โดยสรุปประเด็นปัญหาข้อกฎหมายของสัญญาการดำเนินกิจการส่งโทรทัศน์สีช่อง 3 ตามที่ กมธ. มีความเห็นว่าควรส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกาให้ความเห็น อย่างคร่าวๆดังนี้
ประเด็นปัญหาที่ 1. จากหนังสือของบริษัท บางกอกเอนเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ลงวันที่ 26 พฤศจิกายน 2531 ที่ลงนามโดย นายวิชัย มาลีนนท์ กรรมการผู้จัดการบริษัทฯ โดยที่ไม่ได้ประทับตราสำคัญของบริษัท ตามหนังสือ รับรองของกระทรวงพาณิชย์ จะถือว่าเป็นหนังสือของนิติบุคคลบริษัท บางกอกเอนเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ตามกฎหมายหรือไม่
หนังสือดังกล่าวเป็นหนังสือที่ทางบริษัทบางกอกฯส่งถึง อสมท เกี่ยวกับสัญญาซึ่งดำเนินกิจการส่งโทรทัศน์สี แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 2 ระหว่างองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทยกับบริษัท บางกอกเอนเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด
ทั้งนี้สัญญาดังกล่าวเริ่มต้นเมื่อ บริษัท บางกอกเอนเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ได้ร่วมดำเนินกิจการส่งโทรทัศน์สีกับ บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด ซึ่งต่อมาได้โอนสถานีโทรทัศน์และสิทธิร่วมดำเนินกิจการให้แก่องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2520 โดยได้ทำสัญญาร่วมดำเนินกิจการส่งโทรทัศน์ (ช่อง 3 ) รวม 4 ฉบับคือ
1.1สัญญาฉบับที่ 1 ลงวันที่ 28 เมษายน 2521 ซึ่งเป็นการขยายระยะเวลาการดำเนินกิจการร่วมกันตามสัญญาเดิม (บริษัท บางกอกเอนเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด กับบริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด ออกไปอีก 10 ปี โดยกำหนดให้ค่าตอบแทน 6.5% ของรายรับทั้งหมดก่อนหักรายจ่ายแต่ต้องไม่น้อยกว่า 7.8 ล้านบาท (ข้อ 5) ทั้งนี้ในการดำเนินการ บริษัทบางกอกฯตกลงดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลและปฎิบัติตามกฎหมาย มติคณะรัฐมนตรี กฎข้อบังคับ และระเบียบต่างๆ ของทางราชการ ไม่ว่าจะใช้บังคับอยู่ก่อนแล้วหรือภายหลังวันทำสัญญานี้และต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของอสมท ตลอดเวลา โดยยินยอมให้ผู้อำนวยการ อสมท หรือผู้แทนเป็นผู้อำนวยการโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 และจ่ายค่าตอบแทนให้ตามสมควร ตามที่จะตกลงกันต่อไป (ข้อ 8)
1.2สัญญาฉบับที่ 2 ลงวันที่ 13 กันยายน 2525 (แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 1) กำหนดให้มีการปรับค่าตอบแทน โดยยังคงใช้การคำนวณในอัตรา 6.5% ของรายได้ทั้งหมดอยู่ เพิ่มการกำหนดอัตราค่าตอบแทนขั้นต่ำไว้ไม่นอ้ยกว่า 148,234,779.32 บาท
1.3 สัญญาฉบับที่ 3 ลงวันที่ 16 กรกฎาคม 2530 (ฉบับแไขเพิ่มเติมครั้งที่ 2 ) มีสาระสำคัญกำหนดให้บริษัทฯรับภาระเป็นผู้จัดสร้างสถานีเครื่องส่งโทรทัศนืสำหรับถ่ายทอดสัญญาณจากสถานีโทรทัศน์ส่วนกลางของ อสมท ( ไทยทีวีสีช่อง 9 และ ช่อง 3 ) รวมทั้งติดตั้งเครื่องอุปกรณ์ต่างๆรวม 22 แห่งในต่างจังหวัด ในวงเงินทั้งสิ้นไม่น้อยกว่า 895 ล้านบาท และบริษัทต้องจ่ายค่าตอบแทน ให้ อสมท เป็นเงิน 6.5% ของรายได้ ทั้งหมด แต่ละปีก่อนหักค่าใช้จ่าย แต่ต้องไม่น้อยกว่า ค่าตอบแทนขั้นต่ำในแต่ละปี รวมกันตลอดอายุสัญญาไม่น้อยกว่า 1,205,15 ล้านบาท โดย อสมท ได้ขยายเวลาให้บริษัทฯดำเนินการออกอากาศต่อไปอีก 20 ปี นับแต่วันที่ 26 มีนาคม 2533 และมีการกำหนดเรื่องการขยายอายุสัญญาไปอีก 10 ปี ทั้งนี้ มีเงื่อนไขบังคับก่อนตามสัญญาข้อ 7 จำนวน 5 ข้อ (หากไม่เป็นไปตามเงื่อนไขทั้ง 5 ข้อ การขยายอายุสัญญาจะไม่เกิดขึ้น ) ดังนี้
(1) อสมท ยังมีนโยบายที่จะให้เอกชนร่วมดำเนินการออกอากาศของสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคต่อไป
(2) การดำเนินการของ “บางกอกเอนเตอร์เทนเม้นต์” ตามสัญญาที่ผ่านมาเป็นไปโดยเรียบร้อย
(3) อสมท จะพิจารณาให้สิทธิแก่ “บางกอกเอนเตอร์เทนเม้นต์” เป็นรายแรก โดย “บางกอกเอนเตอร์เทนเม้นต์” ต้องแจ้งความประสงค์พร้อมด้วยข้อเสนอเป็นลายลักษณ์อักษรมายัง อสมท ก่อนครบกำหนดสัญญาไม่น้อยกว่า 2 ปี
(4) คู่สัญญาได้ทำความตกลงเรื่องค่าตอบแทน ซึ่งจะต้องไม่น้อยกว่า 2,002,390,000 บาท ( สองพันสองล้านสามแสนเก้าหมื่นบาทถ้วน )
(5) คู่สัญญาได้ทำความตกลงเรื่องการปรับปรุงเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ และเงื่อนไขอื่นๆที่จำเป็น
1.4 สัญญาฉบับที่ 4 ลงวันที่ 2 พฤษภาคม 2532 (แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 3 ) มีรสาระสำคัญดังนี้
1.บริษัทฯตกลงจะขยายเครือข่ายการให้บริการโทรทัศน์ให้กว้างขวางออกไปอีก โดยบริษัทฯจะต้องลงทุนสร้างสถานีเครื่องส่งโทรทัศน์ สำหรับถ่ายทอดสดสัญญาณจากสถานีโทรทัศน์ส่วนกลาง ( ช่อง 9 และช่อง 3 ) เพิ่มเติมอีก 9 แห่ง ในต่างจังหวัด พร้อมจัดหาเครื่องมืออุปกรณ์มีวงเงินทั้งสิ้นไม่น้อยกว่า 81 ล้านบาท
2. ค่าตอบแทนสำหรับ 20 ปีแรก บริษัทฯตกลงจ่ายให้ อสมท เป็นจำนวนค่าตอบแทนรวมกัน 1,205 ล้านบาท โดยแบ่งจ่ายเป็นรายปี โดยได้ตัดการคิดค่าตอบแทนร้อยละ 6.5 ของรายได้ ทั้งหมดก่อนหักค่าใช้จ่ายในแต่ละปี
3.สัญญากำหนดให้ต่ออายุสัญญาฯออกไปอีก 10 ปี ( ปี 2553 – 2563 ) โดยมีเงื่อนไขว่า บริษัทฯจะต้องไม่ผิดสัญญาและต้องจ่ายค่าตอบแทนเป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 2,002,610,000 บาทแบ่งเป็นจ่ายให้เป็นรายปี และต้องปรับปรุงเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆในวงเงินไม่น้อยกว่า 50 ล้านบาท
อ่านต่อฉบับวันพรุ่งนี้
ประเด็นปัญหาที่ 1. จากหนังสือของบริษัท บางกอกเอนเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ลงวันที่ 26 พฤศจิกายน 2531 ที่ลงนามโดย นายวิชัย มาลีนนท์ กรรมการผู้จัดการบริษัทฯ โดยที่ไม่ได้ประทับตราสำคัญของบริษัท ตามหนังสือ รับรองของกระทรวงพาณิชย์ จะถือว่าเป็นหนังสือของนิติบุคคลบริษัท บางกอกเอนเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ตามกฎหมายหรือไม่
หนังสือดังกล่าวเป็นหนังสือที่ทางบริษัทบางกอกฯส่งถึง อสมท เกี่ยวกับสัญญาซึ่งดำเนินกิจการส่งโทรทัศน์สี แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 2 ระหว่างองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทยกับบริษัท บางกอกเอนเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด
ทั้งนี้สัญญาดังกล่าวเริ่มต้นเมื่อ บริษัท บางกอกเอนเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ได้ร่วมดำเนินกิจการส่งโทรทัศน์สีกับ บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด ซึ่งต่อมาได้โอนสถานีโทรทัศน์และสิทธิร่วมดำเนินกิจการให้แก่องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2520 โดยได้ทำสัญญาร่วมดำเนินกิจการส่งโทรทัศน์ (ช่อง 3 ) รวม 4 ฉบับคือ
1.1สัญญาฉบับที่ 1 ลงวันที่ 28 เมษายน 2521 ซึ่งเป็นการขยายระยะเวลาการดำเนินกิจการร่วมกันตามสัญญาเดิม (บริษัท บางกอกเอนเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด กับบริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด ออกไปอีก 10 ปี โดยกำหนดให้ค่าตอบแทน 6.5% ของรายรับทั้งหมดก่อนหักรายจ่ายแต่ต้องไม่น้อยกว่า 7.8 ล้านบาท (ข้อ 5) ทั้งนี้ในการดำเนินการ บริษัทบางกอกฯตกลงดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลและปฎิบัติตามกฎหมาย มติคณะรัฐมนตรี กฎข้อบังคับ และระเบียบต่างๆ ของทางราชการ ไม่ว่าจะใช้บังคับอยู่ก่อนแล้วหรือภายหลังวันทำสัญญานี้และต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของอสมท ตลอดเวลา โดยยินยอมให้ผู้อำนวยการ อสมท หรือผู้แทนเป็นผู้อำนวยการโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 และจ่ายค่าตอบแทนให้ตามสมควร ตามที่จะตกลงกันต่อไป (ข้อ 8)
1.2สัญญาฉบับที่ 2 ลงวันที่ 13 กันยายน 2525 (แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 1) กำหนดให้มีการปรับค่าตอบแทน โดยยังคงใช้การคำนวณในอัตรา 6.5% ของรายได้ทั้งหมดอยู่ เพิ่มการกำหนดอัตราค่าตอบแทนขั้นต่ำไว้ไม่นอ้ยกว่า 148,234,779.32 บาท
1.3 สัญญาฉบับที่ 3 ลงวันที่ 16 กรกฎาคม 2530 (ฉบับแไขเพิ่มเติมครั้งที่ 2 ) มีสาระสำคัญกำหนดให้บริษัทฯรับภาระเป็นผู้จัดสร้างสถานีเครื่องส่งโทรทัศนืสำหรับถ่ายทอดสัญญาณจากสถานีโทรทัศน์ส่วนกลางของ อสมท ( ไทยทีวีสีช่อง 9 และ ช่อง 3 ) รวมทั้งติดตั้งเครื่องอุปกรณ์ต่างๆรวม 22 แห่งในต่างจังหวัด ในวงเงินทั้งสิ้นไม่น้อยกว่า 895 ล้านบาท และบริษัทต้องจ่ายค่าตอบแทน ให้ อสมท เป็นเงิน 6.5% ของรายได้ ทั้งหมด แต่ละปีก่อนหักค่าใช้จ่าย แต่ต้องไม่น้อยกว่า ค่าตอบแทนขั้นต่ำในแต่ละปี รวมกันตลอดอายุสัญญาไม่น้อยกว่า 1,205,15 ล้านบาท โดย อสมท ได้ขยายเวลาให้บริษัทฯดำเนินการออกอากาศต่อไปอีก 20 ปี นับแต่วันที่ 26 มีนาคม 2533 และมีการกำหนดเรื่องการขยายอายุสัญญาไปอีก 10 ปี ทั้งนี้ มีเงื่อนไขบังคับก่อนตามสัญญาข้อ 7 จำนวน 5 ข้อ (หากไม่เป็นไปตามเงื่อนไขทั้ง 5 ข้อ การขยายอายุสัญญาจะไม่เกิดขึ้น ) ดังนี้
(1) อสมท ยังมีนโยบายที่จะให้เอกชนร่วมดำเนินการออกอากาศของสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคต่อไป
(2) การดำเนินการของ “บางกอกเอนเตอร์เทนเม้นต์” ตามสัญญาที่ผ่านมาเป็นไปโดยเรียบร้อย
(3) อสมท จะพิจารณาให้สิทธิแก่ “บางกอกเอนเตอร์เทนเม้นต์” เป็นรายแรก โดย “บางกอกเอนเตอร์เทนเม้นต์” ต้องแจ้งความประสงค์พร้อมด้วยข้อเสนอเป็นลายลักษณ์อักษรมายัง อสมท ก่อนครบกำหนดสัญญาไม่น้อยกว่า 2 ปี
(4) คู่สัญญาได้ทำความตกลงเรื่องค่าตอบแทน ซึ่งจะต้องไม่น้อยกว่า 2,002,390,000 บาท ( สองพันสองล้านสามแสนเก้าหมื่นบาทถ้วน )
(5) คู่สัญญาได้ทำความตกลงเรื่องการปรับปรุงเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ และเงื่อนไขอื่นๆที่จำเป็น
1.4 สัญญาฉบับที่ 4 ลงวันที่ 2 พฤษภาคม 2532 (แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 3 ) มีรสาระสำคัญดังนี้
1.บริษัทฯตกลงจะขยายเครือข่ายการให้บริการโทรทัศน์ให้กว้างขวางออกไปอีก โดยบริษัทฯจะต้องลงทุนสร้างสถานีเครื่องส่งโทรทัศน์ สำหรับถ่ายทอดสดสัญญาณจากสถานีโทรทัศน์ส่วนกลาง ( ช่อง 9 และช่อง 3 ) เพิ่มเติมอีก 9 แห่ง ในต่างจังหวัด พร้อมจัดหาเครื่องมืออุปกรณ์มีวงเงินทั้งสิ้นไม่น้อยกว่า 81 ล้านบาท
2. ค่าตอบแทนสำหรับ 20 ปีแรก บริษัทฯตกลงจ่ายให้ อสมท เป็นจำนวนค่าตอบแทนรวมกัน 1,205 ล้านบาท โดยแบ่งจ่ายเป็นรายปี โดยได้ตัดการคิดค่าตอบแทนร้อยละ 6.5 ของรายได้ ทั้งหมดก่อนหักค่าใช้จ่ายในแต่ละปี
3.สัญญากำหนดให้ต่ออายุสัญญาฯออกไปอีก 10 ปี ( ปี 2553 – 2563 ) โดยมีเงื่อนไขว่า บริษัทฯจะต้องไม่ผิดสัญญาและต้องจ่ายค่าตอบแทนเป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 2,002,610,000 บาทแบ่งเป็นจ่ายให้เป็นรายปี และต้องปรับปรุงเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆในวงเงินไม่น้อยกว่า 50 ล้านบาท
อ่านต่อฉบับวันพรุ่งนี้