เชียงราย– ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดฯเดินหน้าใช้แผน ปั้น“หมู่บ้านท่องเที่ยว” ร่วมแก้วิกฤตหมอกควัน-ภัยแล้งอย่างยั่งยืน เชื่อหลังแต่ละชุมชนยกระดับเป็นแหล่งท่องเที่ยวแล้ว จะช่วยคนเผาป่าได้ พร้อมเตรียมระดมเงินบริจาคสร้างป่าตัวอย่างบนแม่สลอง 100 ไร่ หลังคุณภาพอากาศเมืองพ่อขุนฯทะลุเกณฑ์
หลังจากหลายหน่วยงานในเชียงรายร่วมรณรงค์ไม่ให้มีการเผาป่าและหญ้าฟางมาอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับประกาศไม่ให้มีการเผาหญ้งฟางตั้งแต่วันที่ 20 -30 มีนาคม เพื่อป้องกันปัญหาหมอกควันฤดูแล้งนี้ ปรากฏว่า ล่าสุดกรมควบคุมมลพิษ ได้รายงานสภาพอากาศว่า ปัจจุบันมีฝุ่นละอองที่มีขนาดต่ำกว่า 10 ไมครอน อยู่ในอากาศถึง 125.2 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์สูง เพราะที่ผ่านมามีการประเมินให้ค่าของฝุ่นละอองที่จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพอยู่ที่ไม่เกิน 120 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
นายพรหมโชติ ไตรเวช ผู้อำนวยการสำนักงานการท่องเที่ยว กีฬาและนันทนาการ จ.เชียงราย เปิดเผยว่า สภาพอากาศที่ผ่านมาถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ยังไม่เป็นอันตราย และไม่ส่งผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยวของจังหวัด รวมทั้งมีรายงานว่าจะเกิดฝนนอกฤดูในเร็วๆ นี้ จึงเชื่อว่าสภาพอากาศโดยทั่วไปของเชียงรายจะไม่ได้รับผลกระทบจากปัญหาหมอกควันเหมือนปีที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม จังหวัดก็มีมาตรการหลายอย่างเพื่อป้องกันเอาไว้ก่อน และมาตรการเหล่านั้นยังบูรณาการไปสู่การสร้างงานสร้างอาชีพ ส่งเสริมการท่องเที่ยวและร่วมรณรงค์ให้ประชาชนมีจิตสำนึก ในการรักษาสภาพแวดล้อมไปพร้อมๆ กันด้วย
เช่น การส่งเสริมให้ชาวบ้านบนดอยแม่สลอง อ.แม่ฟ้าหลวง ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญให้ขุดหลุมเตรียมปลูกป่าในฤดูฝนที่กำลังจะมาถึงนี้ โดยการว่าจ้างชาวบ้านให้ขุดหลุม ก็จะทำให้ชาวบ้านมีรายได้และไม่ต้องไปเผาป่าทำไร่ จากนั้นเมื่อถึงฤดูฝนหรือราวเดือนพฤษภาคม ก็จะนำต้นกล้าไปมอบให้แก่ชาวบ้าน เพื่อให้ปลูกเพื่อสร้างรายได้เพิ่มเติมอีก เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังส่งเสริมโครงการพัฒนาหมู่บ้านท่องเที่ยว เพราะพบว่าหมู่บ้านที่มีผู้คนไปเที่ยวมากๆ ชาวบ้านมักจะไม่เผาป่าหรือหญ้าฟาง เพราะจะส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์หมู่บ้านของพวกเขาและกระทบต่อรายได้จากการท่องเที่ยวด้วย
ส่วนมาตรการสุดท้าย คือ การรณรงค์สร้างจิตสำนึกผ่านสื่อต่างๆ ตามปกติ รวมทั้งสอดแทรกลงไปในการแข่งขันกีฬาต่างๆ
“ทั้งหมดนี้เป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควันในระยะยาว ซึ่งเชื่อว่าจะได้ผลเป็นอย่างดี เนื่องจากชาวบ้านมีส่วนร่วม ทั้งในเรื่องการป้องกัน ดูแลรักษา และร่วมมีผลประโยชน์ด้วย”
นายพรหมโชติ กล่าวว่า แต่ปัญหาภัยแล้ง กลับเป็นปัญหาหนักเช่นกัน จนจังหวัดต้องประกาศให้เกือบทุกอำเภอของเชียงราย เป็นพื้นที่ประสบปัญหาภัยแล้งแล้ว เพราะแม่น้ำสาขาต่างๆ เหือดแห้งจนหมด อันเป็นผลมาจากแม่น้ำโขงแห้ง จนแม่น้ำสาขาไหลลงไปเร็วและไม่มีน้ำใต้ดินคอยหล่อเลี้ยง
นอกจากนี้ยังมีการสร้างสิ่งปลูกสร้างบนภูเขามากทำให้ป่าไม่ชุ่มชื้น - ต้นน้ำเหือดแห้งตามมา รวมทั้งแม่น้ำสาขาและแหล่งน้ำต่างๆ ยังไม่มีระบบการกักเก็บน้ำอย่างต่อเนื่องดีพอ เกิดการใช้น้ำครั้งเดียวแล้วทิ้งอย่างสิ้นเปลืองโดยเฉพาะทางด้านการเกษตร ซึ่งเป็นเรื่องที่แก้ไขได้ยากเพราะเป็นพฤติกรรมของผู้คนที่ปฏิบัติกันมานาน
ทั้งนี้แม้ว่าที่ผ่านมามีการสร้างฝายกั้นน้ำทั่วจังหวัดกว่า 700 แห่ง แต่ไม่สามารถกักเก็บน้ำเพื่อใช้ต่อเนื่องได้อย่างเต็มที่ เพราะเป็นฝายคอนกรีต ซึ่งกักน้ำและเหือดแห้งลงไป ณ ที่นั้น ไม่ใช่ฝายแม้ว หรือฝายที่สร้างจากวัสดุธรรมชาติ ที่น้ำสามารถซึมผ่านและสร้างความชุ่มชื้นรวมทั้งสามารถใช้ได้อย่างต่อเนื่องหลายพื้นที่
ดังนั้น ล่าสุด สำนักงานฯ จึงจะทำโครงการส่งเสริมป่าตัวอย่างบนดอยแม่สลอง ประมาณ 100 ไร่ โดยมีแนวคิดจะให้ผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคไร่ละ 3,000 บาท จากนั้นเชิญชวนกันไปปลูกป่า เมื่อปลูกเสร็จก็ส่งเสริมให้ชาวบ้านในพื้นที่ได้ดูแลรักษาและปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น กาแฟ ฯลฯ ควบคู่กันไปด้วย โดยมีงบประมาณจากเงินบริจาคดังกล่าว ซึ่งก็จะทำให้เกิดพลังประชาชนที่ร่วมกันดูแลรักษาป่าหลายฝ่าย คาดว่าภายใน 3 ปีจะเห็นผลชัดเจน
หลังจากหลายหน่วยงานในเชียงรายร่วมรณรงค์ไม่ให้มีการเผาป่าและหญ้าฟางมาอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับประกาศไม่ให้มีการเผาหญ้งฟางตั้งแต่วันที่ 20 -30 มีนาคม เพื่อป้องกันปัญหาหมอกควันฤดูแล้งนี้ ปรากฏว่า ล่าสุดกรมควบคุมมลพิษ ได้รายงานสภาพอากาศว่า ปัจจุบันมีฝุ่นละอองที่มีขนาดต่ำกว่า 10 ไมครอน อยู่ในอากาศถึง 125.2 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์สูง เพราะที่ผ่านมามีการประเมินให้ค่าของฝุ่นละอองที่จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพอยู่ที่ไม่เกิน 120 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
นายพรหมโชติ ไตรเวช ผู้อำนวยการสำนักงานการท่องเที่ยว กีฬาและนันทนาการ จ.เชียงราย เปิดเผยว่า สภาพอากาศที่ผ่านมาถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ยังไม่เป็นอันตราย และไม่ส่งผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยวของจังหวัด รวมทั้งมีรายงานว่าจะเกิดฝนนอกฤดูในเร็วๆ นี้ จึงเชื่อว่าสภาพอากาศโดยทั่วไปของเชียงรายจะไม่ได้รับผลกระทบจากปัญหาหมอกควันเหมือนปีที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม จังหวัดก็มีมาตรการหลายอย่างเพื่อป้องกันเอาไว้ก่อน และมาตรการเหล่านั้นยังบูรณาการไปสู่การสร้างงานสร้างอาชีพ ส่งเสริมการท่องเที่ยวและร่วมรณรงค์ให้ประชาชนมีจิตสำนึก ในการรักษาสภาพแวดล้อมไปพร้อมๆ กันด้วย
เช่น การส่งเสริมให้ชาวบ้านบนดอยแม่สลอง อ.แม่ฟ้าหลวง ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญให้ขุดหลุมเตรียมปลูกป่าในฤดูฝนที่กำลังจะมาถึงนี้ โดยการว่าจ้างชาวบ้านให้ขุดหลุม ก็จะทำให้ชาวบ้านมีรายได้และไม่ต้องไปเผาป่าทำไร่ จากนั้นเมื่อถึงฤดูฝนหรือราวเดือนพฤษภาคม ก็จะนำต้นกล้าไปมอบให้แก่ชาวบ้าน เพื่อให้ปลูกเพื่อสร้างรายได้เพิ่มเติมอีก เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังส่งเสริมโครงการพัฒนาหมู่บ้านท่องเที่ยว เพราะพบว่าหมู่บ้านที่มีผู้คนไปเที่ยวมากๆ ชาวบ้านมักจะไม่เผาป่าหรือหญ้าฟาง เพราะจะส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์หมู่บ้านของพวกเขาและกระทบต่อรายได้จากการท่องเที่ยวด้วย
ส่วนมาตรการสุดท้าย คือ การรณรงค์สร้างจิตสำนึกผ่านสื่อต่างๆ ตามปกติ รวมทั้งสอดแทรกลงไปในการแข่งขันกีฬาต่างๆ
“ทั้งหมดนี้เป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควันในระยะยาว ซึ่งเชื่อว่าจะได้ผลเป็นอย่างดี เนื่องจากชาวบ้านมีส่วนร่วม ทั้งในเรื่องการป้องกัน ดูแลรักษา และร่วมมีผลประโยชน์ด้วย”
นายพรหมโชติ กล่าวว่า แต่ปัญหาภัยแล้ง กลับเป็นปัญหาหนักเช่นกัน จนจังหวัดต้องประกาศให้เกือบทุกอำเภอของเชียงราย เป็นพื้นที่ประสบปัญหาภัยแล้งแล้ว เพราะแม่น้ำสาขาต่างๆ เหือดแห้งจนหมด อันเป็นผลมาจากแม่น้ำโขงแห้ง จนแม่น้ำสาขาไหลลงไปเร็วและไม่มีน้ำใต้ดินคอยหล่อเลี้ยง
นอกจากนี้ยังมีการสร้างสิ่งปลูกสร้างบนภูเขามากทำให้ป่าไม่ชุ่มชื้น - ต้นน้ำเหือดแห้งตามมา รวมทั้งแม่น้ำสาขาและแหล่งน้ำต่างๆ ยังไม่มีระบบการกักเก็บน้ำอย่างต่อเนื่องดีพอ เกิดการใช้น้ำครั้งเดียวแล้วทิ้งอย่างสิ้นเปลืองโดยเฉพาะทางด้านการเกษตร ซึ่งเป็นเรื่องที่แก้ไขได้ยากเพราะเป็นพฤติกรรมของผู้คนที่ปฏิบัติกันมานาน
ทั้งนี้แม้ว่าที่ผ่านมามีการสร้างฝายกั้นน้ำทั่วจังหวัดกว่า 700 แห่ง แต่ไม่สามารถกักเก็บน้ำเพื่อใช้ต่อเนื่องได้อย่างเต็มที่ เพราะเป็นฝายคอนกรีต ซึ่งกักน้ำและเหือดแห้งลงไป ณ ที่นั้น ไม่ใช่ฝายแม้ว หรือฝายที่สร้างจากวัสดุธรรมชาติ ที่น้ำสามารถซึมผ่านและสร้างความชุ่มชื้นรวมทั้งสามารถใช้ได้อย่างต่อเนื่องหลายพื้นที่
ดังนั้น ล่าสุด สำนักงานฯ จึงจะทำโครงการส่งเสริมป่าตัวอย่างบนดอยแม่สลอง ประมาณ 100 ไร่ โดยมีแนวคิดจะให้ผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคไร่ละ 3,000 บาท จากนั้นเชิญชวนกันไปปลูกป่า เมื่อปลูกเสร็จก็ส่งเสริมให้ชาวบ้านในพื้นที่ได้ดูแลรักษาและปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น กาแฟ ฯลฯ ควบคู่กันไปด้วย โดยมีงบประมาณจากเงินบริจาคดังกล่าว ซึ่งก็จะทำให้เกิดพลังประชาชนที่ร่วมกันดูแลรักษาป่าหลายฝ่าย คาดว่าภายใน 3 ปีจะเห็นผลชัดเจน