วานนี้ ( 28 ก.พ.) นายนพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง ความหวังกับความกลัวของสาธารณชนคนไทย ภายหลังคดียึดทรัพย์พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ว่าประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 56.7 เห็นว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ควรยอมรับผลการพิพากษา เพราะคำตัดสินของศาล ถือว่ามีความถูกต้อง และยุติธรรม และเพื่อทำให้ประเทศชาติสงบสุข แต่ร้อยละ 32.6 แนะให้พ.ต.ท.ทักษิณ อุทธรณ์สู้ต่อไป
นอกจากนี้ ประชาชนร้อยละ 81.5 เห็นว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ควรนำเงิน 30,000 ล้านบาทที่ได้คืน ไปทำประโยชน์ด้านการศึกษา ร้อยละ 75.1 เห็นว่า ควรแจกให้คนจน ทั้งนี้ ประชาชนร้อยละ 69.3 เชื่อว่า ผลจากการยึดทรัพย์ครั้งนี้ จะทำให้นักการเมืองใช้อำนาจรัฐแสวงหาผลประโยชน์น้อยลง
เมื่อถามถึงสิ่งที่รัฐบาลและหน่วยงานของรัฐ ควรเร่งรณรงค์ให้คนไทยทำ ในช่วงเดือนมีนาคมนี้ พบว่าร้อยละ 94.0 อยากให้คนไทยรักและให้อภัยต่อกัน ร้อยละ 92.0 ให้คนไทยมีน้ำใจเกื้อกูลต่อกัน ร้อยละ 89.4 ช่วยกันดูแลพัฒนาชุมชนของตนเอง ร้อยละ 88.8 รณรงค์ให้เจ้าหน้าที่รัฐปฏิบัติต่อประชาชนอย่างเท่าเทียม ไม่เลือกปฏิบัติ ร้อยละ 86.9 รณรงค์ให้เจ้าหน้าที่รัฐ มีวินัย ซื่อสัตย์สุจริต
ทั้งนี้ สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือประชาชนเกินครึ่ง หรือร้อยละ 51.7 ยังคงมีความกลัว และกังวลต่อเหตุการณ์วุ่นวาย ที่จะเกิดขึ้นอีกในสังคมไทย ขณะที่ร้อยละ48.3 เลือกที่จะมีความหวังก้าวต่อไปข้างหน้าในชีวิต
**คะแนนนิยม"แม้ว"วูบ
ขณะที่ สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นจากประชาชนทุกอาชีพในกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 1,256 คน เรื่อง การตัดสินคดียึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีผลต่อ การเมือง เศรษฐกิจ สังคม อย่างไร
ทั้งนี้ พบว่า ด้านการเมือง ประชาชนร้อยละ 52.64 เชื่อว่าจะส่งผลให้การเมืองไทยร้อนแรง และนักการเมืองทะเลาะเบาะแว้งกันมากขึ้น ด้านเศรษฐกิจ ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 45.7 ระบุ จะทำให้รัฐบาลมีรายได้ เพื่อนำไปบริหารประเทศเพิ่มขึ้นจากเงินที่ถูกยึดคืนมา ส่วนด้านสังคมประชาชนร้อยละ 41.91 ระบุ ทำให้ประชาชนกังวลกับสถานการณ์ต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น โดยเฉพาะการวางระเบิด
ผลสำรวจยังพบว่า คนส่วนใหญ่ ร้อยละ 44.9 มีคะแนนนิยมในตัวพ.ต.ท.ทักษิณ ลดลง จากผลการตัดสินคดียึดทรัพย์ เพราะแสดงให้เห็นว่าพ.ต.ท.ทักษิณ มีความผิดจริงตามกระแสข่าวต่างๆที่ออกมาก่อนที่จะมีการตัดสินคดี สอดคล้องกับคะแนนนิยมที่มีต่อฝ่ายค้านซึ่งลดลงเช่นกัน โดยให้เหตุผลว่า ลำพังพ.ต.ท.ทักษิณ คงไม่สามารถกระทำผิดได้ ต้องมีลูกน้องคอยช่วยเหลือ ทั้งนี้ประชาชน ร้อยละ 52.82 เห็นว่า หลังจากการตัดสินคดีแล้ว พ.ต.ท.ทักษิณ ควรยอมรับคำตัดสิน และมุ่งหน้าทำธุรกิจที่ตนเองถนัดต่อไป
นอกจากนี้ ประชาชนร้อยละ 81.5 เห็นว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ควรนำเงิน 30,000 ล้านบาทที่ได้คืน ไปทำประโยชน์ด้านการศึกษา ร้อยละ 75.1 เห็นว่า ควรแจกให้คนจน ทั้งนี้ ประชาชนร้อยละ 69.3 เชื่อว่า ผลจากการยึดทรัพย์ครั้งนี้ จะทำให้นักการเมืองใช้อำนาจรัฐแสวงหาผลประโยชน์น้อยลง
เมื่อถามถึงสิ่งที่รัฐบาลและหน่วยงานของรัฐ ควรเร่งรณรงค์ให้คนไทยทำ ในช่วงเดือนมีนาคมนี้ พบว่าร้อยละ 94.0 อยากให้คนไทยรักและให้อภัยต่อกัน ร้อยละ 92.0 ให้คนไทยมีน้ำใจเกื้อกูลต่อกัน ร้อยละ 89.4 ช่วยกันดูแลพัฒนาชุมชนของตนเอง ร้อยละ 88.8 รณรงค์ให้เจ้าหน้าที่รัฐปฏิบัติต่อประชาชนอย่างเท่าเทียม ไม่เลือกปฏิบัติ ร้อยละ 86.9 รณรงค์ให้เจ้าหน้าที่รัฐ มีวินัย ซื่อสัตย์สุจริต
ทั้งนี้ สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือประชาชนเกินครึ่ง หรือร้อยละ 51.7 ยังคงมีความกลัว และกังวลต่อเหตุการณ์วุ่นวาย ที่จะเกิดขึ้นอีกในสังคมไทย ขณะที่ร้อยละ48.3 เลือกที่จะมีความหวังก้าวต่อไปข้างหน้าในชีวิต
**คะแนนนิยม"แม้ว"วูบ
ขณะที่ สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นจากประชาชนทุกอาชีพในกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 1,256 คน เรื่อง การตัดสินคดียึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีผลต่อ การเมือง เศรษฐกิจ สังคม อย่างไร
ทั้งนี้ พบว่า ด้านการเมือง ประชาชนร้อยละ 52.64 เชื่อว่าจะส่งผลให้การเมืองไทยร้อนแรง และนักการเมืองทะเลาะเบาะแว้งกันมากขึ้น ด้านเศรษฐกิจ ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 45.7 ระบุ จะทำให้รัฐบาลมีรายได้ เพื่อนำไปบริหารประเทศเพิ่มขึ้นจากเงินที่ถูกยึดคืนมา ส่วนด้านสังคมประชาชนร้อยละ 41.91 ระบุ ทำให้ประชาชนกังวลกับสถานการณ์ต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น โดยเฉพาะการวางระเบิด
ผลสำรวจยังพบว่า คนส่วนใหญ่ ร้อยละ 44.9 มีคะแนนนิยมในตัวพ.ต.ท.ทักษิณ ลดลง จากผลการตัดสินคดียึดทรัพย์ เพราะแสดงให้เห็นว่าพ.ต.ท.ทักษิณ มีความผิดจริงตามกระแสข่าวต่างๆที่ออกมาก่อนที่จะมีการตัดสินคดี สอดคล้องกับคะแนนนิยมที่มีต่อฝ่ายค้านซึ่งลดลงเช่นกัน โดยให้เหตุผลว่า ลำพังพ.ต.ท.ทักษิณ คงไม่สามารถกระทำผิดได้ ต้องมีลูกน้องคอยช่วยเหลือ ทั้งนี้ประชาชน ร้อยละ 52.82 เห็นว่า หลังจากการตัดสินคดีแล้ว พ.ต.ท.ทักษิณ ควรยอมรับคำตัดสิน และมุ่งหน้าทำธุรกิจที่ตนเองถนัดต่อไป