ASTV ผู้จัดการรายวัน- "มาร์ค" สั่ง ผ่าจีที 200 ไม่สนบริษัทเอกชนฟ้องกลับ พร้อมตั้งกรรมการศึกษาข้อกฎหมาย ตรวจสอบสัญญาเพื่อเอาผิดบริษัทจัดจำหน่าย เพราะสินค้าไม่มีคุณภาพ พร้อมสั่งทดสอบ "อัฟฟ่า 6" หลังพบแหกตาจับยาบ้า ยาไอซ์ ก.วิทย์ เตรียมสาธิตเครื่องตัดสัญญาณ 2 ชนิด ที่จะนำมาใช้แทน ขณะที่ สตง. ระบุพบพิรุธจัดซื้อ จีที 200 ผิดปกติหลายจุด "เด็จพี่" ยื่นป.ป.ช.สอบ"บิ๊กป๊อก" ซื้อของแพงเกินจริง
วานนี้ ( 23 ก.พ.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี แถลงหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงผลการรายงานการทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องตรวจวัตถุระเบิด จีที 200 และ อัลฟา 6 ว่า กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ทำผลการตรวจสอบให้ครม.ทราบแล้ว และครม.ได้มอบหมายให้ลงพื้นที่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ร่วมกับหน่วยงานที่ปฏิบัติในพื้นที่ ร่วมกับกระทรวงกลาโหม และ กองทัพบก เข้าใจว่าจะลงพื้นที่ในวันนี้ ( 24 ก.พ.) และภายในช่วงสัปดาห์นี้ ให้เร็วที่สุด เพื่อซักซ้อมทำความเข้าใจ และปรับแผนการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อไม่ต้องใช้เครื่องมือดังกล่าว
"ระหว่างนี้ชัดเจนแล้วว่า ไม่ให้มีการใช้เครื่องมือตัวนี้ (จีที 200) กับบุคคลในเรื่องการตรวจวันถุระเบิด ใครที่นำเครื่องมือดังกล่าวไปตรวจพื้นที่ ประชาชน และเจ้าตัว จะต้องแจ้งความเสี่ยงของการใช้เครื่องมือตัวนี้ ซึ่งกระทรวงวิทย์ฯ เตรียมความพร้อมที่จะลงไปทำความเข้าใจ ชี้แจง และแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีที่คิดว่าจะช่วยงานกองทัพได้ เช่น เครื่องตัดสัญญาณ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อเจ้าหน้าที่ในการวางแผน โดยไม่ต้องใช้เครื่องมือตัวนี้อีกต่อไป" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
ส่วนกรณี อัลฟา 6 จะให้มีการทดสอบเช่นเดียวกับกรณี จีที 200 ซึ่งกระทรวงวิทย์ จะรับไปดำเนินการ นอกจากนั้นมีมติให้ทุกหน่วยงานที่ได้ซื้อ จีที 200 จัดทำรายงานเกี่ยวกับการจัดซื้ออุปกรณ์ดังกล่าวว่า เริ่มต้นอย่างไร ราคาเท่าไร กระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง ห้วงเวลาไหน กระบวนการอย่างไร และให้ นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะกำกับดูแลสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ดูความรับผิดของบริษัทในเชิงข้อกฎหมายด้วย
**นำเครื่องตัดสัญญาณสาธิตครม.
แหล่งข่าวจากที่ประชุม ครม. เปิดเผยว่า ในระหว่างการพิจารณารายงานของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ เรื่องสรุปผลการทดสอบเครื่อง จีที 200 นั้นนายอภิสิทธิ์ ได้แจ้งว่า แม้ไม่ได้ระบุว่าให้มีการยกเลิกให้ใช้ จีที 200 แต่ก็อาจจะนำไปสู่การยกเลิกใช้ในที่สุด ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปทำความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่ในพื้นที่
ที่ประชุมมีการสอบถามทั้งฝ่ายกฎหมาย และฝ่ายความมั่นคงว่า เมื่อไม่มีเครื่องมือนี้แล้วจะทำอย่างไร และหากห้ามเจ้าหน้าที่ใช้แล้ว จะมีความผิดในสัญญาตรงไหนหรือไม่ แต่ตามหลักการแล้ว ครม.มีมติว่าไม่ให้ใช้กับตัวบุคคลอีกต่อไป โดยมอบหมายให้ นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รมต.สำนักนายกรัฐมนตรี ไปศึกษามาตรการเพื่อดูความรับผิดของบริษัทผู้จำหน่ายอุปกรณ์
ขณะที่นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รมช.มหาดไทย แจ้งว่า กรณีของเครื่องอัลฟ่า 6 ที่กรมการปกครองใช้เพื่อตรวจสอบยาเสพติดอย่างเดียว ขอให้กระทรวงวิทย์ฯ เข้ามาตรวจสอบให้ด้วย เช่นเดียวกับกระทรวงยุติธรรม ก็ร้องขอให้เข้ามาตรวจสอบ อัลฟ่า 6 ที่ ปปส.ใช้อยู่เช่นกัน ซึ่งกระทรวงวิทย์ฯ ก็รับที่จะเข้ามาตรวจสอบเร็วๆนี้
แหล่งข่าวเปิดเผยว่า คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รมว.วิทย์ฯ แจ้งต่อครม.ว่า ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (สวทช.) หรือ เน็คเทค ได้ทำการวิจัยและพัฒนาเครื่องตัดสัญญาณใน 3 รูปแบบ ประกอบด้วย เครื่องตัดสัญญาณโทรศัทท์มือถือ เครื่องตัดสัญญาณวิทยุสื่อสาร( วอล์คกี้ทอล์คกี้ ) และเครื่องตัดสัญญาณรีโมทคอนโทรล
โดยเครื่องตัดสัญญาณโทรศัพท์มือถือ มีอยู่ประจำการ 88 เครื่อง ขณะที่อีก 2 ชนิดหลังนั้น กระทรวงวิทย์ ฯได้ทำการวิจัย คิดค้นและพัฒนาได้สำเร็จแล้ว จำนวน 3 เครื่อง ขณะที่ รมว.กลาโหม ชี้แจงว่า มีกว่า 33 หน่วยงาน ที่พร้อมจะนำมามาทดลองใช้ และขอให้กระทรวงวิทย์ ฯนำลงไปสาธิตวิธีการใช้ในพื้นที่ 3 จว.ชายแดนใต้ด้วย
"วันนี้ ครม.เห็นชอบอนุมัติงบประมาณจำนวนหนึ่งให้กระทรวงวิทย์ฯ ลงไปสาธิตเครื่องมือทั้ง 2 ชนิดนี้ อย่างไรก็ตามไม่มีการพูดถึงเครื่องมือ เซเบอร์ 4000 และเครื่องไฟโดของสหรัฐฯ เพราะเห็นว่า เป็นเครื่องตรวจสอบวัตถุระเบิดระยะใกล้ และเป็นเครื่องมือเก่า" แหล่งข่าวกล่าว
**"มาร์ค"สั่งผ่าเครื่องพิสูจน์
แหล่งข่าวที่ประชุมครม.เปิดเผยว่านายอภิสิทธิ์ ได้สั่งการให้กระทรวงวิทย์ฯดำเนินการผ่าพิสูจน์เครื่องจีที 200 เพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงว่า เครื่องดังกล่าวนี้ไม่มีประสิทธิภาพในการตรวจจับวัตถุระเบิด ตามที่บริษัทผู้แทนจำหน่ายโฆษณาไว้ เพราะมีข้อพิสูจน์จากทั่วโลกว่าเครื่องนี้ใช้กระแสจิตเป็นหลักในการทำงาน
ทั้งนี้นายอภิสิทธิ์ เห็นว่าควรผ่าพิสูจน์ จีที 200 ในหน่วยงานที่จัดซื้อเครื่องน้อย เช่น กระทรวงยุติธรรม เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการอ้างข้อผูกพันทางสัญญาระหว่างกองทัพ กับบริษัทเอกชน ที่ระบุว่า ระหว่างใช้งานห้ามผ่าเครื่องพิสูจน์โดยเด็ดขาด
"ไปผ่าเครื่องจีที 200 ของกระทรวงยุติธรรมสักเครื่องหนึ่งก็ได้ ไม่ต้องกลัวบริษัทฟ้องกลับ เพราะทั่วโลกมีข้อพิสูจน์แล้วว่า จีที 200 ใช้กระแสจิตเป็นหลักในการตรวจหาวัตถุระเบิด และสุดท้ายจะต้องนำไปสู่การยกเลิกการใช้ให้มากที่สุด ซึ่งทางกระทรวงวิทย์ ฯจะเป็นผู้ไปชี้แจงทำความเข้าใจ" แหล่งข่าวอ้างคำกล่าวของนายอภิสิทธิ์
แหล่งข่าวกล่าวด้วยว่า นายอภิสิทธิ์ ได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานที่มีการจัดซื้อจัดจ้างเครื่องจีที 200 เช่น กระทรวงมหาดไทย ยุติธรรม หรือ ที่กลาโหมแห่งเดียวมี 33 หน่วยงาน โดยมี 6 หน่วยงาน ใน จ.ปัตตานี , 6 หน่วยงานในจ.ยะลา และ 9 หน่วยงานใน จ.นราธิวาส ที่มีการใช้เครื่องจีที 200 เร่งจัดทำรายงานการใช้ถึงวิธีการจัดซื้อจัดจ้าง ช่วงระยะเวลาในการจัดซื้อ และ ปริมาณเครื่องที่จัดซื้อมีจำนวนเท่าไร รายงานมายังครม.โดยเร็ว
"ระหว่างการหารือถึงประเด็นนี้ทาง พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม กล่าวขึ้นมาทันทีว่า ผมจะสั่งลูกน้องให้เตรียมความพร้อม เพื่อให้กระทรวงวิทย์ฯ เข้าไปตรวจสอบ ขณะที่คุณหญิงกัลยา โสภณพานิช รมว.วิทย์ ฯ ตอบว่าได้ทำหนังสือไปทุกหน่วยงานแล้ว แต่รอหนังสือตอบกลับอยู่" แหล่งข่าวกล่าว
นอกจากนี้นายกฯ ยังมอบหมายให้กระทรวงวิทย์ ฯ ดำเนินการตรวจสอบเครื่อง อัฟฟ่า 6 ในทุกหน่วยงานที่มีการใช้งานอยู่ คือ กระทรวงยุติธรรม และมหาดไทย โดยหน่วยงานทั้งสองใช้เครื่องดังกล่าวในการตรวจสอบสารเสพติด เช่น ยาบ้า และยาไอซ์
**ตั้งกก.หาช่องเรียกค่าเสียหาย
นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังครม.มีมติให้เป็นประธานคณะกรรมการศึกษาข้อกฎหมายตรวจสอบสัญญาเครื่องจีที 200 ว่า การตั้งคณะกรรมการชุดนี้ เพื่อดำเนินการทางกฎหมายกับบริษัทจัดจำหน่ายเครื่องจีที 200 เนื่องจากมีความเสียหายเกิดขึ้น ซึ่งหลังจากนี้ตนจะเตรียมคณะกรรมการ โดยมีตัวแทนจากคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานอัยการสูงสุด กระทรวงยุติธรรม กระทรวงกลาโหม กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ กระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ สำนักงบประมาณ สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค
สำหรับแนวทางการตรวจสอบ 1. จะต้องดูว่าการจัดซื้อเครื่องเกิดขึ้นกี่ครั้ง แต่ละครั้งมีหน่วยงานใดจัดซื้อ และสัญญาการจัดซื้อเป็นอย่างไร
2 .หลังจากจัดซื้อมาแล้วผลจากการตรวจสอบของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ กับผลที่เกิดขึ้นจากการใช้จริง มีความเสียหายใดเกิดขึ้นหรือไม่
3. สุดท้ายจะนำข้อกฎหมายมาดูว่า ตามสัญญากับผลที่เกิดขึ้นจริงเมื่อเปรียบเทียบกันถึงขั้นที่จะดำเนินการทางกฎหมายต่อบริษัทได้หรือไม่ คาดว่าผลสรุปจะออกมาภายใน 2 สัปดาห์
ทั้งนี้ เป้าหมายสำคัญอยู่ที่ตัวสัญญาของบริษัทผู้จัดจำหน่าย เป็นสัญญาที่เป็นประเด็นปัญหาข้อกฎหมายว่า เมื่อนำสินค้าไปใช้แล้วไม่ได้คุณภาพอย่างที่มีการตกลงกันในสัญญาหรือไม่ ถ้าไม่ได้คุณภาพ แล้วเกิดความเสียหายอย่างไร และหากเกิดความเสียหายจะดำเนินการทางกฎหมายได้หรือไม่
อย่างไรก็ตาม ทางพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม ยืนยันว่าจะให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ เพราะทางกองทัพได้มีการจัดซื้อกันหลายครั้ง ทั้งนี้ เราไม่ได้ไล่เบี้ยไปถึงว่า ทำสัญญาถูกผิดอย่างไร แต่ประเด็นจะมุ่งไปที่บริษัทที่ขายสินค้าตัวนี้ให้กับรัฐบาล ส่วนเรื่องการทุจริตในการจัดซื้อ เป็นอีกประเด็นหนึ่ง ที่นายกรัฐมนตรีดูแลอยู่แล้ว
ผู้สื่อข่าวถามว่า จะดำเนินการกับบริษัทจากประเทศต้นทาง หรือแค่ตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทย นายสาทิตย์ กล่าวว่า จะต้องดูว่าส่วนไหนที่ทำสัญญากับรัฐ ผู้สื่อข่าวถามว่า ตอนนี้หาตัวเจ้าของบริษัทตัวแทนจำแหน่ายเจอหรือยัง นายสาทิตย์ ตอบว่า ครม.เพิ่งมอบอำนาจ
เมื่อถามว่าจะตามล่าเจ้าของบริษัทหรือไม่ เพราะตอนนี้หลบหนีไปแล้ว นายสาทิตย์ กล่าวว่า หลังจากที่ได้ความเห็นทางกฎหมาย ก็จะเสนอครม. แต่เราไม่มีความจำเป็นต้องเชิญทางบริษัทมา เพราะจะพิจารณาประเด็นข้อกฎหมายทางฝั่งรัฐบาลว่าจะดำเนินการทางกฎหมายหรือไม่ก่อน หลังจากนั้นจะพิจารณาว่าจะทำอย่างไรต่อไป เราไม่ได้ไปสอบทางบริษัท
**สตง.พบพิรุธซื้อ จีที 200 ผิดปกติ
ในวันเดียวกันนี้ ที่รัฐสภา มีการประชุม กมธ.ความมั่นคงแห่งรัฐ สภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายเจะอามิง โตะตาหยง เป็นประธาน และเป็นหนึ่งในคณะกรรมการตรวจสอบประสิทธิภาพจีที 200 เป็นประธานในที่ประชุม โดยเชิญผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินมาให้ข้อมูล แต่ฝ่าย สตง.ได้มอบหมายให้ นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส รองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และคณะมาชี้แจง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายพิศิษฐ์ ได้ชี้แจงว่า ขณะนี้สตง.ได้เข้ามาตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้างเครื่องจีที 200 แล้ว และได้ตั้งข้อสังเกตุเบื้องต้นว่า มีการตั้งราคาที่แตกต่างกันจริง โดยมีเพียงแค่บริษัทเดียวที่เป็นผู้เสนอราคา และชนะการประมูลโดยวิธีพิเศษ ตั้งแต่ปี 48 ซึ่ง สตง.จะเข้าไปดูในรายละเอียดว่า การจัดซื้อจัดจ้างในแต่ละครั้งมีการฮั้วกันหรือไม่ แม้กระทั่งต้องตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างผู้ขาย และผู้ซื้อด้วย
ภายหลังการประชุม นายเจะอามิง กล่าวว่า กมธ. ได้ขอเอกสารการจัดซื้อจัดจ้างจากกองทัพ แต่ทางกองทัพแจ้งว่าเป็นความลับที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง ดังนั้นในสัปดาห์หน้ากมธ. จะเชิญบริษัทเอกชน ที่เป็นผู้ดำเนินการเรื่องนี้มาให้ข้อมูล
อย่างไรก็ตามแม้กองทัพจะไม่ให้เอกสารการจัดซื้อจัดจ้าง แต่กมธ. และสตง.ก็ยังสามารถหาได้จากส่วนอื่น โดยเรื่องนี้ได้พันไปถึงการจัดซื้อเครื่อง อัลฟ่า 6 ด้วยที่ สตง.ได้เข้าไปตรวจสอบพบว่า มีความผิดปกติในเรื่องราคาเช่นเดียวกัน แต่มีหลายบริษัทเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ซึ่ง สตง.ระบุว่าจะสามารถสรุปความผิดปกติของการจัดซื้อเครื่อง อัลฟ่า 6 ส่ง ป.ป.ช.ได้ก่อน จีที 200
**บึ้มปัตตานีไม่เกี่ยวจีที 200
พล.อ.พิรุณ แผ้วพลสง เสนาธิการทหารบก ในฐานะเลขาธิการ กอ.รมน. กล่าวถึงกระแสข่าวเหตุระเบิดที่ จ.ปัตตานี สาเหตุเพราะเครื่องจีที 200 ตรวจหาระเบิดไม่พบว่า เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับเครื่องจีที 200 เป็นเรื่องการวางระเบิด เจ้าหน้าที่โดยที่ยังไม่มีการตรวจ แต่ระเบิดก่อนแล้ว
ทั้งนี้ เรื่องจีที 200 รัฐบาลมีแนวทางชัดเจนจะดำเนินงานต่อไปอย่างไร ส่วน พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. ได้ชี้แจงความเป็นมาเป็นไปเครื่องจีที 200 แล้ว ส่วนในอนาคตจะเลิกใช้ หรือจะดำเนินการหาเครื่องมือใหม่มาทดแทนเป็นไปตามนโยบาย ผบ.ทบ.กับนายกฯ
เมื่อถามว่า มองอุปกรณ์แบบอื่นทดแทนหรือยัง พล.อ.พิรุณ กล่าวว่า เครื่องมือประเภทนี้ เป็นสิ่งสำคัญที่เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานมีความต้องการอย่างมาก ต่อการช่วยปฏิบัติงาน เครื่องมือลักษณะแบบนี้ ตนไม่ได้หมายความว่า จีที 200 ทั้งนี้หากเป็นไปได้ เมื่อเราเลิกใช้จีที 200 ไปแล้ว จะมีเครื่องมืออื่นที่มาเสริมในการปฏิบัติงาน เราก็ต้องการ แต่การกำหนดจะนำอะไรมาทดแทน ต้องใช้เวลาศึกษาอย่างรอบคอบอีกครั้ง เพาะเราไม่อยากให้เกิดบทเรียนเหมือนจีที 200
**"เด็จพี่"ยื่นป.ป.ช.สอบ"บิ๊กป๊อก"
ด้านนายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย ได้ยื่นหนังสือถึงคณะกรรมการ ป.ป.ช.ขอให้ตรวจสอบ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. และเจ้าหน้าที่หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องในการจัดซื้อเครื่องตรวจวัตถุระเบิด จีที 200 เนื่องจากเห็นว่ามีความไม่โปร่งใสในการจัดซื้อ ราคาที่แต่ละหน่วยงานจัดซื้อมีความแตกต่างกัน โดยกองทัพบกจัดซื้อในราคาแพงสุด ถึงเครื่องละ 1.2 - 1.4 ล้านบาท
"นายอภิสิทธิ์ไม่กล้าตั้งคณะกรรมการมาตรวจสอบการทุจริตเรื่องนี้ เนื่องจากเกี่ยวข้องกับนักการเมืองที่มีความใกล้ชิดรัฐบาล และผู้นำกองทัพ ที่ค้ำเก้าอี้ให้รัฐบาล ซึ่งผมกำลังรวบรวมข้อมูลหลักฐาน เพื่อยื่นเรื่องให้ป.ป.ช. ตรวจสอบนายกฯ ในข้อหาเอื้อประโยชน์ และละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ไม่ให้มีการตรวจสอบการทุจริตเรื่องนี้ต่อไป" นายพร้อมพงศ์กล่าว
วานนี้ ( 23 ก.พ.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี แถลงหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงผลการรายงานการทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องตรวจวัตถุระเบิด จีที 200 และ อัลฟา 6 ว่า กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ทำผลการตรวจสอบให้ครม.ทราบแล้ว และครม.ได้มอบหมายให้ลงพื้นที่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ร่วมกับหน่วยงานที่ปฏิบัติในพื้นที่ ร่วมกับกระทรวงกลาโหม และ กองทัพบก เข้าใจว่าจะลงพื้นที่ในวันนี้ ( 24 ก.พ.) และภายในช่วงสัปดาห์นี้ ให้เร็วที่สุด เพื่อซักซ้อมทำความเข้าใจ และปรับแผนการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อไม่ต้องใช้เครื่องมือดังกล่าว
"ระหว่างนี้ชัดเจนแล้วว่า ไม่ให้มีการใช้เครื่องมือตัวนี้ (จีที 200) กับบุคคลในเรื่องการตรวจวันถุระเบิด ใครที่นำเครื่องมือดังกล่าวไปตรวจพื้นที่ ประชาชน และเจ้าตัว จะต้องแจ้งความเสี่ยงของการใช้เครื่องมือตัวนี้ ซึ่งกระทรวงวิทย์ฯ เตรียมความพร้อมที่จะลงไปทำความเข้าใจ ชี้แจง และแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีที่คิดว่าจะช่วยงานกองทัพได้ เช่น เครื่องตัดสัญญาณ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อเจ้าหน้าที่ในการวางแผน โดยไม่ต้องใช้เครื่องมือตัวนี้อีกต่อไป" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
ส่วนกรณี อัลฟา 6 จะให้มีการทดสอบเช่นเดียวกับกรณี จีที 200 ซึ่งกระทรวงวิทย์ จะรับไปดำเนินการ นอกจากนั้นมีมติให้ทุกหน่วยงานที่ได้ซื้อ จีที 200 จัดทำรายงานเกี่ยวกับการจัดซื้ออุปกรณ์ดังกล่าวว่า เริ่มต้นอย่างไร ราคาเท่าไร กระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง ห้วงเวลาไหน กระบวนการอย่างไร และให้ นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะกำกับดูแลสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ดูความรับผิดของบริษัทในเชิงข้อกฎหมายด้วย
**นำเครื่องตัดสัญญาณสาธิตครม.
แหล่งข่าวจากที่ประชุม ครม. เปิดเผยว่า ในระหว่างการพิจารณารายงานของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ เรื่องสรุปผลการทดสอบเครื่อง จีที 200 นั้นนายอภิสิทธิ์ ได้แจ้งว่า แม้ไม่ได้ระบุว่าให้มีการยกเลิกให้ใช้ จีที 200 แต่ก็อาจจะนำไปสู่การยกเลิกใช้ในที่สุด ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปทำความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่ในพื้นที่
ที่ประชุมมีการสอบถามทั้งฝ่ายกฎหมาย และฝ่ายความมั่นคงว่า เมื่อไม่มีเครื่องมือนี้แล้วจะทำอย่างไร และหากห้ามเจ้าหน้าที่ใช้แล้ว จะมีความผิดในสัญญาตรงไหนหรือไม่ แต่ตามหลักการแล้ว ครม.มีมติว่าไม่ให้ใช้กับตัวบุคคลอีกต่อไป โดยมอบหมายให้ นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รมต.สำนักนายกรัฐมนตรี ไปศึกษามาตรการเพื่อดูความรับผิดของบริษัทผู้จำหน่ายอุปกรณ์
ขณะที่นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รมช.มหาดไทย แจ้งว่า กรณีของเครื่องอัลฟ่า 6 ที่กรมการปกครองใช้เพื่อตรวจสอบยาเสพติดอย่างเดียว ขอให้กระทรวงวิทย์ฯ เข้ามาตรวจสอบให้ด้วย เช่นเดียวกับกระทรวงยุติธรรม ก็ร้องขอให้เข้ามาตรวจสอบ อัลฟ่า 6 ที่ ปปส.ใช้อยู่เช่นกัน ซึ่งกระทรวงวิทย์ฯ ก็รับที่จะเข้ามาตรวจสอบเร็วๆนี้
แหล่งข่าวเปิดเผยว่า คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รมว.วิทย์ฯ แจ้งต่อครม.ว่า ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (สวทช.) หรือ เน็คเทค ได้ทำการวิจัยและพัฒนาเครื่องตัดสัญญาณใน 3 รูปแบบ ประกอบด้วย เครื่องตัดสัญญาณโทรศัทท์มือถือ เครื่องตัดสัญญาณวิทยุสื่อสาร( วอล์คกี้ทอล์คกี้ ) และเครื่องตัดสัญญาณรีโมทคอนโทรล
โดยเครื่องตัดสัญญาณโทรศัพท์มือถือ มีอยู่ประจำการ 88 เครื่อง ขณะที่อีก 2 ชนิดหลังนั้น กระทรวงวิทย์ ฯได้ทำการวิจัย คิดค้นและพัฒนาได้สำเร็จแล้ว จำนวน 3 เครื่อง ขณะที่ รมว.กลาโหม ชี้แจงว่า มีกว่า 33 หน่วยงาน ที่พร้อมจะนำมามาทดลองใช้ และขอให้กระทรวงวิทย์ ฯนำลงไปสาธิตวิธีการใช้ในพื้นที่ 3 จว.ชายแดนใต้ด้วย
"วันนี้ ครม.เห็นชอบอนุมัติงบประมาณจำนวนหนึ่งให้กระทรวงวิทย์ฯ ลงไปสาธิตเครื่องมือทั้ง 2 ชนิดนี้ อย่างไรก็ตามไม่มีการพูดถึงเครื่องมือ เซเบอร์ 4000 และเครื่องไฟโดของสหรัฐฯ เพราะเห็นว่า เป็นเครื่องตรวจสอบวัตถุระเบิดระยะใกล้ และเป็นเครื่องมือเก่า" แหล่งข่าวกล่าว
**"มาร์ค"สั่งผ่าเครื่องพิสูจน์
แหล่งข่าวที่ประชุมครม.เปิดเผยว่านายอภิสิทธิ์ ได้สั่งการให้กระทรวงวิทย์ฯดำเนินการผ่าพิสูจน์เครื่องจีที 200 เพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงว่า เครื่องดังกล่าวนี้ไม่มีประสิทธิภาพในการตรวจจับวัตถุระเบิด ตามที่บริษัทผู้แทนจำหน่ายโฆษณาไว้ เพราะมีข้อพิสูจน์จากทั่วโลกว่าเครื่องนี้ใช้กระแสจิตเป็นหลักในการทำงาน
ทั้งนี้นายอภิสิทธิ์ เห็นว่าควรผ่าพิสูจน์ จีที 200 ในหน่วยงานที่จัดซื้อเครื่องน้อย เช่น กระทรวงยุติธรรม เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการอ้างข้อผูกพันทางสัญญาระหว่างกองทัพ กับบริษัทเอกชน ที่ระบุว่า ระหว่างใช้งานห้ามผ่าเครื่องพิสูจน์โดยเด็ดขาด
"ไปผ่าเครื่องจีที 200 ของกระทรวงยุติธรรมสักเครื่องหนึ่งก็ได้ ไม่ต้องกลัวบริษัทฟ้องกลับ เพราะทั่วโลกมีข้อพิสูจน์แล้วว่า จีที 200 ใช้กระแสจิตเป็นหลักในการตรวจหาวัตถุระเบิด และสุดท้ายจะต้องนำไปสู่การยกเลิกการใช้ให้มากที่สุด ซึ่งทางกระทรวงวิทย์ ฯจะเป็นผู้ไปชี้แจงทำความเข้าใจ" แหล่งข่าวอ้างคำกล่าวของนายอภิสิทธิ์
แหล่งข่าวกล่าวด้วยว่า นายอภิสิทธิ์ ได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานที่มีการจัดซื้อจัดจ้างเครื่องจีที 200 เช่น กระทรวงมหาดไทย ยุติธรรม หรือ ที่กลาโหมแห่งเดียวมี 33 หน่วยงาน โดยมี 6 หน่วยงาน ใน จ.ปัตตานี , 6 หน่วยงานในจ.ยะลา และ 9 หน่วยงานใน จ.นราธิวาส ที่มีการใช้เครื่องจีที 200 เร่งจัดทำรายงานการใช้ถึงวิธีการจัดซื้อจัดจ้าง ช่วงระยะเวลาในการจัดซื้อ และ ปริมาณเครื่องที่จัดซื้อมีจำนวนเท่าไร รายงานมายังครม.โดยเร็ว
"ระหว่างการหารือถึงประเด็นนี้ทาง พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม กล่าวขึ้นมาทันทีว่า ผมจะสั่งลูกน้องให้เตรียมความพร้อม เพื่อให้กระทรวงวิทย์ฯ เข้าไปตรวจสอบ ขณะที่คุณหญิงกัลยา โสภณพานิช รมว.วิทย์ ฯ ตอบว่าได้ทำหนังสือไปทุกหน่วยงานแล้ว แต่รอหนังสือตอบกลับอยู่" แหล่งข่าวกล่าว
นอกจากนี้นายกฯ ยังมอบหมายให้กระทรวงวิทย์ ฯ ดำเนินการตรวจสอบเครื่อง อัฟฟ่า 6 ในทุกหน่วยงานที่มีการใช้งานอยู่ คือ กระทรวงยุติธรรม และมหาดไทย โดยหน่วยงานทั้งสองใช้เครื่องดังกล่าวในการตรวจสอบสารเสพติด เช่น ยาบ้า และยาไอซ์
**ตั้งกก.หาช่องเรียกค่าเสียหาย
นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังครม.มีมติให้เป็นประธานคณะกรรมการศึกษาข้อกฎหมายตรวจสอบสัญญาเครื่องจีที 200 ว่า การตั้งคณะกรรมการชุดนี้ เพื่อดำเนินการทางกฎหมายกับบริษัทจัดจำหน่ายเครื่องจีที 200 เนื่องจากมีความเสียหายเกิดขึ้น ซึ่งหลังจากนี้ตนจะเตรียมคณะกรรมการ โดยมีตัวแทนจากคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานอัยการสูงสุด กระทรวงยุติธรรม กระทรวงกลาโหม กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ กระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ สำนักงบประมาณ สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค
สำหรับแนวทางการตรวจสอบ 1. จะต้องดูว่าการจัดซื้อเครื่องเกิดขึ้นกี่ครั้ง แต่ละครั้งมีหน่วยงานใดจัดซื้อ และสัญญาการจัดซื้อเป็นอย่างไร
2 .หลังจากจัดซื้อมาแล้วผลจากการตรวจสอบของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ กับผลที่เกิดขึ้นจากการใช้จริง มีความเสียหายใดเกิดขึ้นหรือไม่
3. สุดท้ายจะนำข้อกฎหมายมาดูว่า ตามสัญญากับผลที่เกิดขึ้นจริงเมื่อเปรียบเทียบกันถึงขั้นที่จะดำเนินการทางกฎหมายต่อบริษัทได้หรือไม่ คาดว่าผลสรุปจะออกมาภายใน 2 สัปดาห์
ทั้งนี้ เป้าหมายสำคัญอยู่ที่ตัวสัญญาของบริษัทผู้จัดจำหน่าย เป็นสัญญาที่เป็นประเด็นปัญหาข้อกฎหมายว่า เมื่อนำสินค้าไปใช้แล้วไม่ได้คุณภาพอย่างที่มีการตกลงกันในสัญญาหรือไม่ ถ้าไม่ได้คุณภาพ แล้วเกิดความเสียหายอย่างไร และหากเกิดความเสียหายจะดำเนินการทางกฎหมายได้หรือไม่
อย่างไรก็ตาม ทางพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม ยืนยันว่าจะให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ เพราะทางกองทัพได้มีการจัดซื้อกันหลายครั้ง ทั้งนี้ เราไม่ได้ไล่เบี้ยไปถึงว่า ทำสัญญาถูกผิดอย่างไร แต่ประเด็นจะมุ่งไปที่บริษัทที่ขายสินค้าตัวนี้ให้กับรัฐบาล ส่วนเรื่องการทุจริตในการจัดซื้อ เป็นอีกประเด็นหนึ่ง ที่นายกรัฐมนตรีดูแลอยู่แล้ว
ผู้สื่อข่าวถามว่า จะดำเนินการกับบริษัทจากประเทศต้นทาง หรือแค่ตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทย นายสาทิตย์ กล่าวว่า จะต้องดูว่าส่วนไหนที่ทำสัญญากับรัฐ ผู้สื่อข่าวถามว่า ตอนนี้หาตัวเจ้าของบริษัทตัวแทนจำแหน่ายเจอหรือยัง นายสาทิตย์ ตอบว่า ครม.เพิ่งมอบอำนาจ
เมื่อถามว่าจะตามล่าเจ้าของบริษัทหรือไม่ เพราะตอนนี้หลบหนีไปแล้ว นายสาทิตย์ กล่าวว่า หลังจากที่ได้ความเห็นทางกฎหมาย ก็จะเสนอครม. แต่เราไม่มีความจำเป็นต้องเชิญทางบริษัทมา เพราะจะพิจารณาประเด็นข้อกฎหมายทางฝั่งรัฐบาลว่าจะดำเนินการทางกฎหมายหรือไม่ก่อน หลังจากนั้นจะพิจารณาว่าจะทำอย่างไรต่อไป เราไม่ได้ไปสอบทางบริษัท
**สตง.พบพิรุธซื้อ จีที 200 ผิดปกติ
ในวันเดียวกันนี้ ที่รัฐสภา มีการประชุม กมธ.ความมั่นคงแห่งรัฐ สภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายเจะอามิง โตะตาหยง เป็นประธาน และเป็นหนึ่งในคณะกรรมการตรวจสอบประสิทธิภาพจีที 200 เป็นประธานในที่ประชุม โดยเชิญผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินมาให้ข้อมูล แต่ฝ่าย สตง.ได้มอบหมายให้ นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส รองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และคณะมาชี้แจง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายพิศิษฐ์ ได้ชี้แจงว่า ขณะนี้สตง.ได้เข้ามาตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้างเครื่องจีที 200 แล้ว และได้ตั้งข้อสังเกตุเบื้องต้นว่า มีการตั้งราคาที่แตกต่างกันจริง โดยมีเพียงแค่บริษัทเดียวที่เป็นผู้เสนอราคา และชนะการประมูลโดยวิธีพิเศษ ตั้งแต่ปี 48 ซึ่ง สตง.จะเข้าไปดูในรายละเอียดว่า การจัดซื้อจัดจ้างในแต่ละครั้งมีการฮั้วกันหรือไม่ แม้กระทั่งต้องตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างผู้ขาย และผู้ซื้อด้วย
ภายหลังการประชุม นายเจะอามิง กล่าวว่า กมธ. ได้ขอเอกสารการจัดซื้อจัดจ้างจากกองทัพ แต่ทางกองทัพแจ้งว่าเป็นความลับที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง ดังนั้นในสัปดาห์หน้ากมธ. จะเชิญบริษัทเอกชน ที่เป็นผู้ดำเนินการเรื่องนี้มาให้ข้อมูล
อย่างไรก็ตามแม้กองทัพจะไม่ให้เอกสารการจัดซื้อจัดจ้าง แต่กมธ. และสตง.ก็ยังสามารถหาได้จากส่วนอื่น โดยเรื่องนี้ได้พันไปถึงการจัดซื้อเครื่อง อัลฟ่า 6 ด้วยที่ สตง.ได้เข้าไปตรวจสอบพบว่า มีความผิดปกติในเรื่องราคาเช่นเดียวกัน แต่มีหลายบริษัทเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ซึ่ง สตง.ระบุว่าจะสามารถสรุปความผิดปกติของการจัดซื้อเครื่อง อัลฟ่า 6 ส่ง ป.ป.ช.ได้ก่อน จีที 200
**บึ้มปัตตานีไม่เกี่ยวจีที 200
พล.อ.พิรุณ แผ้วพลสง เสนาธิการทหารบก ในฐานะเลขาธิการ กอ.รมน. กล่าวถึงกระแสข่าวเหตุระเบิดที่ จ.ปัตตานี สาเหตุเพราะเครื่องจีที 200 ตรวจหาระเบิดไม่พบว่า เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับเครื่องจีที 200 เป็นเรื่องการวางระเบิด เจ้าหน้าที่โดยที่ยังไม่มีการตรวจ แต่ระเบิดก่อนแล้ว
ทั้งนี้ เรื่องจีที 200 รัฐบาลมีแนวทางชัดเจนจะดำเนินงานต่อไปอย่างไร ส่วน พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. ได้ชี้แจงความเป็นมาเป็นไปเครื่องจีที 200 แล้ว ส่วนในอนาคตจะเลิกใช้ หรือจะดำเนินการหาเครื่องมือใหม่มาทดแทนเป็นไปตามนโยบาย ผบ.ทบ.กับนายกฯ
เมื่อถามว่า มองอุปกรณ์แบบอื่นทดแทนหรือยัง พล.อ.พิรุณ กล่าวว่า เครื่องมือประเภทนี้ เป็นสิ่งสำคัญที่เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานมีความต้องการอย่างมาก ต่อการช่วยปฏิบัติงาน เครื่องมือลักษณะแบบนี้ ตนไม่ได้หมายความว่า จีที 200 ทั้งนี้หากเป็นไปได้ เมื่อเราเลิกใช้จีที 200 ไปแล้ว จะมีเครื่องมืออื่นที่มาเสริมในการปฏิบัติงาน เราก็ต้องการ แต่การกำหนดจะนำอะไรมาทดแทน ต้องใช้เวลาศึกษาอย่างรอบคอบอีกครั้ง เพาะเราไม่อยากให้เกิดบทเรียนเหมือนจีที 200
**"เด็จพี่"ยื่นป.ป.ช.สอบ"บิ๊กป๊อก"
ด้านนายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย ได้ยื่นหนังสือถึงคณะกรรมการ ป.ป.ช.ขอให้ตรวจสอบ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. และเจ้าหน้าที่หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องในการจัดซื้อเครื่องตรวจวัตถุระเบิด จีที 200 เนื่องจากเห็นว่ามีความไม่โปร่งใสในการจัดซื้อ ราคาที่แต่ละหน่วยงานจัดซื้อมีความแตกต่างกัน โดยกองทัพบกจัดซื้อในราคาแพงสุด ถึงเครื่องละ 1.2 - 1.4 ล้านบาท
"นายอภิสิทธิ์ไม่กล้าตั้งคณะกรรมการมาตรวจสอบการทุจริตเรื่องนี้ เนื่องจากเกี่ยวข้องกับนักการเมืองที่มีความใกล้ชิดรัฐบาล และผู้นำกองทัพ ที่ค้ำเก้าอี้ให้รัฐบาล ซึ่งผมกำลังรวบรวมข้อมูลหลักฐาน เพื่อยื่นเรื่องให้ป.ป.ช. ตรวจสอบนายกฯ ในข้อหาเอื้อประโยชน์ และละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ไม่ให้มีการตรวจสอบการทุจริตเรื่องนี้ต่อไป" นายพร้อมพงศ์กล่าว