ASTVผู้จัดการรายวัน - ประธานยึดทรัพย์ "น้าชาติ" ยุค รสช. "พล.อ.สิทธิ จิรโรจน์" สิ้นลมแล้ว ด้วยโรคชราในวัย 89 ปี
พล.อ.สิทธิ จิรโรจน์ อดีตปลัดกระทรวงกลาโหม และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในสมัย พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี และเคยเป็นประธานคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน ในสมัยยุครัฐประหาร โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (รสช.) ปี2534 ถึงแก่อนิจกรรมแล้ว ด้วยโรคชรา ในวัย 89 ปี ที่ รพ.มงกุฎวัฒนะ ตั้งศพบำเพ็ญกุศลที่วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร บางเขน และจะมีพิธีสวดพระอภิธรรมศพจนถึงวันที่ 14 กุมภาพันธ์นี้
พล.อ.สิทธิ เคยได้รับการแต่งตั้งจาก รสช. ที่ยึดอำนาจจากรัฐบาลพล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัน ให้เป็นประธานกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน ตาม "ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่ 26" ที่ลงนามโดย พลเอกสุนทร คงสมพงษ์ หัวหน้าคณะรสช. วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2534 โดยมีนายสุธี อากาศฤกษ์ นายมงคล เปาอินทร์ นายไพศาล กุมาลย์วิสัย นายสุชาติ ไตรประสิทธิ์ พลตำรวจโทวิโรจน์ เปาอินทร์ และนายชัยเชต สุนทรพิพิธ ร่วมเป็นกรรมการ ให้อำนาจในการอายัดและห้ามจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สินของนักการเมืองที่มี พฤติกรรมอันอาจส่อแสดงว่ามีทรัพย์สินร่ำรวยผิดปรกติ โดยมีรัฐมนตรีที่ถูกประกาศอายัดทรัพย์ ในขณะนั้นประกอบด้วย พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัน พล.ต.ประมาณ อดิเรกสาร นายเสนาะ เทียนทอง นายกร ทัพพะรังสี นายสมาน ภุมมะกาญจนะ นายชูชีพ หาญสวัสดิ์ นายอุดมศักดิ์ ทั่งทอง นายสุธน ชามพูนท นายเดช บุญหลง (รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี) นายประมวล สภาวสุ นายบรรหาร ศิลปอาชา นายพิทักษ์ อินทรวิทยนันท์ (ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี) นายมนตรี พงษ์พานิช นายสุบิน ปิ่นขยัน นายไชยศิริ เรืองกาญจนเศรษฐ นายสันติ ชัยวิรัตนะ นายภิญญา ช่วยปลอด พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ นายประจวบ ไชยสาส์น นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี พลเอกเทียนชัย สิริสัมพันธ์ นายวัฒนา อัศวเหม นายสมัคร สุนทรเวช นายณรงค์ วงศ์วรรณ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง
และต่อมามีคำสั่งรสช.ที่ 5/2534 ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ สั่งอายัดและห้ามจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สินนักการเมืองทันที 22 คนพร้อมเมียและลูก และถัดมาอีก4 วันประกาศเพิ่มอีก 3 ราย จากนั้น 25 นักการเมืองต้องนำหลักฐานมาชี้แจงคตส.พิสูจน์ที่มาของทรัพย์สิน ใครพิสูจน์ที่มาที่ไปได้คตส.จะสั่งยกเลิกการอายัดทรัพย์ โดยในการกลั่นกรองรอบ 2 คตส.ประกาศเลิกอายัด 12 คน รอบ 3 รอดอีก 3 คน เหลือที่ถูกสั่งยึดทรัพย์ 10 คน คือ 1.พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ 266 ล้านบาทเศษ 2.นายพิทักษ์ อินทรวิทยนันท์ 335.8 ล้านบาท 3.นายประมวล สภาวสุ 70.7 ล้านบาท 4.พล.ต.อ.ประมาณ อดิเรกสาร 139.7 ล้านบาท 5.นายเสนาะ เทียนทอง 62.7 ล้านบาท 6.นายสุบิน ปิ่นขยัน 608 ล้านบาท 7.ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง 32 ล้านบาท 8.นายภิญญา ช่วยปลอด 61.8 ล้านบาท 9.นายวัฒนา อัศวเหม 4 ล้านบาท และ10.นายมนตรี พงษ์พานิช 336.5 ล้านบาท รวมทั้งสิ้น 1,969.38 ล้านบาท
ซึ่งต่อมา ศาลฎีกาวินิจฉัยคำร้องอุทธรณ์ของนักการเมืองที่ถูกยึดทรัพย์ว่า ประกาศรสช.ฉบับ 26 ข้อ 2 และข้อ 6 ให้ตั้งคตส.ให้มีอำนาจสอบสวนและสั่งอายัดทรัพย์นักการเมืองนั้น ขัดต่อประเพณีการปกครองของไทยในระบอบประชาธิปไตย เพราะเป็นการตั้งคณะบุคคลที่มิใช่ศาลมาทำการเช่นเดียวกับศาล ทรัพย์นักการเมืองที่สั่งอายัดให้ตกเป็นของแผ่นดินเป็นทรัพย์ที่นักการเมืองได้มาก่อนประกาศรสช.ฉบับ 26 จะมีผลบังคับใช้ การยึดทรัพย์ที่เกิดขึ้นเป็นการออกและใช้กฎหมายที่มีโทษทางอาญาให้มีผลย้อน หลัง จึงขัดธรรมนูญการปกครอง พ.ศ.2534 และใช้บังคับมิได้ คำวินิจฉัยของคตส. ในเรื่องอายัดทรัพย์จึงไม่มีผลบังคับไปด้วย 10 นักการเมืองหลุดบ่วงทั้งหมด.
พล.อ.สิทธิ จิรโรจน์ อดีตปลัดกระทรวงกลาโหม และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในสมัย พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี และเคยเป็นประธานคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน ในสมัยยุครัฐประหาร โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (รสช.) ปี2534 ถึงแก่อนิจกรรมแล้ว ด้วยโรคชรา ในวัย 89 ปี ที่ รพ.มงกุฎวัฒนะ ตั้งศพบำเพ็ญกุศลที่วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร บางเขน และจะมีพิธีสวดพระอภิธรรมศพจนถึงวันที่ 14 กุมภาพันธ์นี้
พล.อ.สิทธิ เคยได้รับการแต่งตั้งจาก รสช. ที่ยึดอำนาจจากรัฐบาลพล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัน ให้เป็นประธานกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน ตาม "ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่ 26" ที่ลงนามโดย พลเอกสุนทร คงสมพงษ์ หัวหน้าคณะรสช. วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2534 โดยมีนายสุธี อากาศฤกษ์ นายมงคล เปาอินทร์ นายไพศาล กุมาลย์วิสัย นายสุชาติ ไตรประสิทธิ์ พลตำรวจโทวิโรจน์ เปาอินทร์ และนายชัยเชต สุนทรพิพิธ ร่วมเป็นกรรมการ ให้อำนาจในการอายัดและห้ามจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สินของนักการเมืองที่มี พฤติกรรมอันอาจส่อแสดงว่ามีทรัพย์สินร่ำรวยผิดปรกติ โดยมีรัฐมนตรีที่ถูกประกาศอายัดทรัพย์ ในขณะนั้นประกอบด้วย พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัน พล.ต.ประมาณ อดิเรกสาร นายเสนาะ เทียนทอง นายกร ทัพพะรังสี นายสมาน ภุมมะกาญจนะ นายชูชีพ หาญสวัสดิ์ นายอุดมศักดิ์ ทั่งทอง นายสุธน ชามพูนท นายเดช บุญหลง (รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี) นายประมวล สภาวสุ นายบรรหาร ศิลปอาชา นายพิทักษ์ อินทรวิทยนันท์ (ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี) นายมนตรี พงษ์พานิช นายสุบิน ปิ่นขยัน นายไชยศิริ เรืองกาญจนเศรษฐ นายสันติ ชัยวิรัตนะ นายภิญญา ช่วยปลอด พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ นายประจวบ ไชยสาส์น นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี พลเอกเทียนชัย สิริสัมพันธ์ นายวัฒนา อัศวเหม นายสมัคร สุนทรเวช นายณรงค์ วงศ์วรรณ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง
และต่อมามีคำสั่งรสช.ที่ 5/2534 ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ สั่งอายัดและห้ามจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สินนักการเมืองทันที 22 คนพร้อมเมียและลูก และถัดมาอีก4 วันประกาศเพิ่มอีก 3 ราย จากนั้น 25 นักการเมืองต้องนำหลักฐานมาชี้แจงคตส.พิสูจน์ที่มาของทรัพย์สิน ใครพิสูจน์ที่มาที่ไปได้คตส.จะสั่งยกเลิกการอายัดทรัพย์ โดยในการกลั่นกรองรอบ 2 คตส.ประกาศเลิกอายัด 12 คน รอบ 3 รอดอีก 3 คน เหลือที่ถูกสั่งยึดทรัพย์ 10 คน คือ 1.พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ 266 ล้านบาทเศษ 2.นายพิทักษ์ อินทรวิทยนันท์ 335.8 ล้านบาท 3.นายประมวล สภาวสุ 70.7 ล้านบาท 4.พล.ต.อ.ประมาณ อดิเรกสาร 139.7 ล้านบาท 5.นายเสนาะ เทียนทอง 62.7 ล้านบาท 6.นายสุบิน ปิ่นขยัน 608 ล้านบาท 7.ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง 32 ล้านบาท 8.นายภิญญา ช่วยปลอด 61.8 ล้านบาท 9.นายวัฒนา อัศวเหม 4 ล้านบาท และ10.นายมนตรี พงษ์พานิช 336.5 ล้านบาท รวมทั้งสิ้น 1,969.38 ล้านบาท
ซึ่งต่อมา ศาลฎีกาวินิจฉัยคำร้องอุทธรณ์ของนักการเมืองที่ถูกยึดทรัพย์ว่า ประกาศรสช.ฉบับ 26 ข้อ 2 และข้อ 6 ให้ตั้งคตส.ให้มีอำนาจสอบสวนและสั่งอายัดทรัพย์นักการเมืองนั้น ขัดต่อประเพณีการปกครองของไทยในระบอบประชาธิปไตย เพราะเป็นการตั้งคณะบุคคลที่มิใช่ศาลมาทำการเช่นเดียวกับศาล ทรัพย์นักการเมืองที่สั่งอายัดให้ตกเป็นของแผ่นดินเป็นทรัพย์ที่นักการเมืองได้มาก่อนประกาศรสช.ฉบับ 26 จะมีผลบังคับใช้ การยึดทรัพย์ที่เกิดขึ้นเป็นการออกและใช้กฎหมายที่มีโทษทางอาญาให้มีผลย้อน หลัง จึงขัดธรรมนูญการปกครอง พ.ศ.2534 และใช้บังคับมิได้ คำวินิจฉัยของคตส. ในเรื่องอายัดทรัพย์จึงไม่มีผลบังคับไปด้วย 10 นักการเมืองหลุดบ่วงทั้งหมด.