แนวคิดแบบ ‘เป้าหมายอธิบายวิธีการ’ (The end justifies the means) ไม่สอดคล้องกับการชุมนุมสาธารณะทั้งในส่วนของผู้นำการชุมนุมและพนักงานเจ้าหน้าที่รัฐสำหรับสังคมประชาธิปไตยที่ยึดมั่นในนิติรัฐ อันเนื่องมาจากการยึดติดชัยชนะเหนือซากปรักหักพังระหว่างทางนั้นท้ายสุดผู้ชุมนุมก็ไม่อาจได้ในสิ่งต้องการ ด้านพนักงานเจ้าหน้าที่รัฐเองก็ไม่อาจบรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการจากการใช้มาตรการใดๆ ก็ได้ หากต้องใช้อำนาจรัฐโดยพอเหมาะพอประมาณเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่ชอบธรรม
การบรรลุวัตถุประสงค์ที่ชอบธรรมจึง ‘กำกับ’ ทั้งผู้จัดการชุมนุม/ผู้นำชุมนุมและเจ้าหน้าที่รัฐไม่ให้ไถลลึกไปสู่วิธีการร้ายแรง เพราะการระดมมวลชน (Mass mobilization) เคลื่อนไหวรุนแรงสร้างความพินาศเสียหายแก่สังคม ขณะอีกด้านการใช้เครื่องมือหรือมาตรการทางกฎหมายที่ไม่ถูกต้องพอเหมาะพอประมาณของรัฐก็ไม่อาจบรรลุวัตถุประสงค์ได้ แม้แต่ในกรณีที่ไม่มีเครื่องมือหรือมาตรการทางกฎหมายที่รุนแรงน้อยกว่า แต่การจะบรรลุวัตถุประสงค์ของรัฐนั้นปรากฏว่าทำให้ปัจเจกบุคคลได้รับผลเสียหายร้ายแรง การใช้เครื่องมือหรือมาตรการทางกฎหมายนั้นก็ย่อมไม่อาจกระทำได้
ด้วยในห้วงปัจจุบันการชุมนุมเกิดกว้างขวางเข้มข้นทุกระดับ นับแต่เรียกร้องทางการเมืองจนถึงคัดค้านอุตสาหกรรมไม่สะอาด ดังนั้น การมีกฎหมายเกี่ยวกับเสรีภาพในการชุมนุมที่สอดคล้องกับหลักนิติรัฐและรองรับรัฐธรรมนูญมาตรา 63 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ และปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและพลเมือง ค.ศ. 1789 จึงจำเป็นยิ่งยวด เพราะจะปกป้องคุ้มครองเสรีภาพการชุมนุมของประชาชนไม่ให้ถูกบั่นทอนจากอำนาจรัฐ พร้อมกับควบคุมผู้ชุมนุมไม่ให้ใช้เสรีภาพดังกล่าวไปกระทบสิทธิเสรีภาพของประชาชนอื่นเกินขอบเขตด้วย
กล่าวในทางปฏิบัติ ‘พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะและเดินขบวน พ.ศ. ...’ คือเครื่องมือและกลไกสำคัญในการเข้าถึงสิทธิเสรีภาพต่างๆ ที่รับรองไว้โดยรัฐธรรมนูญ เนื่องจากเป็นกรอบกติกาให้เจ้าหน้าที่รัฐไม่อาจอำเภอใจละเมิดเสรีภาพประชาชนที่ชุมนุมจนทำลายศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือขัดต่อหลักความชอบด้วยกฎหมายอย่างชัดแจ้ง โดยเฉพาะสิทธิในชีวิตและสิทธิในร่างกาย ขณะเดียวกันก็เป็นกรอบกติกาสร้างเสริมศักยภาพภาคประชาชน (Capacity building) จากการเรียนรู้วิธีสร้างสมดุลระหว่างเสรีภาพการชุมนุมกับสิทธิเสรีภาพประชาชนอื่นๆ ที่ไม่ได้ร่วมชุมนุมด้วย
3 วัตถุประสงค์หลักของกฎหมายนี้ ทั้งเพื่อ 1) คุ้มครองเสรีภาพในการชุมนุมและเดินขบวนในที่สาธารณะและอำนวยความสะดวก 2) คุ้มครองสิทธิของบุคคลที่สามในการใช้ที่สาธารณะ และ 3) ดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยและไม่ให้เป็นอันตรายต่อความมั่นคงของบ้านเมือง จะเข้ามากำกับให้การชุมนุมหรือเดินขบวนของผู้ชุมนุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปในสถานที่ซึ่งเปิดหรือยินยอมให้ประชาชนข้าไปหรือใช้เป็นทางสัญจรได้ไม่ว่าจะมีการเรียกเก็บค่าตอบแทนหรือไม่มี ไม่ให้เกิดความวุ่นวายรุนแรง
ด้วยเหตุนี้ภาคสังคมที่ตระหนักถึงพลานุภาพของกฎหมายดังกล่าวว่าจะส่งผลต่อสุขภาวะประชาชนและสังคมจึงจัดเวทีนโยบายสาธารณะ ‘การชุมนุมสาธารณะ: เสรีภาพที่ต้องการกรอบกติกา’ ขึ้นเพื่อผลักดันภาครัฐให้มีบทบาทคุ้มครองเสรีภาพการชุมนุมของประชาชนตามหลักสากล ขณะเดียวกันก็แผ้วแนวทางการชุมนุมสาธารณะและเดินขบวนของประชาชนให้เป็นไปด้วยความสงบและปราศจากอาวุธมากยิ่งขึ้นภายใต้ความรุนแรงเชิงโครงสร้างของสังคมไทยที่เขม็งเกลียวขึ้นทุกที
ต่อไปการสลายชุมนุมโดยรัฐจะกระทำเท่าที่จำเป็น อย่างได้สัดส่วน เป็นไปตามหลักความพอสมควรแก่เหตุและหลักความเสมอภาคตามความมุ่งหมายของสังคมนิติรัฐที่มุ่งปกครองโดยกฎหมาย ไม่ใช่ผู้ปกครองมนุษย์ที่มีโลภโกรธหลงจนบ่อยคราสถาปนาตัวเองเป็นปฏิปักษ์ประชาชนผู้ชุมนุม เพราะจุดมุ่งหมายหนึ่งของกฎหมายฉบับนี้ที่ร่วมสร้างโดยภาคประชาสังคมคือการทำให้ผู้ปกครองและเจ้าหน้าที่รัฐไม่อาจใช้อำนาจอำเภอใจ กระทำการขัดต่อกฎหมาย แม้ต้องเผชิญกรณีที่
1) ชุมนุมในพื้นที่ห้ามจัดชุมนุม 2) ผู้นำชุมนุมไม่ควบคุมดูแลผู้เข้าร่วมหรือออกคำสั่งห้ามบุคคลที่พกพกอาวุธเข้าร่วม 3) ผู้นำชุมนุมส่งเสริมหรือยั่วยุให้มีการกระทำที่เป็นอันตรายโดยตรงต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง และ 4) เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงจากสถานการณ์ในขณะพิจารณาว่าการชุมนุมอาจเป็นอันตรายโดยตรงต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง
ทั้งนี้ เนื่องจากการสลายชุมนุมที่ผ่านมามาตรการบังคับให้เลิกหรือยุติการชุมนุมไม่ได้ไล่จากบางเบาไปเข้มข้น แต่กลับเลือกใช้อาวุธยุทโธปกรณ์ที่มีผลกระทบต่อผู้ชุมนุมสูงสุดเสมอๆ กระทั่งกุมโกร่งไกปืนยืนดูผู้คนบาดเจ็บล้มตายสบายๆ เพราะความเป็นมนุษย์ของผู้ชุมนุมคู่ปรปักษ์ถูกทอนลดลง (Dehumanization) รวมถึงกลไกควบคุมไม่ให้การสลายการชุมนุมรุนแรงเกินเหตุก็ด้อยประสิทธิภาพ
กล่าวถึงที่สุด กลไกกำกับดูแลการชุมนุมสาธารณะในปัจจุบันไม่สามารถทำหน้าที่ได้สมบูรณ์ ลำพังเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญที่ไม่ได้แปรไปสู่ปฏิบัติการทางกฎหมายไม่อาจสร้างกรอบกติกาการมีส่วนร่วมตามระบอบประชาธิปไตยที่ทั้งพนักงานเจ้าหน้าที่รัฐและผู้ชุมนุมยอมรับร่วมกันได้เอกฉันท์
ในนัยนี้การมี พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะฯ ที่สอดคล้องกับหลักนิติรัฐทั้งทางรูปแบบและเนื้อหาจะทำให้ฟากเจ้าหน้าที่รัฐไม่ต้องประยุกต์ใช้กฎหมายไม่เกี่ยวข้องอย่าง พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ. 2493 พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 รวมถึงระเบียบปฏิบัติภายในของสำนักงานตำรวจแห่งชาติและทหารทั้งแผนไพรีพินาศและแผนกรกฎมาคุกคามลิดรอนเสรีภาพ ฝั่งผู้นำและร่วมชุมนุมก็จะเข้าใจว่าเสรีภาพการชุมนุมนี้มีที่มั่นคือไม่รุนแรงและพกพาอาวุธ
สุดท้ายปลายทางการชุมนุมและเดินขบวนก็จะครบองค์ประกอบของ ‘สิทธิเสรีภาพเด็ดขาด’ ที่รัฐแทรกแซงหรือจำกัดไม่ได้ ด้วยเป็นการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธที่รัฐธรรมนูญคุ้มครอง
ส่วนรัฐจะยับยั้งยุติได้ก็ต่อเมื่อ 1) เพื่อคุ้มครองประชาชนให้ได้รับความสะดวกใช้ที่สาธารณะ 2) เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยระหว่างภาวะสงคราม และ 3) ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหรือประกาศใช้กฎอัยการศึกเท่านั้น โดยการอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเพื่อจำกัดเสรีภาพนี้จำเป็นต้องมี พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะฯ เพื่อกำหนดมาตรการต่างๆ บนรากฐานการส่งเสริมเสรีภาพการชุมนุม ไม่ใช่มุ่งแทรกแซงลิดรอนเสรีภาพนี้ที่ต่อยอดมาจากเสรีภาพการแสดงความคิดเห็น
กล่าวอีกนัยหนึ่ง หลัก ‘การชุมนุมเป็นเสรีภาพ การจำกัดเสรีภาพเป็นข้อยกเว้น’ ใน พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะฯ ที่มีกลไกในการควบคุมการใช้อำนาจรัฐ และประกันสิทธิเสรีภาพปัจเจกบุคคลอย่างแน่นอนชัดเจน จะทำให้ปฏิบัติการเสรีภาพนี้เป็นจริงได้โดยสังคมไม่อีหลักอีเหลื่อ เพราะการชุมนุมและเดินขบวนจะอยู่ในขอบเขตกำหนดที่เกิดจากทุกภาคส่วนเห็นพ้องให้เป็นหลักปฏิบัติร่วมกัน
โดยสรุป กฎหมายนี้จะทำให้เจ้าหน้าที่รัฐตระหนักขึ้นมากว่าการชุมนุมเป็นเสรีภาพของประชาชนที่ต้องคุ้มครอง ถูกโทษทัณฑ์ทั้งวินัยและอาญาถ้าสลายชุมนุมโดยลุอำนาจ ขณะผู้นำและร่วมชุมนุมก็จะเรียนรู้ขึ้นว่าถ้าไม่เคารพกติกา ‘โดยสงบปราศจากอาวุธ’ ก็จะก้าวพ้นความคุ้มครองของรัฐธรรมนูญ ฝ่าฝืนต้องถูกโทษทัณฑ์ทางปกครอง และถึงขั้นอาญาถ้าใช้เสรีภาพนี้เพียงเพื่อระบายโลภะ โทสะ โมหะ ภายในจิตใจตน จนถูกครอบงำปัญญาและกดทับสันติวิธีไว้ด้วยแนวคิดแบบเป้าหมายอธิบายวิธีการกระทำความรุนแรงรูปแบบต่างๆ กระทั่งท้ายสุดเสรีภาพการชุมนุมกลายเป็น ‘เสรีภาพในการแสดงความเป็นทาส’ ทางอารมณ์ ไม่คำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคู่ขัดแย้ง
พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะฯ จึงไม่ใช่เครื่องมือหรือกลไกกำจัดเสรีภาพประชาชน หรือทำให้คนเป็นทาสกรอบกติกา ทว่าถ่องแท้แล้วคือระเบียบวินัยในการอยู่ร่วมกันอย่างศานติสุขของสังคมที่ปัจจุบันขัดแย้งและเผชิญหน้ากันด้วยความรุนแรงทุกระดับเพื่อเรียกร้องและปกป้องสิทธิ ด้วยการทำให้ปฏิบัติการเสรีภาพนี้ไม่ละเลยความรับผิดชอบต่อประโยชน์สุขส่วนรวมและเข้าใกล้ปฏิบัติการสันติวิธีที่มีสังคมนิติรัฐเป็นเป้าหมายมากขึ้นเรื่อยๆ
มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) www.thainhf.org
การบรรลุวัตถุประสงค์ที่ชอบธรรมจึง ‘กำกับ’ ทั้งผู้จัดการชุมนุม/ผู้นำชุมนุมและเจ้าหน้าที่รัฐไม่ให้ไถลลึกไปสู่วิธีการร้ายแรง เพราะการระดมมวลชน (Mass mobilization) เคลื่อนไหวรุนแรงสร้างความพินาศเสียหายแก่สังคม ขณะอีกด้านการใช้เครื่องมือหรือมาตรการทางกฎหมายที่ไม่ถูกต้องพอเหมาะพอประมาณของรัฐก็ไม่อาจบรรลุวัตถุประสงค์ได้ แม้แต่ในกรณีที่ไม่มีเครื่องมือหรือมาตรการทางกฎหมายที่รุนแรงน้อยกว่า แต่การจะบรรลุวัตถุประสงค์ของรัฐนั้นปรากฏว่าทำให้ปัจเจกบุคคลได้รับผลเสียหายร้ายแรง การใช้เครื่องมือหรือมาตรการทางกฎหมายนั้นก็ย่อมไม่อาจกระทำได้
ด้วยในห้วงปัจจุบันการชุมนุมเกิดกว้างขวางเข้มข้นทุกระดับ นับแต่เรียกร้องทางการเมืองจนถึงคัดค้านอุตสาหกรรมไม่สะอาด ดังนั้น การมีกฎหมายเกี่ยวกับเสรีภาพในการชุมนุมที่สอดคล้องกับหลักนิติรัฐและรองรับรัฐธรรมนูญมาตรา 63 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ และปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและพลเมือง ค.ศ. 1789 จึงจำเป็นยิ่งยวด เพราะจะปกป้องคุ้มครองเสรีภาพการชุมนุมของประชาชนไม่ให้ถูกบั่นทอนจากอำนาจรัฐ พร้อมกับควบคุมผู้ชุมนุมไม่ให้ใช้เสรีภาพดังกล่าวไปกระทบสิทธิเสรีภาพของประชาชนอื่นเกินขอบเขตด้วย
กล่าวในทางปฏิบัติ ‘พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะและเดินขบวน พ.ศ. ...’ คือเครื่องมือและกลไกสำคัญในการเข้าถึงสิทธิเสรีภาพต่างๆ ที่รับรองไว้โดยรัฐธรรมนูญ เนื่องจากเป็นกรอบกติกาให้เจ้าหน้าที่รัฐไม่อาจอำเภอใจละเมิดเสรีภาพประชาชนที่ชุมนุมจนทำลายศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือขัดต่อหลักความชอบด้วยกฎหมายอย่างชัดแจ้ง โดยเฉพาะสิทธิในชีวิตและสิทธิในร่างกาย ขณะเดียวกันก็เป็นกรอบกติกาสร้างเสริมศักยภาพภาคประชาชน (Capacity building) จากการเรียนรู้วิธีสร้างสมดุลระหว่างเสรีภาพการชุมนุมกับสิทธิเสรีภาพประชาชนอื่นๆ ที่ไม่ได้ร่วมชุมนุมด้วย
3 วัตถุประสงค์หลักของกฎหมายนี้ ทั้งเพื่อ 1) คุ้มครองเสรีภาพในการชุมนุมและเดินขบวนในที่สาธารณะและอำนวยความสะดวก 2) คุ้มครองสิทธิของบุคคลที่สามในการใช้ที่สาธารณะ และ 3) ดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยและไม่ให้เป็นอันตรายต่อความมั่นคงของบ้านเมือง จะเข้ามากำกับให้การชุมนุมหรือเดินขบวนของผู้ชุมนุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปในสถานที่ซึ่งเปิดหรือยินยอมให้ประชาชนข้าไปหรือใช้เป็นทางสัญจรได้ไม่ว่าจะมีการเรียกเก็บค่าตอบแทนหรือไม่มี ไม่ให้เกิดความวุ่นวายรุนแรง
ด้วยเหตุนี้ภาคสังคมที่ตระหนักถึงพลานุภาพของกฎหมายดังกล่าวว่าจะส่งผลต่อสุขภาวะประชาชนและสังคมจึงจัดเวทีนโยบายสาธารณะ ‘การชุมนุมสาธารณะ: เสรีภาพที่ต้องการกรอบกติกา’ ขึ้นเพื่อผลักดันภาครัฐให้มีบทบาทคุ้มครองเสรีภาพการชุมนุมของประชาชนตามหลักสากล ขณะเดียวกันก็แผ้วแนวทางการชุมนุมสาธารณะและเดินขบวนของประชาชนให้เป็นไปด้วยความสงบและปราศจากอาวุธมากยิ่งขึ้นภายใต้ความรุนแรงเชิงโครงสร้างของสังคมไทยที่เขม็งเกลียวขึ้นทุกที
ต่อไปการสลายชุมนุมโดยรัฐจะกระทำเท่าที่จำเป็น อย่างได้สัดส่วน เป็นไปตามหลักความพอสมควรแก่เหตุและหลักความเสมอภาคตามความมุ่งหมายของสังคมนิติรัฐที่มุ่งปกครองโดยกฎหมาย ไม่ใช่ผู้ปกครองมนุษย์ที่มีโลภโกรธหลงจนบ่อยคราสถาปนาตัวเองเป็นปฏิปักษ์ประชาชนผู้ชุมนุม เพราะจุดมุ่งหมายหนึ่งของกฎหมายฉบับนี้ที่ร่วมสร้างโดยภาคประชาสังคมคือการทำให้ผู้ปกครองและเจ้าหน้าที่รัฐไม่อาจใช้อำนาจอำเภอใจ กระทำการขัดต่อกฎหมาย แม้ต้องเผชิญกรณีที่
1) ชุมนุมในพื้นที่ห้ามจัดชุมนุม 2) ผู้นำชุมนุมไม่ควบคุมดูแลผู้เข้าร่วมหรือออกคำสั่งห้ามบุคคลที่พกพกอาวุธเข้าร่วม 3) ผู้นำชุมนุมส่งเสริมหรือยั่วยุให้มีการกระทำที่เป็นอันตรายโดยตรงต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง และ 4) เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงจากสถานการณ์ในขณะพิจารณาว่าการชุมนุมอาจเป็นอันตรายโดยตรงต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง
ทั้งนี้ เนื่องจากการสลายชุมนุมที่ผ่านมามาตรการบังคับให้เลิกหรือยุติการชุมนุมไม่ได้ไล่จากบางเบาไปเข้มข้น แต่กลับเลือกใช้อาวุธยุทโธปกรณ์ที่มีผลกระทบต่อผู้ชุมนุมสูงสุดเสมอๆ กระทั่งกุมโกร่งไกปืนยืนดูผู้คนบาดเจ็บล้มตายสบายๆ เพราะความเป็นมนุษย์ของผู้ชุมนุมคู่ปรปักษ์ถูกทอนลดลง (Dehumanization) รวมถึงกลไกควบคุมไม่ให้การสลายการชุมนุมรุนแรงเกินเหตุก็ด้อยประสิทธิภาพ
กล่าวถึงที่สุด กลไกกำกับดูแลการชุมนุมสาธารณะในปัจจุบันไม่สามารถทำหน้าที่ได้สมบูรณ์ ลำพังเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญที่ไม่ได้แปรไปสู่ปฏิบัติการทางกฎหมายไม่อาจสร้างกรอบกติกาการมีส่วนร่วมตามระบอบประชาธิปไตยที่ทั้งพนักงานเจ้าหน้าที่รัฐและผู้ชุมนุมยอมรับร่วมกันได้เอกฉันท์
ในนัยนี้การมี พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะฯ ที่สอดคล้องกับหลักนิติรัฐทั้งทางรูปแบบและเนื้อหาจะทำให้ฟากเจ้าหน้าที่รัฐไม่ต้องประยุกต์ใช้กฎหมายไม่เกี่ยวข้องอย่าง พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ. 2493 พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 รวมถึงระเบียบปฏิบัติภายในของสำนักงานตำรวจแห่งชาติและทหารทั้งแผนไพรีพินาศและแผนกรกฎมาคุกคามลิดรอนเสรีภาพ ฝั่งผู้นำและร่วมชุมนุมก็จะเข้าใจว่าเสรีภาพการชุมนุมนี้มีที่มั่นคือไม่รุนแรงและพกพาอาวุธ
สุดท้ายปลายทางการชุมนุมและเดินขบวนก็จะครบองค์ประกอบของ ‘สิทธิเสรีภาพเด็ดขาด’ ที่รัฐแทรกแซงหรือจำกัดไม่ได้ ด้วยเป็นการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธที่รัฐธรรมนูญคุ้มครอง
ส่วนรัฐจะยับยั้งยุติได้ก็ต่อเมื่อ 1) เพื่อคุ้มครองประชาชนให้ได้รับความสะดวกใช้ที่สาธารณะ 2) เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยระหว่างภาวะสงคราม และ 3) ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหรือประกาศใช้กฎอัยการศึกเท่านั้น โดยการอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเพื่อจำกัดเสรีภาพนี้จำเป็นต้องมี พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะฯ เพื่อกำหนดมาตรการต่างๆ บนรากฐานการส่งเสริมเสรีภาพการชุมนุม ไม่ใช่มุ่งแทรกแซงลิดรอนเสรีภาพนี้ที่ต่อยอดมาจากเสรีภาพการแสดงความคิดเห็น
กล่าวอีกนัยหนึ่ง หลัก ‘การชุมนุมเป็นเสรีภาพ การจำกัดเสรีภาพเป็นข้อยกเว้น’ ใน พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะฯ ที่มีกลไกในการควบคุมการใช้อำนาจรัฐ และประกันสิทธิเสรีภาพปัจเจกบุคคลอย่างแน่นอนชัดเจน จะทำให้ปฏิบัติการเสรีภาพนี้เป็นจริงได้โดยสังคมไม่อีหลักอีเหลื่อ เพราะการชุมนุมและเดินขบวนจะอยู่ในขอบเขตกำหนดที่เกิดจากทุกภาคส่วนเห็นพ้องให้เป็นหลักปฏิบัติร่วมกัน
โดยสรุป กฎหมายนี้จะทำให้เจ้าหน้าที่รัฐตระหนักขึ้นมากว่าการชุมนุมเป็นเสรีภาพของประชาชนที่ต้องคุ้มครอง ถูกโทษทัณฑ์ทั้งวินัยและอาญาถ้าสลายชุมนุมโดยลุอำนาจ ขณะผู้นำและร่วมชุมนุมก็จะเรียนรู้ขึ้นว่าถ้าไม่เคารพกติกา ‘โดยสงบปราศจากอาวุธ’ ก็จะก้าวพ้นความคุ้มครองของรัฐธรรมนูญ ฝ่าฝืนต้องถูกโทษทัณฑ์ทางปกครอง และถึงขั้นอาญาถ้าใช้เสรีภาพนี้เพียงเพื่อระบายโลภะ โทสะ โมหะ ภายในจิตใจตน จนถูกครอบงำปัญญาและกดทับสันติวิธีไว้ด้วยแนวคิดแบบเป้าหมายอธิบายวิธีการกระทำความรุนแรงรูปแบบต่างๆ กระทั่งท้ายสุดเสรีภาพการชุมนุมกลายเป็น ‘เสรีภาพในการแสดงความเป็นทาส’ ทางอารมณ์ ไม่คำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคู่ขัดแย้ง
พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะฯ จึงไม่ใช่เครื่องมือหรือกลไกกำจัดเสรีภาพประชาชน หรือทำให้คนเป็นทาสกรอบกติกา ทว่าถ่องแท้แล้วคือระเบียบวินัยในการอยู่ร่วมกันอย่างศานติสุขของสังคมที่ปัจจุบันขัดแย้งและเผชิญหน้ากันด้วยความรุนแรงทุกระดับเพื่อเรียกร้องและปกป้องสิทธิ ด้วยการทำให้ปฏิบัติการเสรีภาพนี้ไม่ละเลยความรับผิดชอบต่อประโยชน์สุขส่วนรวมและเข้าใกล้ปฏิบัติการสันติวิธีที่มีสังคมนิติรัฐเป็นเป้าหมายมากขึ้นเรื่อยๆ
มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) www.thainhf.org