ASTVผู้จัดการรายวัน – “ประวิตร” ตะแบงอุ้ม จีที 200 ฉาวอ้างเจ้าหน้าที่เชื่อมั่นในประสิทธิภาพและมีความจำเป็นต้องใช้งานในพื้นที่ ระบุหากต้องยุติการใช้งานต้องให้กระทรวงวิทย์ฯ เป็นเจ้าภาพชี้แจงผู้ปฏิบัติงาน แย้มพร้อมเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์หากเกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม
พ.อ.ธนาธิป สว่างแสง โฆษกกระทรวงกลาโหม แถลงผลการประชุมสภากลาโหมว่า ในที่ประชุมพล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. ได้ชี้แจงถึงเครื่องตรวจวัตถุระเบิดจีที 200 ว่า เป็นอุปกรณ์พิเศษที่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ในพื้นที่ ซึ่งเจ้าหน้าที่ในพื้นที่มีความต้องการใช้ และเป็นคนร้องขอขึ้นมาเอง โดยที่ระดับนโยบายไม่ได้สั่งการ ส่วนกรอบการจัดซื้อเป็นไปตามขั้นตอนสามารถ ตรวจสอบได้
ส่วนผลจากการทดสอบของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนั้น จะต้องเป็นไปตามกลไกของรัฐบาล คือ ต้องยุติการใช้ แต่ทางกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ จะต้องเป็นเจ้าภาพหลักที่จะต้องลงไปในพื้นที่ เพื่อต้องทำความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่ด้วย
ทั้งนี้ พล.อ.ประวิตร วงศ์สุวรรณ รมว.กลาโหมแจ้งในที่ประชุมว่า เจ้าหน้าที่ มีความพร้อม และสามารถให้กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯเข้าไปชี้แจงทำความเข้าใจ และพร้อมที่รับฟังตลอด ส่วนอุปกรณ์ที่อาจจะนำมาใช้ทดแทนในขั้นต้นอาจเป็น เครื่องแจมเบอร์ ซึ่งปัจจุบันมีใช้อยู่ในพื้นที่จำนวน 80 เครื่อง เป็นแบบระบบโทรศัพท์ ทั้งนี้หน่วยงานต่างๆ พร้อมที่จะให้หลายฝ่ายหาอุปกรณ์อื่นมาใช้ทดแทน ไม่ว่า เครื่องมืออะไรก็ตามที่ใช้แล้วเกิดประโยชน์ เราก็พร้อมจะใช้ เพราะปัจจุบันการทำงาน ของเจ้าหน้าที่อยู่บนพื้นฐานของความเสี่ยง
อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ต้องให้รัฐเข้าไปดูแล เพราะการทำงานในพื้นที่ภาคใต้ ทุกส่วนล้วนเป็นเจ้าภาพสิ่งไหนที่ทำให้เกิดประโยชน์ ส่วนรวม และไม่มีผลกระทบต่อประชาชนก็สามารถใช้ได้
พ.อ.ธนาธิป สว่างแสง โฆษกกระทรวงกลาโหม แถลงผลการประชุมสภากลาโหมว่า ในที่ประชุมพล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. ได้ชี้แจงถึงเครื่องตรวจวัตถุระเบิดจีที 200 ว่า เป็นอุปกรณ์พิเศษที่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ในพื้นที่ ซึ่งเจ้าหน้าที่ในพื้นที่มีความต้องการใช้ และเป็นคนร้องขอขึ้นมาเอง โดยที่ระดับนโยบายไม่ได้สั่งการ ส่วนกรอบการจัดซื้อเป็นไปตามขั้นตอนสามารถ ตรวจสอบได้
ส่วนผลจากการทดสอบของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนั้น จะต้องเป็นไปตามกลไกของรัฐบาล คือ ต้องยุติการใช้ แต่ทางกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ จะต้องเป็นเจ้าภาพหลักที่จะต้องลงไปในพื้นที่ เพื่อต้องทำความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่ด้วย
ทั้งนี้ พล.อ.ประวิตร วงศ์สุวรรณ รมว.กลาโหมแจ้งในที่ประชุมว่า เจ้าหน้าที่ มีความพร้อม และสามารถให้กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯเข้าไปชี้แจงทำความเข้าใจ และพร้อมที่รับฟังตลอด ส่วนอุปกรณ์ที่อาจจะนำมาใช้ทดแทนในขั้นต้นอาจเป็น เครื่องแจมเบอร์ ซึ่งปัจจุบันมีใช้อยู่ในพื้นที่จำนวน 80 เครื่อง เป็นแบบระบบโทรศัพท์ ทั้งนี้หน่วยงานต่างๆ พร้อมที่จะให้หลายฝ่ายหาอุปกรณ์อื่นมาใช้ทดแทน ไม่ว่า เครื่องมืออะไรก็ตามที่ใช้แล้วเกิดประโยชน์ เราก็พร้อมจะใช้ เพราะปัจจุบันการทำงาน ของเจ้าหน้าที่อยู่บนพื้นฐานของความเสี่ยง
อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ต้องให้รัฐเข้าไปดูแล เพราะการทำงานในพื้นที่ภาคใต้ ทุกส่วนล้วนเป็นเจ้าภาพสิ่งไหนที่ทำให้เกิดประโยชน์ ส่วนรวม และไม่มีผลกระทบต่อประชาชนก็สามารถใช้ได้