25 มี.ค.53 วัดใจบอร์ด อสมท ต่อ-ไม่ต่อ สัญญาสัมปทานช่อง 3 บีอีซีโยนเศษเนื้อข้างเขียงค่าตอบแทน 2 พันล้านเทียบกับรายได้มหาศาลกว่าแสนล้านบาท กรรมาธิการฯ เตรียมสั่งยกเลิกสัญญาให้รายอื่นเข้าประมูลแทน
จากปัญหาความไม่โป่รงใสที่เกิดขึ้นกรณีการเจรจาระหว่าง บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) โดย คณะกรรมการบอร์ด บมจ.อสมท โดยมี ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ เป็นประธานบอร์ด กับ บริษัท บางกอกเอนเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด เกี่ยวกับการต่อสัญญาการดำเนินกิจการส่งโทรทัศน์สีช่อง 3 ของบริษัท บางกอกเอนเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ต่อไปอีก 10 ปี ซึ่งเดิมจะหมดสัญญาในวันที่ 25 มีนาคม 2553 นี้ และบริษัทบางกอกฯต้องการต่อสัญญาออกไปอีก 10 ปี เริ่มตั้งแต่ปี 2553 ถึง ปี 2563
ขณะที่ในสัญญาเดิมนั้นระบุไว้ว่า ค่าตอบแทนที่บริษัทบางกอกฯต้องจ่ายให้กับอสมทนั้นต้องไม่ต่ำกว่า 2,002 ล้านบาท โดยแบ่งจ่ายเป็นรายปีตามที่กำหนดไว้ในสัญญา ซึ่งถือว่าเป็นสัญญาที่ค่อนข้างจะทำให้ อสมท เสียเปรียบต่อเอกชนอย่างมาก แม้ว่าทาง บอร์ด อสมท จะทำการเจรจา กับบริษัทบางกอกฯมาตลอด ก็ตาม
ในที่สุด ก็มีมติเห็นชอบกันว่า บริษัทบางกอกฯพร้อมที่จะจ่ายค่าตอบแทนพิเศษอีก 405 ล้านบาทให้กับ อสมท โดยที่ อสมท ต้องไม่ทำการเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงสัญญา โดยให้ยึดถือสัญญาเดิมต่อไป ซึ่ง อสมท ได้ทำหนังสือส่งถึง กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2552 โดยสรุปสาระสำคัญว่า ในการประชุมของบอร์ดอสมทครั้งที่ 19/2552 วันที่ 13 พฤศจิกายน 2552 มีมติรับหลักการในข้อเสนอของบริษัท บางกอกเอนเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ในการจ่ายผลประโยชน์ 405 ล้านบาท ให้กับ บมจ.อสมท ในคราวเดียว
อย่างไรก็ตาม เงินจำนวนดังกล่าวถือว่าน้อยมาก เมื่อเทียบกับผลประโยชน์มหาศาลที่ทาง บริษัทบางกอกฯจะได้รับจากการบริหารช่อง 3 ต่อไปอีก 10 ปี อีกทั้งการเจรจาของทั้งสองฝ่ายนั้นสร้างความกังขาให้กับผู้คนที่ติดตามข่าวนี้อย่างมากว่า ทำไม บอร์ด อสมท จึงยอมรับเงินแค่นั้น
ทั้งๆที่บริษัทบางกอกฯเองก็ทำผิดสัญญาในหลายประเด็นและไม่สมควรที่จะได้รับการต่อสัญญาด้วยซ้ำไป จากการสรุปของคณะอนุกรรมาธิการฯ และคณะกรรมการอีกหลายชุดที่ได้ศึกษาเอาไว้ตามที่ ASTVผู้จัดการายวัน ได้นำเสนอข่าวมาอย่างต่อเนื่องแล้วนั้น
ประเด็นปัญหาดังกล่าว คณะกรรมาธิการสื่อสารและโทรคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร ได้ตั้งคณะอนุกรรมาธิการฯ ขึ้นมาเพื่อทำการศึกษาและพิจารณาในประเด็นปัญหาดังกล่าว ซึ่ง อสมท ได้ทำการส่งรายละเอียดของสัญญานี้ ตั้งแต่เมื่อเริ่มสัญญา รวมทั้งการที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงสัญญาถึง 3 ครั้งในช่วงที่ผ่านมา และหลังจากที่ศึกษาและพิจารณาอย่างถี่ถ้วน ก็พบว่าสัญญาดังกล่าวมีประเด็นปัญหาอีกมากและมีหลายประเด็นที่ต้องตีความ
ล่าสุดเมื่อวันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา คณะอนุกรรมการธิการฯ โดยนายฮอชาลี ม่าเหร็ม ส.ส.สตูล พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะโฆษกกรรมาธิการสื่อสารและโทรคมนาคม กล่าวว่า หลังจากที่ได้รับทราลข้อมูลและทำการศึกษาพิจารณาถึงสัญญาช่อง 3 แล้วสรุปดังนี้
1.ไม่ควรให้สัญญาร่วมระหว่าง อสมท และบริษัท บางกอกฯ มีผลโดยอัตโนมัติ ในวันที่ 25 มี.ค. 2553 นี้ ดังนั้น กมธ.จึงมีข้อเสนอ ให้ อสมท ทบทวนการต่อสัญญาครั้งนี้
2 .อยากให้ อสมท ยกเลิกสัญญาทั้งหมดกับบริษัทบางกอกฯ แล้วให้ อสมท มาเป็นผู้ดำเนินกิจการช่อง 3 เอง แล้วหาผู้ประกอบรายใหม่เข้ามาแทน
3. การที่จะให้ช่อง 3 ออกอากาศต่อไปอีก 10 ปี จะต้องพิจารณาตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยเอกชนเข้าร่วมงานในกิจการของรัฐ เนื่องจากจะต้องมีมูลค่าการลงทุน 1,000 ล้านบาทขึ้นไป ซึ่ง อสมท สามารถทบทวนเรื่องค่าตอบแทนใหม่ได้
4. ตรงไหนที่เป็นปัญหาข้อกฎหมาย ต้องส่งให้กฤษฎีกาวินิจฉัย
ทั้งนี้ คณะกมธ. จะเชิญผู้บริหารของ บริษัท บางกอกเอนเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด และผู้บริหารรวมทั้งบอร์ด อสมท มารับฟังข้อสรุปการศึกษาของกมธ.ในประเด็นการต่อสัญญาช่อง 3
“ASTVผู้จัดการรายวัน” จะขอนำเสนอ ประเด็นปัญหาข้อกฎหมายที่คณะอนุกรรมาธิการฯเห็นว่าควรส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกาให้ความเห็น เกี่ยวกับสัญญาการดำเนินกิจการส่งโทรทัศน์สีช่อง 3 โดยจะขอทำการสรุปออกมาเป็นประเด็นหลายข้อ และนำเสนอหลายตอนต่อกันไป อย่างไรก็ตาม ในที่นี้จะไม่ได้นำเสนอถึงรายละเอียดของสัญญาแต่อย่างใด แต่จะเน้นไปที่ประเด็นปัญหาของสัญญาที่ต้องตีความว่าแต่ละประเด็นจะโมฆะหรือไม่ โดยจะเริ่มตั้งแต่ฉบับวันพรุ่งนี้
อ่านต่อฉบับวันพรุ่งนี้
จากปัญหาความไม่โป่รงใสที่เกิดขึ้นกรณีการเจรจาระหว่าง บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) โดย คณะกรรมการบอร์ด บมจ.อสมท โดยมี ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ เป็นประธานบอร์ด กับ บริษัท บางกอกเอนเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด เกี่ยวกับการต่อสัญญาการดำเนินกิจการส่งโทรทัศน์สีช่อง 3 ของบริษัท บางกอกเอนเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ต่อไปอีก 10 ปี ซึ่งเดิมจะหมดสัญญาในวันที่ 25 มีนาคม 2553 นี้ และบริษัทบางกอกฯต้องการต่อสัญญาออกไปอีก 10 ปี เริ่มตั้งแต่ปี 2553 ถึง ปี 2563
ขณะที่ในสัญญาเดิมนั้นระบุไว้ว่า ค่าตอบแทนที่บริษัทบางกอกฯต้องจ่ายให้กับอสมทนั้นต้องไม่ต่ำกว่า 2,002 ล้านบาท โดยแบ่งจ่ายเป็นรายปีตามที่กำหนดไว้ในสัญญา ซึ่งถือว่าเป็นสัญญาที่ค่อนข้างจะทำให้ อสมท เสียเปรียบต่อเอกชนอย่างมาก แม้ว่าทาง บอร์ด อสมท จะทำการเจรจา กับบริษัทบางกอกฯมาตลอด ก็ตาม
ในที่สุด ก็มีมติเห็นชอบกันว่า บริษัทบางกอกฯพร้อมที่จะจ่ายค่าตอบแทนพิเศษอีก 405 ล้านบาทให้กับ อสมท โดยที่ อสมท ต้องไม่ทำการเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงสัญญา โดยให้ยึดถือสัญญาเดิมต่อไป ซึ่ง อสมท ได้ทำหนังสือส่งถึง กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2552 โดยสรุปสาระสำคัญว่า ในการประชุมของบอร์ดอสมทครั้งที่ 19/2552 วันที่ 13 พฤศจิกายน 2552 มีมติรับหลักการในข้อเสนอของบริษัท บางกอกเอนเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ในการจ่ายผลประโยชน์ 405 ล้านบาท ให้กับ บมจ.อสมท ในคราวเดียว
อย่างไรก็ตาม เงินจำนวนดังกล่าวถือว่าน้อยมาก เมื่อเทียบกับผลประโยชน์มหาศาลที่ทาง บริษัทบางกอกฯจะได้รับจากการบริหารช่อง 3 ต่อไปอีก 10 ปี อีกทั้งการเจรจาของทั้งสองฝ่ายนั้นสร้างความกังขาให้กับผู้คนที่ติดตามข่าวนี้อย่างมากว่า ทำไม บอร์ด อสมท จึงยอมรับเงินแค่นั้น
ทั้งๆที่บริษัทบางกอกฯเองก็ทำผิดสัญญาในหลายประเด็นและไม่สมควรที่จะได้รับการต่อสัญญาด้วยซ้ำไป จากการสรุปของคณะอนุกรรมาธิการฯ และคณะกรรมการอีกหลายชุดที่ได้ศึกษาเอาไว้ตามที่ ASTVผู้จัดการายวัน ได้นำเสนอข่าวมาอย่างต่อเนื่องแล้วนั้น
ประเด็นปัญหาดังกล่าว คณะกรรมาธิการสื่อสารและโทรคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร ได้ตั้งคณะอนุกรรมาธิการฯ ขึ้นมาเพื่อทำการศึกษาและพิจารณาในประเด็นปัญหาดังกล่าว ซึ่ง อสมท ได้ทำการส่งรายละเอียดของสัญญานี้ ตั้งแต่เมื่อเริ่มสัญญา รวมทั้งการที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงสัญญาถึง 3 ครั้งในช่วงที่ผ่านมา และหลังจากที่ศึกษาและพิจารณาอย่างถี่ถ้วน ก็พบว่าสัญญาดังกล่าวมีประเด็นปัญหาอีกมากและมีหลายประเด็นที่ต้องตีความ
ล่าสุดเมื่อวันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา คณะอนุกรรมการธิการฯ โดยนายฮอชาลี ม่าเหร็ม ส.ส.สตูล พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะโฆษกกรรมาธิการสื่อสารและโทรคมนาคม กล่าวว่า หลังจากที่ได้รับทราลข้อมูลและทำการศึกษาพิจารณาถึงสัญญาช่อง 3 แล้วสรุปดังนี้
1.ไม่ควรให้สัญญาร่วมระหว่าง อสมท และบริษัท บางกอกฯ มีผลโดยอัตโนมัติ ในวันที่ 25 มี.ค. 2553 นี้ ดังนั้น กมธ.จึงมีข้อเสนอ ให้ อสมท ทบทวนการต่อสัญญาครั้งนี้
2 .อยากให้ อสมท ยกเลิกสัญญาทั้งหมดกับบริษัทบางกอกฯ แล้วให้ อสมท มาเป็นผู้ดำเนินกิจการช่อง 3 เอง แล้วหาผู้ประกอบรายใหม่เข้ามาแทน
3. การที่จะให้ช่อง 3 ออกอากาศต่อไปอีก 10 ปี จะต้องพิจารณาตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยเอกชนเข้าร่วมงานในกิจการของรัฐ เนื่องจากจะต้องมีมูลค่าการลงทุน 1,000 ล้านบาทขึ้นไป ซึ่ง อสมท สามารถทบทวนเรื่องค่าตอบแทนใหม่ได้
4. ตรงไหนที่เป็นปัญหาข้อกฎหมาย ต้องส่งให้กฤษฎีกาวินิจฉัย
ทั้งนี้ คณะกมธ. จะเชิญผู้บริหารของ บริษัท บางกอกเอนเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด และผู้บริหารรวมทั้งบอร์ด อสมท มารับฟังข้อสรุปการศึกษาของกมธ.ในประเด็นการต่อสัญญาช่อง 3
“ASTVผู้จัดการรายวัน” จะขอนำเสนอ ประเด็นปัญหาข้อกฎหมายที่คณะอนุกรรมาธิการฯเห็นว่าควรส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกาให้ความเห็น เกี่ยวกับสัญญาการดำเนินกิจการส่งโทรทัศน์สีช่อง 3 โดยจะขอทำการสรุปออกมาเป็นประเด็นหลายข้อ และนำเสนอหลายตอนต่อกันไป อย่างไรก็ตาม ในที่นี้จะไม่ได้นำเสนอถึงรายละเอียดของสัญญาแต่อย่างใด แต่จะเน้นไปที่ประเด็นปัญหาของสัญญาที่ต้องตีความว่าแต่ละประเด็นจะโมฆะหรือไม่ โดยจะเริ่มตั้งแต่ฉบับวันพรุ่งนี้
อ่านต่อฉบับวันพรุ่งนี้