กก.สอบข้อเท็จจริง เหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองเมษาเดือด ยังสรุปไม่ได้ อนุกรรมการชุดสอบสามเหลี่ยมดินแดง ยื้อเวลาไม่ส่งผลสอบ นัดใหม่ 13 ส.ค.หลัง กก.ซีกเพื่อไทย โวยอนุฯสอบสวนสรุปข้อมูลด้านเดียว
วันนี้ (30 ก.ค.) ที่รัฐสภา การประชุมคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมือง โดยมี นายสมศักดิ์ บุญทอง ประธานกรรมการ เป็นประธานการประชุมเพื่อสรุปรายงานผลการศึกษาของอนุกรรมการรวบรวมเหตุการณ์ทุกคณะ โดยที่ประชุมให้ประธานอนุกรรมการรวบรวมเหตุการณ์ทุกคณะสรุปการทำงาน โดยประธานได้แจ้งกับที่ประชุมให้อนุกรรมการรวบรวมเหตุการณ์ทุกคณะส่งเอกสารสรุปผลการศึกษาต่อประธานภายในวันนี้ (30 ก.ค.) ซึ่งมีเพียงคณะอนุกรรมการรวบรวมเหตุการณ์ที่บริเวณดินแดงที่ยังไม่ส่งเอกสารสรุปผลการศึกษา
ทั้งนี้ พล.ต.ท.พิชัย สุนทรสัจบูลย์ ประธานคณะอนุกรรมการรวบรวมเหตุการณ์ที่บริเวณทำเนียบรัฐบาล รายงานผลการศึกษา ว่า พบว่า ผลของความเสียหายมี 2 ช่วง คือ ก่อนประกาศ พ.รก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินและหลังการประกาศ พ.ร.ก.โดยทั้งสองช่วงเวลาส่งผลให้มีการดำเนินคดีกับผู้ชุมนุมถึง 72 คดี ทั้งนี้ กรรมการมีข้อเสนอแนะ 5 ประการ เกี่ยวกับการดูแลการชุมนุมทางการเมือง คือ ควรให้มีการรณรงค์ประชาธิปไตยให้ประชาชนเข้าใจชัดเจน เมื่อจะใช้กติกาประชาธิปไตยแล้วทุกฝ่ายจะต้องยอมรับผลการดำเนินการตามแนวทางประชาธิปไตย การอำนวยความยุติธรรม ต้องทำให้เกิดความเชื่อมั่นและมีมาตรฐานในการปฏิบัติ ต้องออกกฎหมายรองรับการชุมนุมทางการเมือง เพื่อให้ประชาชนทราบขอบเขตการชุมนุม ขณะเดียวกัน ผู้ควบคุมการชุมนุมจะต้องรู้ขอบเขตการดูแลการชุมนุม สื่อมวลชนจะต้องระมัดระวังการรายงานข่าวที่อาจไปขยายความขัดแย้ง ทำให้ประชาชนสับสน และผู้ปฏิบัติ และมีอำนาจหน้าที่ในการชุมนุมต้องจัดคนที่มีความรู้ความเข้าใจในการควบคุมการชุมเข้ามาดูแล
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรรมการหลายคนได้อภิปรายว่า เอกสารของคณะอนุกรรมการแต่ละคณะยังไม่สมบูรณ์ หากปล่อยผ่านไปคงมีการถกเถียงหาข้อยุติไม่ได้ โดย นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล กรรมการ เสนอว่า เมื่อรายงานยังไม่สมบรูณ์ควรให้เวลากับฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับรายงานแต่ละคณะ นำรายงานกลับไปอ่านและกลับมาเสนอเหตุผลที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย เพื่อประชุมหาข้อยุติ
ด้าน พล.ต.ท.วิโรจน์ เปาอินทร์ กรรมการ กล่าวว่า ในส่วนผลการศึกษาของคณะอนุกรรมการรวบรวมเหตุการณ์ที่บริเวณดินแดงยังมีประเด็นที่ต้องตรวจสอบเพิ่มโดยเฉพาะการเสียชีวิตของพลทหารอภินพ เครือสุข จึงขอเวลากลับไปทบทวนรายงานผลการศึกษา
ขณะที่ นายบรรจบ รุ่งโรจน์ ส.ส.ชลบุรี พรรคประชาธิปัตย์ อนุกรรมการรวบรวมเหตุการณ์ที่พัทยา กล่าวว่า อนุกรรมการได้ทำหน้าที่อย่างเต็มที่โดยผลการสอบสวนได้เสร็จสมบรูณ์แล้ว การนำเสนอรายงานและผลการสอบสวนมีความสมบรูณ์ครบถ้วน ส่วน นายขจิต ชัยนิคม ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย กรรมการ เสนอให้ที่ประชุมพิจารณารายงานของคณะที่ทำเสร็จแล้วไปก่อนเพื่อให้ได้ข้อยุติ ส่วนคณะใดที่ยังไม่ได้ข้อสรุปค่อยทยอยพิจารณา ด้าน นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน พรรคเพื่อไทย กรรมการ เสนอว่า เมื่ออ่านแล้วหากผลสรุปเป็นไปด้านใดด้านหนึ่งจะเกิดความสับสน และหาข้อยุติไม่ได้จึงขอเสนอให้เขียนข้อสรุปสองด้าน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากนั้น บรรยากาศการประชุมมีการถกเถียงระหว่างกรรมการจากพรรคเพื่อไทย กับพรรคประชาธิปัตย์ ทำให้ นายสมศักดิ์ สรุปว่า ให้พิจารณารายงานที่เสนอมาแล้วไปก่อนส่วนที่มีความเห็นแตกต่างกันให้กรรมการที่มีความเห็นแตกต่างทำหนังสือแจ้งมายังประธาน หลังจากการวินิจฉัย ปรากฏว่า นายวรวัจน์ และ นพ.ชลน่าน กรรมการจากพรรคเพื่อไทย ได้เดินออกจากห้องประชุม
โดย นายวรวัจน์ ได้ให้สัมภาษณ์ว่า การพิจารณาของคณะกรรมการควรแยกข้อเท็จจริงจากความคิดเห็น ในส่วนของข้อเท็จจริงที่ประชุมควรนำข้อเท็จจริงทั้งหมดขึ้นพิจารณา ส่วนความคิดเห็นเนื่องจากกรรมการมาจากหลายฝ่ายจึงควรสรุปความคิดเห็นของแต่ละฝ่าย ไม่ควรใช้เสียงข้างมากสรุปเหตุการณ์ทั้งหมด การทำรายงานจึงต้องบันทึกความเห็นของทั้งสองฝ่ายไว้ทั้งหมด หากสรุปโดยไม่ปล่อยให้อีกฝ่ายใส่ความคิดเห็นลงไปด้วยบทสรุปจะนำไปสู่ความขัดแย้ง โดยการดำเนินการไม่จำเป็นต้องรื้อผลการสอบสวนทั้งหมดเพียงแต่เพิ่มเติมความเห็นที่แตกต่างเข้าไปด้วย
ขณะที่ในห้องประชุม นายสมศักดิ์ สรุปว่า หากกรรมการคนใดยังมีความเห็นที่แตกต่างกันให้ทำเป็นข้อคิดเห็นส่งมาเพื่อจัดรูปเล่มรายงานใหม่โดยไม่ต้องรื้อรายงานทั้งเล่ม ทั้งนี้ ไม่กำหนดกรอบเวลาการทำงาน เพื่อเปิดโอกาสให้อนุกรรมการพิจารณาอย่างเตาที่โดยการประชุมครั้งต่อไปนัดประชุมวันที่ 13 ส.ค.โดยจะให้แต่ละฝ่ายมาเสนอความเห็นต่อที่ประชุมอีกครั้ง
วันนี้ (30 ก.ค.) ที่รัฐสภา การประชุมคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมือง โดยมี นายสมศักดิ์ บุญทอง ประธานกรรมการ เป็นประธานการประชุมเพื่อสรุปรายงานผลการศึกษาของอนุกรรมการรวบรวมเหตุการณ์ทุกคณะ โดยที่ประชุมให้ประธานอนุกรรมการรวบรวมเหตุการณ์ทุกคณะสรุปการทำงาน โดยประธานได้แจ้งกับที่ประชุมให้อนุกรรมการรวบรวมเหตุการณ์ทุกคณะส่งเอกสารสรุปผลการศึกษาต่อประธานภายในวันนี้ (30 ก.ค.) ซึ่งมีเพียงคณะอนุกรรมการรวบรวมเหตุการณ์ที่บริเวณดินแดงที่ยังไม่ส่งเอกสารสรุปผลการศึกษา
ทั้งนี้ พล.ต.ท.พิชัย สุนทรสัจบูลย์ ประธานคณะอนุกรรมการรวบรวมเหตุการณ์ที่บริเวณทำเนียบรัฐบาล รายงานผลการศึกษา ว่า พบว่า ผลของความเสียหายมี 2 ช่วง คือ ก่อนประกาศ พ.รก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินและหลังการประกาศ พ.ร.ก.โดยทั้งสองช่วงเวลาส่งผลให้มีการดำเนินคดีกับผู้ชุมนุมถึง 72 คดี ทั้งนี้ กรรมการมีข้อเสนอแนะ 5 ประการ เกี่ยวกับการดูแลการชุมนุมทางการเมือง คือ ควรให้มีการรณรงค์ประชาธิปไตยให้ประชาชนเข้าใจชัดเจน เมื่อจะใช้กติกาประชาธิปไตยแล้วทุกฝ่ายจะต้องยอมรับผลการดำเนินการตามแนวทางประชาธิปไตย การอำนวยความยุติธรรม ต้องทำให้เกิดความเชื่อมั่นและมีมาตรฐานในการปฏิบัติ ต้องออกกฎหมายรองรับการชุมนุมทางการเมือง เพื่อให้ประชาชนทราบขอบเขตการชุมนุม ขณะเดียวกัน ผู้ควบคุมการชุมนุมจะต้องรู้ขอบเขตการดูแลการชุมนุม สื่อมวลชนจะต้องระมัดระวังการรายงานข่าวที่อาจไปขยายความขัดแย้ง ทำให้ประชาชนสับสน และผู้ปฏิบัติ และมีอำนาจหน้าที่ในการชุมนุมต้องจัดคนที่มีความรู้ความเข้าใจในการควบคุมการชุมเข้ามาดูแล
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรรมการหลายคนได้อภิปรายว่า เอกสารของคณะอนุกรรมการแต่ละคณะยังไม่สมบูรณ์ หากปล่อยผ่านไปคงมีการถกเถียงหาข้อยุติไม่ได้ โดย นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล กรรมการ เสนอว่า เมื่อรายงานยังไม่สมบรูณ์ควรให้เวลากับฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับรายงานแต่ละคณะ นำรายงานกลับไปอ่านและกลับมาเสนอเหตุผลที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย เพื่อประชุมหาข้อยุติ
ด้าน พล.ต.ท.วิโรจน์ เปาอินทร์ กรรมการ กล่าวว่า ในส่วนผลการศึกษาของคณะอนุกรรมการรวบรวมเหตุการณ์ที่บริเวณดินแดงยังมีประเด็นที่ต้องตรวจสอบเพิ่มโดยเฉพาะการเสียชีวิตของพลทหารอภินพ เครือสุข จึงขอเวลากลับไปทบทวนรายงานผลการศึกษา
ขณะที่ นายบรรจบ รุ่งโรจน์ ส.ส.ชลบุรี พรรคประชาธิปัตย์ อนุกรรมการรวบรวมเหตุการณ์ที่พัทยา กล่าวว่า อนุกรรมการได้ทำหน้าที่อย่างเต็มที่โดยผลการสอบสวนได้เสร็จสมบรูณ์แล้ว การนำเสนอรายงานและผลการสอบสวนมีความสมบรูณ์ครบถ้วน ส่วน นายขจิต ชัยนิคม ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย กรรมการ เสนอให้ที่ประชุมพิจารณารายงานของคณะที่ทำเสร็จแล้วไปก่อนเพื่อให้ได้ข้อยุติ ส่วนคณะใดที่ยังไม่ได้ข้อสรุปค่อยทยอยพิจารณา ด้าน นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน พรรคเพื่อไทย กรรมการ เสนอว่า เมื่ออ่านแล้วหากผลสรุปเป็นไปด้านใดด้านหนึ่งจะเกิดความสับสน และหาข้อยุติไม่ได้จึงขอเสนอให้เขียนข้อสรุปสองด้าน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากนั้น บรรยากาศการประชุมมีการถกเถียงระหว่างกรรมการจากพรรคเพื่อไทย กับพรรคประชาธิปัตย์ ทำให้ นายสมศักดิ์ สรุปว่า ให้พิจารณารายงานที่เสนอมาแล้วไปก่อนส่วนที่มีความเห็นแตกต่างกันให้กรรมการที่มีความเห็นแตกต่างทำหนังสือแจ้งมายังประธาน หลังจากการวินิจฉัย ปรากฏว่า นายวรวัจน์ และ นพ.ชลน่าน กรรมการจากพรรคเพื่อไทย ได้เดินออกจากห้องประชุม
โดย นายวรวัจน์ ได้ให้สัมภาษณ์ว่า การพิจารณาของคณะกรรมการควรแยกข้อเท็จจริงจากความคิดเห็น ในส่วนของข้อเท็จจริงที่ประชุมควรนำข้อเท็จจริงทั้งหมดขึ้นพิจารณา ส่วนความคิดเห็นเนื่องจากกรรมการมาจากหลายฝ่ายจึงควรสรุปความคิดเห็นของแต่ละฝ่าย ไม่ควรใช้เสียงข้างมากสรุปเหตุการณ์ทั้งหมด การทำรายงานจึงต้องบันทึกความเห็นของทั้งสองฝ่ายไว้ทั้งหมด หากสรุปโดยไม่ปล่อยให้อีกฝ่ายใส่ความคิดเห็นลงไปด้วยบทสรุปจะนำไปสู่ความขัดแย้ง โดยการดำเนินการไม่จำเป็นต้องรื้อผลการสอบสวนทั้งหมดเพียงแต่เพิ่มเติมความเห็นที่แตกต่างเข้าไปด้วย
ขณะที่ในห้องประชุม นายสมศักดิ์ สรุปว่า หากกรรมการคนใดยังมีความเห็นที่แตกต่างกันให้ทำเป็นข้อคิดเห็นส่งมาเพื่อจัดรูปเล่มรายงานใหม่โดยไม่ต้องรื้อรายงานทั้งเล่ม ทั้งนี้ ไม่กำหนดกรอบเวลาการทำงาน เพื่อเปิดโอกาสให้อนุกรรมการพิจารณาอย่างเตาที่โดยการประชุมครั้งต่อไปนัดประชุมวันที่ 13 ส.ค.โดยจะให้แต่ละฝ่ายมาเสนอความเห็นต่อที่ประชุมอีกครั้ง