xs
xsm
sm
md
lg

หวั่นสัญญาช่อง3ผิดพระราชบัญญัติ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


เปิดโปงประเด็นใหม่ คณะอนุกรรมการฯ ที่แต่งตั้งโดยคณะกรรมาธิการการสื่อสารและโทรคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร ได้ตรวจสอบพบความผิดปกติในประเด็นข้อกฎหมายของสัญญาการดำเนินกิจการส่งโทรทัศน์สีช่อง 3 ของบริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด กับบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) และเห็นว่าควรส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกาให้ความเห็น

ประเด็นที่วันนี้จะนำเสนอต่อเนื่องจากเมื่อวาน มีหลายประเด็น ที่น่าสนใจคือ

ประเด็นที่ 2 . หากพิจารณาวัตถุประสงค์ของบริษัท บางกอกเอนเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ที่ได้ทำการจดทะเบียนไว้กับทางหน่วยงานราชการ ถือว่าครอบคลุมถึง “การดำเนินบริการส่งวิทยุโทรทัศน์” โดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และหากครอบคลุมถึง จะเป็นวัตถุประสงค์ที่ขัดต่อ บทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 และแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2504 และพระราชบัญญัติวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2498 ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2502 และฉบับที่ 3 พ.ศ. 2521 ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น อันเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือไม่ และทำให้วัตถุประสงค์ดังกล่าวต้องตกเป็นโมฆะหรือไม่

ประเด็นที่ 3. การที่นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี คณะกรรมการ อสมท และ อสมท ในขณะนั้น ดำเนินการตามหนังสือในประเด็นที่ 1 . ( ที่รายงานไปแล้วว่า เป็นหนังสือของบริษัท บางกอกเอนเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ที่ลงนามโดยนายวิชัย มาลีนนท์ ลงวันที่ 26 พฤศจิกายน 2531 โดยไม่ได้ประทับตราสำคัญของบริษัทฯตามหนังสือรับรองของกระทรวงพาณิชย์ ) และนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี โดยอ้างว่าเป็นหนังสือและข้อเสนอของนิติบุคคลบริษัทฯ เป็นการกระทำโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และมีผลผูกพัน อสมท และบริษัทบางกอกฯหรือไม่

ประเด็นที่ 4. หากวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลบริษัท บางกอกเอนเตอร์เทนเม้นต์ จำกัก ไม่ได้ครอบคลุมถึงการดำเนินบริการส่งวิทยุโทรทัศน์ตามกฎหมายแล้ว จะส่งผลให้สัญญาแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 ลงวันที่ 16 กรกฎาคม 2530 ไม่มีผลตามกฎหมายและต้องตกเป็นโมฆะตั้งแต่เริ่มแรกหรือไม่

โดยสัญญาฉบับที่ 2 ลงวันที่ 13 กันยายน 2525 (แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 1) กำหนดให้มีการปรับค่าตอบแทน โดยยังคงใช้การคำนวณในอัตรา 6.5% ของรายได้ทั้งหมดอยู่ เพิ่มการกำหนดอัตราค่าตอบแทนขั้นต่ำไว้ไม่น้อยกว่า 148,234,779.32 บาท

อ่านต่อฉบับวันพรุ่งนี้
กำลังโหลดความคิดเห็น