ในสังคมบริโภคนิยม ความหมายของรถจักรยานยนต์ผันแปรไปได้ทุกทาง อย่างน้อยสุดก็ 2 ทางตรงข้ามระหว่างพ่อแม่ผู้ปกครองที่ซื้อรถจักรยานยนต์กับลูกหลานที่อ้อนวอนขอครอบครองรถจักรยานยนต์ เพราะขณะผู้ใหญ่วาดหวังว่ารถจักรยานยนต์จะเป็นพาหนะอำนวยความสะดวกในการไปโรงเรียนหรือจับจ่ายซื้อของ แต่เยาวชนกลับมอบกายถวายชีวีให้รถจักรยานยนต์ในฐานะเพื่อนสนิทคอยเคียงข้างกันทุกแห่งหน ตลอดจนต้องปกป้องสุดชีวิตขนาดยอมเอาตัวเองเข้ารับอันตรายแทน
เหตุนี้ อุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ในเยาวชนจึงไม่อาจเข้าใจได้ด้วยวิธีคิดแบบระบาดวิทยาเพียงลำพัง เพราะไม่เพียงมองไม่เห็นพัฒนาการเปลี่ยนผ่านหลอมรวมจิตวิญญาณเยาวชนเข้ากับรถจักรยานยนต์จนสามารถเจ็บตายแทนรถจักรยานยนต์คู่ชีวิตได้ ในขณะเดียวกันก็เข้าไม่ถึงปัจจัยก้นบึ้งวิกฤตที่ดึงดูดเยาวชนเข้าสู่ ‘โลกเร็วแรง’ ที่แม้แต่การบาดเจ็บสาหัส พิการ หรือตายก็ทัดทานไม่ได้
ไม่เท่านั้น การอิงแต่หลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence-Based) ยังละเลยองค์ประกอบสำคัญของปัญหาอย่างการส่งเสริมการตลาดของธุรกิจจัดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ที่มุ่งกลยุทธ์โฆษณาโดนใจวัยรุ่นด้วยถ้อยความและสัญลักษณ์ประเภท ‘ลีลาโลดแล่น อิสระสุดขั้ว ร้อนแรงทุกการขับขี่ พุ่งทะยานเหนือชั้น แรงเกินใจ บิดมันส์สะใจ ซ่าสุดๆ’ มากกว่าเน้นความปลอดภัยหรือความรับผิดชอบของคนขับขี่ ที่แม้ยากพิสูจน์ความสัมพันธ์ออกมาเป็นตัวเลข แต่ถึงที่สุดก็เชื่อมั่นได้ว่ามีนัยสำคัญต่อการดึงดูดเยาวชนผู้ชื่นชอบความเร็วแรงเป็นทุนเดิมอยู่แล้วตามจริตวัยรุ่นที่มีวิญญาณขบถท้าทาย
อุปกรณ์ตั้งแต่เกียร์ คลัตช์ เครื่องยนต์ โคมไฟหน้า ระบบระบายความร้อน ดิสก์เบรกหน้า-หลัง เมื่อสื่อสารผ่านการส่งเสริมการตลาดที่มีเยาวชนเป็นเป้าหมายจึงต้องถ่ายทอดสมรรถนะในการตอบสนองความเร็วแรงลีลากระชากใจให้ได้ ไม่ว่าจะออกแบบมาเพื่อวัตถุประสงค์ใด ดังพบในสื่อโฆษณากระแสหลักยันอีเวนท์ส่งเสริมการขายต่างๆ
ในนัยนี้ จึงจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องนำข้อมูลการบาดเจ็บรุนแรงจากอุบัติเหตุขนส่ง (Severe Injury due to Transport Accidents) ที่จัดทำทุกๆ ปี ดังปี 2551 ที่พบว่ายานพาหนะของผู้บาดเจ็บเป็นรถจักรยานยนต์สูงสุดร้อยละ 82.95 ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์สวมหมวกนิรภัยร้อยละ 14.64 และผู้โดยสารสวมหมวกนิรภัยเพียงร้อยละ 4.45 โดยศีรษะได้รับอันตรายสูงสุด บูรณาการเข้ากับการวิเคราะห์และสังเคราะห์บริบททางสังคมวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลยุทธ์การโฆษณาที่หล่อหลอมให้เยาวชนส่วนหนึ่งกลายเป็นกลุ่มเสี่ยงสูงที่จะประสบอุบัติเหตุ เพราะจะทำให้การกำหนดยุทธศาสตร์ควบคุมและป้องกันอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ลุ่มลึกขึ้นจนกระทั่งสามารถตอบตรงโจทย์มากขึ้น
ด้วยเหตุปัจจัยเสี่ยงแรกเริ่มที่ดึงดูดเยาวชนถลำลึกเข้าสู่โลกเร็วแรงส่วนมากมักเกิดจากเหตุปัจจัยภายในครอบครัว ชุมชน โรงเรียน ที่ร้าวราน ขาดทั้งความอบอุ่น ความรัก ความเข้าใจ ใช้กำลัง ความกราดเกรี้ยวรุนแรงทั้งทางวาจาและร่างกายแก้ไขหรือยุติปัญหาความสัมพันธ์ ผสานเข้ากับแรงโฆษณาชวนเชื่อถึงชีวิตอิสระที่ซ่าส์ได้สุดมันส์จากการขี่รถจักรยานยนต์ที่มีเครื่องยนต์เร็วและแรง
นั่นทำให้การพินิจวิกฤตการณ์อุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ในเยาวชนบนมุมมองแบบวิศวกรรมจราจร การบังคับใช้กฎหมาย หรือกระทั่งติดป้ายรถจักรยานยนต์เป็นพาหนะเสี่ยงตามวาทกรรมระบาดวิทยาไม่อาจเข้าใจได้ว่าเหตุใดเยาวชนกลุ่มหนึ่งจึงกลายเป็นเด็กแว้นโดยความสมัครใจชื่นชมชื่นชอบ เพราะนอกจากเป็นการพิจารณาปัจจัยลำดับท้ายๆ ที่ทำให้เกิดปัญหาแล้ว ยังแห้งแล้งขาดความเป็นมนุษย์ที่มีจิตวิญญาณเลือดเนื้อและความต้องการด้านชีวิตและสังคมเป็นปัจจัยเร่งเร้าด้วย
ด้วยการกลายเป็นนักบิดที่ถูกจัดเป็นกลุ่มเสี่ยงเช่นนี้มีที่มาที่ไปทั้งในส่วนมองเห็นได้ตรงไปตรงมาและสลับซับซ้อนอันเป็นผลสะเทือนจากการกระทำของผู้ใหญ่ ดังหนังสือเร่ง รัก รุนแรง: โลกชายขอบของนักบิด โดย ผศ.ดร.ปนัดดา ชำนาญสุข ที่เผยสัมพันธ์โยงใยการเปลี่ยนผ่านจากเด็กชายตัวน้อยเรียบร้อยของพ่อแม่สู่ความกราดเกรี้ยวรุนแรงของนักบิดวัยเยาว์ว่าส่วนหนึ่งเกิดจากครอบครัว โรงเรียน ชุมชนหนุนนำให้เด็กเลือก ‘รถจักรยานยนต์เร็วแรง’ เป็นทางออกของความคับข้อง
ลีลาการขี่รถเสี่ยงของเด็กวัยรุ่นเป็นวัฒนธรรมย่อยที่เยาวชนเลือกใช้เป็นกลยุทธ์สร้างพื้นที่ทางสังคมโดยใช้ทุนรอนทางวัฒนธรรมและสังคมที่มีมาก่อร่างอัตลักษณ์ (Identity) เสริมสร้างอำนาจเพื่อจะหลุดพ้นจากความเป็นคนชายขอบที่สังคมหยิบยื่นให้ เพราะลีลาการขี่รถเสี่ยงนี้เกิดจากวิธีคิด การให้คุณค่า และความหมายต่อรถจักรยานยนต์ต่างจากผู้ใหญ่และผู้เชี่ยวชาญด้านอุบัติภัยทางถนน
รถจักรยานยนต์ในชีวิตวัยรุ่นจึงหมายถึงสิ่งมีชีวิตที่ผูกพันกันลึกซึ้ง มีพัฒนาการความสัมพันธ์กว่าธุรกรรมการซื้อขายหรือพาหนะใช้สอยเชิงอรรถประโยชน์ แต่ต้องหวงแหนดูแลเอาใจใส่รักใคร่กัน
ดังนั้น รถจักรยานยนต์จึงไม่ได้มีสถานะแค่สินค้าค่างวดหลายหมื่นบาท ทว่าเป็นวัตถุแห่งความคลั่งไคล้ใหลหลง จนรถจักรยานยนต์เป็นรูปแบบสูงสุดของการบริโภคที่ต้องได้รับการทะนุถนอมประดุจคนรัก ที่ยิ่งนานออกไปจำนวนคนรักก็ยิ่งถักทอเป็นเครือข่ายกระชับแน่นแนบจนแทบสลายไม่ได้
ความรักรถดุจคนรักเช่นนี้ทำให้เยาวชนกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาวิจัยเรื่องเร่ง รัก รุนแรง เลือกที่จะเจ็บสาหัสแทนรถจักรยานยนต์ขณะประสบอุบัติเหตุ จนศีรษะฟาดฟุตปาธ ชักไม่ต่างจากปลาถูกทุบหัว ทั้งๆ สามารถสละรถเพื่อเลี่ยงอันตรายร้ายแรงได้ ทว่าท้ายสุดก็ไม่ทำเพราะรักรถจักรยานยนต์คันนี้ที่ทำให้เขาสามารถหนีห่างความเหงาว้าเหว่ในครอบครัว ความไม่เข้าอกเข้าใจในโรงเรียน และการไม่ให้โอกาสของชุมชน เพียงเพราะเขาเป็นคนชายขอบที่สังคมทุกระดับยัดเยียดฉลากนี้ให้
ใช่เท่านั้น ความคุ้นเคยพิจารณาและศึกษาวิจัยเฉพาะบางมิติโดยไร้บริบทความสัมพันธ์ทางสังคมวัฒนธรรมก็อาจทำให้เกิดข้อสรุปคลาดเคลื่อนว่ากลุ่ม ‘คนมีปัญหา’ กลายเป็น ‘ตัวปัญหา’ ไปได้ง่ายๆ ทั้งยังย้ายตำแหน่งของพวกเขาจาก ‘ปลายเหตุ’ มาเป็น ‘ต้นเหตุ’ ที่ต้องกำจัดให้สิ้นไปในทุกทาง มาตรการกฎหมายเข้มงวดกวดขันขนาดกวดจับตามทาง ขวางด้วยรถสิบล้อกางถนนเพื่อจับกุม
ทางแก้ไขในระดับรากเหง้าจึงควรเริ่มที่กระบวนการเชิงโครงสร้าง โดยเฉพาะความอ่อนแอของครอบครัว ชุมชน โรงเรียน และระบบการเมือง ด้วยการกำหนดนโยบายแบบสหวิทยาการที่มีการประสานงานระหว่างหน่วยงานภาครัฐอย่างแนบแน่นเป็นระบบ พร้อมกับรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้พ่อแม่ผู้ปกครองทราบถึงผลกระทบเชิงลบทั้งสุขภาพและความรุนแรงทางสังคมจากการซื้อรถจักรยานยนต์ให้ลูกที่มีวุฒิภาวะไม่เหมาะสม ตามข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของ ผศ.ดร.ปนัดดา
มากกว่านั้นก็ต้องสร้างเครื่องมือกลไกสังคมขึ้นมาเปลี่ยนผ่านสังคมและเยาวชนขั้นพื้นฐาน (Transformation) อย่างน้อยสุดก็ต้องปรับท่าทีมุมมองของสังคมต่ออุบัติเหตุในเยาวชนเสียใหม่ ไม่ใช่สมน้ำหน้าว่าสมควรตายหรือพิการแล้วเพราะเป็นพวกก๊วนกวนเมือง เนื่องจากจิตใจภายในไม่แม้แต่สงสารเยาวชนผู้ประสบเหตุ อย่าว่าแต่จะพยายามเข้าใจลึกซึ้งถึงเหตุแห่งปัญหาเลยว่าทำไมเยาวชนรักหวงแหนรถจักรยานยนต์ยิ่งชีวิต ถึงขนาดหลอมรวมเป็นร่างเดียวทั้งเวลาขับขี่หรือประสบอุบัติเหตุ
การพินิจปรากฏการณ์เฉพาะหน้าว่าเยาวชนเป็นกลุ่มซิ่งโดยขาดบริบทวัฒนธรรมสังคมรองรับนับเป็นความผิดพลาดที่ทำให้ตีโจทย์อุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ในเยาวชนไม่แตกเสียที ที่สำคัญผ่านมายังตั้งโจทย์ผิดจนส่งผลร้ายแรงเหมือนกลัดกระดุมเสื้อผิดเม็ดที่ท้ายสุดใส่ไม่ได้ จนอาจทำให้เยาวชนนักบิดหน้าใหม่เพิ่มขึ้นมากตามปริมาณรถจักรยานยนต์ที่จดทะเบียนใหม่ในปี 2551 และ 2550 ถึง 1,796,376 และ 1,66,5400 คันตามลำดับ ที่นับวันบนสายพานการผลิตจะมีแต่รถเร็วแรง
การเปลี่ยนผ่านขั้นพื้นฐานของประเทศไทยไปสู่สังคมปลอดอุบัติเหตุจึงต้องตั้งต้นที่ความเข้มแข็งของครอบครัว ชุมชน และโรงเรียน เพราะสุดยอดการปรับเปลี่ยนขั้นพื้นฐานต้องกระทำทั้งคนและสังคม (Personal-Social Transformation) ไปพร้อมๆ กัน อันจะป้องกันไม่ให้เยาวชนรวมร่างเข้ากับรถจักรยานยนต์จนกระทั่งยอมเจ็บตายไปด้วยกัน!
มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) www.thainhf.org
เหตุนี้ อุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ในเยาวชนจึงไม่อาจเข้าใจได้ด้วยวิธีคิดแบบระบาดวิทยาเพียงลำพัง เพราะไม่เพียงมองไม่เห็นพัฒนาการเปลี่ยนผ่านหลอมรวมจิตวิญญาณเยาวชนเข้ากับรถจักรยานยนต์จนสามารถเจ็บตายแทนรถจักรยานยนต์คู่ชีวิตได้ ในขณะเดียวกันก็เข้าไม่ถึงปัจจัยก้นบึ้งวิกฤตที่ดึงดูดเยาวชนเข้าสู่ ‘โลกเร็วแรง’ ที่แม้แต่การบาดเจ็บสาหัส พิการ หรือตายก็ทัดทานไม่ได้
ไม่เท่านั้น การอิงแต่หลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence-Based) ยังละเลยองค์ประกอบสำคัญของปัญหาอย่างการส่งเสริมการตลาดของธุรกิจจัดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ที่มุ่งกลยุทธ์โฆษณาโดนใจวัยรุ่นด้วยถ้อยความและสัญลักษณ์ประเภท ‘ลีลาโลดแล่น อิสระสุดขั้ว ร้อนแรงทุกการขับขี่ พุ่งทะยานเหนือชั้น แรงเกินใจ บิดมันส์สะใจ ซ่าสุดๆ’ มากกว่าเน้นความปลอดภัยหรือความรับผิดชอบของคนขับขี่ ที่แม้ยากพิสูจน์ความสัมพันธ์ออกมาเป็นตัวเลข แต่ถึงที่สุดก็เชื่อมั่นได้ว่ามีนัยสำคัญต่อการดึงดูดเยาวชนผู้ชื่นชอบความเร็วแรงเป็นทุนเดิมอยู่แล้วตามจริตวัยรุ่นที่มีวิญญาณขบถท้าทาย
อุปกรณ์ตั้งแต่เกียร์ คลัตช์ เครื่องยนต์ โคมไฟหน้า ระบบระบายความร้อน ดิสก์เบรกหน้า-หลัง เมื่อสื่อสารผ่านการส่งเสริมการตลาดที่มีเยาวชนเป็นเป้าหมายจึงต้องถ่ายทอดสมรรถนะในการตอบสนองความเร็วแรงลีลากระชากใจให้ได้ ไม่ว่าจะออกแบบมาเพื่อวัตถุประสงค์ใด ดังพบในสื่อโฆษณากระแสหลักยันอีเวนท์ส่งเสริมการขายต่างๆ
ในนัยนี้ จึงจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องนำข้อมูลการบาดเจ็บรุนแรงจากอุบัติเหตุขนส่ง (Severe Injury due to Transport Accidents) ที่จัดทำทุกๆ ปี ดังปี 2551 ที่พบว่ายานพาหนะของผู้บาดเจ็บเป็นรถจักรยานยนต์สูงสุดร้อยละ 82.95 ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์สวมหมวกนิรภัยร้อยละ 14.64 และผู้โดยสารสวมหมวกนิรภัยเพียงร้อยละ 4.45 โดยศีรษะได้รับอันตรายสูงสุด บูรณาการเข้ากับการวิเคราะห์และสังเคราะห์บริบททางสังคมวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลยุทธ์การโฆษณาที่หล่อหลอมให้เยาวชนส่วนหนึ่งกลายเป็นกลุ่มเสี่ยงสูงที่จะประสบอุบัติเหตุ เพราะจะทำให้การกำหนดยุทธศาสตร์ควบคุมและป้องกันอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ลุ่มลึกขึ้นจนกระทั่งสามารถตอบตรงโจทย์มากขึ้น
ด้วยเหตุปัจจัยเสี่ยงแรกเริ่มที่ดึงดูดเยาวชนถลำลึกเข้าสู่โลกเร็วแรงส่วนมากมักเกิดจากเหตุปัจจัยภายในครอบครัว ชุมชน โรงเรียน ที่ร้าวราน ขาดทั้งความอบอุ่น ความรัก ความเข้าใจ ใช้กำลัง ความกราดเกรี้ยวรุนแรงทั้งทางวาจาและร่างกายแก้ไขหรือยุติปัญหาความสัมพันธ์ ผสานเข้ากับแรงโฆษณาชวนเชื่อถึงชีวิตอิสระที่ซ่าส์ได้สุดมันส์จากการขี่รถจักรยานยนต์ที่มีเครื่องยนต์เร็วและแรง
นั่นทำให้การพินิจวิกฤตการณ์อุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ในเยาวชนบนมุมมองแบบวิศวกรรมจราจร การบังคับใช้กฎหมาย หรือกระทั่งติดป้ายรถจักรยานยนต์เป็นพาหนะเสี่ยงตามวาทกรรมระบาดวิทยาไม่อาจเข้าใจได้ว่าเหตุใดเยาวชนกลุ่มหนึ่งจึงกลายเป็นเด็กแว้นโดยความสมัครใจชื่นชมชื่นชอบ เพราะนอกจากเป็นการพิจารณาปัจจัยลำดับท้ายๆ ที่ทำให้เกิดปัญหาแล้ว ยังแห้งแล้งขาดความเป็นมนุษย์ที่มีจิตวิญญาณเลือดเนื้อและความต้องการด้านชีวิตและสังคมเป็นปัจจัยเร่งเร้าด้วย
ด้วยการกลายเป็นนักบิดที่ถูกจัดเป็นกลุ่มเสี่ยงเช่นนี้มีที่มาที่ไปทั้งในส่วนมองเห็นได้ตรงไปตรงมาและสลับซับซ้อนอันเป็นผลสะเทือนจากการกระทำของผู้ใหญ่ ดังหนังสือเร่ง รัก รุนแรง: โลกชายขอบของนักบิด โดย ผศ.ดร.ปนัดดา ชำนาญสุข ที่เผยสัมพันธ์โยงใยการเปลี่ยนผ่านจากเด็กชายตัวน้อยเรียบร้อยของพ่อแม่สู่ความกราดเกรี้ยวรุนแรงของนักบิดวัยเยาว์ว่าส่วนหนึ่งเกิดจากครอบครัว โรงเรียน ชุมชนหนุนนำให้เด็กเลือก ‘รถจักรยานยนต์เร็วแรง’ เป็นทางออกของความคับข้อง
ลีลาการขี่รถเสี่ยงของเด็กวัยรุ่นเป็นวัฒนธรรมย่อยที่เยาวชนเลือกใช้เป็นกลยุทธ์สร้างพื้นที่ทางสังคมโดยใช้ทุนรอนทางวัฒนธรรมและสังคมที่มีมาก่อร่างอัตลักษณ์ (Identity) เสริมสร้างอำนาจเพื่อจะหลุดพ้นจากความเป็นคนชายขอบที่สังคมหยิบยื่นให้ เพราะลีลาการขี่รถเสี่ยงนี้เกิดจากวิธีคิด การให้คุณค่า และความหมายต่อรถจักรยานยนต์ต่างจากผู้ใหญ่และผู้เชี่ยวชาญด้านอุบัติภัยทางถนน
รถจักรยานยนต์ในชีวิตวัยรุ่นจึงหมายถึงสิ่งมีชีวิตที่ผูกพันกันลึกซึ้ง มีพัฒนาการความสัมพันธ์กว่าธุรกรรมการซื้อขายหรือพาหนะใช้สอยเชิงอรรถประโยชน์ แต่ต้องหวงแหนดูแลเอาใจใส่รักใคร่กัน
ดังนั้น รถจักรยานยนต์จึงไม่ได้มีสถานะแค่สินค้าค่างวดหลายหมื่นบาท ทว่าเป็นวัตถุแห่งความคลั่งไคล้ใหลหลง จนรถจักรยานยนต์เป็นรูปแบบสูงสุดของการบริโภคที่ต้องได้รับการทะนุถนอมประดุจคนรัก ที่ยิ่งนานออกไปจำนวนคนรักก็ยิ่งถักทอเป็นเครือข่ายกระชับแน่นแนบจนแทบสลายไม่ได้
ความรักรถดุจคนรักเช่นนี้ทำให้เยาวชนกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาวิจัยเรื่องเร่ง รัก รุนแรง เลือกที่จะเจ็บสาหัสแทนรถจักรยานยนต์ขณะประสบอุบัติเหตุ จนศีรษะฟาดฟุตปาธ ชักไม่ต่างจากปลาถูกทุบหัว ทั้งๆ สามารถสละรถเพื่อเลี่ยงอันตรายร้ายแรงได้ ทว่าท้ายสุดก็ไม่ทำเพราะรักรถจักรยานยนต์คันนี้ที่ทำให้เขาสามารถหนีห่างความเหงาว้าเหว่ในครอบครัว ความไม่เข้าอกเข้าใจในโรงเรียน และการไม่ให้โอกาสของชุมชน เพียงเพราะเขาเป็นคนชายขอบที่สังคมทุกระดับยัดเยียดฉลากนี้ให้
ใช่เท่านั้น ความคุ้นเคยพิจารณาและศึกษาวิจัยเฉพาะบางมิติโดยไร้บริบทความสัมพันธ์ทางสังคมวัฒนธรรมก็อาจทำให้เกิดข้อสรุปคลาดเคลื่อนว่ากลุ่ม ‘คนมีปัญหา’ กลายเป็น ‘ตัวปัญหา’ ไปได้ง่ายๆ ทั้งยังย้ายตำแหน่งของพวกเขาจาก ‘ปลายเหตุ’ มาเป็น ‘ต้นเหตุ’ ที่ต้องกำจัดให้สิ้นไปในทุกทาง มาตรการกฎหมายเข้มงวดกวดขันขนาดกวดจับตามทาง ขวางด้วยรถสิบล้อกางถนนเพื่อจับกุม
ทางแก้ไขในระดับรากเหง้าจึงควรเริ่มที่กระบวนการเชิงโครงสร้าง โดยเฉพาะความอ่อนแอของครอบครัว ชุมชน โรงเรียน และระบบการเมือง ด้วยการกำหนดนโยบายแบบสหวิทยาการที่มีการประสานงานระหว่างหน่วยงานภาครัฐอย่างแนบแน่นเป็นระบบ พร้อมกับรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้พ่อแม่ผู้ปกครองทราบถึงผลกระทบเชิงลบทั้งสุขภาพและความรุนแรงทางสังคมจากการซื้อรถจักรยานยนต์ให้ลูกที่มีวุฒิภาวะไม่เหมาะสม ตามข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของ ผศ.ดร.ปนัดดา
มากกว่านั้นก็ต้องสร้างเครื่องมือกลไกสังคมขึ้นมาเปลี่ยนผ่านสังคมและเยาวชนขั้นพื้นฐาน (Transformation) อย่างน้อยสุดก็ต้องปรับท่าทีมุมมองของสังคมต่ออุบัติเหตุในเยาวชนเสียใหม่ ไม่ใช่สมน้ำหน้าว่าสมควรตายหรือพิการแล้วเพราะเป็นพวกก๊วนกวนเมือง เนื่องจากจิตใจภายในไม่แม้แต่สงสารเยาวชนผู้ประสบเหตุ อย่าว่าแต่จะพยายามเข้าใจลึกซึ้งถึงเหตุแห่งปัญหาเลยว่าทำไมเยาวชนรักหวงแหนรถจักรยานยนต์ยิ่งชีวิต ถึงขนาดหลอมรวมเป็นร่างเดียวทั้งเวลาขับขี่หรือประสบอุบัติเหตุ
การพินิจปรากฏการณ์เฉพาะหน้าว่าเยาวชนเป็นกลุ่มซิ่งโดยขาดบริบทวัฒนธรรมสังคมรองรับนับเป็นความผิดพลาดที่ทำให้ตีโจทย์อุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ในเยาวชนไม่แตกเสียที ที่สำคัญผ่านมายังตั้งโจทย์ผิดจนส่งผลร้ายแรงเหมือนกลัดกระดุมเสื้อผิดเม็ดที่ท้ายสุดใส่ไม่ได้ จนอาจทำให้เยาวชนนักบิดหน้าใหม่เพิ่มขึ้นมากตามปริมาณรถจักรยานยนต์ที่จดทะเบียนใหม่ในปี 2551 และ 2550 ถึง 1,796,376 และ 1,66,5400 คันตามลำดับ ที่นับวันบนสายพานการผลิตจะมีแต่รถเร็วแรง
การเปลี่ยนผ่านขั้นพื้นฐานของประเทศไทยไปสู่สังคมปลอดอุบัติเหตุจึงต้องตั้งต้นที่ความเข้มแข็งของครอบครัว ชุมชน และโรงเรียน เพราะสุดยอดการปรับเปลี่ยนขั้นพื้นฐานต้องกระทำทั้งคนและสังคม (Personal-Social Transformation) ไปพร้อมๆ กัน อันจะป้องกันไม่ให้เยาวชนรวมร่างเข้ากับรถจักรยานยนต์จนกระทั่งยอมเจ็บตายไปด้วยกัน!
มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) www.thainhf.org