เกิดโกลาหลรถไฟต้องเบรกหยุดกระทันหันเมื่อชาวบ้านและเด็ก นร.มัธยมในอำเภอพานทองกว่า 500 คนรวมตัวถือป้ายประท้วงยืนขวางรางเหตุไม่พอใจ ร.ฟ.ท.ไม่สร้างอุโมงค์ตามที่รับปากไว้ จนเกิดอุบัติเหตุมีผู้บาดเจ็บ-เสียชีวิตมาแล้วหลายราย "การรถไฟฯ" เต้นโผล่เจรจารับปากสร้างอุโมงค์ทางลอดให้อีกรอบ
เมื่อเวลา 08.00 น. วานนี้ (29 ม.ค.) ที่บริเวณจุดตัดเชื่อมระหว่างถนนและทางรถไฟ ม.1 ต.หนองตำลึง อ.พานทอง จ.ชลบุรี มีชาวบ้านที่อยู่ใกล้เคียงและเด็กนักเรียนระดับชั้น ม.1-6 ของโรงเรียนพานทอง ต.หนองตำลึง อ.พานทอง กว่า 500 คนมารวมตัวถือป้ายประท้วง เนื่องจากไม่พอใจศูนย์การปรับปรุงทางฝ่ายโครงการพิเศษ และก่อสร้างการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่ไม่ก่อสร้างอุโมงค์ลอดทางรถไฟให้ตามที่ได้รับปากไว้ จนมีเด็กนักเรียน และชาวบ้านได้รับบาดเจ็บหลายรายและเสียชีวีตไปแล้ว 3 ราย ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมาจากอุบัติเหตุตรงบริเวณดังกล่าว
ระหว่างที่มีการประท้วงรถไฟขบวนเลขที่ 4542 กำลังวิ่งมาจาก กทม.เพื่อไปส่งสินค้าที่ท่าเรือแหลมฉบัง เด็กนักเรียนและชาวบ้านจึงรวมตัวกันขวางรถไฟ ทำให้พนักงานขับรถไฟต้องตัดสินใจเบรกเพื่อหยุดอย่างกะทันหันทันที และไม่สามารถวิ่งต่อไปได้ เนื่องจากเด็กนักเรียนและชาวบ้านยืนประท้วงอยู่บนบริเวณเส้นทางรถไฟ
หลังเกิดเหตุประท้วงดังกล่าวเจ้าหน้าที่รถไฟและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เดินทางมาเจรจากับตัวแทนเด็กนักเรียนและชาวบ้านเพื่อขอให้รถไฟได้วิ่งไปส่งสินค้าที่ท่าเรือแหลมฉบัง เพราะถ้าล่าช้าจะถูกปรับทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่าย
หลังการเจรจาผ่านไป 15 นาทีกลุ่มเด็กนักนักเรียนและชาวบ้าน จึงยอมเปิดเส้นทางให้รถไฟขบวนดังกล่าววิ่งไปส่งสินค้าได้ โดยมีการยื่นข้อต่อรองให้เจ้าหน้าที่การรถไฟที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการก่อสร้างมาเจรจา เนื่องจากเด็กนักเรียนและชาวบ้านมีความจำเป็นต้องให้มีการก่อสร้างอุโมงค์ลอดทางรถไฟ เนื่องจากถนนที่เป็นจุดตัดทางรถไฟบริเวณดังกล่าวเป็นที่ซึ่งชาวบ้านและเด็กนักเรียนโรงเรียนพานทอง ต้องใช้สัญจรไปมากันตลอดและถนนมีระดับต่ำราบลงไปกว่ารางรถไฟถึง 2-3 เมตร
เมื่อเด็กนักเรียนต้องเดินทางไปและกลับจากโรงเรียน หรือชาวบ้านขับขี่รถจักรยานยนต์หรือเดินข้ามถนนจะไม่มีทางพักให้คนหลบ นอกจากนี้ ในขณะที่รถยนต์แล่นข้ามถนนมาก็จะมองไม่เห็นคนที่เดินข้ามส่วนทางมาเช่นกัน ถ้ารถพุ่งมาด้วยความเร็วอีกฝ่ายไม่ระมัดระวังก็จะเกิดอุบัติเหตุได้ ซึ่งที่ผ่านมาคนข้ามได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตมาแล้วหลายราย จนทำให้ชาวบ้านหวาดผวาไม่กล้าที่จะสัญจรไปมา เพราะเกรงว่าจะไม่ปลอดภัยในชีวิต
ต่อมานายเลอสันต์ ศศิพงศ์ นายอำเภอพานทอง เดินทางเข้ามาแก้ปัญหา โดยเรียกนายปิยบุตร โตวิจารย์ วิศวกรกำกับการปรับปรุงทางเขต 2 ศูนย์โครงการปรับปรุงทางฝ่าย โครงการพิเศษ และก่อสร้างการรถไฟแห่งประเทศไทยที่รับผิดชอบดูแลการก่อสร้างทางรถไฟมาเจรจาโดยใช้เวลาร่วม 2 ชั่วโมง
ต่อมา นายปิยบุตร ได้นำหลักฐานและแบบแปลนการก่อสร้างอุโมงค์ลอดรางรถไฟมาให้ชาวบ้านดูพร้อมกับรับปากว่าการรถไฟฯจะต้องแก้ไขความเดือดร้อนของชาวบ้านที่นี่แน่นอนโดยจะมีการก่อสร้างอุโมงค์ในอีก 2 เดือนข้างหน้าและจะไม่มีการปิดถนนแต่อย่างใดเพื่อให้สัญจรไปมาอย่างเต็มที่ ทำให้ชาวบ้านพอใจและแยกย้ายกันกลับ โดยกล่าวทิ้งท้ายไว้ถ้าใน 3 เดือนยังไม่ก่อสร้าง ตามที่รับปากก็จะมารวมตัวประท้วงอีกครั้งหนึ่ง
เมื่อเวลา 08.00 น. วานนี้ (29 ม.ค.) ที่บริเวณจุดตัดเชื่อมระหว่างถนนและทางรถไฟ ม.1 ต.หนองตำลึง อ.พานทอง จ.ชลบุรี มีชาวบ้านที่อยู่ใกล้เคียงและเด็กนักเรียนระดับชั้น ม.1-6 ของโรงเรียนพานทอง ต.หนองตำลึง อ.พานทอง กว่า 500 คนมารวมตัวถือป้ายประท้วง เนื่องจากไม่พอใจศูนย์การปรับปรุงทางฝ่ายโครงการพิเศษ และก่อสร้างการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่ไม่ก่อสร้างอุโมงค์ลอดทางรถไฟให้ตามที่ได้รับปากไว้ จนมีเด็กนักเรียน และชาวบ้านได้รับบาดเจ็บหลายรายและเสียชีวีตไปแล้ว 3 ราย ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมาจากอุบัติเหตุตรงบริเวณดังกล่าว
ระหว่างที่มีการประท้วงรถไฟขบวนเลขที่ 4542 กำลังวิ่งมาจาก กทม.เพื่อไปส่งสินค้าที่ท่าเรือแหลมฉบัง เด็กนักเรียนและชาวบ้านจึงรวมตัวกันขวางรถไฟ ทำให้พนักงานขับรถไฟต้องตัดสินใจเบรกเพื่อหยุดอย่างกะทันหันทันที และไม่สามารถวิ่งต่อไปได้ เนื่องจากเด็กนักเรียนและชาวบ้านยืนประท้วงอยู่บนบริเวณเส้นทางรถไฟ
หลังเกิดเหตุประท้วงดังกล่าวเจ้าหน้าที่รถไฟและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เดินทางมาเจรจากับตัวแทนเด็กนักเรียนและชาวบ้านเพื่อขอให้รถไฟได้วิ่งไปส่งสินค้าที่ท่าเรือแหลมฉบัง เพราะถ้าล่าช้าจะถูกปรับทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่าย
หลังการเจรจาผ่านไป 15 นาทีกลุ่มเด็กนักนักเรียนและชาวบ้าน จึงยอมเปิดเส้นทางให้รถไฟขบวนดังกล่าววิ่งไปส่งสินค้าได้ โดยมีการยื่นข้อต่อรองให้เจ้าหน้าที่การรถไฟที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการก่อสร้างมาเจรจา เนื่องจากเด็กนักเรียนและชาวบ้านมีความจำเป็นต้องให้มีการก่อสร้างอุโมงค์ลอดทางรถไฟ เนื่องจากถนนที่เป็นจุดตัดทางรถไฟบริเวณดังกล่าวเป็นที่ซึ่งชาวบ้านและเด็กนักเรียนโรงเรียนพานทอง ต้องใช้สัญจรไปมากันตลอดและถนนมีระดับต่ำราบลงไปกว่ารางรถไฟถึง 2-3 เมตร
เมื่อเด็กนักเรียนต้องเดินทางไปและกลับจากโรงเรียน หรือชาวบ้านขับขี่รถจักรยานยนต์หรือเดินข้ามถนนจะไม่มีทางพักให้คนหลบ นอกจากนี้ ในขณะที่รถยนต์แล่นข้ามถนนมาก็จะมองไม่เห็นคนที่เดินข้ามส่วนทางมาเช่นกัน ถ้ารถพุ่งมาด้วยความเร็วอีกฝ่ายไม่ระมัดระวังก็จะเกิดอุบัติเหตุได้ ซึ่งที่ผ่านมาคนข้ามได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตมาแล้วหลายราย จนทำให้ชาวบ้านหวาดผวาไม่กล้าที่จะสัญจรไปมา เพราะเกรงว่าจะไม่ปลอดภัยในชีวิต
ต่อมานายเลอสันต์ ศศิพงศ์ นายอำเภอพานทอง เดินทางเข้ามาแก้ปัญหา โดยเรียกนายปิยบุตร โตวิจารย์ วิศวกรกำกับการปรับปรุงทางเขต 2 ศูนย์โครงการปรับปรุงทางฝ่าย โครงการพิเศษ และก่อสร้างการรถไฟแห่งประเทศไทยที่รับผิดชอบดูแลการก่อสร้างทางรถไฟมาเจรจาโดยใช้เวลาร่วม 2 ชั่วโมง
ต่อมา นายปิยบุตร ได้นำหลักฐานและแบบแปลนการก่อสร้างอุโมงค์ลอดรางรถไฟมาให้ชาวบ้านดูพร้อมกับรับปากว่าการรถไฟฯจะต้องแก้ไขความเดือดร้อนของชาวบ้านที่นี่แน่นอนโดยจะมีการก่อสร้างอุโมงค์ในอีก 2 เดือนข้างหน้าและจะไม่มีการปิดถนนแต่อย่างใดเพื่อให้สัญจรไปมาอย่างเต็มที่ ทำให้ชาวบ้านพอใจและแยกย้ายกันกลับ โดยกล่าวทิ้งท้ายไว้ถ้าใน 3 เดือนยังไม่ก่อสร้าง ตามที่รับปากก็จะมารวมตัวประท้วงอีกครั้งหนึ่ง