ASTVผู้จัดการรายวัน - กมธ.การสื่อสารฯ สรุปสัญญาช่อง 3 ชี้ชัด อสมท ควรยกเลิกสัญญาบางกอกเอนเตอร์เทนเม้นต์ เหตุขาดทุนยับ เปิดช่องให้เอกชนร่วมทุน เตรียมเรียกผู้บริหาร อสมท-บริษัทบางกอกฯ เข้าฟังผล
นายฮอชาลี ม่าเหร็ม ส.ส.สตูล พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะโฆษกกรรมาธิการสื่อสารและโทรคมนาคม กล่าวภายหลังจากการประชุมเมื่อวานนี้ (24 ก.พ.) ว่า ที่ประชุมกรรมาธิการฯประชุมกันแล้วได้ข้อสรุปกรณีเรื่องปัญหาการต่อสัญญาช่อง 3ระหว่างบมจ.อสมท กับ บริษัท บางกอกเอนเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด คือ ในสัปดาห์หน้ากรรมาธิการจะเชิญผู้บริหารบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) และผู้บริหารบริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จกัด ผู้บริหาร ช่อง 3 มารับฟังข้อสรุปการศึกษาของกมธ.ในประเด็นการต่อสัญญาช่อง 3 ที่จะมีขึ้นภายในวันที่ 25 มี.ค.นี้
ทั้งนี้ กมธ.ได้ส่งข้อสรุปทั้งหมดนี้ให้แก่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ บมจ.อสมท และ บริษัทบางกอกฯแล้ว
นายฮอชาลี กล่าวว่า สำหรับประเด็นที่กมธ. จะเสนอคือ 1. ประเด็นสำคัญของอนุฯที่มองว่า อสมท จะต้องทบทวนในการทำสัญญาใหม่ ถึงแม้ว่าสัญญาปี 2532 จะมีผลในวันที่ 25 มี.ค. 53 ซึ่งจะเป็นการต่อสัญญาโดยอัตโนมัติ โดยมีเงื่อนไขว่า บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขสัญญาอย่างครบถ้วน โดยเฉพาะเรื่องการคืนกรรมสิทธิ์ ทรัพย์สิน และอุปกรณ์ในการดำเนินการของบริษัทบางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ ให้ครบถ้วน ก่อนวันที่ 25 มี.ค.เป็นไป ตามสัญญา BTO โดยชัดเจน
แต่อย่างไรก็ตาม จากการสอบถามไปยังอสมท พบว่า ยังไม่มีการส่งมอบกรรมสิทธิ์และทรัพย์สินแต่อย่างใด
นายฮอชาลี กล่าวอีกว่า เมื่อยังไม่มีการส่งมอบตามสัญญาแล้ว คำถามคือว่าแล้วทำไมทั้ง 2 ฝ่าย จึงรีบร้อนที่จะต่อสัญญาด้วย โดยเฉพาะ อสมท ที่รีบร้อนมาก ซึ่งกมธ.ยังค้างคาใจว่า ทำไม อสมท ถึงเร่งรีบในการต่อสัญญา เพราะกมธ.ได้ทราบจากหนังสือที่ อสมท ทำหนังสือถึงตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในเรื่องการยื่นข้อเสนอไปถึงบริษัทบางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ว่า หากมีการต่อสัญญาแล้ว โดยเพิ่มเงินให้ อสมท อีก 405 ล้านบาท ถือว่าเป็นการให้ผลประโยชน์เพิ่มเติมแก่ อสมท จะได้นำไปพิจารณาในการต่อสัญญา ซึ่งอสมท ทำไมมองแค่ 405 ล้านบาทแล้วต่อสัญญา ทำไม อสมท ไม่ทบทวนการต่อสัญญา หากอสมท ทบทวนสัญญา จะมีรายได้เพิ่มมากกว่านี้อีก
2. ทำไมช่อง 3 ได้นำทรัพย์สิน เครื่องมืออุปกรณ์ แทนที่จะยกให้ อสมท แต่กลับเอาไปให้บริษัทใหม่ของบางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ โดยไม่แจ้งให้ อสมท ทราบ
3. บริษัท บีอีซีเวิลด์จำกัด (มหาชน) เดิมเป็นผู้ประกอบการของช่อง 3 แต่บริษัทที่ต่อสัญญากับ อสมท คือบริษัทบางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ ถือว่าเป็นการผิดสัญญา ซึ่งบริษัทบางกอกฯ จะให้บริษัทอื่นเข้ามาดำเนินการเองไม่ได้ ความจริงบอร์ด อสมท จะต้องลงมาตรวจสอบในเรื่องนี้
4. เรื่องของพ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงาน หรือดำเนินงานในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 กรณีเอกชนร่วมกับรัฐสัญญาปี 2532 แต่มีผลบังคับใช้ปี 2535 ซึ่งอยากให้ช่วงนั้นให้เป็นไปตามสัญญาแต่นี่สัญญาใกล้จะหมด วันที่ 25 มี.ค.แล้ว ทำไม อสมท ไม่มองให้ชอบด้วย พ.ร.บ.ฉบับนี้
โฆษกกรรมาธิการสื่อสารฯกล่าวอีกว่า เพราะฉะนั้น กมธ.จึงมีข้อเสนอ 4 ข้อคือ
1.ไม่ควรให้สัญญาร่วมระหว่าง อสมท และบริษัท บางกอกฯ มีผลโดยอัตโนมัติ ในวันที่ 25 มี.ค. ดังนั้น กมธ.จึงมีข้อเสนอ ให้ อสมท ทบทวนการต่อสัญญาครั้งนี้
2 .อยากให้ อสมท ยกเลิกสัญญาทั้งหมดกับบริษัทบางกอกฯ แล้วให้ อสมท มาเป็นผู้ดำเนินกิจการช่อง 3 เอง แล้วหาผู้ประกอบรายใหม่เข้ามาแทน
3. การที่จะให้ช่อง 3 ออกอากาศต่อไปอีก 10 ปี จะต้องพิจารณาตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยเอกชนเข้าร่วมงานในกิจการของรัฐ เนื่องจากจะต้องมีมูลค่าการลงทุน 1,000 ล้านบาทขึ้นไป ซึ่ง อสมท สามารถทบทวนเรื่องค่าตอบแทนใหม่ได้
4. ตรงไหนที่เป็นปัญหาข้อกฎหมาย ต้องส่งให้กฤษฎีกาวินิจฉัย
นายฮอชาลี ม่าเหร็ม ส.ส.สตูล พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะโฆษกกรรมาธิการสื่อสารและโทรคมนาคม กล่าวภายหลังจากการประชุมเมื่อวานนี้ (24 ก.พ.) ว่า ที่ประชุมกรรมาธิการฯประชุมกันแล้วได้ข้อสรุปกรณีเรื่องปัญหาการต่อสัญญาช่อง 3ระหว่างบมจ.อสมท กับ บริษัท บางกอกเอนเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด คือ ในสัปดาห์หน้ากรรมาธิการจะเชิญผู้บริหารบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) และผู้บริหารบริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จกัด ผู้บริหาร ช่อง 3 มารับฟังข้อสรุปการศึกษาของกมธ.ในประเด็นการต่อสัญญาช่อง 3 ที่จะมีขึ้นภายในวันที่ 25 มี.ค.นี้
ทั้งนี้ กมธ.ได้ส่งข้อสรุปทั้งหมดนี้ให้แก่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ บมจ.อสมท และ บริษัทบางกอกฯแล้ว
นายฮอชาลี กล่าวว่า สำหรับประเด็นที่กมธ. จะเสนอคือ 1. ประเด็นสำคัญของอนุฯที่มองว่า อสมท จะต้องทบทวนในการทำสัญญาใหม่ ถึงแม้ว่าสัญญาปี 2532 จะมีผลในวันที่ 25 มี.ค. 53 ซึ่งจะเป็นการต่อสัญญาโดยอัตโนมัติ โดยมีเงื่อนไขว่า บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขสัญญาอย่างครบถ้วน โดยเฉพาะเรื่องการคืนกรรมสิทธิ์ ทรัพย์สิน และอุปกรณ์ในการดำเนินการของบริษัทบางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ ให้ครบถ้วน ก่อนวันที่ 25 มี.ค.เป็นไป ตามสัญญา BTO โดยชัดเจน
แต่อย่างไรก็ตาม จากการสอบถามไปยังอสมท พบว่า ยังไม่มีการส่งมอบกรรมสิทธิ์และทรัพย์สินแต่อย่างใด
นายฮอชาลี กล่าวอีกว่า เมื่อยังไม่มีการส่งมอบตามสัญญาแล้ว คำถามคือว่าแล้วทำไมทั้ง 2 ฝ่าย จึงรีบร้อนที่จะต่อสัญญาด้วย โดยเฉพาะ อสมท ที่รีบร้อนมาก ซึ่งกมธ.ยังค้างคาใจว่า ทำไม อสมท ถึงเร่งรีบในการต่อสัญญา เพราะกมธ.ได้ทราบจากหนังสือที่ อสมท ทำหนังสือถึงตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในเรื่องการยื่นข้อเสนอไปถึงบริษัทบางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ว่า หากมีการต่อสัญญาแล้ว โดยเพิ่มเงินให้ อสมท อีก 405 ล้านบาท ถือว่าเป็นการให้ผลประโยชน์เพิ่มเติมแก่ อสมท จะได้นำไปพิจารณาในการต่อสัญญา ซึ่งอสมท ทำไมมองแค่ 405 ล้านบาทแล้วต่อสัญญา ทำไม อสมท ไม่ทบทวนการต่อสัญญา หากอสมท ทบทวนสัญญา จะมีรายได้เพิ่มมากกว่านี้อีก
2. ทำไมช่อง 3 ได้นำทรัพย์สิน เครื่องมืออุปกรณ์ แทนที่จะยกให้ อสมท แต่กลับเอาไปให้บริษัทใหม่ของบางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ โดยไม่แจ้งให้ อสมท ทราบ
3. บริษัท บีอีซีเวิลด์จำกัด (มหาชน) เดิมเป็นผู้ประกอบการของช่อง 3 แต่บริษัทที่ต่อสัญญากับ อสมท คือบริษัทบางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ ถือว่าเป็นการผิดสัญญา ซึ่งบริษัทบางกอกฯ จะให้บริษัทอื่นเข้ามาดำเนินการเองไม่ได้ ความจริงบอร์ด อสมท จะต้องลงมาตรวจสอบในเรื่องนี้
4. เรื่องของพ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงาน หรือดำเนินงานในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 กรณีเอกชนร่วมกับรัฐสัญญาปี 2532 แต่มีผลบังคับใช้ปี 2535 ซึ่งอยากให้ช่วงนั้นให้เป็นไปตามสัญญาแต่นี่สัญญาใกล้จะหมด วันที่ 25 มี.ค.แล้ว ทำไม อสมท ไม่มองให้ชอบด้วย พ.ร.บ.ฉบับนี้
โฆษกกรรมาธิการสื่อสารฯกล่าวอีกว่า เพราะฉะนั้น กมธ.จึงมีข้อเสนอ 4 ข้อคือ
1.ไม่ควรให้สัญญาร่วมระหว่าง อสมท และบริษัท บางกอกฯ มีผลโดยอัตโนมัติ ในวันที่ 25 มี.ค. ดังนั้น กมธ.จึงมีข้อเสนอ ให้ อสมท ทบทวนการต่อสัญญาครั้งนี้
2 .อยากให้ อสมท ยกเลิกสัญญาทั้งหมดกับบริษัทบางกอกฯ แล้วให้ อสมท มาเป็นผู้ดำเนินกิจการช่อง 3 เอง แล้วหาผู้ประกอบรายใหม่เข้ามาแทน
3. การที่จะให้ช่อง 3 ออกอากาศต่อไปอีก 10 ปี จะต้องพิจารณาตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยเอกชนเข้าร่วมงานในกิจการของรัฐ เนื่องจากจะต้องมีมูลค่าการลงทุน 1,000 ล้านบาทขึ้นไป ซึ่ง อสมท สามารถทบทวนเรื่องค่าตอบแทนใหม่ได้
4. ตรงไหนที่เป็นปัญหาข้อกฎหมาย ต้องส่งให้กฤษฎีกาวินิจฉัย