทุจริต พร้อมกับเปิดผลสอบของสำนักงานการตรวจเงินดิน (สตง.) ที่ชี้ว่า กระบวนการจัดซื้อไม่ชอบด้วยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และอาจเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับเอกชนบางรายอันเป็นความผิดต่อการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐด้วย พร้อมกับขอให้กองทัพบกชี้แจงหรือทบทวนกระบวนการพิจารณาจัดซื้อเฮลิคอปเตอร์ดังกล่าวใหม่ ให้ถูกต้องตามระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ล่าสุด มีรายงานข่าวจากกองทัพบกว่า ทางกรมการขนส่งทหารบก ได้ประชุมเป็นการภายในโดยการนัดหมายประชุมครั้งนี้ ทาง พล.ต.วุทธิ์ วิมุกตะลพ เจ้ากรมการขนส่งทหารบก จะเข้าร่วมประชุมด้วย แต่เมื่อมีการนำเสนอข่าวอื้อฉาวของโครงการนี้เผยแพร่สู่สาธารณะ ทางเจ้ากรมฯ ไม่ได้เข้าร่วม โดยปล่อยให้ลูกน้องประชุมกันไป ทำให้การปรึกษาหารือถึงทางแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการจัดซื้อเฮลิคอปเตอร์ฯ ไม่สามารถหาข้อสรุปได้ เนื่องจากจำนนด้วยหลักฐานที่มีการกระทำขัดต่อระเบียบและกฎหมายจริง
อย่างไรก็ตาม รายงานข่าวแจ้งว่า ประเด็นชี้แจงต่างๆ ตามที่ สตง. มีข้อกังขาตามผลตรวจสอบ ไม่ว่าจะเป็นการอนุญาตให้บริษัทที่เสนอราคา 3 ราคา เข้าสู่กระบวนการประมูลขั้นต่อไปได้โดยไม่ถูกตัดทิ้งไป หรือการผิดเงื่อนไขประมูลเรื่องเครื่องมือซ่อมบำรุง ฯลฯ ทางขส.ทบ. ได้จัดทำไว้ก่อนหน้านี้มาประมาณ 2 เดือนแล้ว แต่ยังไม่มีใครกล้าลงนาม ทำให้เรื่องยังค้างคาอยู่จนบัดนี้
สำหรับผลการตรวจสอบโครงการดังกล่าว ตามหนังสือที่ สตง.ส่งไปถึงพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม, พล.อ.อภิชาต เพ็ญกิตติ ปลัดกระทรวงกลาโหม ลงวันที่ 29 ม.ค. 2553 และพล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการกองทัพบก ลงวันที่ 18 ธ.ค. 2552 นอกจากจะมีประเด็นความไม่ถูกต้องเรื่องบริษัท Enstrom ที่เสนอราคา 3 ราคาแต่ไม่ถูกปรับตกไป อีกทั้งยังเสนอเครื่องมือซ่อมบำรุงผิดเงื่อนไขข้อกำหนด แต่กลับได้รับคัดเลือกเป็นผู้ชนะประมูล ตามข่าวที่เสนอไปก่อนหน้านี้นั้น
รายงานผลการตรวจสอบของ สตง. ที่ลงนามโดยนายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส รองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าการ สตง. ยังตั้งข้อสังเกตว่า คณะกรรมการจัดซื้อฯ มีความเร่งรีบดำเนินการและพิจารณาคัดเลือกผู้ขายในการจัดซื้อครั้งนี้ โดยคณะกรรมการฯ ได้ดำเนินการพิจารณาข้อเสนอทางเทคนิคของแต่ละบริษัท (จำนวน 4 บริษัท) และได้ทำการเปิดซองราคาของผู้เสนอราคาที่ได้ผ่านเกณฑ์การพิจารณาคุณสมบัติทางเทคนิคในวันเดียวกันกับวันที่ยื่นข้อเสนอ ซึ่งน่าจะไม่มีเวลาเพียงพอที่จะอ่านและพิจารณารายละเอียดในข้อเสนอของแต่ละบริษัท เพื่อพิจารณาผู้เสนอราคาที่ให้ประโยชน์ต่อทางราชการสูงสุดได้
นอกจากนี้ สตง.ยังระบุว่า จากการเดินทางไปดูสายการผลิตและทดสอบการบริของกรรมการฯ ท่านหนึ่งที่โรงงานผู้ผลิตของบริษัท Enstrom ประเทศสหรัฐอเมริกา พบข้อบกพร่องของเฮลิคอปเตอร์ Enstrom 480B หลายประการ ประกอบกับเมื่อเปรียบเทียบราคาระหว่างเฮลิคอปเตอร์ 333Mของบริษัท Schweizer และเฮลิคอปเตอร์ 480B ของบริษัทEnstrom พบว่า เฮลิคอปเตอร์ 480B ของบริษัทEnstrom มีราคาแพงกว่าเฮลิคอปเตอร์ 333Mของบริษัท Schweizer ถึงลำละ 235,875 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 7.548 ล้านบาท) หรือเป็นเงิน 3,774,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 120.768 ล้านบาท) ต่อ 16 ลำ
นอกจากนั้น เฮลิคอปเตอร์ 333Mของบริษัท Schweizer มีค่าใช้จ่ายในการใช้งานและค่าบำรุงรักษาต่ำกว่า เฮลิคอปเตอร์ 480B ของบริษัทEnstrom ซึ่งกรณีดังกล่าวอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ราชการและอาจเข้าข่ายเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
จากการตรวจสอบข้อมูลการประมูลจัดซื้อเฮลิคอปเตอร์ฯ พบว่า คณะกรรมการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษครั้งนี้ ประกอบด้วย พ.อ.พีระพันธุ์ พูนสวัสดิ์ ประธานคณะกรรมการ, พ.ท.นรุตม์ พนมมาศ และ พ.ท.คำผล โคตรนาแพง กรรมการฝ่ายจัดซื้อ ซึ่งทั้งสามเป็นผู้ลงลายมือชื่อในเอกสารข้อเสนอราคาของบริษัท Enstrom ที่เสนอราคา 3 ราคา ซึ่งเป็นการกระทำที่อาจเป็นความผิดต่อระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เพราะเรื่องนี้คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ (กวพ.) ได้เคยวินิจฉัยวางหลักไว้ว่า ผู้เสนอราคาต้องเสนอราคาเพียงราคาเดียว หากผู้เสนอราคารายใดยื่นข้อเสนอราคาไม่ถูกต้อง คณะกรรมการฯ ต้องไม่รับพิจารณาราคาของผู้เสนอราคารายนั้น
อนึ่ง โครงการจัดหาเฮลิคอปเตอร์ขนาดเบาสำหรับฝึกรบ แบบที่ 2 จำนวน 16 ลำ แบบเหมารวม (Total Package) มูลค่าประมาณ 1,100ล้านบาท เปิดประมูลด้วยวิธีพิเศษ เมื่อวันที่ 11 ส.ค. 2552 ที่กรมการขนส่งทหารบก กองทัพบก โดยคณะกรรมการจัดซื้อฯ ได้พิจารณาข้อเสนอทางเทคนิคของบริษัทที่เข้าร่วมประมูล จำนวน 4 บริษัท ประกอบด้วย บริษัทSchweizwer, บริษัท McDonald Dougles, บริษัท Enstrom และบริษัท Eurocopter ผลปรากฏว่าบริษัท Eurocopter ตกข้อเสนอด้านเทคนิค เหลือเพียง 3 บริษัท จากนั้น คณะกรรมการจัดหา ได้เปิดซองข้อเสนอราคาของผู้เสนอราคาที่ผ่านเกณฑ์การพิจารณาคุณสมบัติทางเทคนิคในวันเดียวกัน และพิจารณาตัดสินให้บริษัท Enstrom เป็นผู้ชนะการประมูลอย่างมีเงื่อนงำ
ภายหลังจาก “ASTVผู้จัดการรายวัน” นำเสนอข่าวโครงการจัดซื้อเฮลิคอปเตอร์ ขนาดเบา แบบที่ 2 จำนวน 16 ลำ มูลค่าประมาณ 1,100 ล้านบาท ของกรมการขนส่งทหารบก (ขส.ทบ.) กองทัพบก ว่าส่อไปในทางทุจริต พร้อมกับเปิดผลสอบของสำนักงานการตรวจเงินดิน (สตง.) ที่ชี้ว่า กระบวนการจัดซื้อไม่ชอบด้วยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และอาจเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับเอกชนบางรายอันเป็นความผิดต่อการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐด้วย พร้อมกับขอให้กองทัพบกชี้แจงหรือทบทวนกระบวนการพิจารณาจัดซื้อเฮลิคอปเตอร์ดังกล่าวใหม่ ให้ถูกต้องตามระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ล่าสุด มีรายงานข่าวจากกองทัพบกว่า ทางกรมการขนส่งทหารบก ได้ประชุมเป็นการภายในโดยการนัดหมายประชุมครั้งนี้ ทาง พล.ต.วุทธิ์ วิมุกตะลพ เจ้ากรมการขนส่งทหารบก จะเข้าร่วมประชุมด้วย แต่เมื่อมีการนำเสนอข่าวอื้อฉาวของโครงการนี้เผยแพร่สู่สาธารณะ ทางเจ้ากรมฯ ไม่ได้เข้าร่วม โดยปล่อยให้ลูกน้องประชุมกันไป ทำให้การปรึกษาหารือถึงทางแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการจัดซื้อเฮลิคอปเตอร์ฯ ไม่สามารถหาข้อสรุปได้ เนื่องจากจำนนด้วยหลักฐานที่มีการกระทำขัดต่อระเบียบและกฎหมายจริง
อย่างไรก็ตาม รายงานข่าวแจ้งว่า ประเด็นชี้แจงต่างๆ ตามที่ สตง. มีข้อกังขาตามผลตรวจสอบ ไม่ว่าจะเป็นการอนุญาตให้บริษัทที่เสนอราคา 3 ราคา เข้าสู่กระบวนการประมูลขั้นต่อไปได้โดยไม่ถูกตัดทิ้งไป หรือการผิดเงื่อนไขประมูลเรื่องเครื่องมือซ่อมบำรุง ฯลฯ ทางขส.ทบ. ได้จัดทำไว้ก่อนหน้านี้มาประมาณ 2 เดือนแล้ว แต่ยังไม่มีใครกล้าลงนาม ทำให้เรื่องยังค้างคาอยู่จนบัดนี้
สำหรับผลการตรวจสอบโครงการดังกล่าว ตามหนังสือที่ สตง.ส่งไปถึงพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม, พล.อ.อภิชาต เพ็ญกิตติ ปลัดกระทรวงกลาโหม ลงวันที่ 29 ม.ค. 2553 และพล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการกองทัพบก ลงวันที่ 18 ธ.ค. 2552 นอกจากจะมีประเด็นความไม่ถูกต้องเรื่องบริษัท Enstrom ที่เสนอราคา 3 ราคาแต่ไม่ถูกปรับตกไป อีกทั้งยังเสนอเครื่องมือซ่อมบำรุงผิดเงื่อนไขข้อกำหนด แต่กลับได้รับคัดเลือกเป็นผู้ชนะประมูล ตามข่าวที่เสนอไปก่อนหน้านี้นั้น
รายงานผลการตรวจสอบของ สตง. ที่ลงนามโดยนายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส รองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าการ สตง. ยังตั้งข้อสังเกตว่า คณะกรรมการจัดซื้อฯ มีความเร่งรีบดำเนินการและพิจารณาคัดเลือกผู้ขายในการจัดซื้อครั้งนี้ โดยคณะกรรมการฯ ได้ดำเนินการพิจารณาข้อเสนอทางเทคนิคของแต่ละบริษัท (จำนวน 4 บริษัท) และได้ทำการเปิดซองราคาของผู้เสนอราคาที่ได้ผ่านเกณฑ์การพิจารณาคุณสมบัติทางเทคนิคในวันเดียวกันกับวันที่ยื่นข้อเสนอ ซึ่งน่าจะไม่มีเวลาเพียงพอที่จะอ่านและพิจารณารายละเอียดในข้อเสนอของแต่ละบริษัท เพื่อพิจารณาผู้เสนอราคาที่ให้ประโยชน์ต่อทางราชการสูงสุดได้
นอกจากนี้ สตง.ยังระบุว่า จากการเดินทางไปดูสายการผลิตและทดสอบการบริของกรรมการฯ ท่านหนึ่งที่โรงงานผู้ผลิตของบริษัท Enstrom ประเทศสหรัฐอเมริกา พบข้อบกพร่องของเฮลิคอปเตอร์ Enstrom 480B หลายประการ ประกอบกับเมื่อเปรียบเทียบราคาระหว่างเฮลิคอปเตอร์ 333Mของบริษัท Schweizer และเฮลิคอปเตอร์ 480B ของบริษัทEnstrom พบว่า เฮลิคอปเตอร์ 480B ของบริษัทEnstrom มีราคาแพงกว่าเฮลิคอปเตอร์ 333Mของบริษัท Schweizer ถึงลำละ 235,875 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 7.548 ล้านบาท) หรือเป็นเงิน 3,774,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 120.768 ล้านบาท) ต่อ 16 ลำ
นอกจากนั้น เฮลิคอปเตอร์ 333Mของบริษัท Schweizer มีค่าใช้จ่ายในการใช้งานและค่าบำรุงรักษาต่ำกว่า เฮลิคอปเตอร์ 480B ของบริษัทEnstrom ซึ่งกรณีดังกล่าวอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ราชการและอาจเข้าข่ายเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
จากการตรวจสอบข้อมูลการประมูลจัดซื้อเฮลิคอปเตอร์ฯ พบว่า คณะกรรมการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษครั้งนี้ ประกอบด้วย พ.อ.พีระพันธุ์ พูนสวัสดิ์ ประธานคณะกรรมการ, พ.ท.นรุตม์ พนมมาศ และ พ.ท.คำผล โคตรนาแพง กรรมการฝ่ายจัดซื้อ ซึ่งทั้งสามเป็นผู้ลงลายมือชื่อในเอกสารข้อเสนอราคาของบริษัท Enstrom ที่เสนอราคา 3 ราคา ซึ่งเป็นการกระทำที่อาจเป็นความผิดต่อระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เพราะเรื่องนี้คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ (กวพ.) ได้เคยวินิจฉัยวางหลักไว้ว่า ผู้เสนอราคาต้องเสนอราคาเพียงราคาเดียว หากผู้เสนอราคารายใดยื่นข้อเสนอราคาไม่ถูกต้อง คณะกรรมการฯ ต้องไม่รับพิจารณาราคาของผู้เสนอราคารายนั้น
อนึ่ง โครงการจัดหาเฮลิคอปเตอร์ขนาดเบาสำหรับฝึกรบ แบบที่ 2 จำนวน 16 ลำ แบบเหมารวม (Total Package) มูลค่าประมาณ 1,100ล้านบาท เปิดประมูลด้วยวิธีพิเศษ เมื่อวันที่ 11 ส.ค. 2552 ที่กรมการขนส่งทหารบก กองทัพบก โดยคณะกรรมการจัดซื้อฯ ได้พิจารณาข้อเสนอทางเทคนิคของบริษัทที่เข้าร่วมประมูล จำนวน 4 บริษัท ประกอบด้วย บริษัทSchweizwer, บริษัท McDonald Dougles, บริษัท Enstrom และบริษัท Eurocopter ผลปรากฏว่าบริษัท Eurocopter ตกข้อเสนอด้านเทคนิค เหลือเพียง 3 บริษัท จากนั้น คณะกรรมการจัดหา ได้เปิดซองข้อเสนอราคาของผู้เสนอราคาที่ผ่านเกณฑ์การพิจารณาคุณสมบัติทางเทคนิคในวันเดียวกัน และพิจารณาตัดสินให้บริษัท Enstrom เป็นผู้ชนะการประมูลอย่างมีเงื่อนงำ