ASTVผู้จัดการรายวัน-บลจ.กรุงไทย เตรียมลุย ตั้งกองทุนรวมสาธารณูปโภคทันที หากกลต.อนุมัติ ล่าสุดตามจีบ "ปตสผ." ตั้งกองอินฟาฯลงทุนโครงการขุดเจาะน้ำมัน หรือลงทุนในเครื่องจักร เเทนการระดมทุนผ่านหุ้นกู้ พร้อมตั้งเป้า AUM กองทุนสำรองฯปีเสือโต 20%
นางสาวประภา ปูรณโชติ รองกรรมการผู้จัดการ ผู้บริหารสายงานกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการจัดตั้งกองทุนรวมสาธารณูปโภค (Infastructure Fund)ว่า ตอนนี้เราได้มีการหารือกับหน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่มีแผนจะระดมทุนเพิ่อลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของประเทศทั้ง 3 ราย ซึ่งประกอบด้วย บริษัท การทางพิเศษแห่งประเทศไทย การประปานครหลวง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย รวมถึงบริษัทเอกชนอย่าง บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ด้วย โดยการหารือดังกล่าว เป็นการหารือเบื้องต้น ถึงหลักการและแนวทางตามเฮียร์ริ่งของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เท่านั้น เนื่องจากเกณฑ์การจัดตั้งกองทุน อยู่ระหว่างรอประกาศของก.ล.ต.
ทั้งนี้ ในส่วนของ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียมเอง สนใจใช้ช่องทางการระดมทุนผ่านการจัดตั้งกองทุนรวมสาธารณูปโภค แทนการระดมทุนด้วยการออกหุ้นกู้ ซึ่งการหารือถึงรูปแบบการระดมทุนเบื้องต้นนั้น เป็นไปได้หลายรูปแบบ ทั้งการลงทุนในโครงการขุดเจาะน้ำมัน การลงทุนในเครื่องจักร ซึ่งการลงทุนเหล่านี้มีอายุการลงทุนที่ชัดเจน ดังนั้น จึงสามารถกำหนดผลตอบแทนที่ชัดเจนได้ด้วย โดยจากการประเมินในเบื้องต้น เราคาดว่าผลตอบแทนจากการลงทุนจะอยู่ในระดับที่สูงกว่าพันธบัตรรัฐบาลอายุ 7 ปีอยู่ประมาณ 1% และหากรวมผลตอบแทนในรูปของเงินต้นที่จะทยอยคืนให้ผู้ลงทุนด้วยแล้ว เชื่อว่าจะสูงถึง 25% เลยทีเดียว อย่างไรก็ตาม ขณะนี้รูปแบบการลงทุนยังไม่ชัดเจน เพราะการจัดโครงสร้างกองทุนทำได้ตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงาน ก.ล.ต. เปิดรับแสดงความคิดเห็นเท่านั้น
นางสาวประภากล่าวว่า สำหรับหลักเกณฑ์ในการจัดตั้งกองทุนเบื้องต้น คาดว่าน่าจะได้ข้อสรุปและออกเป็นประกาศเร็วๆ นี้ โดยขณะนี้ยังมีความไม่ชัดเจนเรื่องของสิทธิประโยชน์ทางภาษี ว่าจะได้รับการยกเว้นภาษีรายได้ที่เกิดจากการลงทุนเช่นเดียวกับกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (พร็อพเพอร์ตี้ฟันด์) หรือไม่ นอกจากนี้ ยังมีความไม่ชัดเจนว่า หากบริษัทเอกชนที่สนใจระดมทุนผ่านการจัดตั้งกองทุนรวมสาธารณูปโภค จะสามารถคงสัดส่วนการลงทุนได้เกิน 50% หรือไม่ ซึ่งในเกาหลีใต้ กองทุนประเภทดังกล่าวเปิดทางให้เอกชนลงทุนได้
"หลังจากนี้ คงต้องรอประกาศเกณฑ์จัดตั้งกองทุนจาก สำนักงาน ก.ล.ต ก่อน จึงจะสามารถเสนอรูปแบบการลงทุนที่ชัดเจนได้ โดยในเบื้องต้น มีการกำหนดมูลค่าการระดมทุนเอาไว้ว่าต้องไม่ต่ำกว่า 5,000 ล้านบาท และสามารถลงทุนได้ทั้งในโครงการที่ยังไม่ก่อสร้าง ไปจนถึงโครงการที่ก่อสร้างแล้วเสร็จจนมีรายได้แล้ว ซึ่งคาดว่าช่วงกลางปีนี้ น่าจะมีความชัดเจนและสามารถจัดตั้งกองทุนได้"นางสาวประภากล่าว
นางสาวประภา กล่าวต่อถึงแผนงานกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในปีนี้ ว่า เราจะขยายสินทรัพย์ หรือ AUM ของธุรกิจกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเติบโต 20% โดยจะมุ่งเจาะลูกค้าภาคเอกชนและลูกค้าของธนาคารกรุงไทยเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสถาบันการศึกษาที่ยังไม่ได้เข้าสู่ระบบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมากนัก เช่นมหาวิทยาลัยราชภัฎ และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี เป็นต้น ส่วนแนวโน้มการแข่งขันของธุรกิจกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในปีนี้มองว่ายังมีการแข่งขันสูง โดยเฉพาะการตัดราคาหรือค่าธรรมเนียม เพื่อดึงลูกค้ามาอยู่ภายใต้การบริหารของบริษัทตัวเอง ซึ่งประเด็นนี้บริษัทคงจะทำได้เพียงการบริหารจัดการกองทุนให้มีผลการดำเนินงานอยู่อันดับต้นๆ ของระบบ เพื่อให้ลูกค้าพอใจในการบริหารงาน เเละไว้วางใจให้บลจ.กรุงไทยเป็นผู้บริหารพอร์ตการลงทุนต่อไป
นางสาวประภา ปูรณโชติ รองกรรมการผู้จัดการ ผู้บริหารสายงานกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการจัดตั้งกองทุนรวมสาธารณูปโภค (Infastructure Fund)ว่า ตอนนี้เราได้มีการหารือกับหน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่มีแผนจะระดมทุนเพิ่อลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของประเทศทั้ง 3 ราย ซึ่งประกอบด้วย บริษัท การทางพิเศษแห่งประเทศไทย การประปานครหลวง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย รวมถึงบริษัทเอกชนอย่าง บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ด้วย โดยการหารือดังกล่าว เป็นการหารือเบื้องต้น ถึงหลักการและแนวทางตามเฮียร์ริ่งของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เท่านั้น เนื่องจากเกณฑ์การจัดตั้งกองทุน อยู่ระหว่างรอประกาศของก.ล.ต.
ทั้งนี้ ในส่วนของ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียมเอง สนใจใช้ช่องทางการระดมทุนผ่านการจัดตั้งกองทุนรวมสาธารณูปโภค แทนการระดมทุนด้วยการออกหุ้นกู้ ซึ่งการหารือถึงรูปแบบการระดมทุนเบื้องต้นนั้น เป็นไปได้หลายรูปแบบ ทั้งการลงทุนในโครงการขุดเจาะน้ำมัน การลงทุนในเครื่องจักร ซึ่งการลงทุนเหล่านี้มีอายุการลงทุนที่ชัดเจน ดังนั้น จึงสามารถกำหนดผลตอบแทนที่ชัดเจนได้ด้วย โดยจากการประเมินในเบื้องต้น เราคาดว่าผลตอบแทนจากการลงทุนจะอยู่ในระดับที่สูงกว่าพันธบัตรรัฐบาลอายุ 7 ปีอยู่ประมาณ 1% และหากรวมผลตอบแทนในรูปของเงินต้นที่จะทยอยคืนให้ผู้ลงทุนด้วยแล้ว เชื่อว่าจะสูงถึง 25% เลยทีเดียว อย่างไรก็ตาม ขณะนี้รูปแบบการลงทุนยังไม่ชัดเจน เพราะการจัดโครงสร้างกองทุนทำได้ตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงาน ก.ล.ต. เปิดรับแสดงความคิดเห็นเท่านั้น
นางสาวประภากล่าวว่า สำหรับหลักเกณฑ์ในการจัดตั้งกองทุนเบื้องต้น คาดว่าน่าจะได้ข้อสรุปและออกเป็นประกาศเร็วๆ นี้ โดยขณะนี้ยังมีความไม่ชัดเจนเรื่องของสิทธิประโยชน์ทางภาษี ว่าจะได้รับการยกเว้นภาษีรายได้ที่เกิดจากการลงทุนเช่นเดียวกับกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (พร็อพเพอร์ตี้ฟันด์) หรือไม่ นอกจากนี้ ยังมีความไม่ชัดเจนว่า หากบริษัทเอกชนที่สนใจระดมทุนผ่านการจัดตั้งกองทุนรวมสาธารณูปโภค จะสามารถคงสัดส่วนการลงทุนได้เกิน 50% หรือไม่ ซึ่งในเกาหลีใต้ กองทุนประเภทดังกล่าวเปิดทางให้เอกชนลงทุนได้
"หลังจากนี้ คงต้องรอประกาศเกณฑ์จัดตั้งกองทุนจาก สำนักงาน ก.ล.ต ก่อน จึงจะสามารถเสนอรูปแบบการลงทุนที่ชัดเจนได้ โดยในเบื้องต้น มีการกำหนดมูลค่าการระดมทุนเอาไว้ว่าต้องไม่ต่ำกว่า 5,000 ล้านบาท และสามารถลงทุนได้ทั้งในโครงการที่ยังไม่ก่อสร้าง ไปจนถึงโครงการที่ก่อสร้างแล้วเสร็จจนมีรายได้แล้ว ซึ่งคาดว่าช่วงกลางปีนี้ น่าจะมีความชัดเจนและสามารถจัดตั้งกองทุนได้"นางสาวประภากล่าว
นางสาวประภา กล่าวต่อถึงแผนงานกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในปีนี้ ว่า เราจะขยายสินทรัพย์ หรือ AUM ของธุรกิจกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเติบโต 20% โดยจะมุ่งเจาะลูกค้าภาคเอกชนและลูกค้าของธนาคารกรุงไทยเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสถาบันการศึกษาที่ยังไม่ได้เข้าสู่ระบบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมากนัก เช่นมหาวิทยาลัยราชภัฎ และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี เป็นต้น ส่วนแนวโน้มการแข่งขันของธุรกิจกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในปีนี้มองว่ายังมีการแข่งขันสูง โดยเฉพาะการตัดราคาหรือค่าธรรมเนียม เพื่อดึงลูกค้ามาอยู่ภายใต้การบริหารของบริษัทตัวเอง ซึ่งประเด็นนี้บริษัทคงจะทำได้เพียงการบริหารจัดการกองทุนให้มีผลการดำเนินงานอยู่อันดับต้นๆ ของระบบ เพื่อให้ลูกค้าพอใจในการบริหารงาน เเละไว้วางใจให้บลจ.กรุงไทยเป็นผู้บริหารพอร์ตการลงทุนต่อไป