“สามัคคีคือพลัง” เป็นวลีที่สังคมรับรู้และจดจำกันมาเนิ่นนาน ทั้งยังมีการนำวลีที่ว่านี้มาอ้างอิงเมื่อมีการพูดถึงการต่อสู้ที่ต้องการความพร้อมเพรียงของคนที่เผชิญกับปัญหา หรือศัตรูร่วมกัน ในการร่วมกันแก้ปัญหาหรือเอาชนะศัตรู
แต่จะมีใครสักกี่คนที่รู้และเข้าใจถึงองค์ประกอบของความสามัคคีว่าจะเกิดขึ้นได้อย่างไร และที่สำคัญเมื่อเกิดขึ้นแล้วจะดำรงอยู่นานพอที่จะเป็นพลังต่อสู้กับปัญหาหรือศัตรูจนกระทั่งสามารถแก้ปัญหา หรือเอาชนะศัตรูจนได้อย่างเป็นรูปธรรม และปัญหาหรือศัตรูจะไม่กลับฟื้นคืนชีพมารบกวนอีก
โดยนัยแห่งคำว่า สามัคคี คำว่า ปรองดอง หรือแม้กระทั่งคำว่า สมานฉันท์ ที่ใครต่อใครนำมาพูดกันจนเกร่ออยู่ในขณะนี้นั้น มีองค์ประกอบแห่งการเกิดขึ้น 2 ประการ คือ
1. ทิฏฐิสามัญญตา ความเป็นผู้มีความเห็นเสมอกัน
2. ศีลสามัญญตา ความเป็นผู้มีข้อวัตรปฏิบัติเสมอกัน
โดยนัยแห่งองค์ประกอบทั้ง 2 ข้อ จะเห็นได้ว่าข้อแรกสำคัญที่สุด เพราะความคิดเห็นเป็นตัวกำหนดทิศทางพฤติกรรมทั้งทางกาย และวาจา หรือพูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ ความคิดเห็นหรือทัศนคติของคนแต่ละคนย่อมแตกต่างกัน แต่ถ้าจะมารวมเป็นกลุ่มเดียวกันหรือพวกเดียวกันได้ก็ต้องมีความเห็นเหมือนกันจึงจะรวมเป็นพวกเดียวกันได้
แต่ขอให้เข้าใจเป็นเบื้องต้นว่า คำว่า ทิฏฐิ หรือความเห็นที่ว่านี้เป็นคำกลางๆ มิได้บ่งบอกว่าเป็นฝ่ายผิดหรือฝ่ายถูก เป็นฝ่ายดีหรือเป็นฝ่ายเลว
ดังนั้นจึงต้องมีคำขยายเพิ่มเติมกับการแบ่งฝ่าย กล่าวคือ ถ้าเป็นฝ่ายถูกก็เพิ่มคำว่า สัมมาเข้าข้างหน้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ซึ่งแปลว่า มีความถูกต้อง ตรงไปตรงมา หรือเห็นตามความเป็นจริง หรือที่เรียกเป็นภาษาบาลีว่า ยถา ภูตัง ยถา ทัสสนัง มันเป็นอย่างไร หรือมันมีอยู่อย่างไร เห็นอย่างนั้น หรือเห็นตามความเป็นจริงนั่นเอง
ในทางตรงกันข้าม ถ้าเห็นผิดจากความเป็นจริงก็เติมคำว่า มิจฉา เข้าข้างหน้า เป็นคำว่า มิจฉาทิฏฐิ แปลโดยความหมายว่า เห็นผิดไปจากความเป็นจริง
จากนัยแห่งคำอธิบายขยายความดังกล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่า คำว่า มีความเห็นเสมอกัน นั้นเป็นคำกลางๆ แต่ถ้าเป็นฝ่ายผิดมารวมกันก็พูดได้ว่าเห็นผิดโดยเสมอภาคกัน คือไม่มีใครเห็นถูก ในทางกลับกัน ถ้ามีความเห็นถูก ก็พูดได้ว่ามีความเห็นถูกเสมอภาคกัน
แต่ในความหมายว่าสามัคคีคือพลังนั้น ตามนัยแห่งพุทธแล้วหมายถึง มีความเห็นถูกต้องโดยเสมอภาคกันจึงจะเกิดเป็นพลังได้ เพราะถ้าเห็นผิดเสมอภาคกันแล้วจะเกิดพลังได้ยาก และในที่สุดก็จะแตกสามัคคีกันเหมือนกับที่กลุ่มคนเสื้อแดงเป็นอยู่ในขณะนี้
ส่วนในประเด็นที่สอง ที่ว่า มีศีลเสมอภาคกัน นั้นมีนัยเดียว คือมีศีลเสมอกัน เช่น ผู้ที่เป็นสาธุชนจะต้องมีศีล 5 ข้อโดยเสมอกัน และถ้าเป็นอุบาสก อุบาสิกาจะต้องมีศีล 8 โดยเสมอภาคกัน เป็นต้น
ส่วนคนที่ไม่มีศีลเสมอกันก็มีความเห็นเสมอกันได้ฝ่ายเดียว คือ มิจฉาทิฏฐิเสมอกัน ดังเช่นโจรกับโจร เป็นต้น หรือพูดง่ายๆ คนไม่มีศีลจะต้องเข้ากับคนไม่มีศีลด้วยกันเท่านั้น จะอยู่รวมกับคนมีศีลไม่ได้
แต่วันนี้ เวลานี้ ยังมีผู้คนในสังคมไทยจำนวนไม่น้อยที่พยายามจะเรียกร้องให้คนไม่มีศีลสามัคคีกับคนมีศีล ให้คนที่เป็นมิจฉาทิฏฐิสามัคคีกับคนที่เป็นสัมมาทิฏฐิ ทั้งๆ ที่คำสอนของพระพุทธเจ้าบอกไว้ชัดเจนในมงคลสูตรว่า อย่าคบคนพาล และการไม่คบคนพาลเป็นมงคลสูงสุด
อย่างไรก็ตาม ถ้าบังเอิญคนที่มีความเห็นผิดมารวมกัน และมีศีลไม่เสมอกันมาอยู่ด้วย ปัญหาความแตกแยกก็จะเกิดขึ้น และก่อให้เกิดความหายนะในหมู่พวกเขาเอง ดังที่เกิดขึ้นในกลุ่มคนเสื้อแดงที่นิยมชมชอบผู้มีพระคุณคนเดียวกัน แต่ขัดแย้งกันด้วยแย่งกันทำกิจกรรมเพื่อเอาใจนายดังที่กลุ่มคนเสื้อแดงเป็นอยู่ จะเห็นได้จากการที่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ขัดแย้งกับคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ และ พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล หรือเสธ.แดง ขัดแย้งกับ 3 เกลอหัวขวด เป็นต้น
อะไรน่าจะเป็นเหตุปัจจัยให้กลุ่มคนเสื้อแดงขัดแย้งกันเอง?
เพื่อให้ท่านผู้อ่านมองเห็นเหตุแห่งปัญหาได้ชัดเจนพอจะนำมาเป็นพื้นฐานแห่งการวิเคราะห์ ผู้เขียนใคร่ขอให้ท่านผู้อ่านได้มองย้อนไปถึงการเกิดขบวนการเสื้อแดง ซึ่งนำโดยแกนนำ 3 คนที่ถือได้ว่าสำคัญระดับแนวหน้า คือ นายวีระ มุสิกพงศ์ นายจตุพร พรหมพันธุ์ และนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เมื่อครั้งที่ออกมานำมวลชนคัดค้านหรือต่อต้านการปฏิวัติ และพัฒนาตัวเองมาเป็นขบวนการต่อสู้เพื่อเรียกร้องให้อดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร อย่างเต็มรูปแบบ โดยการทำทุกวิถีทางเพื่อบุคคลคนเดียว ด้วยการลงทุนใส่ร้ายป้ายสีบุคคลสำคัญอันถือได้ว่าเป็นปูชนียบุคคลในสังคมไทยยุคนี้ คือ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ อดีตนายกรัฐมนตรี 8 ปี และปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ อันถือได้ว่าเป็นการทุ่มให้แม้วอย่างสุดตัวสุดหัวใจ
แต่จู่ๆ เกิดมีคนอย่าง เสธ.แดง พล.อ.พัลลภ ปิ่นมณี เข้ามามีบทบาทในการต่อสู้ให้อดีตนายกฯ ทักษิณ ซึ่งก็เท่ากับการเข้ามาแย่งชิงการนำมวลชน อันถือได้ว่าเป็นการลดบทบาทของ 3 คนที่ว่านี้อย่างชัดเจน จึงทำให้เกิดความขัดแย้งชนิดไม่มีใครยอมใครเกิดขึ้น
แต่ถ้าจะโทษว่าความขัดแย้งที่เกิดขึ้นมาจากใครคนใดคนหนึ่งที่ขัดแย้งกัน ก็คงไม่ถูกนัก
แต่ถ้าจะให้ถูกจุดจะต้องบอกว่า การที่อดีตนายกฯ ทักษิณเพิ่มแนวรบขึ้นอย่างรวดเร็วโดยไม่คำนึงถึงว่าจะทำให้ขาดแนวร่วม เป็นต้นเหตุแห่งความขัดแย้งน่าจะถูกกว่า
แต่จะมีใครสักกี่คนที่รู้และเข้าใจถึงองค์ประกอบของความสามัคคีว่าจะเกิดขึ้นได้อย่างไร และที่สำคัญเมื่อเกิดขึ้นแล้วจะดำรงอยู่นานพอที่จะเป็นพลังต่อสู้กับปัญหาหรือศัตรูจนกระทั่งสามารถแก้ปัญหา หรือเอาชนะศัตรูจนได้อย่างเป็นรูปธรรม และปัญหาหรือศัตรูจะไม่กลับฟื้นคืนชีพมารบกวนอีก
โดยนัยแห่งคำว่า สามัคคี คำว่า ปรองดอง หรือแม้กระทั่งคำว่า สมานฉันท์ ที่ใครต่อใครนำมาพูดกันจนเกร่ออยู่ในขณะนี้นั้น มีองค์ประกอบแห่งการเกิดขึ้น 2 ประการ คือ
1. ทิฏฐิสามัญญตา ความเป็นผู้มีความเห็นเสมอกัน
2. ศีลสามัญญตา ความเป็นผู้มีข้อวัตรปฏิบัติเสมอกัน
โดยนัยแห่งองค์ประกอบทั้ง 2 ข้อ จะเห็นได้ว่าข้อแรกสำคัญที่สุด เพราะความคิดเห็นเป็นตัวกำหนดทิศทางพฤติกรรมทั้งทางกาย และวาจา หรือพูดให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ ความคิดเห็นหรือทัศนคติของคนแต่ละคนย่อมแตกต่างกัน แต่ถ้าจะมารวมเป็นกลุ่มเดียวกันหรือพวกเดียวกันได้ก็ต้องมีความเห็นเหมือนกันจึงจะรวมเป็นพวกเดียวกันได้
แต่ขอให้เข้าใจเป็นเบื้องต้นว่า คำว่า ทิฏฐิ หรือความเห็นที่ว่านี้เป็นคำกลางๆ มิได้บ่งบอกว่าเป็นฝ่ายผิดหรือฝ่ายถูก เป็นฝ่ายดีหรือเป็นฝ่ายเลว
ดังนั้นจึงต้องมีคำขยายเพิ่มเติมกับการแบ่งฝ่าย กล่าวคือ ถ้าเป็นฝ่ายถูกก็เพิ่มคำว่า สัมมาเข้าข้างหน้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ซึ่งแปลว่า มีความถูกต้อง ตรงไปตรงมา หรือเห็นตามความเป็นจริง หรือที่เรียกเป็นภาษาบาลีว่า ยถา ภูตัง ยถา ทัสสนัง มันเป็นอย่างไร หรือมันมีอยู่อย่างไร เห็นอย่างนั้น หรือเห็นตามความเป็นจริงนั่นเอง
ในทางตรงกันข้าม ถ้าเห็นผิดจากความเป็นจริงก็เติมคำว่า มิจฉา เข้าข้างหน้า เป็นคำว่า มิจฉาทิฏฐิ แปลโดยความหมายว่า เห็นผิดไปจากความเป็นจริง
จากนัยแห่งคำอธิบายขยายความดังกล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่า คำว่า มีความเห็นเสมอกัน นั้นเป็นคำกลางๆ แต่ถ้าเป็นฝ่ายผิดมารวมกันก็พูดได้ว่าเห็นผิดโดยเสมอภาคกัน คือไม่มีใครเห็นถูก ในทางกลับกัน ถ้ามีความเห็นถูก ก็พูดได้ว่ามีความเห็นถูกเสมอภาคกัน
แต่ในความหมายว่าสามัคคีคือพลังนั้น ตามนัยแห่งพุทธแล้วหมายถึง มีความเห็นถูกต้องโดยเสมอภาคกันจึงจะเกิดเป็นพลังได้ เพราะถ้าเห็นผิดเสมอภาคกันแล้วจะเกิดพลังได้ยาก และในที่สุดก็จะแตกสามัคคีกันเหมือนกับที่กลุ่มคนเสื้อแดงเป็นอยู่ในขณะนี้
ส่วนในประเด็นที่สอง ที่ว่า มีศีลเสมอภาคกัน นั้นมีนัยเดียว คือมีศีลเสมอกัน เช่น ผู้ที่เป็นสาธุชนจะต้องมีศีล 5 ข้อโดยเสมอกัน และถ้าเป็นอุบาสก อุบาสิกาจะต้องมีศีล 8 โดยเสมอภาคกัน เป็นต้น
ส่วนคนที่ไม่มีศีลเสมอกันก็มีความเห็นเสมอกันได้ฝ่ายเดียว คือ มิจฉาทิฏฐิเสมอกัน ดังเช่นโจรกับโจร เป็นต้น หรือพูดง่ายๆ คนไม่มีศีลจะต้องเข้ากับคนไม่มีศีลด้วยกันเท่านั้น จะอยู่รวมกับคนมีศีลไม่ได้
แต่วันนี้ เวลานี้ ยังมีผู้คนในสังคมไทยจำนวนไม่น้อยที่พยายามจะเรียกร้องให้คนไม่มีศีลสามัคคีกับคนมีศีล ให้คนที่เป็นมิจฉาทิฏฐิสามัคคีกับคนที่เป็นสัมมาทิฏฐิ ทั้งๆ ที่คำสอนของพระพุทธเจ้าบอกไว้ชัดเจนในมงคลสูตรว่า อย่าคบคนพาล และการไม่คบคนพาลเป็นมงคลสูงสุด
อย่างไรก็ตาม ถ้าบังเอิญคนที่มีความเห็นผิดมารวมกัน และมีศีลไม่เสมอกันมาอยู่ด้วย ปัญหาความแตกแยกก็จะเกิดขึ้น และก่อให้เกิดความหายนะในหมู่พวกเขาเอง ดังที่เกิดขึ้นในกลุ่มคนเสื้อแดงที่นิยมชมชอบผู้มีพระคุณคนเดียวกัน แต่ขัดแย้งกันด้วยแย่งกันทำกิจกรรมเพื่อเอาใจนายดังที่กลุ่มคนเสื้อแดงเป็นอยู่ จะเห็นได้จากการที่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ขัดแย้งกับคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ และ พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล หรือเสธ.แดง ขัดแย้งกับ 3 เกลอหัวขวด เป็นต้น
อะไรน่าจะเป็นเหตุปัจจัยให้กลุ่มคนเสื้อแดงขัดแย้งกันเอง?
เพื่อให้ท่านผู้อ่านมองเห็นเหตุแห่งปัญหาได้ชัดเจนพอจะนำมาเป็นพื้นฐานแห่งการวิเคราะห์ ผู้เขียนใคร่ขอให้ท่านผู้อ่านได้มองย้อนไปถึงการเกิดขบวนการเสื้อแดง ซึ่งนำโดยแกนนำ 3 คนที่ถือได้ว่าสำคัญระดับแนวหน้า คือ นายวีระ มุสิกพงศ์ นายจตุพร พรหมพันธุ์ และนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เมื่อครั้งที่ออกมานำมวลชนคัดค้านหรือต่อต้านการปฏิวัติ และพัฒนาตัวเองมาเป็นขบวนการต่อสู้เพื่อเรียกร้องให้อดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร อย่างเต็มรูปแบบ โดยการทำทุกวิถีทางเพื่อบุคคลคนเดียว ด้วยการลงทุนใส่ร้ายป้ายสีบุคคลสำคัญอันถือได้ว่าเป็นปูชนียบุคคลในสังคมไทยยุคนี้ คือ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ อดีตนายกรัฐมนตรี 8 ปี และปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ อันถือได้ว่าเป็นการทุ่มให้แม้วอย่างสุดตัวสุดหัวใจ
แต่จู่ๆ เกิดมีคนอย่าง เสธ.แดง พล.อ.พัลลภ ปิ่นมณี เข้ามามีบทบาทในการต่อสู้ให้อดีตนายกฯ ทักษิณ ซึ่งก็เท่ากับการเข้ามาแย่งชิงการนำมวลชน อันถือได้ว่าเป็นการลดบทบาทของ 3 คนที่ว่านี้อย่างชัดเจน จึงทำให้เกิดความขัดแย้งชนิดไม่มีใครยอมใครเกิดขึ้น
แต่ถ้าจะโทษว่าความขัดแย้งที่เกิดขึ้นมาจากใครคนใดคนหนึ่งที่ขัดแย้งกัน ก็คงไม่ถูกนัก
แต่ถ้าจะให้ถูกจุดจะต้องบอกว่า การที่อดีตนายกฯ ทักษิณเพิ่มแนวรบขึ้นอย่างรวดเร็วโดยไม่คำนึงถึงว่าจะทำให้ขาดแนวร่วม เป็นต้นเหตุแห่งความขัดแย้งน่าจะถูกกว่า