ASTVผู้จัดการรายวัน-“พรทิวา”เมิน “ไตรรงค์”ไม่เห็นด้วย ยันระบายข้าว 5 แสนตันไม่สะดุด เดินหน้าเปิดให้ผู้ส่งออกยื่นซื้อตามแผนเดิม ชี้หากจะยกเลิกต้องรอมติกขช.เท่านั้น
นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า วานนี้ (22 ก.พ.) กระทรวงฯ ได้เปิดให้ผู้ส่งออกยื่นซองเสนอราคาซื้อข้าวสารในสต๊อกรัฐบาลปริมาณ 5 แสนตัน ตามแผนที่กำหนดไว้ เพราะแม้จะมีความเห็นจากนายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ ที่แสดงความไม่เห็นด้วยกับการระบายข้าวดังกล่าว โดยการจะยกเลิกการระบายต้องขึ้นกับมติที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ที่กำหนดประชุม 25 ก.พ.นี้ ว่าจะออกมายังไง ไม่สามารถยกเลิกได้ในขณะนี้ เพราะทำตามหลักการที่กขช.กำหนดไว้
ทั้งนี้ กระทรวงฯ ยืนยันว่า การเปิดประมูลข้าวจำนวน 5 แสนตัน มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ขณะนี้ เพราะผลผลิตข้าวในตลาดเหลือน้อย ผู้ส่งออกมีความต้องการซื้อข้าว และผลผลิตข้าวนาปรังยังไม่ออกมา ที่สำคัญ มีความจำเป็นต้องระบายข้าวออกจากสต๊อกบ้าง เพื่อไม่ให้รัฐต้องรับภาระค่าเช่าโกดังและค่าเก็บรักษาที่สูงถึงปีละ 2 พันล้านบาทส่วนกรณีที่มีการมองกันว่าจะขายได้ราคาต่ำ ขอให้ดูราคาที่ได้ก่อน หากได้ราคาที่ไม่เหมาะสม ก็พร้อมที่จะเสนอให้มีการยกเลิกการประมูลในทันที
“ตอนนี้ยังบอกไม่ได้ว่าจะขายไม่ขาย ต้องดูราคาก่อน ถ้าไม่ดี ก็ไม่ขาย และท่านรองนายกฯ ก็พูดชัดไม่ได้บอกว่าไม่ให้ขาย และเราก็ยึดหลักการนี้”นางพรทิวากล่าว
สำหรับการจำหน่ายข้าวสารตามโครงการรับจำนำของรัฐบาล เพื่อการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร กำหนดระบายข้าวปริมาณรวม 5 แสนตัน เป็นข้าวหอมปทุมธานี จากโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2551 ปริมาณ 1 แสนตัน ข้าวหอมปทุมธานี จากโครงการนาปี 2551/52 ปริมาณ 5.1 หมื่นตัน ข้าวขาว 5% ปริมาณ 1.49 แสนตัน และข้าวขาว 5% จากโครงการฯนาปี 2551/52 ปริมาณ 2 แสนตัน
โดยกำหนดให้ผู้มีคุณสมบัติตามที่กำหนดยื่นซองวานนี้ (22 ก.พ.) และจะประกาศราชื่อผู้เสนอราคาซื้อและเปิดซองเสนอราคาวันนี้ (23 ก.พ. ) จากนั้นจะเจรจาต่อรอง โดยมีนายวิจักร วิเศษน้อย อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ในฐานะประธานคณะทำงานดำเนินการระบายข้าวสารเจรจาต่อรองกับผู้เสนอราคา ในวันที่ 24 ก.พ.
นางพรทิวากล่าวว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันนี้ (23 ก.พ.) กระทรวงฯ จะเสนอแผนเปิดจุดโรงสีเพื่อตั้งโต๊ะรับซื้อข้าวในพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ อยุธยา สุโขทัย และพิษณุโลก เพื่อแก้ปัญหาราคาข้าวตกต่ำ เบื้องต้นคาดว่าสาเหตุน่าจะมาจากข้าวมีความชื้นมากกว่า 30%
นายสมพงษ์ กิตติเรียงลาภ ประธานกรรมการ บริษัท พงษ์ลาภ จำกัด กล่าวว่า ได้ยื่นเสนอซื้อข้าวในการประมูลครั้งนี้จำนวนหนึ่ง เพราะต้องการรักษาบทบาทการร่วมซื้อข้าวจากรัฐไว้ แม้จะไม่มีความมั่นใจการระบายข้าวครั้งนี้ว่าจะสามารถหาข้อสรุปและส่งมอบสินค้าได้ตามแผนหรือไม่
รายงานข่าวแจ้งว่า การเสนอราคาซื้อข้าวในครั้งนี้ น่าจะได้ราคาเฉลี่ยที่ตันละ 1.5 หมื่นบาทตามราคาตลาด ซึ่งเป็นราคาที่ผู้ส่งออกส่วนใหญ่เสนอเข้ามา และเป็นราคาที่ต่ำกว่าการระบายข้าวครั้งก่อนที่ได้ราคาเฉลี่ยตันละ 1.6 หมื่นบาท
ส่วนสาเหตุที่มีกลุ่มโรงสีออกมาแสดงความไม่เห็นด้วยกับการระบายข้าวในสต๊อกรัฐบาล เพราะหากระบายข้าวออกไปจนหมด จะทำให้โรงสีขาดรายได้จากการเก็บรักษา เนื่องจากต่อไป จะไม่มีการรับจำนำข้าวเข้ามาอีก หลังจากที่รัฐบาลได้นำโครงการประกันรายได้เข้ามาใช้ จึงได้มีการล๊อบบี้ผ่านนายไตรรงค์ในการประชุมกันเมื่อวันที่ 21 ก.พ.ที่ผ่านมา ขณะเดียวกัน โรงสีได้มีการประเมินว่าราคาข้าวจะพุ่งสูงขึ้น จึงได้ซื้อข้าวเก็บไว้จำนวนมาก หากรัฐบาลระบายข้าวในสต๊อก จะทำให้ไม่มีผู้ส่งออกมาซื้อข้าวจากโรงสี ทำให้ประสบปัญหาการขาดทุน จึงไม่ต้องการให้มีการเปิดระบายข้าว
นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า วานนี้ (22 ก.พ.) กระทรวงฯ ได้เปิดให้ผู้ส่งออกยื่นซองเสนอราคาซื้อข้าวสารในสต๊อกรัฐบาลปริมาณ 5 แสนตัน ตามแผนที่กำหนดไว้ เพราะแม้จะมีความเห็นจากนายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ ที่แสดงความไม่เห็นด้วยกับการระบายข้าวดังกล่าว โดยการจะยกเลิกการระบายต้องขึ้นกับมติที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ที่กำหนดประชุม 25 ก.พ.นี้ ว่าจะออกมายังไง ไม่สามารถยกเลิกได้ในขณะนี้ เพราะทำตามหลักการที่กขช.กำหนดไว้
ทั้งนี้ กระทรวงฯ ยืนยันว่า การเปิดประมูลข้าวจำนวน 5 แสนตัน มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ขณะนี้ เพราะผลผลิตข้าวในตลาดเหลือน้อย ผู้ส่งออกมีความต้องการซื้อข้าว และผลผลิตข้าวนาปรังยังไม่ออกมา ที่สำคัญ มีความจำเป็นต้องระบายข้าวออกจากสต๊อกบ้าง เพื่อไม่ให้รัฐต้องรับภาระค่าเช่าโกดังและค่าเก็บรักษาที่สูงถึงปีละ 2 พันล้านบาทส่วนกรณีที่มีการมองกันว่าจะขายได้ราคาต่ำ ขอให้ดูราคาที่ได้ก่อน หากได้ราคาที่ไม่เหมาะสม ก็พร้อมที่จะเสนอให้มีการยกเลิกการประมูลในทันที
“ตอนนี้ยังบอกไม่ได้ว่าจะขายไม่ขาย ต้องดูราคาก่อน ถ้าไม่ดี ก็ไม่ขาย และท่านรองนายกฯ ก็พูดชัดไม่ได้บอกว่าไม่ให้ขาย และเราก็ยึดหลักการนี้”นางพรทิวากล่าว
สำหรับการจำหน่ายข้าวสารตามโครงการรับจำนำของรัฐบาล เพื่อการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร กำหนดระบายข้าวปริมาณรวม 5 แสนตัน เป็นข้าวหอมปทุมธานี จากโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2551 ปริมาณ 1 แสนตัน ข้าวหอมปทุมธานี จากโครงการนาปี 2551/52 ปริมาณ 5.1 หมื่นตัน ข้าวขาว 5% ปริมาณ 1.49 แสนตัน และข้าวขาว 5% จากโครงการฯนาปี 2551/52 ปริมาณ 2 แสนตัน
โดยกำหนดให้ผู้มีคุณสมบัติตามที่กำหนดยื่นซองวานนี้ (22 ก.พ.) และจะประกาศราชื่อผู้เสนอราคาซื้อและเปิดซองเสนอราคาวันนี้ (23 ก.พ. ) จากนั้นจะเจรจาต่อรอง โดยมีนายวิจักร วิเศษน้อย อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ในฐานะประธานคณะทำงานดำเนินการระบายข้าวสารเจรจาต่อรองกับผู้เสนอราคา ในวันที่ 24 ก.พ.
นางพรทิวากล่าวว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันนี้ (23 ก.พ.) กระทรวงฯ จะเสนอแผนเปิดจุดโรงสีเพื่อตั้งโต๊ะรับซื้อข้าวในพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ อยุธยา สุโขทัย และพิษณุโลก เพื่อแก้ปัญหาราคาข้าวตกต่ำ เบื้องต้นคาดว่าสาเหตุน่าจะมาจากข้าวมีความชื้นมากกว่า 30%
นายสมพงษ์ กิตติเรียงลาภ ประธานกรรมการ บริษัท พงษ์ลาภ จำกัด กล่าวว่า ได้ยื่นเสนอซื้อข้าวในการประมูลครั้งนี้จำนวนหนึ่ง เพราะต้องการรักษาบทบาทการร่วมซื้อข้าวจากรัฐไว้ แม้จะไม่มีความมั่นใจการระบายข้าวครั้งนี้ว่าจะสามารถหาข้อสรุปและส่งมอบสินค้าได้ตามแผนหรือไม่
รายงานข่าวแจ้งว่า การเสนอราคาซื้อข้าวในครั้งนี้ น่าจะได้ราคาเฉลี่ยที่ตันละ 1.5 หมื่นบาทตามราคาตลาด ซึ่งเป็นราคาที่ผู้ส่งออกส่วนใหญ่เสนอเข้ามา และเป็นราคาที่ต่ำกว่าการระบายข้าวครั้งก่อนที่ได้ราคาเฉลี่ยตันละ 1.6 หมื่นบาท
ส่วนสาเหตุที่มีกลุ่มโรงสีออกมาแสดงความไม่เห็นด้วยกับการระบายข้าวในสต๊อกรัฐบาล เพราะหากระบายข้าวออกไปจนหมด จะทำให้โรงสีขาดรายได้จากการเก็บรักษา เนื่องจากต่อไป จะไม่มีการรับจำนำข้าวเข้ามาอีก หลังจากที่รัฐบาลได้นำโครงการประกันรายได้เข้ามาใช้ จึงได้มีการล๊อบบี้ผ่านนายไตรรงค์ในการประชุมกันเมื่อวันที่ 21 ก.พ.ที่ผ่านมา ขณะเดียวกัน โรงสีได้มีการประเมินว่าราคาข้าวจะพุ่งสูงขึ้น จึงได้ซื้อข้าวเก็บไว้จำนวนมาก หากรัฐบาลระบายข้าวในสต๊อก จะทำให้ไม่มีผู้ส่งออกมาซื้อข้าวจากโรงสี ทำให้ประสบปัญหาการขาดทุน จึงไม่ต้องการให้มีการเปิดระบายข้าว