มายาภาพเรื่อง “ความรุ่งเรือง”
ช่วงปีใหม่ ผมได้ซื้อวารสาร The Economist เพื่ออ่านเล่นๆ ฆ่าเวลา เพราะหน้าปกใช้คำว่า Progress and Its perils ถ้าจะแปลเป็นไทยก็คือเรื่อง ความก้าวหน้า และหายนะของมัน และผมก็อดไม่ได้ที่ต้องซื้อหนังสือเรื่อง “วันสิ้นโลก 2012” ไปอ่านอีกเล่ม เพราะเรื่องนี้ได้กลายเป็นเรื่องขายดิบขายดีและโด่งดังมากๆ ในยุคปัจจุบัน
นี่สะท้อนภาพว่าคนตะวันตกเองเริ่มเปลี่ยนและตั้งคำถามต่อ “มายาภาพ” หรือ “ทฤษฎีเรื่องวิวัฒนาการและความรุ่งเรือง”
สาเหตุที่ทำให้ผู้คนทั่วโลกหันมาสนใจเรื่อง “หายนะ” และ “ความตาย” กันมากขึ้นก็เนื่องจากระบบโลกทั้งระบบกำลังเคลื่อนตัวสู่สิ่งที่ผมเรียกว่า “เอกภาพของวิกฤตซ้อนวิกฤต” ที่หนักหน่วงอย่างยิ่ง
1 ปีที่ผ่านมา ระบบโลกได้เคลื่อนตัวสู่สภาวะวิกฤตหลายๆ ด้านในเวลาเดียวกัน เรียกว่า “สภาวะแห่งความยุ่งเหยิง วุ่นวาย และหายนะ”
เริ่มจากลูกคลื่นวิกฤตเศรษฐกิจ หรือวิกฤตน้ำมัน และตามด้วยวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ ซึ่งซัดกระหน่ำเข้ามาตั้งแต่ช่วงปี ค.ศ. 2007 ถึงปี 2009
ปีนี้ คลื่นเศรษฐกิจดูเบาลง แต่ก็ยังสามารถแสดง ‘อาการ’ ออกมาคล้ายกับเตือนว่า “ยังไม่สงบแบบง่ายๆ” อย่างเช่น วิกฤตฟองสบู่ที่ดูไบ และที่การทรุดหนักถึงขั้นล้มละลายของประเทศ Greece
ปีที่ผ่านมา วิกฤตในด้านสุขภาพกลายเป็นข่าวใหญ่ไปทั่วโลกนั้นคือ การแพร่ระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ สายพันธุ์เอช 1 เอ็น 1 (H1N1) ปะทุจากแม็กซิโก แพร่เข้าสู่อเมริกา และระบาดไปทั่วโลก คร่าชีวิตผู้คนไปเกือบ 12,000 ราย ป่วยไข้อีกนับล้านคน
พร้อมๆ กันนั้นได้เกิดวิกฤตสิ่งแวดล้อมที่ปะทุเข้ามาแบบเป็นลูกคลื่นต่อเนื่อง ในย่านเอเชีย เกิดไต้ฝุ่นมรกต กิสนา ป้าหม่า ซัดกระหน่ำอย่างหนัก ที่โดนหนักที่สุดน่าจะเป็นประเทศฟิลิปปินส์ มีคนตายมากกว่า 240 คน
นอกจากนี้ได้เกิดไซโคลนถล่มบังกลาเทศและอินเดีย ผู้คนตายกว่า 200 ศพ ตามด้วยแผ่นดินไหวใหญ่ 8 ริกเตอร์ ณ หมู่เกาะซามัว และเกิดคลื่นยักษ์สึนามิทำให้คนตายไปกว่า 150 ชีวิต
ในขณะที่ออสเตรเลียเกิดสภาวะร้อนจัด อุณภูมิเฉลี่ยสูงถึง 45 องศาเซลเซียส ที่ประเทศอิตาลีคนตายไปกว่า 200 ศพ อังกฤษเจอฝนตกหนักมาก ในขณะที่สหรัฐอเมริกาเจอไฟป่าและพายุถล่มหลายลูก และช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ได้เกิดสภาวะอากาศหนาวจัดอย่างรุนแรงมากทั้งที่ยุโรปและเอเชีย ที่อินเดียและบังกลาเทศคนหนาวตายไปเกือบ 200 คน
ในเวลาเดียวกัน วิกฤตการเมืองก็ปรากฏขึ้นหลายจุด ที่สำคัญคือสงครามการก่อการร้าย ที่ดูจะสงบลงที่อิรัก แต่กลับแพร่ระบาดใหญ่ในแถบอัฟกานิสถานและปากีสถาน ตอนช่วงปีใหม่ได้เกิดมีความพยายามระเบิดเครื่องบินจนเป็นข่าวไปทั่วโลก ตามด้วยการจลาจลครั้งใหญ่ที่มณฑลซินเกียงของจีน สงครามกวาดล้างพยัคฆ์ทมิฬอีแรมที่ศรีลังกา สงครามกลางเมืองที่มาดากัสการ์ การรัฐประหารยึดอำนาจที่ฮอนดูรัส รวมทั้งวิกฤตทักษิโณมิกส์ หรือ “แดงทั่วแผ่นดิน” ในประเทศไทย
จนนักคิดไทยหลายคนเริ่มใช้คำว่า กลียุค เพื่ออธิบายสภาวะความจริงที่ปั่นป่วนแบบทั่วโลก ซึ่งผมเองใช้คำคำนี้มาประมาณเกือบ 10 ปีแล้ว
ในยุคอุตสาหกรรม ผู้คนทั่วโลกจะหลงใหลคำว่า ความก้าวหน้า (หรือความรุ่งเรืองทางวัตถุ) มากๆ และถือว่าโลกแห่งเมืองที่ยิ่งใหญ่และความเจริญทางวัตถุดังกล่าวเป็นที่มาของความสุข
วันนี้ ชาวฝรั่งเริ่มเปลี่ยนความเชื่อและเริ่มตั้งคำถามว่า “ที่แท้แล้ว ความรุ่งเรืองก็อาจจะนำมาซึ่งหายนะและความตายได้”
ความเชื่อเรื่องวิวัฒนาการ นี้มีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 เป็นฐานหลักหรือฐานคิดสำคัญของผู้คนในยุคที่เราเรียกว่า “ยุควิทยาศาสตร์”
ทฤษฎีวิวัฒนาการนี้มีฐานที่มาจากผลงานทางวิทยาศาสตร์ของ Charles Darwin ซึ่งสนใจศึกษาการวิวัฒน์ของสิ่งมีชีวิตทางธรรมชาติ
แต่ความเชื่อนี้ก่อเกิดขึ้นในช่วงหรือยุคที่เรียกว่า ‘ยุควิทยาศาสตร์’ ซึ่งหลงเชื่อกันว่า มนุษย์สามารถหากฎหรือค้นพบกฎที่จริงแท้แน่นอนได้ กฎต่างๆ หรือทฤษฎีที่ค้นพบจะกลายเป็น ‘กฎสากล’ ที่สามารถนำไปใช้อธิบายสิ่งต่างๆ ได้ด้วย
ความเชื่อเรื่องศาสตร์ที่จริงแท้แน่นอน นี้เองได้กลายเป็นที่มาของมายาศาสตร์ที่หันไปเสริมความอหังการให้แก่นักวิชาการทั้งหลาย
นักวิชาการในยุคนี้จึงพยายามสร้างทฤษฎีขึ้นอย่างมากมายในทุกๆ ด้าน ซึ่งส่วนใหญ่มีฐานคิดมาจากหลักวิวัฒนาการและความเชื่อเรื่องความจริงแท้แน่นอน ดังนั้น ‘ทฤษฎีทางสังคมศาสตร์’ ไม่ว่าทฤษฎีฝ่ายซ้ายหรือฝ่ายขวา ก็หลงติดความเชื่อเรื่องสัจธรรมที่สมบูรณ์นี้
ฝ่ายขวาก็กล่าวอ้างว่า ‘ระบบสังคมจะวิวัฒน์ไปเรื่อยๆ ไปข้างหน้า ด้วยการคิดค้นและการปฏิวัติทางเทคโนโลยี’
ฝ่ายซ้ายก็คิดในแบบไม่ต่างกันนัก ก็พูดถึงเรื่องการปฏิวัติที่เรียกว่า ‘การปฏิวัติพลังการผลิต’ เป็นช่วงๆ โดยมีพลังดันให้ประวัติศาสตร์เคลื่อนไปข้างหน้าด้วยการต่อสู้ทางชนชั้น
แต่ทั้งฝ่ายซ้ายและขวาจะมีบทสรุปสุดท้ายคล้ายๆ กันคือ ระบบสังคมโลกจะก้าวไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่อง จนก้าวสู่ความรุ่งเรืองขึ้นสูงสุด
ซ้ายจะกล่าวถึงสังคมในอุดมคติที่มั่งคั่งสมบูรณ์ และมีการกระจายความเป็นธรรมอย่างเท่าเทียมที่เรียกว่า “สังคมคอมมิวนิสต์”
ฝ่ายซ้ายบางฝ่ายก็บอกว่า “ระบบสังคมจะพัฒนาไปเป็นขั้นๆ เสมอ กล่าวคือ จากทาสไปศักดินา (แบบยุโรป) และจากศักดินาไปสู่สังคมนิยม และจากสังคมนิยมไปสู่สังคมคอมมิวนิสต์”
ที่กล่าวมาทั้งหมดคือ สัจธรรมที่สมบูรณ์สูงสุดและหลีกเลี่ยงไม่ได้
ฝ่ายขวาก็บอกว่า “สังคมเคลื่อนผ่าน 3 ช่วง คือ ช่วงเกษตรกรรม มาสู่อุตสาหกรรม และมาสู่ยุคไฮเทค”
เวลาเราย้อนศึกษาประวัติศาสตร์จริง เราก็จะพบว่าทฤษฎีเหล่านี้มีความเป็นจริงอยู่บ้าง แต่ไม่มากนัก
ตัวอย่างเช่นในย่านเอเชียโบราณ เราไม่มีระบบสังคมทาส แต่เป็นระบบผสมระหว่างไพร่กับทาส และมักมีไพร่มากกว่าทาสเสียอีก
เราพบสังคมทาสสมบูรณ์แบบอยู่บ้าง เช่น ที่อาณาจักรโรมัน ที่สามารถเรียกได้ว่าคือ “ระบบทาส” แต่กลับไม่พบในที่อื่นๆ
พอมาถึงยุคที่น่าจะเรียกว่า “ยุคสังคมนิยม” เราก็พบว่าประเทศทุนนิยมหลายประเทศก็สามารถดำรงอยู่ได้แบบทุนนิยม ไม่เห็นจะต้องเปลี่ยนระบบสังคมเป็นสังคมนิยม และที่น่าแปลกคือ หลังจากเกิดรัฐสังคมนิยมขึ้นจำนวนหนึ่งแล้ว หลายๆ รัฐ อย่างเช่น ประเทศจีน และรัสเซีย กลับพลิกเป็นทุนนิยมแบบถูกชี้นำโดยรัฐ
ในช่วงประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา เราเห็นการปฏิวัติทางชนชั้นและเห็นสงครามเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ แต่ไม่ทุกพื้นที่ เราพบว่ามีหลายพื้นที่ที่มีการปะทะกันทางชนชั้นและสงครามน้อยมาก อย่างเช่น ที่ประเทศไทย หรือบรรดาย่านที่ห่างจากเมืองศูนย์กลาง
เราพบว่ากลุ่มชนในบางพื้นที่อย่างเช่น ชุมชนชาวเขา สามารถท้าทายกฎแห่งวิวัฒนาการทางสังคมได้
เราพบความจำกัดของทฤษฎีฝ่ายซ้าย ในเวลาเดียวกันเราก็พบความจำกัดของทฤษฎีฝ่ายขวา
อย่างเช่น เราพบว่าในยุคที่เรียกว่า “ยุคเกษตรกรรม” มีชุมชนที่ทำเกษตรจริงตามลุ่มน้ำต่างๆ แต่ในเวลาเดียวกันก็มีชนเผ่าร่อนเร่เลี้ยงสัตว์อยู่จำนวนมาก อาจจะมากกว่ากลุ่มชนที่ทำเกษตรกรรมเสียอีก
ที่แย่สุดๆ คือ ความเชื่อของฝ่ายขวาที่อ้างว่า ‘ยุคไฮเทค คือยุคที่รุ่งเรืองแบบสุดๆ’ เรากลับพบว่า ‘ยุคนี้ คือยุคแห่งวิกฤตอย่างยิ่ง’
พอเรารื้อมายาภาพเรื่อง ‘กฎแห่งการวิวัฒน์เป็นเส้นทางสายเดียว’ ทิ้ง เราก็พบว่า ที่แท้แล้วระบบสังคมมีเส้นทางเดินที่หลากหลายและอุดมหรือซับซ้อนกว่าทฤษฎีแบบขั้นตอนและแบบตายตัว
ที่สำคัญ เราพบกฎใหม่ว่า “ความเจริญสูงสุดกับหายนะสุดๆ คือ ความจริงสองด้านที่ดำรงอยู่ด้วยกันได้” เนื่องจากว่าความเจริญสูงสุดกำลังนำมาซึ่งความสามารถในการทำลายล้างทรัพยากรโลกแบบสุดๆ นอกจากนี้ทุนนิยมสมัยใหม่ที่ไฮเทคแบบสุดๆ และสามารถทำกำไรได้อย่างมหาศาล สามารถสร้างวิกฤตฟองสบู่ วิกฤตหนี้สิน จนนำหายนะทางเศรษฐกิจมาสู่ผู้คนได้
แม้ว่าเราจะสามารถรื้อและเห็นข้อจำกัดของทฤษฎีวิวัฒน์แบบเก่าและพยายามสร้างทฤษฎีแบบใหม่ขึ้นมาแทน แต่ก็ต้องตระหนักเสมอว่า “ทฤษฎีใหม่ก็อาจจะจำกัดได้เช่นกัน”
ผมจำได้ว่า ในช่วงที่ผมเรียนปริญญาเอกอยู่ ช่วงนี้เป็นช่วงที่ระบบโลกก้าวเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์
อาจารย์ของผมได้กล่าวขึ้นในชั้นเรียนว่า
“เห็นไหมว่า แนวคิดแบบระบบโลกน่าจะถูกกว่าทฤษฎีแบบสังคมนิยมเก่าๆ เพราะชาวระบบโลกจะเชื่อว่า ระบบโลกจะก้าวสู่ความเป็นระบบโลกที่เป็นหนึ่งเดียวกันมากยิ่งขึ้น ซึ่งต่างจากทฤษฎีทางสังคมนิยมที่เชื่อว่าทุนนิยมจะถูกทำลายลงและโลกจะก้าวสู่สังคมนิยมทั้งระบบ
หรือกล่าวได้ว่า การปฏิวัติด้านการสื่อสารในยุคโลกาภิวัตน์ จะกลับกลายเป็นพลังโลกที่ผนึกระบบโลกให้เป็นหนึ่งเดียวกันอย่างยิ่ง
ชาวระบบโลกจึงเชื่อว่า การปฏิวัติด้านการสื่อสาร ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงระบบโลกไม่น้อยกว่าการปฏิวัติด้านการผลิต”
ผมตั้งคำถามย้อนถามอาจารย์ว่า
“ผมเห็นด้วยว่าแนวคิดอาจารย์น่าจะถูกกว่าแนวคิดสังคมนิยมเก่า แต่ผมคิดว่าแนวคิดของอาจารย์ยังไม่สามารถสลัดหลุดจากความเชื่อเรื่อง ความก้าวหน้า หรือ กฎแห่งการวิวัฒน์ไปเรื่อยๆ ไม่สิ้นไม่สุด อยู่ดี”
และผมได้กล่าวต่อว่า
“มันเป็นไปได้ไหมที่ ยุคโลกกาภิวัตน์ คือ ขั้นตอนสูงสุดของระบบอารยธรรมยุคระบบเศรษฐกิจโลก และหลังจากนั้นโลกจะก้าวสู่หายนะใหญ่”
อาจารย์มองหน้าผม และทำท่าคล้ายกับพยักหน้า... แต่ไม่มีคำตอบ
สาเหตุหนึ่งที่ทำให้เรายังหลงเชื่อเรื่อง ความรุ่งเรืองไปเรื่อยๆ ก็เนื่องจากว่าเราอยู่ในช่วงที่ระบบเศรษฐกิจโลกขยายตัวไปเรื่อยๆ เป็นขั้นๆ ตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 ถึง 21 ดังนั้นจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะทำให้เราหลงเชื่อว่า ‘ความรุ่งเรืองจะก้าวต่อไปเรื่อยๆ ข้างหน้า’
แต่ไม่มีใครบอกว่า ‘กฎที่ยิ่งใหญ่นี้’ ก็มีจุดจบได้ เพราะหลังจากดอกไม้เบ่งบานไปถึงที่สุดแล้ว ก็ต้องเหี่ยวเฉา และตาย
ระบบสังคมมนุษย์จึงวิ่งหนีช่วงเวลาแห่งหายนะและความตายไปไม่พ้น
แต่เมื่อมนุษย์ย่างก้าวสู่ช่วงหายนะและความตาย ช่วงเวลาดังกล่าวก็สามารถสร้าง “มายาภาพ” อีกอย่างหนึ่งได้เช่นกัน
นี่คือ “มายาภาพ” ซึ่งเป็นผลผลิตขึ้นจากความตื่นกลัว
ทุกวันนี้ ทฤษฎีอีกชุดหนึ่งก็ถูกผลิตขึ้นมา ผมขอเรียกว่า “ทฤษฎีวันสิ้นโลก” (ยังมีต่อ)
ช่วงปีใหม่ ผมได้ซื้อวารสาร The Economist เพื่ออ่านเล่นๆ ฆ่าเวลา เพราะหน้าปกใช้คำว่า Progress and Its perils ถ้าจะแปลเป็นไทยก็คือเรื่อง ความก้าวหน้า และหายนะของมัน และผมก็อดไม่ได้ที่ต้องซื้อหนังสือเรื่อง “วันสิ้นโลก 2012” ไปอ่านอีกเล่ม เพราะเรื่องนี้ได้กลายเป็นเรื่องขายดิบขายดีและโด่งดังมากๆ ในยุคปัจจุบัน
นี่สะท้อนภาพว่าคนตะวันตกเองเริ่มเปลี่ยนและตั้งคำถามต่อ “มายาภาพ” หรือ “ทฤษฎีเรื่องวิวัฒนาการและความรุ่งเรือง”
สาเหตุที่ทำให้ผู้คนทั่วโลกหันมาสนใจเรื่อง “หายนะ” และ “ความตาย” กันมากขึ้นก็เนื่องจากระบบโลกทั้งระบบกำลังเคลื่อนตัวสู่สิ่งที่ผมเรียกว่า “เอกภาพของวิกฤตซ้อนวิกฤต” ที่หนักหน่วงอย่างยิ่ง
1 ปีที่ผ่านมา ระบบโลกได้เคลื่อนตัวสู่สภาวะวิกฤตหลายๆ ด้านในเวลาเดียวกัน เรียกว่า “สภาวะแห่งความยุ่งเหยิง วุ่นวาย และหายนะ”
เริ่มจากลูกคลื่นวิกฤตเศรษฐกิจ หรือวิกฤตน้ำมัน และตามด้วยวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ ซึ่งซัดกระหน่ำเข้ามาตั้งแต่ช่วงปี ค.ศ. 2007 ถึงปี 2009
ปีนี้ คลื่นเศรษฐกิจดูเบาลง แต่ก็ยังสามารถแสดง ‘อาการ’ ออกมาคล้ายกับเตือนว่า “ยังไม่สงบแบบง่ายๆ” อย่างเช่น วิกฤตฟองสบู่ที่ดูไบ และที่การทรุดหนักถึงขั้นล้มละลายของประเทศ Greece
ปีที่ผ่านมา วิกฤตในด้านสุขภาพกลายเป็นข่าวใหญ่ไปทั่วโลกนั้นคือ การแพร่ระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ สายพันธุ์เอช 1 เอ็น 1 (H1N1) ปะทุจากแม็กซิโก แพร่เข้าสู่อเมริกา และระบาดไปทั่วโลก คร่าชีวิตผู้คนไปเกือบ 12,000 ราย ป่วยไข้อีกนับล้านคน
พร้อมๆ กันนั้นได้เกิดวิกฤตสิ่งแวดล้อมที่ปะทุเข้ามาแบบเป็นลูกคลื่นต่อเนื่อง ในย่านเอเชีย เกิดไต้ฝุ่นมรกต กิสนา ป้าหม่า ซัดกระหน่ำอย่างหนัก ที่โดนหนักที่สุดน่าจะเป็นประเทศฟิลิปปินส์ มีคนตายมากกว่า 240 คน
นอกจากนี้ได้เกิดไซโคลนถล่มบังกลาเทศและอินเดีย ผู้คนตายกว่า 200 ศพ ตามด้วยแผ่นดินไหวใหญ่ 8 ริกเตอร์ ณ หมู่เกาะซามัว และเกิดคลื่นยักษ์สึนามิทำให้คนตายไปกว่า 150 ชีวิต
ในขณะที่ออสเตรเลียเกิดสภาวะร้อนจัด อุณภูมิเฉลี่ยสูงถึง 45 องศาเซลเซียส ที่ประเทศอิตาลีคนตายไปกว่า 200 ศพ อังกฤษเจอฝนตกหนักมาก ในขณะที่สหรัฐอเมริกาเจอไฟป่าและพายุถล่มหลายลูก และช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ได้เกิดสภาวะอากาศหนาวจัดอย่างรุนแรงมากทั้งที่ยุโรปและเอเชีย ที่อินเดียและบังกลาเทศคนหนาวตายไปเกือบ 200 คน
ในเวลาเดียวกัน วิกฤตการเมืองก็ปรากฏขึ้นหลายจุด ที่สำคัญคือสงครามการก่อการร้าย ที่ดูจะสงบลงที่อิรัก แต่กลับแพร่ระบาดใหญ่ในแถบอัฟกานิสถานและปากีสถาน ตอนช่วงปีใหม่ได้เกิดมีความพยายามระเบิดเครื่องบินจนเป็นข่าวไปทั่วโลก ตามด้วยการจลาจลครั้งใหญ่ที่มณฑลซินเกียงของจีน สงครามกวาดล้างพยัคฆ์ทมิฬอีแรมที่ศรีลังกา สงครามกลางเมืองที่มาดากัสการ์ การรัฐประหารยึดอำนาจที่ฮอนดูรัส รวมทั้งวิกฤตทักษิโณมิกส์ หรือ “แดงทั่วแผ่นดิน” ในประเทศไทย
จนนักคิดไทยหลายคนเริ่มใช้คำว่า กลียุค เพื่ออธิบายสภาวะความจริงที่ปั่นป่วนแบบทั่วโลก ซึ่งผมเองใช้คำคำนี้มาประมาณเกือบ 10 ปีแล้ว
ในยุคอุตสาหกรรม ผู้คนทั่วโลกจะหลงใหลคำว่า ความก้าวหน้า (หรือความรุ่งเรืองทางวัตถุ) มากๆ และถือว่าโลกแห่งเมืองที่ยิ่งใหญ่และความเจริญทางวัตถุดังกล่าวเป็นที่มาของความสุข
วันนี้ ชาวฝรั่งเริ่มเปลี่ยนความเชื่อและเริ่มตั้งคำถามว่า “ที่แท้แล้ว ความรุ่งเรืองก็อาจจะนำมาซึ่งหายนะและความตายได้”
ความเชื่อเรื่องวิวัฒนาการ นี้มีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 เป็นฐานหลักหรือฐานคิดสำคัญของผู้คนในยุคที่เราเรียกว่า “ยุควิทยาศาสตร์”
ทฤษฎีวิวัฒนาการนี้มีฐานที่มาจากผลงานทางวิทยาศาสตร์ของ Charles Darwin ซึ่งสนใจศึกษาการวิวัฒน์ของสิ่งมีชีวิตทางธรรมชาติ
แต่ความเชื่อนี้ก่อเกิดขึ้นในช่วงหรือยุคที่เรียกว่า ‘ยุควิทยาศาสตร์’ ซึ่งหลงเชื่อกันว่า มนุษย์สามารถหากฎหรือค้นพบกฎที่จริงแท้แน่นอนได้ กฎต่างๆ หรือทฤษฎีที่ค้นพบจะกลายเป็น ‘กฎสากล’ ที่สามารถนำไปใช้อธิบายสิ่งต่างๆ ได้ด้วย
ความเชื่อเรื่องศาสตร์ที่จริงแท้แน่นอน นี้เองได้กลายเป็นที่มาของมายาศาสตร์ที่หันไปเสริมความอหังการให้แก่นักวิชาการทั้งหลาย
นักวิชาการในยุคนี้จึงพยายามสร้างทฤษฎีขึ้นอย่างมากมายในทุกๆ ด้าน ซึ่งส่วนใหญ่มีฐานคิดมาจากหลักวิวัฒนาการและความเชื่อเรื่องความจริงแท้แน่นอน ดังนั้น ‘ทฤษฎีทางสังคมศาสตร์’ ไม่ว่าทฤษฎีฝ่ายซ้ายหรือฝ่ายขวา ก็หลงติดความเชื่อเรื่องสัจธรรมที่สมบูรณ์นี้
ฝ่ายขวาก็กล่าวอ้างว่า ‘ระบบสังคมจะวิวัฒน์ไปเรื่อยๆ ไปข้างหน้า ด้วยการคิดค้นและการปฏิวัติทางเทคโนโลยี’
ฝ่ายซ้ายก็คิดในแบบไม่ต่างกันนัก ก็พูดถึงเรื่องการปฏิวัติที่เรียกว่า ‘การปฏิวัติพลังการผลิต’ เป็นช่วงๆ โดยมีพลังดันให้ประวัติศาสตร์เคลื่อนไปข้างหน้าด้วยการต่อสู้ทางชนชั้น
แต่ทั้งฝ่ายซ้ายและขวาจะมีบทสรุปสุดท้ายคล้ายๆ กันคือ ระบบสังคมโลกจะก้าวไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่อง จนก้าวสู่ความรุ่งเรืองขึ้นสูงสุด
ซ้ายจะกล่าวถึงสังคมในอุดมคติที่มั่งคั่งสมบูรณ์ และมีการกระจายความเป็นธรรมอย่างเท่าเทียมที่เรียกว่า “สังคมคอมมิวนิสต์”
ฝ่ายซ้ายบางฝ่ายก็บอกว่า “ระบบสังคมจะพัฒนาไปเป็นขั้นๆ เสมอ กล่าวคือ จากทาสไปศักดินา (แบบยุโรป) และจากศักดินาไปสู่สังคมนิยม และจากสังคมนิยมไปสู่สังคมคอมมิวนิสต์”
ที่กล่าวมาทั้งหมดคือ สัจธรรมที่สมบูรณ์สูงสุดและหลีกเลี่ยงไม่ได้
ฝ่ายขวาก็บอกว่า “สังคมเคลื่อนผ่าน 3 ช่วง คือ ช่วงเกษตรกรรม มาสู่อุตสาหกรรม และมาสู่ยุคไฮเทค”
เวลาเราย้อนศึกษาประวัติศาสตร์จริง เราก็จะพบว่าทฤษฎีเหล่านี้มีความเป็นจริงอยู่บ้าง แต่ไม่มากนัก
ตัวอย่างเช่นในย่านเอเชียโบราณ เราไม่มีระบบสังคมทาส แต่เป็นระบบผสมระหว่างไพร่กับทาส และมักมีไพร่มากกว่าทาสเสียอีก
เราพบสังคมทาสสมบูรณ์แบบอยู่บ้าง เช่น ที่อาณาจักรโรมัน ที่สามารถเรียกได้ว่าคือ “ระบบทาส” แต่กลับไม่พบในที่อื่นๆ
พอมาถึงยุคที่น่าจะเรียกว่า “ยุคสังคมนิยม” เราก็พบว่าประเทศทุนนิยมหลายประเทศก็สามารถดำรงอยู่ได้แบบทุนนิยม ไม่เห็นจะต้องเปลี่ยนระบบสังคมเป็นสังคมนิยม และที่น่าแปลกคือ หลังจากเกิดรัฐสังคมนิยมขึ้นจำนวนหนึ่งแล้ว หลายๆ รัฐ อย่างเช่น ประเทศจีน และรัสเซีย กลับพลิกเป็นทุนนิยมแบบถูกชี้นำโดยรัฐ
ในช่วงประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา เราเห็นการปฏิวัติทางชนชั้นและเห็นสงครามเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ แต่ไม่ทุกพื้นที่ เราพบว่ามีหลายพื้นที่ที่มีการปะทะกันทางชนชั้นและสงครามน้อยมาก อย่างเช่น ที่ประเทศไทย หรือบรรดาย่านที่ห่างจากเมืองศูนย์กลาง
เราพบว่ากลุ่มชนในบางพื้นที่อย่างเช่น ชุมชนชาวเขา สามารถท้าทายกฎแห่งวิวัฒนาการทางสังคมได้
เราพบความจำกัดของทฤษฎีฝ่ายซ้าย ในเวลาเดียวกันเราก็พบความจำกัดของทฤษฎีฝ่ายขวา
อย่างเช่น เราพบว่าในยุคที่เรียกว่า “ยุคเกษตรกรรม” มีชุมชนที่ทำเกษตรจริงตามลุ่มน้ำต่างๆ แต่ในเวลาเดียวกันก็มีชนเผ่าร่อนเร่เลี้ยงสัตว์อยู่จำนวนมาก อาจจะมากกว่ากลุ่มชนที่ทำเกษตรกรรมเสียอีก
ที่แย่สุดๆ คือ ความเชื่อของฝ่ายขวาที่อ้างว่า ‘ยุคไฮเทค คือยุคที่รุ่งเรืองแบบสุดๆ’ เรากลับพบว่า ‘ยุคนี้ คือยุคแห่งวิกฤตอย่างยิ่ง’
พอเรารื้อมายาภาพเรื่อง ‘กฎแห่งการวิวัฒน์เป็นเส้นทางสายเดียว’ ทิ้ง เราก็พบว่า ที่แท้แล้วระบบสังคมมีเส้นทางเดินที่หลากหลายและอุดมหรือซับซ้อนกว่าทฤษฎีแบบขั้นตอนและแบบตายตัว
ที่สำคัญ เราพบกฎใหม่ว่า “ความเจริญสูงสุดกับหายนะสุดๆ คือ ความจริงสองด้านที่ดำรงอยู่ด้วยกันได้” เนื่องจากว่าความเจริญสูงสุดกำลังนำมาซึ่งความสามารถในการทำลายล้างทรัพยากรโลกแบบสุดๆ นอกจากนี้ทุนนิยมสมัยใหม่ที่ไฮเทคแบบสุดๆ และสามารถทำกำไรได้อย่างมหาศาล สามารถสร้างวิกฤตฟองสบู่ วิกฤตหนี้สิน จนนำหายนะทางเศรษฐกิจมาสู่ผู้คนได้
แม้ว่าเราจะสามารถรื้อและเห็นข้อจำกัดของทฤษฎีวิวัฒน์แบบเก่าและพยายามสร้างทฤษฎีแบบใหม่ขึ้นมาแทน แต่ก็ต้องตระหนักเสมอว่า “ทฤษฎีใหม่ก็อาจจะจำกัดได้เช่นกัน”
ผมจำได้ว่า ในช่วงที่ผมเรียนปริญญาเอกอยู่ ช่วงนี้เป็นช่วงที่ระบบโลกก้าวเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์
อาจารย์ของผมได้กล่าวขึ้นในชั้นเรียนว่า
“เห็นไหมว่า แนวคิดแบบระบบโลกน่าจะถูกกว่าทฤษฎีแบบสังคมนิยมเก่าๆ เพราะชาวระบบโลกจะเชื่อว่า ระบบโลกจะก้าวสู่ความเป็นระบบโลกที่เป็นหนึ่งเดียวกันมากยิ่งขึ้น ซึ่งต่างจากทฤษฎีทางสังคมนิยมที่เชื่อว่าทุนนิยมจะถูกทำลายลงและโลกจะก้าวสู่สังคมนิยมทั้งระบบ
หรือกล่าวได้ว่า การปฏิวัติด้านการสื่อสารในยุคโลกาภิวัตน์ จะกลับกลายเป็นพลังโลกที่ผนึกระบบโลกให้เป็นหนึ่งเดียวกันอย่างยิ่ง
ชาวระบบโลกจึงเชื่อว่า การปฏิวัติด้านการสื่อสาร ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงระบบโลกไม่น้อยกว่าการปฏิวัติด้านการผลิต”
ผมตั้งคำถามย้อนถามอาจารย์ว่า
“ผมเห็นด้วยว่าแนวคิดอาจารย์น่าจะถูกกว่าแนวคิดสังคมนิยมเก่า แต่ผมคิดว่าแนวคิดของอาจารย์ยังไม่สามารถสลัดหลุดจากความเชื่อเรื่อง ความก้าวหน้า หรือ กฎแห่งการวิวัฒน์ไปเรื่อยๆ ไม่สิ้นไม่สุด อยู่ดี”
และผมได้กล่าวต่อว่า
“มันเป็นไปได้ไหมที่ ยุคโลกกาภิวัตน์ คือ ขั้นตอนสูงสุดของระบบอารยธรรมยุคระบบเศรษฐกิจโลก และหลังจากนั้นโลกจะก้าวสู่หายนะใหญ่”
อาจารย์มองหน้าผม และทำท่าคล้ายกับพยักหน้า... แต่ไม่มีคำตอบ
สาเหตุหนึ่งที่ทำให้เรายังหลงเชื่อเรื่อง ความรุ่งเรืองไปเรื่อยๆ ก็เนื่องจากว่าเราอยู่ในช่วงที่ระบบเศรษฐกิจโลกขยายตัวไปเรื่อยๆ เป็นขั้นๆ ตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 ถึง 21 ดังนั้นจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะทำให้เราหลงเชื่อว่า ‘ความรุ่งเรืองจะก้าวต่อไปเรื่อยๆ ข้างหน้า’
แต่ไม่มีใครบอกว่า ‘กฎที่ยิ่งใหญ่นี้’ ก็มีจุดจบได้ เพราะหลังจากดอกไม้เบ่งบานไปถึงที่สุดแล้ว ก็ต้องเหี่ยวเฉา และตาย
ระบบสังคมมนุษย์จึงวิ่งหนีช่วงเวลาแห่งหายนะและความตายไปไม่พ้น
แต่เมื่อมนุษย์ย่างก้าวสู่ช่วงหายนะและความตาย ช่วงเวลาดังกล่าวก็สามารถสร้าง “มายาภาพ” อีกอย่างหนึ่งได้เช่นกัน
นี่คือ “มายาภาพ” ซึ่งเป็นผลผลิตขึ้นจากความตื่นกลัว
ทุกวันนี้ ทฤษฎีอีกชุดหนึ่งก็ถูกผลิตขึ้นมา ผมขอเรียกว่า “ทฤษฎีวันสิ้นโลก” (ยังมีต่อ)